โดยเมื่อวานนี้ 1 พฤษภาคม 2567 เป็นวันแรงงานแห่งชาติ นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (รมว.แรงงาน) กล่าวภายหลังการเปิดกิจกรรมวันแรงงานแห่งชาติประจำปี 2567 ณ ลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท/วันในทุกกิจการ ทุกอาชีพ ทุกจังหวัด ถือเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลในการประกาศประกาศไว้ในปี 2567 นี้
โดยนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศอย่างชัดว่า จะมีการประกาศค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท/วันในวันที่ 1 ตุลาคม 2567 นี้แน่นอน เพื่อให้ผู้ใช้แรงงานมีสวัสดิภาพ และสวัสดิการที่ดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทวัน ทั่วประเทศ ไม่สามารถดำเนินการได้ทันที เนื่องจากต้องมีการหารือร่วมกับคณะกรรมการค่าจ้าง หรือไตรภาคี ซึ่งมี นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธาน และต้องมีการศึกษาข้อมูลต่างๆ ว่ากิจการใดที่มีความพร้อมหรือไม่พร้อม และถ้าไม่พร้อม ต้องทำอย่างไรให้พร้อม ซึ่งนับจากนี้ยังมีระยะเวลาอีก 5-6 เดือนในการประสานงานให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ยังไม่พร้อม โดยเฉพาะกลุ่มSME ที่เป็นผู้ถือครองแรงงานมากที่สุด
ทั้งนี้ นโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นนโยบายของรัฐบาล แต่เมื่อประกาศไปแล้วต้องมีการดำเนินการให้สมบูรณ์ ให้ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะ SME สามารถเดินต่อไปได้ด้วย หลังจากนี้ ทางกระทรวงแรงงานจะเชิญเจ้าของธุรกิจ และ SME มาหารือกัน
อย่างไรก็ตาม คงต้องติดตามรายละเอียดและความคืบหน้าในการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างที่จะมีผลในวันที่ 14 พฤษภาคม 2567 นี้
โดยบริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ประเมินว่า หากมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทต่อวันในทุกอาชีพ ทุกกิจการทั่วประเทศ ในวันที่ 1 ตุลาคม 2567 นี้ จะคิดเป็นการปรับเพิ่มขึ้น 16% เมื่อเทียบกับค่าแรงเฉลี่ยในปัจจุบันที่ 345 บาทต่อวัน ซึ่งถือว่าเป็นการปรับเพิ่มขึ้นในอัตรที่เร่งมากสุดนับตั้งแต่ปี 2555
สำหรับผลกระทบของการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทต่อวันทั่วประเทศ 1 ตุลาคมนี้ พบว่า
2. กลุ่มที่เสียประโยชน์
แต่อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าผู้ประกอบการในภาคธุรกิจต่างๆ จะค่อยๆ ปรับตัว ทำให้ผลกระทบดังกล่าวมีน้อยลงได้
ดร.ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย ได้ออกมาเปิดเผยว่า นโยบายการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศภายใน 1 ตุลาคม 2567 สำคัญไม่แพ้กับ นโยบายดิจิทัลวอลเล็ต แต่คำถามคือรั ฐบาลสามารถประกาศค่าจ้างขั้นต่ำล่วงหน้าได้หรือไม่ เนื่องจากกฎหมายของไทยกำหนดให้คณะกรรมการค่าจ้างหรือไตรภาคีเป็นผู้พิจารณา กฎหมายนี้เริ่มใช้ตั้งแต่ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 คือใช้ต่อเนื่องกันมา 52 ปี แม้แต่พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2560 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันกำหนดให้การปรับค่าจ้างเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการ ค่าจ้างโดยต้องพิจารณาตามสูตรการคำนวณเชิงเศรษฐศาสตร์และคณิตศาสตร์
