2024 ยุคที่โลกเปิดกว้างกว่าที่เคย ยุคที่คนรุ่นใหม่ได้เปิดใจเรียนรู้และยอมรับถึงความหลากหลายมากขึ้น ทำให้การแสดงออกทางอัตลักษณ์และตัวตนของบุคคลไม่ได้ถูกตีกรอบแค่เพศสภาพแต่กำเนิดเพียงแค่ ‘ชาย’ หรือ ‘หญิง’ เช่นเดียวกันกับการรักกันชอบกัน ก็ไม่ใช่เรื่องผิดแปลก ที่แต่ละคนจะมีรสนิยมและความคิดที่แตกต่างกับบรรทัดฐานของคนในสังคม เพราะทุกเพศ สามารถมีความสุข มีความรักได้เท่าเทียมกัน
สําหรับประเทศไทย ในช่วงเดือนมิถุนายน Pride Month ในปีนี้อาจดูคึกคักเป็นพิเศษ เนื่องจากพรบ.สมรสเท่าเทียม เพิ่งได้ผ่านร่างกฎหมายเมื่อในช่วงเดือนมีนาคม 2024 ที่ผ่านมา ส่งผลให้ประเทศไทยกำลังจะเป็นประเทศแรกในภูมิภาคอาเซียนที่มีกฎหมายแต่งงานของบุคคลเพศเดียวกัน และเป็นประเทศที่ 3 ในเอเชีย รองจากไต้หวันและเนปาล
บทความนี้ SPOTLIGHT ชวนทุกคนไปเจาะลึกทำความเข้าใจกับ Pride Month และโลกแห่งเศรษฐกิจสีชมพู โลกที่กลุ่ม LGBTQIAN + กลายเป็นกลุ่มนักซื้อสำคัญที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่
LGBTQIAN+ เป็นคำย่อที่ต่างประเทศใช้เรียกกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยคำนี้เป็นการรวมเอาตัวอักษรแรกของคำเรียกอัตลักษณ์ทางเพศของคนแต่ละกลุ่มมารวมกัน ตัวอักษร L G B T Q นั้นย่อมาจากคำว่า Lesbian Gay Bisexual Transgender และ Queer (บางที่อาจจะหมายถึง Questioning) โดย 4 ตัวอักษรแรกนั้นเริ่มใช้มาตั้งแต่ยุค 1990s ก่อนที่จะเพิ่มตัวอักษรอื่น ๆ เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ทุกเพศสภาพ ซึ่งแต่ละตัวอักษรนั้นหมายถึงอัตลักษณ์ทางเพศที่ต่างกัน
ส่วนสัญลักษณ์สุดท้ายในกลุ่มคำนี้คือ เครื่องหมาย “+” ใช้สื่อถึงเพศอื่น ๆ ทั้งหมดที่ไม่ได้ปรากฎอยู่ในตัวอักษร 5 ตัวแรกนั่นเอง ถึงแม้ว่าชื่อเรียกของกลุ่มจะมีหลากหลายแตกต่างกันไปตามอัตลักษณ์ของคนแต่กลุ่ม แต่สิ่งที่สำคัญไปกว่าการจดจำชื่อเรียก คือการที่เราเข้าใจและยอมรับความหลากหลายที่มีอยู่อย่างแท้จริง
Pride Month หรือ LGBTQIAN + Pride เดือนแห่งความภาคภูมิใจของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ ที่จะมีการเฉลิมฉลองในช่วงเดือนมิถุนายนของทุกๆปี โดยเป็นการขับเคลื่อนทางสังคม เช่นการเดินพาเรด แสดงออกถึงความต้องการสิทธิความเท่าเทียมกันในสังคมของเหล่า LGBTQIAN + ไปในเมืองสำคัญต่างๆทั่วโลก เช่น กรุงเทพ นิวยอร์ก มาดริด เวียนนา ซิดนีย์ อัมสเตอร์ดัม โตเกียว โดยประเทศเหล่านี้ได้ให้ความสำคัญของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ และจัดให้มีการเดินพาเหรดที่บ่งบอกถึงความภาคภูมิใจของกลุ่มคนเหล่านี้ในทุกๆปี
จุดเริ่มต้นของเดือนแห่งความภาคภูมิใจ เกิดขึ้นครั้งแรกในปี 1960 ซึ่งอยู่ในยุคที่สังคมยังไม่เปิดรับผู้มีความหลากหลายทางเพศเหมือนในวันนี้ ส่งผลให้เกิดการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ บางคนถึงกับโดนขับไล่ออกจากบ้าน พวกเขาจำต้องหลบปิดบังตัวตนไม่ให้ใครได้รู้
มีเพียงแค่บาร์เกย์“สโตนวอลล์ อิน” (Stonewall Inn) ที่ให้เป็นสถานที่รวมตัวของผู้มีความหลากหลายทางเพศทั้งทรานส์ เกย์ และกลุ่มอื่น ๆ หลากหลายทางเพศที่ถูกบ้านขับไล่ออกมาเท่านั้น แต่ในขณะนั้นบาร์เกย์ไม่ได้รับการยอมรับทางกฎหมายพอพยายามจดทะเบียนตำรวจก็ไม่ให้จด เพราะเป็นเพียงแค่เกย์ ทำให้ตำรวจได้เข้าปิดบาร์เกย์“สโตนวอลล์ อิน” (Stonewall Inn) เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 1969 หรือที่เรารู้จักกันในชื่อของ เหตุการจลาจลสโตนวอล แต่พวกเขาต่างก็ขัดขืน และไม่ยอมต่อการเลือกปฏิบัติของตำรวจจนเกิดเป็นการจลาจลขึ้นและขยายเป็นวงกว้างในที่สุด
