บริษัทในเครือ ปตท.ทั้งหมดที่จะทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีจำนวน 7-8 บริษัท หากนับมูลค่ากิจการรวมของทุกบริษัทรวมเรียกได้ว่ามีมูลค่ามาร์เก็ตแคปรวมกันเกือบแตะ 3 ล้านล้านบาท เรียกว่าเป็นกลุ่มบริษัทที่มมูลค่ามากที่สุดในตลาดหลักหลักทรัพย์ฯ เพราะแค่บริษัทแม่อย่าง บมจ.ปตท. หรือ PTT เพียงเจ้าเดียวก็มีมูลค่ามาร์เก็ตแคปทะลุ 1 ล้านล้านบาทไปแล้ว บริษัทในเครือ ปตท.ทั้งหมดที่จะทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีจำนวน 7-8 บริษัท
หากนับมูลค่ากิจการรวมของทุกบริษัทรวมเรียกได้ว่ามีมูลค่ามาร์เก็ตแคปรวมกันเกือบแตะ 3 ล้านล้านบาท เรียกว่าเป็นกลุ่มบริษัทที่มมูลค่ามากที่สุดในตลาดหลักหลักทรัพย์ฯ เพราะแค่บริษัทแม่อย่าง บมจ.ปตท. หรือ PTT เพียงเจ้าเดียวก็มีมูลค่ามาร์เก็ตแคปทะลุ 1 ล้านล้านบาทไปแล้ว
ขณะที่หุ้นกลุ่ม ปตท. ถือว่าเป็นหุ้นยอดนิยมสำหรับนักลงทุนระยะยาวที่หวังลงทุนเพื่อกินเงินปันผลแบบยาวๆ เพราะถือว่า ปตท. เป็นบริษัทพลังงานแห่งชาติขนาดใหญ่ของไทยที่มีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ แน่นอนว่าในช่วงนี้กำลังเข้าสู่ฤดูกาลการประกาศจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล
โดยเฉพาะผู้ถือหุ้นของกลุ่ม ปตท. ที่ต่างเฝ้ารอการประกาศตัวเลขของบริษัทในเครือ ปตท. โดย ณ ข้อมูลปัจจุบันถึงวันที่ 16 ก.ย. 2565 มีบริษัทในเครือ ปตท. จำนวน 5 แห่งที่ประกาศจ่ายปัลผลระหว่างกาลจากผลการดำเนินงานงวด 6 เดือนแรกของปี 2565 ทำให้ผู้ถือหุ้นได้เฮกันตามๆ กันจะมีหุ้นตัวไหนบ้าง แต่หุ้นจ่ายเงินปันผลเพิ่มขึ้นหรือลดลงบ้าง ทีมข่าว 'SPOTLIHGT' จะพาไปติดตามกัน
เริ่มต้นด้วยบริษัทแม่ คือ บมจ.ปตท.(PTT) ที่ใจปั้มสุดๆ เอาใจผู้ถือหุ้นด้วยการประกาศจ่ายเงินปันระหว่างกาลมากที่สุดในกลุ่ม รวมเป็นจำนวนเงิน 37,132 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 58% ของกำไรที่ ปตท. ทำได้ในช่วงงวด 6 เดือนแรกของปี 2565 โดยจ่ายในอัตรา 1.30 บาท/หุ้น เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วถึง 8.33% ที่จ่ายปันผลไป 1.20 บาท/หุ้น โดยแบ่งเป็รเงินปันผลจำนวน 0.87 บาท/หุ้น รวมเป็นเงินประมาณ 24,850 ล้านบาท
โดยเป็นการจ่ายจากกำไรสะสมที่ยังไม่จัดสรรในส่วนของกำไรจากการดำเนินงาน ปตท.เอง และอีกก้อนคือ เงินปันผลจำนวน 0.43 บาท/หุ้น รวมเป็นเงินประมาณ 12,282 ล้านบาท จ่ายจากกำไรสะสมที่ยังไม่จัดสรรในส่วนของกำไรจากเงินปันผลจากบริษัทลูก บมจ ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) ที่ ปตท.ถือหุ้นอยู่ โดย ปตท. กำหนดจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นในวันที่ 12 ต.ค. 2565
