ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 34.00 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ที่ระดับ 33.98 บาท/ดอลลาร์
ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก หลังจากการเปิดเผยข้อมูลการใช้จ่ายของผู้บริโภคสหรัฐฯ ในเดือน ก.พ.ฟื้นตัวน้อยกว่าที่คาดไว้ ขณะที่ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐาน (Core PCE) ปรับตัวขึ้นมากที่สุดในรอบ 13 เดือน
นอกจากนี้ ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนบ่งชี้ว่า การคาดการณ์เงินเฟ้อของผู้บริโภคในช่วง 12 เดือนข้างหน้าพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 2 ปีครึ่งในเดือน มี.ค. และคาดว่าเงินเฟ้อจะยังคงสูงต่อไปเกินกว่าหนึ่งปี ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอและเงินเฟ้อที่สูงขึ้นของสหรัฐ
ข้อมูลเศรษฐกิจดังกล่าวทำให้เกิดความกังวลว่า การที่ประธานาธิบดีทรัมป์ออกมาตรการภาษีจำนวนมากนับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งในเดือน ม.ค. จะทำให้ราคาสินค้านำเข้าสูงขึ้น กระตุ้นเงินเฟ้อ และอาจทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ไม่สามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงได้
นักลงทุนมุ่งความสนใจไปที่มาตรการภาษีรอบใหม่ที่รัฐบาลทรัมป์เตรียมประกาศในวันที่ 2 เม.ย.นี้ โดยล่าสุดทรัมป์ได้ส่งสัญญาณว่า มาตรการภาษีรอบใหม่นี้อาจแตกต่างจากมาตรการตอบโต้แบบเดิมที่เคยประกาศไปก่อนหน้านี้
ทั้งนี้ราคาทองคำโลกยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยขึ้นไปแตะสูงสุดที่ระดับ 3,086 ดอลลาร์ต่อออนซ์
สำหรับสถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ ระหว่างวันที่ 24-28 มี.ค. นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย 4,106.21 ล้านบาท และมีสถานะเงินไหลออกจากตลาดพันธบัตรไทย 1,845 ล้านบาท
ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ รายละเอียดของการเรียกเก็บ Reciprocal Tariff ของสหรัฐฯ ทิศทางราคาทองคำในตลาดโลก สัญญาณฟันด์โฟลว์ของต่างชาติ และตัวเลขอัตราเงินเฟ้อเดือน มี.ค. ของไทย
ส่วนตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชน ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างงานเดือน มี.ค.
*แนะนำ ทยอยซื้อที่ 33.80/ ขาย 34.10
* แนะนำ ซื้อ 36.60 / ขาย 37.10
* แนะนำ ซื้อ 0.2250 / ขาย 0.2300
ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 33.85 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าเมื่อเทียบกับราคาปิดตลาดเมื่อวานนี้ที่ระดับ 33.90 บาท/ดอลลาร์
ดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลง ท่ามกลางการซื้อขายที่ผันผวน ขณะที่นักลงทุนรอประเมินผลกระทบของมาตรการภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ และสวนทางการปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐหลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศเรียกเก็บภาษีนำเข้ารถยนต์ ในอัตรา 25% โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 2 เม.ย.
ในส่วนของค่าเงินบาทเคลื่อนไหวตามสถานการณ์ราคาทองในตลาดโลก และเป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินใน ภูมิภาค
สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจที่มีการรายงานเมื่อคืนนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรก ลดลง 1,000 ราย สู่ระดับ 224,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 226,000 ราย
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งที่ 3 สำหรับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำไตรมาส 4/2567 โดยระบุว่า GDP ขยายตัว 2.4%
สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐฯ เปิดเผย ดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) เพิ่มขึ้น 2.0% ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าเพิ่มขึ้นเพียง 1.0%
นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ของสหรัฐฯ ในวันนี้ โดยดัชนี PCE เป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ
เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 4,267 ล้านบาท และซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทย 1,172 ล้านบาท
*แนะนำ ซื้อ 33.70 / ขาย 34.00
* แนะนำ ซื้อ 36.30 / ขาย 36.80
* แนะนำ ซื้อ 0.2225 / ขาย 0.2265
ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 34.02 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 33.96 บาท/ดอลลาร์
ค่าเงินบาทเคลื่อนไหว Sideways เช่นเดียวกับสกุลเงินเอเชียอื่น ๆ ที่เคลื่อนไหวในกรอบแคบ เนื่องจากเทรดเดอร์ในตลาดต่างรอความชัดเจนก่อนมาตรการภาษีของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ที่เตรียมประกาศเก็บภาษีตอบโต้ในวันที่ 2 เมษายน ซึ่งภาษีดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อกระแสการค้าและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของค่าเงินในภูมิภาค