ซึ่งปีพ.ศ. 2567 มีการปรับค่าจ้างไปสองครั้งคือวันที่ 1 มกราคม มี 17 อัตรา ต่ำสุด 2 บาท และสูงสุด 16 บาท อัตราเฉลี่ยค่าจ้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.37 ต่อมาวันที่ 12 เมษายน มีการปรับค่าจ้าง 400 บาท เฉพาะจังหวัดที่เกี่ยวกับท่องเที่ยวและเป็นบางพื้นที่ไม่ใช่ทั้งจังหวัดมีแรงงานประมาณ 30,000 คน
ทั้งนี้สถานประกอบการที่อยู่ในภาคท่องเที่ยวการจ่ายค่าจ้างสูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดแรงงานทำให้ผลกระทบต่อผู้ประกอบการไม่มาก การปรับค่าจ้าง 400 บาททั่วประเทศแตกต่างกันไม่สามารถอนุมานจากการนำร่อง 10 จังหวัดท่องเที่ยวมาใช้ได้ เหตุเพราะเกี่ยวข้องกับแรงงานในระบบประกันสังคม11.882 ล้านคนและแรงงานนอกระบบอีกประมาณ 13.733 ล้านคน นอกจากนี้ยังมีแรงงานต่างด้าวอีกไม่น้อยกว่า 3.313 ล้านคน
ฉากทัศน์ตลาดแรงงาน ณ สิ้นปี 2566 มีสถานประกอบการประมาณ 8.504 แสนกิจการ ในจำนวนนี้เป็นโรงงานอุตสาหกรรมจำนวน 72,699 โรงงาน ส่วนใหญ่เป็นรายย่อยไปจนถึงขนาดกลาง ได้แก่
ข้อมูลที่กล่าวข้างต้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงผลกระทบต่อสถานประกอบการกว่า 90 % เป็นรายย่อยและ SMEs ส่วนใหญ่ใช้แรงงานเข้มข้นผลิตภัณฑ์ขาดนวัตกรรมและแบรนด์ เป็นอุตสาหกรรมรับจ้างการผลิตมีความอ่อนไหวต่อต้นทุน
การปรับค่าจ้าง 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศซึ่งจะผลักดันดีเดย์ วันที่ 1 ตุลาคม 2567 มีอัตราแตกต่างกันถึง 17 อัตรา ต่ำสุด 330 บาท และสูงสุด 370 บาททำให้การปรับค่าจ้าง
ผลกระทบค่าจ้างที่ปรับเพิ่มขึ้นระดับนี้จะมีผลกระทบต่อต้นทุนโดยเฉพาะอุตสาหกรรมและภาคบริการที่ใช้แรงงานเข้มข้น สถานประกอบการที่กระทบมากสุดคือรายย่อยไปจนถึงขนาดกลางและรายใหญ่ซึ่งใช้เทคโนโลยีต่ำแต่ใช้แรงงานมาก โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่อยู่ต่างจังหวัดอัตราการปรับค่าจ้างจะสูงกว่ากทม.และปริมณฑลโดยเฉลี่ยร้อยละ 5 - 10 ถึงแม้ว่าสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันจะไม่อำนวยแต่ความจำเป็นที่จะต้องขึ้นราคาสินค้าคงไม่มีทางเลือก
แต่ละโซนมีความแตกต่างกันตั้งแต่อัตราการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างร้อยละ 10.2 ไปจนถึงสูงสุดเพิ่มขึ้นร้อยละ 21 ค่าเฉลี่ยการปรับค่าจ้างอยู่ที่ประมาณร้อยละ 15 ส่วนใหญ่เกือบครึ่งหนึ่งจะกระจุกอยู่ในช่วงอัตรา ค่าจ้างวันละ 340 - 350 บาท ซึ่งจะทำให้อัตราค่าจ้างเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเดือนละ 1,650 บาท หากมีแรงงาน 200 คน ค้าจ้างจะปรับเพิ่มขึ้นไปมากกว่า 4 ล้านบาทต่อปี สำหรับรายใหญ่คงเป็นเรื่องเล็กน้อยแต่ SMEs เป็นเรื่องที่ใหญ่มีความสำคัญต่อความอยู่รอด