สำหรับเงินปันผลของ ปตท.ที่ช่วงงวด 6 เดือนแรกของปี 2565 ที่จ่ายออกมาได้เพิ่มขึ้ยนั้น แน่นอนเป็นไปตามผลการดำเนินงานงวด 6 เดือนแรก ปี2565 ปตท. และบริษัทในกลุ่มทั้งในและต่างประเทศ มีกำไรสุทธิจำนวน 64,419 ล้านบาท เติบโตขึ้น 12.7% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยส่วนหนึ่งได้อานิสงส์จากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น โดยราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ย 6 เดือนแรกปี 2565 อยู่ที่่ 101.8 เหรียญสหรัฐฯต่อบำร์เรล เพิ่มขึ้นถึง 60.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีราคาเฉลี่ยที่ 63.5 เหรียญสหรัฐฯต่อบำร์เรล
ตามมาด้วยบริษัทบริษัทลูกอย่าง บมจ ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) ที่ทุ่มเงินจ่ายเงินปันระหว่างกาลปี 2565 มากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 จำนวนเงิน 16,872 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 54.22% ของกำไรที่ ปตท. สผ. ทำได้ในช่วงงวด 6 เดือนแรกของปี 2565 โดยจ่ายในอัตรา 4.25 บาท/หุ้น เพิ่มถึง 112.50% จากงวดเดียวกันของปี 2564 ที่จ่ายปันผลไป 2 บาท/หุ้น โดย ปตท.สผ. ได้จ่ายเงินเป็นที่เรียบร้อยแล้วในวันที่ 26 ส.ค. 2565 ที่ผ่านมา
ขณะที่เงินปันผลระหว่างกาลของปี 2565 ของ ปตท.สผ. เมื่อคำนวณออกมาเป็นเปอร์เซนต์ของการเติบโตจะเห็นว่าเติบโตมากที่สุดในกลุ่มของ ปตท. ซึ่งสอดคล้องกับผลการดำเนินงานของ ปตท.สผ.ที่เติบโตอย่างโดดเด่นซึ่งในช่วง 6 เดือนแรกปีนี้ทำกำไรสุทธิที่ 918 ล้านดอลลาร์ หรือ 31,119 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 54% จากช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา ที่มีกำไรสุทธิ 598 ล้านดอลลาร์ หรือ 18,673 ล้านบาท มาจากปัจจัยสนับสนุนทั้งจากรายได้รายได้จากการขายที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับปริมาณการขายปิโตรเลียมที่เพิ่มขึ้น โดยปัจจัยหลักมาจากการเข้าซื้อโครงการโอมาน แปลง 61ในเดือนมี.ค. 2564 และโครงการจี1/61 ที่เริ่มการผลิตในเดือน เม.ย. 2565 รวมถึงโครงการอาทิตย์ที่ผู้ซื้อรับก๊าซธรรมชาติในปริมาณเพิ่มขึ้นด้วย
ส่วน บมจ.ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก(OR) ถือน้องใหม่สุดในกลุ่ม ปตท. เริ่มที่เข้าเป็นสมาชิกในตลาดหุ้นช่วงต้นปี 2564 เท่านั้น รอบนี้โชว์ฟอร์มปันผลเป็นจำนวนเงินสูงสุดมาเป็นอันดับที่ 3 รวมจํานวน 4,200 ล้านบาท โดยคิดเป็นอัตราการจ่ายเงินปันผลประมาณ 40.3% ของกําไรสุทธิของงบการเงินรวม โดยจ่ายที่อัตรา 0.35 บาท/หุ้น เพิ่มขึ้น 29.63 % จากงวดปีที่แล้วที่จ่ายไป 0.27 บาทต่อหุ้น โดยกําหนดจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลให้แก่ผู้ถือหุ้นในวันที่ 19 ก.ย. 2565
เนื่องจากผลการดำเนินงานงวดปี 6 เดือนแรกช่วงปี 2565 ของ OR มีกำไรสุทธิ จำนวน 10,413 ล้านบาท สูงขึ้นกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 3,185 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 44.1% เนื่องจากทั้งรายได้ขายและบริการและกำไรก่อนภาษี ค่าเสื่อม และดอกเบี้ยจ่าย (EBITDA) ที่เพิ่มขึ้น เป็นผลบวกมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ที่ภาครัฐใช้มาตรการผ่อนคลายมากกว่า ทำให้ภาพรวมผลการดำเนินงานดีขึ้นในทุกกลุ่มธุรกิจ