เหตุการณ์ในครั้งนั้นเป็นการกระทำที่เป็นที่รังเกียจและรุนแรงที่สุด และได้เป็นจุดเริ่มต้นของการเคลื่อนไหวทางสิทธิและความเท่าเทียมสำหรับกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศในเวลาต่อมา
หลังจากเหตุการณ์นี้ จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้น ให้กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศออกมาเคลื่อนไหวและร่วมกันต่อสู้เพื่อสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกตัวตน กิจกรรมต่าง ๆ จัดขึ้นเพื่อสื่อถึงความภาคภูมิใจ (Pride) “Say it loud, gay is proud” (พูดให้เสียงดังก้องกังวาน, เราภูมิใจที่เป็นเกย์) โดยกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศเริ่มต้นแรกจากการเคลื่อนไหวในเมืองนิวยอร์ก แล้วขยายสู่เมืองใหญ่อื่น ๆ ในสหรัฐอเมริกา และแพร่กระจายไปทั่วโลก
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ทุกวันที่ 28 มิถุนายน จึงเป็นวันที่ทั่วโลกร่วมกันรำลึกถึงเหตุการณ์จลาจลสโตนวอลล์ (Stonewall Riots) ที่เป็นจุดเริ่มต้นของการเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิและความเท่าเทียมให้แก่กลุ่มความหลากหลายทางเพศ ซึ่งเป็นที่มาของเทศกาล “Pride Month” ที่ถูกจัดขึ้นในเดือนมิถุนายนของทุกปี ซึ่งเป็นเวลายาวนานตลอดเดือน เพื่อสร้างความเข้าใจและความรับรู้ในเรื่องเพศและความหลากหลายทางเพศ รวมถึงการรับรู้ของการมีอยู่ของกลุ่มคนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเพศ ผู้พิการทางด้านต่าง ๆ รวมถึงกลุ่มคนที่โดนเลือกปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียมในสังคม
ธงสีรุ้ง หลากหลายสีสันเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่ม LGBTQIAN+ ที่แสดงถึงความหลากหลายทางเพศและเพศร่วมกัน โดยแต่ละสีของธงสีรุ้งแทนแต่ละกลุ่มเพศที่มีความหลากหลาย ดังนี้ :
สีแดง: การต่อสู้ หรือ ชีวิต
สีส้ม: การเยียวยา
สีเหลือง: พระอาทิตย์
สีเขียว: ธรรมชาติ
สีฟ้า: ศิลปะ ความผสานกลมกลืน
สีม่วง: จิตวิญญาณของ LGBTQ
ก่อนที่ภาคธุรกิจอยากเจาะตลาด LGBTQIAN + นั้น เราจะต้องทำความเข้าใจพฤติกรรมของกลุ่มผู้บริโภคเสียก่อน SCB ได้ออกมาวิเคราะห์ว่า ในด้านของเศรษฐกิจ กลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือ LGBTQIAN + จัดว่าเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูง พร้อมจับจ่ายไวแบบไม่อั้น เพราะไม่มีภาระทางครอบครัวมากนัก และพร้อมจะใช้ชีวิตอย่างสนุกสนานมากกว่าผู้บริโภคเพศชายและหญิง ขอเพียงให้สินค้าและบริการนั้นมีคุณภาพโดนใจ
และนั่นทำให้เกิดเศรษฐกิจสีชมพู Pink Economy หรือ Pink Dollar ซึ่งหมายถึง พลังในการจับจ่ายของชุมชนเพศทางเลือก โดยในช่วงแรกอาจจะมีความหมายในวงจำกัดที่เกี่ยวข้องกับการเรียกร้องสิทธิ์ แต่ปัจจุบัน Pink Economy กลายเป็นหนึ่งในกลยุทธ์การตลาดที่แบรนด์ต้องสนใจ
ซึ่งจากการศึกษาพบว่า กลุ่ม LGBTQIAN+ สร้างรายได้ทั่วโลกถึง 6.6 ล้านล้านบาท และเคยมีตัวเลขที่เคยประมาณการถึง Pink economy อันเกิดมาจากกิจกรรมและเม็ดเงินทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับชุมชน LGBTQ+ เช่น
ปัจจุบันชาว LGBTQIAN + ทั่วโลกมีประมาณ 483 ล้านคน ซึ่งหากเจาะลึกมายังประเทศไทย จะพบว่ามีกลุ่มเพศทางเลือกมากกว่า 15 ปี มีจำนวน 3.6 ล้านคน หรือมีสัดส่วนราว 5% ของประชากรไทย ซึ่งถือเป็นตลาดใหม่ที่น่าสนใจในการผลิตสินค้าขึ้นมาตอบสนองความต้องการที่เฉพาะเจาะจง