คาดว่าเงินบาทอาจถูกกดดันในทิศทางอ่อนค่า แม้สหรัฐฯ จะยังไม่ได้ประกาศรายชื่อประเทศเป้าหมายโดยตรง ไทยมีความเป็นไปได้สูงที่จะตกเป็นเป้าหมาย โดยไทยจะได้รับผลกระทบโดยตรงต่ออุตสาหกรรมส่งออกหลัก เช่น ยานยนต์และชิ้นส่วน, อิเล็กฯ และสินค้าไอที, เครื่องใช้ไฟฟ้า และอาหารแปรรูป ซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกสู่สหรัฐฯ สูง และมีผลกระทบทางอ้อมต่อห่วงโซ่อุปทาน โดยไทยเป็นส่วนสำคัญในห่วงโซ่อุปทานของจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ซึ่งตกเป็นเป้าหมายของมาตรการภาษีเช่นกัน
*แนะนำ ทยอยซื้อที่ระดับ 33.90
* แนะนำ ทยอยขายที่ระดับ 36.85
* แนะนำ ทยอยซื้อที่ระดับ 0.2240
ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เปิดเผยว่าค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 33.81 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 33.94 บาท/ดอลลาร์ ดอลลาร์อ่อนค่าเทียบสกุลเงินหลัก สวนทางการดีดตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ทั้งนี้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีดีดตัวขึ้นเหนือระดับ 4.3% ขณะที่นักลงทุนพากันขายพันธบัตรในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย หลังคลายความกังวลเกี่ยวกับการทำสงครามการค้าของสหรัฐ และนักลงทุนจับตามาตรการทางภาษีของประธานาธิบดีโดนัลด์ทรัม ซึ่งส่งสัญญาณใช้ความยืดหยุ่นต่อแผนการเรียกเก็บภาษีศุลกากรตอบโต้ (reciprocal tariff) ในวันที่ 2 เม.ย.
เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 1,191 ล้านบาท และ ขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 2,750 ล้านบาท
*แนะนำ ซื้อ 33.70/ ขาย 34.00
* แนะนำ ซื้อ 36.20 / ขาย 36.70
* แนะนำ ซื้อ 0.2220/ ขาย 0.2270
ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 33.98 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าเมื่อเทียบกับราคาปิดเมื่อวานที่ระดับ 33.85 บาท/ดอลลาร์
ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก หลังจากประธานาธิบดีทรัมป์มีการส่งสัญญาณใช้ความยืดหยุ่นต่อแผนการเรียกเก็บภาษี (reciprocal tariff) โดยระบุว่ามาตรการภาษีที่จะประกาศใช้ในวันที่ 2 เม.ย. จะเป็นการประกาศใช้แบบเฉพาะเจาะจง โดยจะมีการยกเว้นภาษีสำหรับบางภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งยกเว้นภาษีสำหรับบางประเทศ
นักลงทุนจับตาดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ที่จะมีการเปิดเผยในวันศุกร์ เพื่อประเมินทิศทางอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐต่อไป
สถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย 80 ล้านบาท และซื้อสุทธิตลาดพันธบัตรไทยที่ระดับ 900 ล้านบาท
*แนะนำ ทยอยซื้อที่ 33.80/ ขาย 34.20
ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 33.87 บาท/ดอลลาร์ ใกล้เคียงกับราคาปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ที่ระดับ 33.88 บาท/ดอลลาร์
ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก และปิดตลาดในสัปดาห์ที่ผ่านมาแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับยูโร ซึ่งเป็นครั้งแรกในเดือนมี.ค. เนื่องจากนักลงทุนขายทำกำไรยูโรหลังจากพุ่งขึ้นก่อนถึงกำหนดสำหรับมาตรการภาษีตอบโต้ของสหรัฐฯ ในวันที่ 2 เม.ย. แต่หลังจากประธานาธิบดีทรัมป์ กล่าวเมื่อวันศุกร์ว่าจะมีการใช้ความยืดหยุ่นต่อแผนการเรียกเก็บภาษีตอบโต้ของสหรัฐฯ ทำให้นักลงทุนคลายความกังวลว่าอาจจะไม่รุนแรงอย่างที่วิตก
นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เน้นย้ำว่าเฟดจะไม่เร่งรีบในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย โดยส่งสัญญาณว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 2 ครั้ง ๆ ละ 0.25% ภายในปีนี้ ท่ามกลางความไม่แน่นอนจากการดำเนินนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์
นอกจากนี้ เฟดปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐในปีนี้ สู่ระดับ 1.7% จากเดิมคาดการณ์ที่ระดับ 2.1% และได้ปรับเพิ่มคาดการณ์เงินเฟ้อในปีนี้ สู่ระดับ 2.8% จากเดิมคาดการณ์ที่ระดับ 2.5%
ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ประเด็นความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศคู่ค้า รวมถึงทิศทางเงินทุนต่างชาติ (Flow) ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนี PMI ภาคการผลิตและการบริการเดือน มี.ค. (เบื้องต้น) , ยอดขายบ้านใหม่, ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน, รายได้และรายจ่ายส่วนบุคคล ดัชนี PCE/Core PCE Price Index เดือนก.พ., ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4/2567 (final) และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
สถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทย 469 ล้านบาท และซื้อสุทธิตลาดพันธบัตรไทย 669 ล้านบาท
