Highlight
ไฮไลต์
กรุงเทพฯ และปริมณฑลยังคงเป็นพื้นที่เป้าหมายสำหรับการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะทำเลใจกลางเมืองอย่าง เพลินจิต-ชิดลม ซึ่งราคาที่ดินสูงสุดแตะ 3.75 ล้านบาทต่อตารางวา ณ สิ้นปี 2567
กรุงเทพฯ และปริมณฑลยังคงเป็นพื้นที่เป้าหมายสำหรับการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะทำเลใจกลางเมืองอย่าง เพลินจิต-ชิดลม ซึ่งราคาที่ดินสูงสุดแตะ 3.75 ล้านบาทต่อตารางวา ณ สิ้นปี 2567 ส่วนทำเลอื่น ๆ ก็มีราคาที่ดินเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยได้รับอิทธิพลจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการลงทุนโครงการที่อยู่อาศัย
SPOTLIGHT รวมรวบ 10 อันดับทำเลทองราคาที่ดินสูงสุดในกรุงเทพฯและปริมณฑลที่คาดการณ์ว่าจะมีราคาเพิ่มสูงขึ้น 5-10%ในปี 2568 นี้
10 อันดับทำเลราคาที่ดินสูงสุดในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ปี 2568
- ถนนชิดลม-เพลินจิต: 3,750,000 บาท/ตารางวา
- ถนนวิทยุ: 3,100,000 บาท/ตารางวา
- ถนนสุขุมวิทตอนต้น: 2,940,000 บาท/ตารางวา
- ถนนสุขุมวิท 21 (อโศก): 2,730,000 บาท/ตารางวา
- ถนนสีลม: 2,700,000 บาท/ตารางวา
- ถนนสาทร: 2,400,000 บาท/ตารางวา
- ถนนสุขุมวิท (เอกมัย): 1,950,000 บาท/ตารางวา
- ถนนเยาวราช: 1,900,000 บาท/ตารางวา
- ถนนพญาไท: 1,850,000 บาท/ตารางวา
- ถนนพหลโยธิน (ตอนต้น) : 1,800,000 บาท/ตารางวา
สงขลาและเชียงใหม่ราคาพุ่ง
นอกจากพื้นที่กรุงเทพฯ ราคาที่ดินในจังหวัดสำคัญของภูมิภาคก็มีการขยับขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- จังหวัดสงขลา: ราคาที่ดินเฉลี่ยสูงสุด 400,000 บาท/ตารางวา
- จังหวัดเชียงใหม่: ราคาที่ดินเฉลี่ยสูงสุด 250,000 บาท/ตารางวา
ปัจจัยผลักดันราคาที่ดินในปี 2568
นายปริสุทธิ์ รอดจากภัย ผู้อำนวยการฝ่ายสำรวจวิจัย บริษัท โปรสเปค แอพเพรซัล จำกัด บริษัทประเมินราคาทรัพย์สินและที่ดิน เปิดเผยว่า การปรับราคาที่ดินขึ้นในแต่ละทำเลมีปัจจัยสำคัญดังนี้:
- โครงสร้างพื้นฐานภาครัฐ: การลงทุนในถนน รถไฟฟ้า ทางด่วน และสนามบิน ช่วยยกระดับการเดินทางและเพิ่มความน่าสนใจในพื้นที่
- การขยายตัวของเมือง: พื้นที่ที่เชื่อมต่อการเดินทางได้สะดวก เช่น กรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออกและตะวันตก กลายเป็นทำเลทอง
- การพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่: ทั้งโครงการที่อยู่อาศัยและห้างสรรพสินค้าในพื้นที่กรุงเทพฯ
ปัจจัยผลักดันราคาที่ดินในปี 2568
นายปริสุทธิ์ รอดจากภัย ผู้อำนวยการฝ่ายสำรวจวิจัย บริษัท โปรสเปค แอพเพรซัล จำกัด บริษัทประเมินราคาทรัพย์สินและที่ดิน เปิดเผยว่า การปรับราคาที่ดินขึ้นในแต่ละทำเลมีปัจจัยสำคัญดังนี้:
- โครงสร้างพื้นฐานภาครัฐ: การลงทุนในถนน รถไฟฟ้า ทางด่วน และสนามบิน ช่วยยกระดับการเดินทางและเพิ่มความน่าสนใจในพื้นที่
- การขยายตัวของเมือง: พื้นที่ที่เชื่อมต่อการเดินทางได้สะดวก เช่น กรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออกและตะวันตก กลายเป็นทำเลทอง
- การพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่: ทั้งโครงการที่อยู่อาศัยและห้างสรรพสินค้าในพื้นที่กรุงเทพฯ
ทำเลน่าลงทุน: กรุงเทพกรีฑา-พุทธมณฑลบูมต่อเนื่อง
- กรุงเทพกรีฑาตัดใหม่: ได้รับฉายา “เบเวอร์ลี่ฮิลส์เมืองไทย” ถนนขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกับถนนหลักหลายสาย เช่น ศรีนครินทร์ รามคำแหง และมอเตอร์เวย์ กรุงเทพฯ-ชลบุรี ทำให้เกิดโครงการบ้านเดี่ยวระดับไฮเอนด์มากมาย
- พุทธมณฑลสาย 1-2: เหมาะสำหรับกลุ่มลูกค้าบุคลากรทางการแพทย์ ด้วยทำเลที่เชื่อมต่อการเดินทางสะดวก เช่น รถไฟฟ้าสีแดง และถนนพรานนก-พุทธมณฑลสาย 4
ทำเลคอนโดฯ เด่น: จรัญสนิทวงศ์-กรุงธนบุรี
- จรัญสนิทวงศ์: ช่วงสามแยกไฟฉาย ได้รับอิทธิพลจากรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เหมาะสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานในโรงพยาบาลใกล้เคียง
- กรุงธนบุรี: อยู่ติดกับเขตสาทร การเดินทางเข้าเมืองสะดวก เหมาะสำหรับพนักงานออฟฟิศในย่านสีลมที่มองหาคอนโดฯ ราคาประหยัด
วันแบงค็อก มิกซ์ยูสสุดร้อนแรง บนทำเลพระราม 4
โครงการขนาดใหญ่ในย่านพระราม 4 อย่าง วันแบงค็อก และ ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค มีส่วนสำคัญในการผลักดันราคาที่ดินในพื้นที่ให้ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะเมื่อโครงการ วันแบงค็อก เปิดให้บริการเต็มรูปแบบเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2567 และเป็นศูนย์กลางการจัดงาน เคาท์ดาวน์ 2025 ระดับโลก
ราคาที่ดินปี 2568 สะท้อนแนวโน้มเศรษฐกิจ
การปรับราคาที่ดินในแต่ละทำเลแสดงให้เห็นถึงศักยภาพการลงทุนและการพัฒนาที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค ทั้งในด้านการอยู่อาศัยและพาณิชยกรรม
ที่มา : บริษัท โปรสเปค แอพเพรซัล จำกัด