เช่นเดียวกันกับด้านปริมาณขายก็ปรับเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มธุรกิจ โดยสถานการณ์การใช้น้ำมันในประเทศ กรมธุรกิจพลังงานรายงานภาพรวมการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง รอบ 6 เดือนปี 2565 อยู่ที่ 152.14ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 12.4% โดย น้ำมันอากาศยานเชิงพาณิชย์ (Jet A1) เพิ่มขึ้น 62.4% กลุ่มดีเซลเพิ่มขึ้น 15.8% LPG เพิ่มขึ้น 8.6% น้ำมันเตาเพิ่มขึ้น 20.1%
ขณะที่ บมจ. พีทีที โกลบอล เคมิคอล(PTTGC) ทุ่มเงิน 3,382 ล้านบาท จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลจากกำไรสะสมในอัตรา 0.75 บาท/หุ้น โดยจะจ่ายเงินปันผลในวันที่ 21 ก.ย.2565 โดยเงินปันผลของ PTTGC ที่ออกมาถือว่าลดลงถึง 62.5% จากงวดเดียวกันของปีที่แล้ว ในอัตรา 2 บาท/หุ้น ก็ถือว่าสอดคล้องกับงบการเงินของ PTTGC งวด 6 เดือดแรกปี 2565 ที่ออกมีกำไรที่ 5,600 ล้านบาท ลดลงอย่างหนักถึง 84% จากงวดเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิมากถึง 34,730 ล้านบาท
ขณะที่ปริมาณขายรวมในไตรมาส 2/2564 ของผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีปรับลดลง เพราะมีการปิดซ่อมบำรุงตามแผนของโรงโอเลฟินส์หน่วยที่ 3 โรงอะโรเมติกส์หน่วยที่ 1 รวมถึงโรง LDPE และ LLDPE รวมทั้งรับรู้รผลขาดทุนจากตราสารอนุพันธ์เพื่อประกันความเสี่ยง 12,734 ล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักจากส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นจริงสูงกว่าราคาที่ทำประกันความเสี่ยงไว้ โดยเป็นการรับรู้ที่เกิดขึ้นแล้ว (realized) 11,598 ล้านบาท และที่ยังไม่เกิดขึ้น (unrealized) จำนวน 1,136 ล้านบาท และมีผลขาดทุนทางบัญชีจากอัตราแลกเปลี่ยน 4,378 ล้านบาท
บมจ.โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่(GPSC) ได้ประกาศจ่ายเงินปันผลสำหรับผลประกอบการ 6 เดือนแรกของปี 2565 ในอัตราหุ้นละ 0.20 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 563.95 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 57 % ของกำไรสุทธิของงบการเงินรวม โดยเงินปันผลงวด 6 เดือนแรกปี 2565 ลดลง 60% จากงวดเดียวกันของปีที่แล้ว
โดยแน่นอนว่าเงินปันผลที่ลดลงของ GPSC เป็นไปตามกำไรงวด 6 เดือนแรก ปี 2565 ที่ออกมาอยู่ที่ 997 ล้านบาท ลดลง 3,279 ล้านบาท หรือลดลง 77% จากงวด 6 เดือนแรกปี 2564 โดยมีสาเหตุหลักที่มากระทบ คือ กำไรขั้นต้นของโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก (SPP) ในงวด 6 เดือนแรก ปี 2565 มีมูลค่า 3,375 ล้านบาท ลดลง 4,889 ล้านบาท หรือลดลง 59% จากงวด 6 เดือนแรก ปี 2564 โดยมีสาเหตุหลักมาจากราคาก๊าซธรรมชาติและถ่านหินที่มีราคาปรับตัวสูงขึ้นอย่างมากตามทิศทางราคาน้ำมันในตลาดโลก ส่งผลกระทบให้อัตรากำไร (margin) จากการขายไฟฟ้าให้กับลูกค้าอุตสาหกรรมลดลง