*แนะนำ ทยอยซื้อที่ 33.50/ ขาย 34.00
* แนะนำ ซื้อ 36.50/ ขาย 36.90
* แนะนำ ซื้อ 0.2250 / ขาย 0.2300
ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 33.77 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าเล็กน้อยจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 33.76 บาท/ดอลลาร์
ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก หลังกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรก เพิ่มขึ้นเพียง 2,000 ราย สู่ระดับ 223,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 224,000 ราย
นอกจากนี้สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ (NAR) เปิดเผยว่า ยอดขายบ้านมือสองเพิ่มขึ้น 4.2% สู่ระดับ 4.26 ล้านยูนิตในเดือนก.พ. เมื่อเทียบรายเดือน และสวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดว่าลดลง 3%
นักลงทุนประเมินแถลงการณ์การประชุมเฟดครั้งล่าสุด ซึ่งคณะกรรมการเฟดได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจและปรับเพิ่มคาดการณ์เงินเฟ้อของสหรัฐฯ ในปีนี้ ขณะที่เจอโรม พาวเวล ประธานเฟดกล่าวในการแถลงข่าวว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เฟดปรับเพิ่มคาดการณ์เงินเฟ้อนั้นมาจากมาตรการภาษีศุลกากร และกล่าวว่าการที่รัฐบาลโดนัลด์ ทรัมป์ ใช้มาตรการภาษีศุลกากรนั้น จะส่งผลให้เฟดเผชิญกับความล่าช้าในการบรรลุเป้าหมายการสร้างเสถียรภาพด้านเงินเฟ้อ
สำหรับสถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ เมื่อวานนี้นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย 2,833.77 ล้านบาท และซื้อสุทธิตลาดพันธบัตรไทย 2,910 ล้านบาท
*แนะนำ ทยอยซื้อที่ 33.60/ ขาย 34.00
* แนะนำ ซื้อ 36.40 / ขาย 37.00
* แนะนำ ซื้อ 0.2250 / ขาย 0.2300
ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 33.57 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าเมื่อเทียบกับราคาปิดตลาดเมื่อวานนี้ที่ระดับ 33.65 บาท/ดอลลาร์
ดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงหลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติตรึงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับ 4.25-4.50% ในการประชุมวานนี้ ตามการคาดการณ์ของตลาด
สำหรับการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Dot Plot) เจ้าหน้าที่เฟดส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้ง ครั้งละ 0.25% รวม 0.50% ในปีนี้
นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่เฟดส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้ง ครั้งละ 0.25% ในปี 2569 และลดอัตราดอกเบี้ย 1 ครั้ง ครั้งละ 0.25% ในปี 2570
ในส่วนของการคาดการณ์เกี่ยวกับเศรษฐกิจ เฟดได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐในปีนี้ สู่ระดับ 1.7% จากเดิมคาดการณ์ที่ระดับ 2.1% และได้ปรับเพิ่มคาดการณ์เงินเฟ้อในปีนี้ เป็น 2.8% จากเดิมคาดการณ์ที่ระดับ 2.5%
นอกจากนี้ เฟดคาดการณ์อัตราว่างงานในปี 2568, 2569 และ 2570 อยู่ที่ระดับ 4.4%, 4.3% และ 4.3% ตามลำดับ
เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 1,321 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 708 ล้านบาท
*แนะนำ ซื้อ 33.40 / ขาย 33.70
* แนะนำ ซื้อ 36.40 / ขาย 36.90
* แนะนำ ซื้อ 0.2225 / ขาย 0.2265
ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 33.65 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 33.58 บาท/ดอลลาร์
ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนในลักษณะ Sideways Down จากการที่เงินดอลลาร์ยังคงถูกกดดันในทิศทางอ่อนค่าจากการแข็งค่าขึ้นของเงิน EUR และมุมมองเชิงบวกด้านราคาของทองคําเพิ่มสูงขึ้น หลังมีการทรงตัวเหนือระดับราคาจิตวิทยาที่ 3,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ นอกจากนี้ราคาทองคํายังได้รับแรงหนุนในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยที่เพิ่มมากขึ้นของนักลงทุน ตามความกังวลต่อแนวโน้มความล้มเหลวของการบรรลุข้อตกลง หยุดยิงระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาส หลังกองทัพอิสราเอลเปิดฉากโจมตีพื้นที่ฉนวนกาซา อีกทั้งยังมีความกังวลต่อเศรษฐกิจโลกและสหรัฐ สอดคล้องกับรายงานขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ที่ ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลกและสหรัฐลง
ตลาดรอผลการประชุม FOMC ของเฟด โดยประเมินว่า เฟดอาจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 4.25-4.50% เพื่อรอประเมินผลกระทบจากการดำเนินนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล Trump 2.0 ให้แน่ชัด โดยเฉพาะในส่วนของนโยบายกีดกันทางการค้าที่มีความไม่แน่นอนอยู่สูง รวมถึงรอประเมิน รายงานคาดการณ์เศรษฐกิจ (Summary of Economic Projections) และคาดการณ์แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Dot Plot) เพื่อกำหนดกลยุทธ์การลงทุนต่อไป.
สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาทวันนี้ คาดว่าเงินบาทจะมีกรอบการเคลื่อนไหวที่ 33.50-33.80 บาทต่อดอลลาร์ฯ
เมื่อวานนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตร 2,245 ล้านบาท และซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทย 886 ล้านบาท
*แนะนำ ทยอยซื้อที่ระดับ 33.50
* แนะนำ ทยอยขายที่ระดับ 36.90
* แนะนำ ทยอยซื้อ 0.2230
ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เปิดเผยว่า
ดอลลาร์อ่อนค่าเทียบสกุลเงินหลัก ขณะที่นักลงทุนจับตาการทำสงครามการค้าของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์
และการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในสัปดาห์นี้โดยคาดว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมรอบนี้ นอกจากนี้ ตลาดจับตาถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด
หลังเสร็จสิ้นการประชุมในวันที่ 19 มี.ค. เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟดในปีนี้ รวมทั้งจับตารายงานคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Dot Plot) ของเจ้าหน้าที่เฟด และตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจสหรัฐ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) อัตราว่างงาน และอัตราเงินเฟ้อ
เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 5,054 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 1,315 ล้านบาท
*แนะนำ ทยอยซื้อที่ 33.50/ ขาย 33.90
ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 33.65 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อปลายสัปดาห์ที่ระดับ 33.72 บาท/ดอลลาร์
ดอลลาร์เทรดผันผวนโดยอ่อนค่าเทียบสกุลเงินหลัก ท่ามกลางความกังวลที่ว่า นโยบายภาษีของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐ โดยอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับยูโร แต่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิสและเยน โดยได้แรงหนุนจากแนวโน้มที่รัฐบาลสหรัฐฯ จะสามารถหลีกเลี่ยงภาวะชัตดาวน์ในช่วงสุดสัปดาห์นี้ นอกจากนี้ และการปรับขึ้นของการคาดการเงินเฟ้ออาจส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจชะลอการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้
ตลาดจับตาถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟดในการประชุมในวันที่ 19 มี.ค. เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ที่ชัดเจนขึ้นของทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟด
สำหรับสถานะการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทยที่ระดับ 900 ล้านบาท และขายสุทธิตลาดพันธบัตรไทย 120 ล้านบาท
*แนะนำ ทยอยซื้อที่ 33.50/ ขาย 33.90
ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 33.68 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 33.79 บาท/ดอลลาร์
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายเนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อคืนหลังจากที่ดอลลาร์ถูกเทขายเกือบตลอดทั้งสัปดาห์ หลังเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิตมีเสถียรภาพและราคาทองคำยังได้ปัจจัยหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย หลังจากดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ต่างก็ชะลอตัวลงมากกว่าคาดในเดือนก.พ. นอกจากนี้ตลาดยังมีความกังวลในความไม่แน่นอนเกี่ยวกับนโยบายการค้าของสหรัฐ
จับตาการพิจารณาร่างกฎหมายงบประมาณชั่วคราวเพื่อหลีกเลี่ยงการปิดหน่วยงานของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ (ชัตดาวน์) ในวุฒิสภาสหรัฐฯ โดยร่างกฎหมายดังกล่าวจะต้องส่งให้ปธน.ทรัมป์ลงนามบังคับใช้เป็นกฎหมายภายในวันนี้ (14 มี.ค.) เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะชัตดาวน์
กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้ผลิต ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจเรื่องนโยบายการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ประจำเดือนก.พ. โดยดัชนี PPI ทั่วไป ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 3.2% ในเดือนก.พ. เมื่อเทียบรายปี ต่ำกว่าคาดการณ์ที่ระดับ 3.3% จากระดับ 3.7% ในเดือนม.ค. และเมื่อเทียบรายเดือน ดัชนี PPI ทั่วไป ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในเดือนก.พ. หรือปรับตัว 0.0% ต่ำกว่าคาดการณ์ว่าเพิ่มขึ้น 0.3% หลังจากดีดตัวขึ้น 0.6% ในเดือนม.ค. ส่วนดัชนี PPI พื้นฐาน (Core PPI) ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 3.4% ในเดือนก.พ. เมื่อเทียบรายปี ต่ำกว่าคาดการณ์ที่ระดับ 3.6% จากระดับ 3.8% ในเดือนม.ค.
