โดยปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อราคาน้ำมันในตลาดโลกสูงขึ้น ได้แก่
โดยมาจากการประชุมของกลุ่ม OPEC และพันธมิตร หรือ OPEC+ (OPEC and Non-OPEC Ministerial Meeting: ONOMM) ครั้งที่ 36 เมื่อปลายปีที่ผ่านมา มีมติจะลดการผลิตเพิ่มเติมโดยสมัครใจ (Voluntary cut)
โดยจะมีผลในไตรมาส 1/2567 มาตรการปรับลดการผลิตในครั้งนี้เป็นการปรับลดเพิ่มเติมจากมาตรการปรับลดการผลิตโดยสมัครใจที่ประกาศในเดือนเมษายน 2566
จากการคำนวณของเราแล้ว คาดว่าจะส่งผลให้การผลิตโดยรวมของกลุ่มประเทศ OPEC-10 ลดลงประมาณ -0.3 ถึง -0.5 ล้านบาร์เรล เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) ในเดือนมกราคม 2567
ขณะที่แนวโน้มการผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯ เริ่มส่งสัญญาณชะลอตัว ตามที่ประเมินว่าราคาน้ำมันดิบ WTI ที่ทรงตัวอยู่ต่ำกว่าประมาณ 80 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรลเป็นเวลานาน จะสร้างแรงจูงใจเชิงลบต่อการวางแผนขุดเจาะน้ำมันดิบของผู้ผลิตพลังงาน
โดยจากการวิเคราะห์ของหน่วยงานด้านข้อมูลพลังงานของสหรัฐฯ (Energy Information Administration: EIA) คาดว่าการผลิตน้ำมันดิบจะลดลงราว -0.1 ถึง -0.2 ล้านบาร์เรล จากระดับปัจจุบัน ในช่วงไตรมาส 1/2024 สมดุลตลาดน้ำมันโลกในระยะข้างหน้าจึงมีแนวโน้มตึงตัวมากขึ้น
จากข้อมูลของกระทรวงพลังงาน ระบุถึงกำหนดการส่งมอบน้ำมันดิบกลับเข้าคลังสำรอง SPR จำนวน 4.2 ล้านบาร์เรลในเดือนมกราคม 2567 ซึ่งจะคิดเป็นอุปสงค์ราว 0.14 ล้านบาร์เรลต่อวัน
นอกจากนี้ ทาง SPR ยังได้เปิดให้ทางเอกชนเข้ามาประมูลเพื่อขายน้ำมันดิบสำหรับการส่งมอบในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคมเสร็จสิ้นไปแล้ว โดยหากการประมูลดังกล่าวประสบความสำเร็จ ก็จะมีการส่งมอบน้ำมันดิบอีกอย่างน้อยเดือนละ 3 ล้านบาร์เรล หรือคิดเป็นอุปสงค์ราว 0.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน
เมื่อนำปัจจัยด้านอุปทานที่มีแนวโน้มลดลงมารวมกับอุปสงค์ที่จะเพิ่มขึ้นจาก SPR ในเดือนมกราคม 2567 นี้ นายคมศร ประกอบผล หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ (TISCO ESU) ทิสโก้ มองว่า แนวโน้มราคาน้ำมันดิบ West Texas Intermediate Crude Oil (WTI) จะทยอยฟื้นตัวเข้าใกล้ระดับ 80 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรลภายในต้นปี 2567 จากปัจจุบันอยู่ที่ 77.34 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
จาก 2 ปัจจัยหลัก คือ 1. อุปทานที่จะลดลงจากกลุ่มประเทศ OPEC และ 2. การซื้อคืนน้ำมันดิบเข้าสู่คลังสำรองเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Petroleum Reserves: SPR) ของสหรัฐฯ ตั้งแต่เดือน มกราคม 2567