ในวันที่อุตสาหกรรมอื่นๆ อาจจะขับเคลื่อนไม่ค่อยดีนัก จากวิกฤตเศรษฐกิจ และความผันผวนของตลาดโลก แต่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวทำหน้าที่เป็นฟันเฟืองหลักที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้สามารถเร่งเครื่อง สร้างรายได้เข้าสู่ประเทศได้
‘ต้องพาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยกลับไปอยู่ ณ จุดสูงสุดอีกครั้ง’ นี่คือการประกาศ จุดมุ่งหมายของคุณฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการ ททท. โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติมากกว่า 39 ล้านคน และดึงไทยเที่ยวไทยมากกว่า 205 ล้านคน-ครั้ง ผ่านการนำเสนอทิศทางการส่งเสริมตลาดการท่องเที่ยว ปี 68 พลิกฟื้นศักยภาพท่องเที่ยวไทยทั้งระบบด้วยการกระตุ้น Demand ยกระดับ Supply และมุ่งสู่ความยั่งยืน ภายใต้ความร่วมมือของพันธมิตรทุกภาคส่วน ชู “เสน่ห์ไทย” และ “เมืองน่าเที่ยว” เป็นจุดขายสำคัญ ดึงดูดตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้ง ตั้งเป้าหมายรายได้เติบโต 7.5 % จากปี 67 สูงกว่าการเติบโตของ GDP ประเทศไทยปี 68 ถึง 1.7 เท่า
นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า รัฐบาลได้กำหนดให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็น 1 ใน 8 เสาหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยภายใต้นโยบาย IGNITE THAILAND’S TOURISM ซึ่งมุ่งหวังให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของภูมิภาค (Tourism Hub) ให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ดังนั้น เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าวต้องให้ความสำคัญกับ
5 Must Do in Thailand
ในส่วน “เมืองน่าเที่ยว” จะเพิ่มพลังให้เป็นเมืองที่น่าไปเที่ยวไปเยือนมากยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถสร้างการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น โดยดึงกลยุทธ์ City Marketing พัฒนาเมืองต่างๆ ให้เติบโตเข้าใกล้ความเป็นเมืองหลักด้านการท่องเที่ยว ค้นหาจุดขาย พลิกมุมมอง บอกเล่าเรื่องราวความเป็นไทยของแต่ละพื้นที่ หมุนเวียนกันไปจากเมืองสู่เมือง จากภาคสู่ภาค เพื่อทำให้ประเทศไทยเป็น High Season ตลอดทั้งปี
สำหรับ ตลาดในประเทศ “ไทยเที่ยวไทย” รับโจทย์ท้าทายที่การมุ่งให้เกิดการเดินทางทันที เพิ่มความถี่ กระตุ้นการใช้จ่าย รวมทั้งดึงกลุ่มศักยภาพ (ไทยเที่ยวนอก) ให้กลับมาท่องเที่ยวในประเทศมากยิ่งขึ้น พร้อมเสิร์ฟความสุขกับ แคมเปญ “สุขทันที ที่เที่ยวไทย” โดยชวนคนไทยออกไปสุขทันทีที่ได้ไปใช้เวลาท่องเที่ยวกับคนที่รัก สิ่งที่รัก พร้อมใช้ Big Events และ Local Events ทั้งประเพณี ดนตรีและกีฬา และนำเสนอกิจกรรมท่องเที่ยวที่ตรงใจ กระตุ้นการใช้จ่ายของ Sub-culture Segment พร้อมกับการนำเสนออัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ ประกอบด้วย
สำหรับ “ตลาดต่างประเทศ” มุ่งผลักดันการเติบโตของตลาดศักยภาพ 23 ตลาดทั่วโลกที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไทยและสร้างรายได้มากกว่า 80% ของจำนวนและรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมดในปี 2567 รวมถึงเพิ่มจำนวนตลาด 7 digits ให้ได้ถึง 13 ตลาดในปี 2568
โดยจะเป็นการเพิ่ม Seat Capacity เข้าไทย ทั้งการเพิ่มเที่ยวบินในเส้นทางบินปัจจุบัน เพิ่มเส้นทางบินใหม่ และขยายระยะเวลาการบิน ทั้ง Regular Flight และ Charter Flight ส่งเสริม “เมืองน่าเที่ยว” ที่มีศักยภาพพร้อมรองรับนักท่องเที่ยว และ “เสน่ห์ไทย” ที่สอดคล้องกับความต้องการและรสนิยมของนักท่องเที่ยวในตลาดต่างประเทศ และต่อยอดกระแสความนิยมซีรีย์ ภาพยนตร์และ Music VDO ที่ถ่ายทำในประเทศไทยในกลุ่มแฟนดอม (Fandom) ให้เดินทางมาเที่ยวอย่างต่อเนื่อง
สำหรับ ตลาดระยะใกล้ เตรียมพิชิตเส้นชัยด้วย 2 แนวทางหลัก ได้แก่
ตลาดระยะไกล
เช่น ตลาดยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลาง และอเมริกา ให้น้ำหนักไปที่ การขยายตลาดนักท่องเที่ยวคุณภาพและการฟื้นความจุและความถี่ของเที่ยวบิน
โดยมุ่งปักธงพื้นที่ตลาดใหม่ สร้างการรับรู้สินค้าและบริการท่องเที่ยว เช่น
ตลอดจน ตลาด Luxury ในกลุ่ม 6 ประเทศอาหรับ ทั้งนี้ ททท. จะใช้ แคมเปญ Amazing Thailand : Your Stories Never End สำหรับตลาดต่างประเทศ เพื่อชวนนักท่องเที่ยวมาร่วมสร้างประสบการณ์ที่น่าจดจำในประเทศไทย ค้นพบมุมมองใหม่ ให้เป็นเรื่องราวแห่งความประทับใจ มีคุณค่าและความหมาย เกิดเป็นการบอกต่อเรื่องราวและเดินทางซ้ำไม่สิ้นสุด ให้ความรู้สึกถึงการเดินทางมาประเทศไทยเป็นครั้งแรกเสมอ
การมุ่งสู่ ความยั่งยืน ก็ยังคงเป็นกุญแจแห่งความสำเร็จและภูมิคุ้มกันระยะยาวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว โดย ททท. จะเดินหน้าขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง และพัฒนาแบรนด์ Amazing Thailand ให้เป็นแบรนด์ท่องเที่ยวไทยที่มุ่งสู่ความยั่งยืนบนรากฐานของเสน่ห์ไทยอันเป็นเอกลักษณ์ พร้อมไปกับการพัฒนา Supply Chain เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการการตลาดอย่างยั่งยืน ผ่านโครงการสำคัญ เช่น โครงการ STGs STAR โครงการ CF Hotels และโครงการรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย หรือ Thailand Tourism Awards ที่จะผลักดันผู้ประกอบการเข้าสู่กระบวนการขายอย่างจริงจัง ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ และก้าวสู่เวทีความยั่งยืนระดับโลกที่ถูกรับรองด้วยรางวัลและมาตรฐานสากลต่อไป