นอกจากนี้มีการเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรก ลดลง 2,000 ราย สู่ระดับ 220,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว และต่ำกว่าคาดที่ระดับ 226,000 ราย
สำหรับสถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ เมื่อวานที่ผ่านักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย 928 ล้านบาท และขายสุทธิตลาดพันธบัตรไทย 3,741 ล้านบาท
*แนะนำ ทยอยซื้อที่ 33.50 / ขาย 34.00
แนะนำ ซื้อ 36.50 / ขาย 36.80
แนะนำ ซื้อ 0.2260 / ขาย 0.2310
ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 33.78 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 33.86 บาท/ดอลลาร์
ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก หลังจากที่สหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ต่ำกว่าคาดการณ์ ซึ่งทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้งในปีนี้ โดยจะเกิดขึ้นในเดือน มิ.ย., ก.ย.และ ธ.ค.
ดัชนี CPI ทั่วไป (Headline CPI) ของสหรัฐ ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 2.8% ในเดือน ก.พ. เมื่อเทียบรายปี ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 2.9% จากระดับ 3.0% ในเดือน ม.ค.
ส่วนดัชนี CPI พื้นฐาน (Core CPI) ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 3.1% ในเดือน ก.พ. เมื่อเทียบรายปี ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 3.2% จากระดับ 3.3% ในเดือน ม.ค.
นักลงทุนยังคงมีความกังวลว่าการทำสงครามการค้าของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ จะส่งผลให้สหรัฐเผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอย
ทั้งนี้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาแอตแลนตา เปิดเผยแบบจำลองคาดการณ์ GDPNow ล่าสุดบ่งชี้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐหดตัว -2.4% ในไตรมาส 1/2568 หลังจากก่อนหน้านี้คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐขยายตัว +2.3% ในไตรมาสดังกล่าว
วันนี้มองว่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์ จากที่ราคาทองคำ Spot ขึ้นไปแตะ ระดับ 2,937 ดอลลาร์ต่อออนซ์ จากความกังวลสงครามการค้าของทรัมป์กับประเทศคู่ค้า ที่ไม่มีความแน่นอน
สำหรับสถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ เมื่อวานนี้นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย 2,965.28 ล้านบาท และซื้อสุทธิตลาดพันธบัตรไทย 8,651 ล้านบาท
*แนะนำ ทยอยซื้อที่ 33.60/ ขาย 34.00
* แนะนำ ซื้อ 36.60 / ขาย 37.10
* แนะนำ ซื้อ 0.2260 / ขาย 0.2310
ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 33.75 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าเมื่อเทียบกับราคาปิดตลาดเมื่อวานนี้ที่ระดับ 33.80 บาท/ดอลลาร์
ดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยในสหรัฐ รวมทั้งเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้น ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุน ทำให้นักวิเคราะห์จากหลายสำนักพากันปรับลดประมาณการเศรษฐกิจสหรัฐ โดยเตือนว่าการทำสงครามการค้าของปธน.ทรัมป์กำลังสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจสหรัฐมากกว่าที่มีการคาดการณ์ไว้
นอกจากนี้นักลงทุนจับตาผลกระทบของสงครามการค้า หลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศเพิ่มการเรียกเก็บภาษีนำเข้าเหล็กและอะลูมิเนียมจากแคนาดาเป็น 50% จากเดิม 25% โดยจะมีผลบังคับใช้ในช่วงเช้าของวันพุธที่ 12 มี.ค. เพื่อตอบโต้ต่อการที่รัฐออนแทริโอของแคนาดาประกาศเรียกเก็บภาษีกระแสไฟฟ้าที่ส่งให้แก่สหรัฐฯ ในอัตรา 25%
ขณะเดียวนักลงทุนจับตาการเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ในวันพุธนี้ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่า ดัชนี CPI ทั่วไปจะปรับตัวขึ้น 2.9% ในเดือนก.พ. ส่วนดัชนี CPI พื้นฐาน (Core CPI) ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน คาดว่าปรับตัวขึ้น 3.2% ในเดือนก.พ.
เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 296 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 1,020 ล้านบาท
*แนะนำ ซื้อ 33.60 / ขาย 33.90
* แนะนำ ซื้อ 36.65 / ขาย 37.15
* แนะนำ ซื้อ 0.2270 / ขาย 0.2310
ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 33.92 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าเมื่อเทียบกับราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 33.80 บาท/ดอลลาร์
ค่าเงินบาทอ่อนค่าเช่นเดียวกับเงินในภูมิภาค นำโดยเงินหยวนของจีน เนื่องจากความกังวลต่อสงครามการค้า สัญญาณของภาวะเงินฝืดภายในประเทศจีนที่ยังคงมีอยู่ แต่เงินเยนของญี่ปุ่นถือเป็นข้อยกเว้น โดยเงินเยนยังคงอยู่ใกล้ระดับที่แข็งค่าที่สุดในรอบ 5 เดือน ท่ามกลางความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยที่เพิ่มขึ้นและความคาดหวังเกี่ยวกับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมจากธนาคารกลางญี่ปุ่น
ตลาดยังคงเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงไม่ว่าจะเป็นความไม่แน่นอนของสงครามการค้าสหรัฐฯ และความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจสหรัฐถดถอย โดยล่าสุดประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศเลื่อนเวลาการเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากเม็กซิโกและแคนาดาในอัตรา 25% ออกไปจนถึงวันที่ 2 เม.ย. ซึ่งการยกเว้นภาษีดังกล่าวจะมีผลกับสินค้าที่อยู่ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีสหรัฐฯ-เม็กซิโก-แคนาดา
การประชุมกำหนดนโยบายการเงินครั้งถัดไปของเฟดในวันที่ 18-19 มี.ค.นี้ นักวิเคราะห์คาดว่า เฟดจะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ในช่วงปัจจุบันที่ 4.25%-4.50%
สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาทวันนี้ คาดว่าเงินบาทจะมีกรอบการเคลื่อนไหวที่ 33.80-34.20 บาท/ดอลลาร์ฯ
เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดพันธบัตร 198 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 3,372 ล้านบาท
*แนะนำ ทยอยซื้อที่ระดับ 33.80
* แนะนำ ทยอยขายที่ระดับ 36.90
* แนะนำ ทยอยขาย 0.2340
ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 33.74 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ที่ระดับ 33.66 บาท/ดอลลาร์
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก หลังจากการเปิดเผยข้อมูลบ่งชี้ว่า ตลาดแรงงานสหรัฐฯ ที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกชะลอตัวลงในเดือน ก.พ. โดยมีการจ้างงานน้อยกว่าที่คาดไว้ กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยในวันศุกร์ว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นเพียง 151,000 ตำแหน่งในเดือน ก.พ. ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 159,000 ตำแหน่ง ขณะที่อัตราการว่างงานปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 4.1% สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 4.0%
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 6,359 ล้านบาท และ ซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทย 1,408 ล้านบาท
*แนะนำ ซื้อ 33.60/ ขาย 33.90
* แนะนำ ซื้อ 36.40 / ขาย 36.90
* แนะนำ ซื้อ 0.2250/ ขาย 0.2300
ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 33.73 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 33.77 บาท/ดอลลาร์ โดยยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบเดิม 33.50-34.00 บาท/ดอลลาร์ และผันผวนระหว่างวัน
ดอลลาร์อ่อนค่าเทียบสกุลเงินหลัก สวนทางการดีดตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ และการปรับขึ้นของราคาทอง ขณะที่นักลงทุนยังคงมีความกังวลต่อการทำสงครามการค้าของสหรัฐ แม้ว่าประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐ ได้ตัดสินใจเลื่อนเวลาการเรียกเก็บภาษีนำเข้ารถยนต์จากแคนาดาและเม็กซิโกออกไปอีก 1 เดือน
ตลาดจับตาตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรในวันศุกร์นี้ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ตัวเลขจ้างงานเพิ่มขึ้น 159,000 ตำแหน่งในเดือนก.พ. หลังจากเพิ่มขึ้น 143,000 ตำแหน่งในเดือนม.ค. และคาดว่าอัตราว่างงานทรงตัวที่ระดับ 4.0%
เมื่อวานนี้ สถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย 4,700 ล้านบาท และซื้อสุทธิตลาดพันธบัตรไทย 5,069 ล้านบาท
*แนะนำ ทยอยซื้อที่ 33.60/ ขาย 34.00
ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 33.59 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 33.65 บาท/ดอลลาร์ โดยค่าเงินบาทแข็งค่าตามทิศทางสกุลเงินในภูมิภาค เนื่องจากตลาดกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจส่งสัญญาณชะลอตัวลง หลังจากหลายประเทศเริ่มมีมาตรการตอบโต้กำแพงภาษีของสหรัฐฯ ส่งผลให้ดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น
ดอลลาร์อ่อนค่าเทียบสกุลเงินหลัก หลังสหรัฐส่งสัญญาณประนีประนอมในการแก้ไขความขัดแย้งทางการค้ากับแคนาดาและเม็กซิโก มีรายงานว่าประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ ได้ตัดสินใจเลื่อนเวลาเรียกเก็บภาษีนำเข้ารถยนต์จากแคนาดาและเม็กซิโก ออกไปอีก 1 เดือน ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีสหรัฐฯ-เม็กซิโก-แคนาดา (USMCA) หลังจากที่ปธน.ทรัมป์เคยกดดันที่จะเรียกเก็บภาษีต่อสินค้าที่นำเข้าจากประเทศทั้งสองสูงถึง 25% นอกจากนี้ ดอลลาร์ถูกกดดันจากการที่นักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้งในปีนี้ โดยจะเกิดขึ้นในเดือน มิ.ย.,ก.ย.และ ธ.ค. หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขภาคการผลิตที่อ่อนแอ และล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 93.0% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 4.25-4.50% ในการประชุมเดือนมีนาคมนี้ และคาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือน พ.ค. ก่อนที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 4.00-4.25% ในการประชุมเดือน มิ.ย. และคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับดังกล่าวในการประชุมเดือนก.ค. ก่อนที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 3.75-4.00% ในการประชุมเดือน ก.ย. และคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนต.ค. ก่อนที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 3.50-3.75% ในการประชุมเดือน ธ.ค.
ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของสหรัฐปรับตัวลง สู่ระดับ 50.3 ในเดือนก.พ. และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 50.6 จากระดับ 50.9 ในเดือนม.ค. โดยดัชนี PMI ได้รับผลกระทบจากการดิ่งลงของคำสั่งซื้อใหม่และการจ้างงาน รวมทั้งความกังวลเกี่ยวกับการทำสงครามการค้าของสหรัฐ นอกจากนี้มีการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐต่ำสุดในรอบ 7 เดือน ซึ่งทำให้นักลงทุนกังวลเกี่ยวกับการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ การจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐเพิ่มขึ้นเพียง 77,000 ตำแหน่งในเดือน ก.พ. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค.2567 และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 148,000 ตำแหน่ง หลังจากเพิ่มขึ้น 186,000 ตำแหน่งในเดือน ม.ค.
สัปดาห์นี้จับตาการรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ หรือ Beige Book จากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด), จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ยอดนำเข้า ยอดส่งออก และดุลการค้าเดือน ม.ค. และตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือน ก.พ.โดยคาดการณ์ว่า ตัวเลขจ้างงานเพิ่มขึ้น 156,000 ตำแหน่งในเดือน ก.พ. หลังจากเพิ่มขึ้น 143,000 ตำแหน่งในเดือนม.ค. และคาดว่าอัตราว่างงานทรงตัวที่ระดับ 4.0%
เมื่อวานนี้ สถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ ซื้อสุทธิหุ้นไทย 1,379 ล้านบาท และซื้อสุทธิตลาดพันธบัตรไทย 4,537 ล้านบาท
ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 33.69 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 33.85 บาท/ดอลลาร์
ค่าเงินบาทแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ ตามการปรับตัวสูงขึ้นของราคาทองคำโลก โดยราคาทองฟิวเจอร์พุ่งขึ้นกว่า 30 ดอลลาร์ ทะลุ 2,930 ดอลลาร์เมื่อคืนที่ผ่านมา ขณะที่นักลงทุนเข้าซื้อทองในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการทำสงครามการค้าของสหรัฐกับประเทศคู่ค้า
นอกจากนี้ ราคาทองยังได้ปัจจัยบวกจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ ซึ่งจะเพิ่มความน่าดึงดูดของทองคำ ทำให้สัญญาทองคำมีราคาถูกลงสำหรับผู้ถือครองเงินสกุลอื่น
ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ยืนยันเดินหน้าเรียกเก็บภาษีศุลกากรต่อสินค้านำเข้าจากจีน แคนาดาและเม็กซิโกตั้งแต่วันที่ 4 มี.ค. ที่ผ่านมา โดยสหรัฐจะเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากแคนาดาและเม็กซิโกในอัตรา 25% และเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีนในอัตรา 20% นอกจากนี้ สหรัฐจะเริ่มใช้มาตรการภาษีศุลกากรตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับทุกประเทศที่เก็บภาษีต่อสินค้านำเข้าจากสหรัฐตั้งแต่วันที่ 2 เม.ย.