จากข้อมูล เทอร์ร่า บีเคเค พบว่า กลุ่ม LGBTQIAN + ส่วนใหญ่จะมีรายได้มากกว่าคนทั่วไปที่เป็นผู้ชายหรือผู้หญิง เมื่อเทียบกับคนในวัยเดียวกัน โดยจะมีรายได้ 50,000 – 85,000 บาทต่อเดือน คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 9% และมีรายได้มากกว่า 85,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป สัดส่วนมากกว่า 4% ถือว่าเป็นกลุ่มที่มีรายได้ค่อนข้างสูงใช้ได้เลย นอกจากนี้ยังพบว่า
โดยธุรกิจที่มีโอกาสในการทำการตลาดมากที่สุด ได้แก่ ธุรกิจความงามและสุขภาพ ธุรกิจแฟชั่น ธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจเทคโนโลยี เพื่อทำบุตร (โดยเฉพาะต่างประเทศ) ธุรกิจเกี่ยวกับของใช้และไลฟ์สไตล์
Pride Month ในประเทศไทยได้มีการจัดกิจกรรมในหลากหลายจังหวัด และหลายพื้นที่ในช่วงเดือน พ.ค.-มิ.ย 67 ทั้งการจัดงานของภาครัฐ และบริษัทเอกชน เพื่อปักหมุดให้ประเทศไทย เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความเปิดกว้าง ต้อนรับนักท่องเที่ยวให้กับทุกความหลากหลายทางเพศ และผลักดันประเทศไทยสู่หมุดหมายการเป็นเจ้าภาพจัดงาน InterPride World Conference 2025 และ Bangkok WorldPride ปี 2030 ให้สำเร็จ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรต่าง ๆ จัดงาน Bangkok Pride Festival 2024 ภายใต้แนวคิด Celebration of Love ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 1 มิถุนายนนี้ จะมีขบวนพาเหรดธงสีรุ้ง ความยาว 200 เมตร ปูเต็มถนนพระราม 1 เป็นธงไพรด์ที่มีความยาวที่สุดในประเทศไทย
กลุ่ม Chiang Mai Pride ได้จับมือกับ AWC และ ททท. จัดงาน “Chiang Mai Colourful Pride Month 2024” ส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ และเชื่อมโยงการท่องเที่ยว สู่หมุดหมายหลักของงาน Pride Month ในปีต่อๆ ไป พร้อมกิจกรรมสร้างสีสันให้เชียงใหม่กลับมาคึกคัก ตลอดเดือน มิ.ย. 67
นอกจากนี้ททท.ยังได้ร่วมมือกับผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว และพันธมิตรต่างๆ ในจังหวัดเชียงใหม่าธารณะ จัดทำแคมเปญส่วนลดพิเศษ เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายให้แก่นักท่องเที่ยวฉลอง Pride month โดยคาดว่าจะส่งผลให้เกิดมูลค่าเศรษฐกิจ ด้านการท่องเที่ยวตลอดทั้งเดือนมิถุนายน มากกว่า 7,500 ล้านบาท และเกิดการเดินทางของนักท่องเที่ยว 790,000 คน/ครั้ง
เทศบาลนครภูเก็ต จับมือร่วมกับบริษัท อันดามันเจริญ จำกัด หน่วยงานภาครัฐ และเอกชนในจังหวัดภูเก็ต จัดงาน Discover Phuket Pride 2024 @ Old Town ขึ้น ในวันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน 2567 ณ พื้นที่ย่านเมืองเก่าภูเก็ต ในระหว่างเวลา 17.00-19.00 น. เพื่อเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ให้แก่กลุ่ม LGBTQ+ ได้แสดงออกถึงความภูมิใจในอัตลักษณ์และสิทธิทางเพศมากขึ้น
โดยจุดแลนด์มาร์กสำคัญ อย่างย่านเมืองเก่าภูเก็ต จะมีประดับประดาด้วยธงสีรุ้ง ทางม้าลายสีรุ้งที่สี่แยกชาร์เตอร์ด แบงก์ และจะนำน้องหมีสีชมพูกลับมาเกาะตึกอีกครั้ง แต่จะปรับให้เข้ากับธีมงานเป็นน้องหมีสีรุ้งเกาะตึกย่านเมืองเก่า
งาน Pride Nation Samui International Festival จะตั้งแต่วันที่ 24-29 มิถุนายน 2024 โดยมีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมายปลุกถนนสายการท่องเที่ยวหาดเฉวงให้มีสีสันกับขบวนพาเหรด เช่น กิจกรรมจดทะเบียนสมรส Music Festival : Celebration Party
อ้างอิง : IndiaTimes