ทิศทางการท่องเที่ยวไทย
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) พร้อมด้วย นางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ เปิดเผยว่าขณะนี้ประเทศไทยต้องเร่งฟื้นฟูการท่องเที่ยว (Moving forward to Better) ทั้งฝั่ง Supply และ Demand เพื่อการสร้างระบบนิเวศใหม่ที่มีคุณค่า สมดุลและยั่งยืน พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันสร้างความมั่นคงทางการท่องเที่ยว (High Value and Sustainable Tourism)โดยททท.จะผลักดันรายได้การท่องเที่ยวไทยอยู่ในระดับใกล้เคียงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในปี62 ซึ่งอยู่ที่ 3 ล้านล้านบาท
ทั้งนี้ ททท. ตั้งเป้าหมายรายได้ในภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ปี 67 อยู่ที่ 3 ล้านล้านบาท แบ่งเป็น รายได้จากต่างประเทศ1.92ล้านล้านบาท ดึงนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้าไทยจำนวน 35 ล้านคน ขณะที่ตลาดในประเทศ สร้างรายได้หมุนเวียน 1.08 ล้านล้านบาท จากการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศของคนไทย 200 ล้านคน-ครั้ง พร้อมผลักดันให้วีซ่าจีน ที่มีเอกสารถูกต้อง ได้รับพิจารณาเร็วขึ้น
ล้มให้เป็น ลุกให้ไว และไปต่อ
ททท. ตั้งเป้าสร้างความมั่นคงทางการท่องเที่ยว (Tourism Security) ให้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง”ล้มให้เป็น ลุกให้ไว และไปต่อ“ ผ่าน 4 ปัจจัย
1.เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับห่วงโซ่อุปทาน
บนพื้นฐานของคุณภาพและความยั่งยืนสอดรับกับความต้องการของกลุ่ม นักท่องเที่ยวคุณภาพ และกระจายรายได้สู่ท้องถิ่นอย่างทั่วถึง
2.พัฒนาปัจจัยสนับสนุนการท่องเที่ยวและโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้บริการนักท่องเที่ยว
เอื้อต่อการเดินทางอย่างสะดวกและปลอดภัยเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดี มีคุณค่าอย่างเท่าเทียม ทั้งนักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติ
3.ใช้ประโยชน์จากการปรับเปลี่ยนสู่โลกดิจิทัล
เพิ่ม Digital Literacy ลดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล เน้นการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มมูลค่าและความยั่งยืน
4.ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการความเสี่ยงภายนอก อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ยังมี 2 แคมเปญส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย“Amazing Thailand” นั้นก็คือ “โมเมนต์ที่ใช่...สร้างได้ไม่ต้องรอ” ชวนคนไทยออกไปเที่ยวไทย และ “Meaningful Relationship” การท่องเที่ยวไทยในเจาะตลาดชาวต่างชาติ
"โมเมนต์ที่ใช่...สร้างได้ไม่ต้องรอ”
กระตุ้นและกระจายตัวการท่องเที่ยวที่ในพื้นที่ที่หลากหลาย เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนทุกภาคส่วนใน “365 วัน มหัศจรรย์เมืองไทยเที่ยวได้ทุกวัน” อีกทั้งพร้อมดึงอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ และจุดเด่นของแต่ละจังหวัดมาเป็นจุดขายในการท่องเที่ยวเผื่อสนับสนุน Soft Power (5F) 5 ภูมิภาคทั่วไทย
ภาคเหนือ : “เสน่ห์วันวานเมืองเหนือ” กระตุ้นค่าใช้จ่ายด้วย Art & Craft ขยายฤดูกาลท่องเที่ยว
ภาคกลาง : “4HD (4 Happy-Definition)”เสิร์ฟความสุขง่าย ๆ ใกล้ตัวจากสุขภาพดี เรื่องราวดีๆ งานดี เที่ยวดี และสบายใจดี ให้กับผู้เยี่ยมเยือน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : “อีสาน...ไปไสกะแซ่บ มากกว่าอาหาร คือ ประสบการณ์”เปิดประสบการณ์อาหารถิ่นผ่าน 20 เมนูแซ่บ จาก 20 จังหวัดภาคอีสานและ Michelin Guide
ภาคตะวันออก : “Story สบ๊ายสบาย Plus” ยืนหนึ่งเรื่องกิน ฟินเรื่องเที่ยว เต็มเหนี่ยวสายมู และเรียนรู้เรื่องรักษ์
ภาคใต้ : “ไปหรอยแรง” ท่องเที่ยวภาคใต้ตามสไตล์ตัวเองได้ตลอดทั้งปี ใน14 สไตล์ 14 จังหวัด
“Meaningful Relationship” 5 มาตรการผลักดันท่องเที่ยวไทยสู่สายตาโลก
1.สร้างภาพลักษณ์การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน
: ด้วยแนวคิด ท่องเที่ยวสร้างสรรค์ รับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อมและชุมชน (Travel with Care) กระจายรายได้อย่างทั่วถึง (Fair Income) และนำเสนออัตลักษณ์ท้องถิ่นเป็นจุดขาย (Encourage Identity & Biodiversity) เช่นรางวัลกินรี รางวัลที่นักท่องเที่ยวรู้จักในวงกว้างถึงมาตรฐานคุณภาพสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวภายใต้มาตรฐานของททท.
2.รุกการเปิดตลาดใหม่
: โฟกัสที่ตลาดยุโรปและตะวันออก และขยายสู่กลุ่มตลาดย่อยซึ่งเป็นผู้ที่มีรายได้สูง
3.ขยายความร่วมมือกับคู่ค้ารายใหม่และจับมือในระดับเวทีโลก
: เช่น Tourism Cares ของสหรัฐอเมริกา OTA ชั้นนำ หรือ Platform การชำระเงินยอดนิยมต่าง ๆ
4.ขยายการเดินทางบกเข้าถึงประเทศไทย
: เช่น เส้นทางรถไฟความเร็วสูง จีน-เวียงจันทน์ (ลาว) – ไทย
5.ผลักดันการตลาดแบบใหม่ด้วย Digital Content
: เช่น ประเทศเกาหลีใต้ ใช้ Virtual influencer (Rozy) นำเสนอประสบการณ์ท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมายอย่าง Gen Y – Z มาเที่ยวไทย