ผลกระทบค่าจ้างที่ปรับเพิ่มขึ้นระดับนี้จะมีผลกระทบต่อต้นทุนโดยเฉพาะอุตสาหกรรม และภาคบริการที่ใช้แรงงานเข้มข้น สถานประกอบการที่กระทบมากสุดคือรายย่อยไปจนถึงขนาดกลางและรายใหญ่ซึ่งใช้เทคโนโลยีต่ำแต่ใช้แรงงานมาก โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่อยู่ต่างจังหวัดอัตราการปรับค่าจ้างจะสูงกว่ากทม.และปริมณฑลโดยเฉลี่ยร้อยละ 5 - 10 ถึงแม้ว่าสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันจะไม่อำนวยแต่ความจำเป็นที่จะต้องขึ้นราคาสินค้าคงไม่มีทางเลือก
การปรับค่าจ้างช่วงปลายปีสูงในระดับที่กล่าวจะทำให้ราคาสินค้าทั้งที่ได้รับผลกระทบ โดยตรงและผู้ประกอบการรายใหญ่จะถือโอกาสผสมโรงปรับราคาสินค้าครั้งใหญ่ สอดคล้องกับข้อมูลของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย สำรวจกลุ่มแรงงานช่วงปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมาพบว่าร้อยละ 79.5 ของกลุ่มตัวอย่างระบุว่ามีปัญหาจากราคาสินค้าแพงขึ้น ในด้านมหภาคขีดความสามารถในการแข่งขันในด้านต้นทุนของไทยจะลดลงกระทบต่อภาคส่งออกซึ่งคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเกิน 1 ใน 2 เป็นอุตสาหกรรมที่ยังอยู่ในยุค 3.0 เช่น อุตสาหกรรมแปรรูปเกษตร อุตสาหกรรมการ์เมนต์อุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมถุงมือยางรวมถึงอุตสาหกรรมที่รับจ้างการผลิต (OEM) ในภาคบริการ ภาคก่อสร้าง ภาคโลจิสติกส์ ค้าปลีก-ค้าส่ง ฯลฯ สถานประกอบการกลุ่มเหล่านี้มีความอ่อนไหวในเรื่องต้นทุนเนื่องจากผลิตภัณฑ์ขาดนวัตกรรม-ใช้คนมาก-ผลิตภาพแรงงานต่ำและใช้เทคโนโลยีน้อยทำให้มีต้นทุนสูงขณะที่ราคาขายต้องแข่งขันอย่างรุนแรง นอกจากนี้ระยะยาวอาจกระทบต่อการลงทุนทั้งที่จัดตั้งใหม่หรือบางส่วนอาจย้ายฐานการผลิตไปประเทศเพื่อนบ้านหรือในภูมิภาคซึ่งอัตราค่าจ้างต่ำกว่าไทยและอาจถูกแย่งตลาดภายในประเทศกระทบต่อตลาดแรงงานในอนาคต
ทางออกคงไม่ใช่เกี่ยวกับการนำ AI ซึ่งกำลังตื่นเต้นกับการที่ไมโครซอฟท์มีแผนลงทุนดาต้าเซ็นเตอร์ในประเทศไทย การใช้สมาร์เทคโนโลยีประเภทเอไอ หุ่นยนต์และ/หรือระบบออโตเมชั่นยังมีข้อจำกัดทั้งลักษณะกายภาพของผลิตภัณฑ์ที่ยังต้องอาศัยแรงงานมนุษย์เป็นองค์ประกอบสำคัญซึ่งประเทศไทยยังติดกับดักสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นส่งผลให้ผลิตภาพแรงงานต่ำทำให้มีความอ่อนไหวด้านต้นทุนค่าจ้าง ขณะที่การขายสินค้าทั้งเพื่อส่งออกและในประเทศต้องแข่งกับประเทศที่มีต้นทุนค่าจ้างต่ำและ/หรือใช้เทคโนโลยีสูง นอกจากนี้การเข้าถึงแหล่งเงินจากสถาบันการเงินเพื่อลงทุนในเทคโนโลยียังมีข้อจำกัด ทางออกคงไม่ใช่แค่ส่งเสริมให้มีการ Reskill และ/หรือ Upskill เพราะหากนายจ้างยังเป็น Low skill และ/หรือยังเป็น Low Technology ทักษะเหล่านั้นก็อาจไม่มีประโยชน์