ทั้งนี้จีนได้ตอบโต้มาตรการภาษีกับสหรัฐทันทีโดยจะเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ บางรายการเพิ่มอีก 15% โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 มี.ค. พร้อมกับควบคุมการส่งออกสินค้าไปยังบริษัทสหรัฐฯ จำนวน 15 แห่ง
ตลาดจับตาตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐในวันศุกร์นี้ นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ตัวเลขจ้างงานจะเพิ่มขึ้น 156,000 ตำแหน่งในเดือนก.พ. หลังจากเพิ่มขึ้น 143,000 ตำแหน่งในเดือนม.ค. และคาดว่าอัตราว่างงานทรงตัวที่ระดับ 4.0%
ขณะเดียวกัน นักลงทุนจับตาการกล่าวสุนทรพจน์ของปธน.ทรัมป์ต่อสภาคองเกรสสหรัฐ ซึ่งจะเป็นการกล่าวปราศรัยต่อสมาชิกรัฐสภาสหรัฐและชาวอเมริกันทั่วประเทศเป็นครั้งแรก หลังจากที่ปธน.ทรัมป์รับตำแหน่งประธานาธิบดีเพียง 6 สัปดาห์ หลังการสาบานตนรับตำแหน่งเมื่อวันที่ 20 ม.ค.ที่ผ่านมา
โดยการกล่าวสุนทรพจน์ของปธน.ทรัมป์ต่อที่ประชุมร่วมวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐในครั้งนี้มีกำหนดจัดขึ้นในคืนวันอังคารที่ 4 มี.ค. เวลา 21.00 น.ตามเวลาสหรัฐ หรือตรงกับเช้าวันพุธที่ 5 มี.ค. เวลา 09.00 น.ตามเวลาไทย
สำหรับสถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ เมื่อวานที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย 884.39 ล้านบาท และขายสุทธิตลาดพันธบัตรไทย 2,271 ล้านบาท
*แนะนำ ทยอยซื้อที่ 33.40/ ขาย 33.90
* แนะนำ ซื้อ 36.20/ ขาย 36.50
* แนะนำ ซื้อ 0.2240/ ขาย 0.2290
*แนะนำ ทยอยซื้อที่ 33.50/ ขาย 33.90
* แนะนำ ซื้อ 35.50 / ขาย 36.00
* แนะนำ ซื้อ 0.2230 / ขาย 0.2280
ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 34.05 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าเมื่อเทียบกับราคาปิดตลาดเมื่อวานนี้ที่ระดับ 34.17 บาท/ดอลลาร์
ดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงหลังสหรัฐฯ เปิดเผยดัชนีภาคการผลิตที่อ่อนแอเกินคาด ขณะที่นักลงทุนจับตาข้อมูลแรงงานของสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)
โดยเมื่อวานนี้สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐฯ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต ปรับตัวลงสู่ระดับ 50.3 ในเดือน ก.พ. ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ โดยดัชนีภาคการผลิตได้รับผลกระทบจากการปรับตัวลงของคำสั่งซื้อใหม่และการจ้างงาน รวมทั้งความกังวลเกี่ยวกับการทำสงครามการค้าของสหรัฐฯ
สัปดาห์นี้ตลาดให้ความสนใจตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่จะประกาศในวันศุกร์นี้ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ตัวเลขจ้างงานเพิ่มขึ้น 156,000 ตำแหน่งในเดือน ก.พ. หลังจากเพิ่มขึ้น 143,000 ตำแหน่งในเดือน ม.ค. และคาดว่าอัตราว่างงานทรงตัวที่ระดับ 4.0%
เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 6,119 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 1,523 ล้านบาท
*แนะนำ ซื้อ 33.90 / ขาย 34.20
* แนะนำ ซื้อ 35.45 / ขาย 35.95
* แนะนำ ซื้อ 0.2245 / ขาย 0.2285
ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 34.25 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าขึ้นเมื่อเทียบกับราคาปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ที่ระดับ 34.18 บาท/ดอลลาร์
ค่าเงินบาทมีสัญญาณการกลับตัวอ่อนค่าตั้งแต่ช่วงกลาง-ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังกนง. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยลง 0.25% มาที่ระดับ 2.00% ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ ยังมีแรงหนุนเพิ่มเติมตามสัญญาณตึงเครียดของสงครามการค้า หลังประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ กล่าวย้ำว่าสหรัฐฯจะมีการเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากแคนาดาและเม็กซิโกในอัตรา 25% และจะเรียกเก็บภาษีนำเข้าจากจีนเพิ่มอีก10% โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 4 มี.ค. นี้
ค่าเงินบาทยังถูกกดดันจากทิศทาง Fund flow ต่างชาติ และการย่อตัวลงของราคาทองคำในตลาดโลกที่หลุดระดับ 2,900 ดอลลาร์ฯ ต่อออนซ์ลงมา สำหรับข้อมูล ดัชนีราคา PCE ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ ซึ่งเผยแพร่ในวันศุกร์ใกล้เคียงกับที่ตลาดคาดการณ์ โดยตัวเลขเพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนมกราคม และเพิ่มขึ้น 2.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาทวันนี้ คาดว่าเงินบาทจะมีกรอบการเคลื่อนไหวที่ 34.10-34.40 บาทต่อดอลลาร์ฯ
เมื่อวันศุกร์นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดพันธบัตร 5,022 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 4,964 ล้านบาท
*แนะนำ ทยอยซื้อที่ระดับ 34.10
* แนะนำ ทยอยซื้อที่ระดับ 35.30
* แนะนำ ทยอยขาย 0.2300