โดยขณะนี้อยู่ระหว่างสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) และธนาคาร ให้สำนักงาน กสทช. เป็นตัวกลางในการประสานงานกับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในการตรวจสอบข้อมูล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายรัฐบาลที่ต้องการแก้ปัญหามิจฉาชีพใช้เป็นช่องทางในการทำธุรกรรมออนไลน์ เพื่อแก้ปัญหาซิมผีบัญชีม้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายรัฐบาลที่ต้องการแก้ปัญหามิจฉาชีพใช้เป็นช่องทางในการทำธุรกรรมออนไลน์
สำหรับขั้นตอนนั้น ธนาคารจะเป็นผู้รวบรวมบัญชีพร้อมเบอร์โทรศัพท์ที่ผูกกับโมบายแบงก์กิ้ง แล้วส่งให้ ปปง. จากนั้น ปปง. จะรับข้อมูลส่งต่อให้กับสำนักงาน กสทช. เพื่อให้สำนักงาน กสทช. แยกเครือข่ายก่อนประสานไปยังผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้ยืนยันอีกครั้งแล้วส่งกลับ
นโยบายดังกล่าว สำนักงาน กสทช. ได้รับการยืนยันจาก ปปง.ว่า หากมีเหตุผลเพียงพอ สามารถอธิบายความจำเป็นในการใช้งานได้ จะเป็นดุลยพินิจของธนาคารให้การพิจารณายกเว้น เช่น การเปิดโมบายแบงก์กิ้งให้กับบุตรหลานที่เป็นเด็กหรือเยาวชน หรือบิดามารดาผู้สูงวัย เบอร์องค์กรที่แสดงตัวตนได้ชัดเจน เป็นต้น
และในเร็ว ๆ นี้ สำนักงาน กสทช. จะประชุมหารือกับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการที่ต้องเปลี่ยนชื่อผู้ถือครองให้ตรงกับโมบายแบงก์กิ้ง ไม่ให้เป็นภาระแก่ประชาชนเกินจำเป็น โดยให้มีรายการส่งเสริมการขายที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์มากที่สุด
ด้านแบงก์ชาติออกมายืนยันด้วยว่า กรณีที่ชื่อของผู้ใช้บริการผ่านหมายเลขโทรศัพท์ (ซิมการ์ด) และชื่อไม่ตรงกับบัญชีธนาคาร ยังสามารถใช้บริการผ่านช่องทางโมบายแบงกิ้งได้ปกติ
“ลูกค้าโมบายแบงกิ้งยังใช้บริการได้ปกติ และหากสามารถชี้แจงได้ถึงเหตุที่ชื่อไม่ตรงกันได้ การให้บริการขณะนี้ยังใช้การได้ปกติ ซึ่งรายละเอียด ธปท. และผู้ที่เกี่ยวข้อง แบงก์ต้องหารือกันเพื่อหาข้อสรุปเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน” นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)