แนวโน้มเศรษฐกิจภูมิภาค เอเชียและแปซิฟิก เศรษฐกิจฟื้นตัวต่อเนื่องในปี 2566อานิสงส์เศรษฐกิจจีนและอินเดียยังขยายตัวได้ แต่ยังขยายตัวท่ามกลางความไม่แน่นอน
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ออกรายงานประเมินภาพรวมเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก โดยเพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจสำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็น 4.6% ในปี 2566 นี้เพิ่มขึ้น 0.3% จากที่เคยคาดการณ์ไว้ในเดือนต.ค.ปีที่แล้ว ส่วนปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวได้ 4.4% สาเหตุหลักที่ทำให้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ขยายตัวได้ดีหากเทียบภูมิภาคอื่นเพราะได้รับแรงขับเคลื่อนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนและอินเดีย โดยเฉพาะการเปิดประเทศของจีนที่ส่งผลต่ออุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นจากภาคการท่องเที่ยวและการบริโภค
โดยIMF ประเมินเศรษฐกิจจีนปีนี้ ขยายตัวได้เพิ่มขึ้น 5.2% ขณะที่ปีหน้า 2567 โต 4.5% ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มGDP ส่วนเศรษฐกิจอินเดีย ขยายตัว 5.9% ส่วนปีหน้าขยายตัว 6.3% ซึ่งIMF ลดการขยายตัวลง
อย่างไรก็ตาม จีนและอินเดีย นับว่ามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจโลกอย่างมาก เพราะเป็นประเทศตลาดเกิดใหม่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และมีแนวโน้มที่จะคิดเป็นสัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่งของการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ ขณะที่พื้นที่ที่เหลือของเอเชียแปซิฟิกจะคิดเป็นสัดส่วนหนึ่งในห้า ซึ่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 70% ของการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก
หากเทียบดูรายประเทศ ในเอเชียแปซิฟิก IMF ได้เพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจปี 2566 ใน มาเลเซีย 4.5% ฟิลิปปินส์ 6% และลาวสู่ 4% ขณะเดียวกัน IMF ได้ลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจปีนี้ในญี่ปุ่น เหลือ 1.3% ออสเตรเลีย 1.6% นิวซีแลนด์ 1.1% สิงคโปร์ 1.5% และเกาหลีใต้ 1.5% ส่วนไทยถูกปรับลดลงเช่นกันเหลือ 3.4% ลดลง 0.3% จากการประเมินครั้งก่อน
อย่างไรก็ตาม IMF เตือนว่า เศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยังมีความเสี่ยงที่อาจจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากความตึงเครียดทางการเมืองของจีน ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคการลงทุนในต่างประเทศ จนส่งผลต่อ GDO โลกในระยะยาวประมาณ2 % นอกจากนี้ความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อที่ยังสูง ความไม่แน่นอนในภาคการเงินของสหรัฐและยุโรป อาจส่งผลต่อความผันผวนทางการเงิน ภาคธุรกิจ และภาคครัวเรือน โดยคาดว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจเอเชียจะลดลงเหลือร้อยละ 3.9 ในอีก 5 ปีข ้างหน้า ซึ่ งเป็นตัวเลขคาดการณ์ทีต่ำทีสุดในประวัติศาสตร
ที่มา กองทุนการเงินระหว่างประเทศ