Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.95บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากวันก่อน
โดย : อมรินทร์ทีวีออนไลน์

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.95บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากวันก่อน

28 มิ.ย. 67
09:42 น.
|
1.3K
แชร์

ค่าเงินบาทเช้านี้

วันที่ 27 มิถุนายน 2567

121042

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.83 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 36.87 บาท/ดอลลาร์

ดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบสกุลเงินหลัก หลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลที่บ่งชี้ถึงการชะลอตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้นักลงทุนมีความหวังว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือน ก.ย.

โดยเมื่อคืนนี้สหรัฐเปิดเผยยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน ออกมาชะลอตัว และ
ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 6,000 ราย สู่ระดับ 233,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 236,000 ราย และผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำไตรมาส 1/2567 ขยายตัว 1.4% สูงกว่าตัวเลขประมาณการครั้งที่ 2 ที่ระดับ 1.3% แต่ต่ำกว่าตัวเลขประมาณการครั้งที่ 1 ที่ระดับ 1.6%

ขณะเดียวกันนักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ของสหรัฐในวันนี้อย่างใกล้ชิด เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้แนวโน้มเงินเฟ้อและทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟด

นอกจากนี้ตลาดยังจับตาการประชันวิสัยทัศน์หรือการดีเบตระหว่างประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐ และนายโดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ ช่วงเช้าวันนี้ (28 มิ.ย.) ตรงกับเวลา 08.00 น.-09.30 น.ตามเวลาไทย

สำหรับสถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ เมื่อวานนี้นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย 2,385.96 ล้านบาท และขายสุทธิพันธบัตรไทย 4,223 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.70 - 36.90
แนะนำ ทยอยซื้อที่ 36.70/ ขาย 36.90

EUR/THB 39.20 - 39.60
แนะนำ ซื้อ   39.20/ ขาย 39.60

JPY/THB 0.2280 - 0.2320
แนะนำ ซื้อ   0.2280 / ขาย 0.2320

GBP/THB 46.30 - 46.80
AUD/THB 24.30 - 24.70

ค่าเงินบาทเช้านี้

วันที่ 27 มิถุนายน 2567

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.95 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 36.82 บาท/ดอลลาร์

ค่าเงินบาท

ดอลลาร์แข็งค่าเทียบสกุลเงินหลัก สอดคล้องกับการปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องในวันนี้ ล่าสุดทะลุ 4.3% ขณะที่นักลงทุนจับตาตัวเลขเศรษฐกิจ และถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ

ขณะที่นางมิเชล โบว์แมน ซึ่งเป็นสมาชิกคณะผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และเป็นสมาชิกถาวรของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟด (FOMC) กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ถึงเวลาที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย และตนเปิดกว้างต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หากเงินเฟ้อยังคงไม่ปรับตัวลง

นักลงทุนจับตาดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ที่จะมีการเปิดเผยในวันศุกร์ โดยดัชนี PCE เป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ เนื่องจากสามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภค และครอบคลุมราคาสินค้าและบริการในวงกว้างมากกว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)

เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 179 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 831 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.80 - 37.10
แนะนำ ซื้อ 36.80/ ขาย 37.10

EUR/THB 39.20 - 39.70
แนะนำ ซื้อ 39.20 / ขาย 39.70

JPY/THB 0.2275 - 0.2325
แนะนำ ซื้อ 0.2275/ ขาย 0.2325

ค่าเงินบาทเช้านี้

วันที่ 26 มิถุนายน 2567

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.75 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 36.66 บาท/ดอลลาร์

174350

ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ตามโฟลว์ธุรกรรมทอง หลังราคาทองคำรีบาวด์ขึ้นบ้างจากโซนแนวรับที่ระดับ 2,310 ทำให้เงินบาทแข็งค่าลงมาซื้อขายแถวระดับ 36.60 บาท/ดอลลาร์ เมื่อวานนี้ 

ในขณะที่ค่าเงินดอลลาร์เทียบกับสกุลหลักอื่นๆยังคงแกว่งตัว sideways เนื่องจากตลาดต่างรอรับรู้ปัจจัยใหม่ๆ เพิ่มเติม โดยเฉพาะรายงานอัตราเงินเฟ้อ PCE สหรัฐฯ ที่จะรายงานในวันศุกร์นี้รวมถึงถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด 

โดยคาดว่าวันนี้เงินบาทยังคงถูกกดดันจากค่าเงินในภูมิภาคที่ยังคงอ่อนค่า โดยเฉพาะค่าเงินเยนที่ทรงตัวใกล้ระดับ 160 เยนต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับที่ทางการญี่ปุ่นเข้าแทรกแซงเพื่อพยุงค่าเงินในช่วงก่อนหน้านี้.

สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาทวันนี้ น่าจะยังคงเห็นแรงซื้อเงินดอลลาร์ในช่วงเงินบาทแข็งค่าเข้าใกล้โซน 36.60 บาท/ดอลลาร์ โดยคาดกรอบการเคลื่อนไหวที่ 36.65-36.85 บาท/ดอลลาร์

เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตร 1,963 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 1,844  ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.65- 36.85
แนะนำ ทยอยซื้อที่ระดับ 36.65

EUR/THB 39.20- 39.60
แนะนำ ทยอยขายที่ระดับ 39.60

JPY/THB 0.2290- 0.2330
แนะนำ ทยอยซื้อ   0.2290

GBP/THB 46.40-46.80
AUD/THB 24.30- 24.70

ค่าเงินบาทเช้านี้

วันที่ 25 มิถุนายน 2567

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.62 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 36.70 บาท/ดอลลาร์

635575

ดอลลาร์อ่อนค่าเทียบสกุลเงินหลัก สวนทางกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐที่ปรับตัวขึ้น ขณะที่นักลงทุนจับตาตัวเลขเศรษฐกิจ และถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ โดยตลาดจับตาดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ที่จะมีการเปิดเผยในวันศุกร์นี้

เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 3,082 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 1,088 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.50- 36.80
แนะนำ ซื้อ 36.50/ ขาย 36.80

EUR/THB 39.00- 39.50
แนะนำ ซื้อ 39.00 / ขาย 39.50

JPY/THB 0.2270- 0.2320
แนะนำ ซื้อ 0.2270/ ขาย 0.2320

GBP/THB 46.20- 46.70
AUD/THB 24.00- 24.50

ค่าเงินบาทเช้านี้

วันที่ 24 มิถุนายน 2567

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.76 บาท/ดอลลาร์ ใกล้เคียงกับราคาปิดตลาดเมื่อปลายสัปดาห์ที่ระดับ 36.70 บาท/ดอลลาร์

490785

ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนและยังคงอยู่ในกรอบแคบๆ โดยแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ จากตัวเลขส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้น

ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าเทียบกับสกุลหลัก จากดัชนีทางเศรษฐกิจสหรัฐที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง ส่งผลให้สหรัฐยังไม่จำเป็นต้องเร่งลดดอกเบี้ยนโยบาย ขณะที่ธนาคารกลางอื่น ๆ เริ่มมีการผ่อนคลายนโยบายการเงินที่เร็วกว่า ประกอบกับความไม่แน่นอนทางการเมืองในยุโรปอาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในที่สุด

• ปัจจัยที่ยังต้องติดตามได้แก่ ตัวเลขดัชนีทางเศรษฐกิจทั้งด้านการบริโภคและการผลิต รวมถึงตัวเลขความแข็งแกร่งของตลาดแรงงานของสหรัฐ อาทิเช่น ยอดขายบ้านใหม่ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน และดัชนีราคา PCE, จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ตัวเลขการจ้างงานต่าง ๆ

เมื่อวันศุกร์นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดพันธบัตร 1,550 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 1,580 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.65- 36.95
แนะนำ ทยอยซื้อที่ระดับ 36.65

EUR/THB 39.20- 39.70

แนะนำ ทยอยขายที่ระดับ 39.50

JPY/THB 0.2290- 0.2340
แนะนำ ทยอยซื้อ 0.22.90

GBP/THB 46.30-46.70
AUD/THB 24.30- 24.70

ค่าเงินบาทเช้านี้

วันที่ 21 มิถุนายน 2567

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.74 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 36.76 บาท/ดอลลาร์

ค่าเงิน

ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบ ๆ ตามโฟลว์ธุรกรรมทองคำและน้ำมัน  และยังคงถูกกดดันจาก fund flow ที่ยังคงไหลออกจากตลาดหุ้นไทย โดยดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยยังคงไม่สามารถกลับยืนเหนือ 1,300 จุด

ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) มีมติด้วยคะแนนเสียง 7-2 ในการคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.25% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 16 ปี  ในขณะที่ ธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ (SNB) มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% สู่ระดับ 1.25% ในการประชุมเมื่อวานนี้

ส่วนตัวเลขฝั่งสหรัฐ ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรก ลดลง 5,000 ราย สู่ระดับ 238,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว แต่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 235,000 ราย ส่วนตัวเลขค่าเฉลี่ย 4 สัปดาห์ของจำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรก  เพิ่มขึ้น 5,500 ราย สู่ระดับ 232,750 ราย และเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย. 2566

สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาทวันนี้ น่าจะยังคงเห็นแรงซื้อเงินดอลลาร์ในช่วงเงินบาทแข็งค่าเข้าใกล้โซน 36.60 บาท/ดอลลาร์ โดยคาดกรอบการเคลื่อนไหวที่ 36.65-36.85 บาท/ดอลลาร์

เมื่อวานนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตร 1,787 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 1,960 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.65- 36.85
แนะนำ ทยอยซื้อที่ระดับ 36.65

EUR/THB 39.20- 39.60
แนะนำ ทยอยขายที่ระดับ 39.60

JPY/THB 0.2300- 0.2340
แนะนำ ทยอยซื้อ   0.2300

GBP/THB 46.40-46.80
AUD/THB 24.30- 24.70

Krungthai Compass มองกรอบเงินบาทวันนี้ 36.65-36.85 บาท/ดอลลาร์ 

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 36.73 บาทต่อดอลลาร์ “แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย” จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 36.77 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 36.65-36.85 บาท/ดอลลาร์

โดยประเมินว่า เงินบาทยังมีโอกาสเคลื่อนไหวผันผวนไปตาม การเปลี่ยนแปลงไปมาของปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อทิศทางค่าเงินบาท อย่าง มุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มดอกเบี้ยเฟด ทำให้ผู้เล่นในตลาดควรใช้กลยุทธ์ในการปิดความเสี่ยงที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งการใช้เครื่องมือเช่น Options หรือ สกุลเงินท้องถิ่น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปิดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน

แนวโน้มบาทมีทิศทางอ่อนค่า

สำหรับแนวโน้มของค่าเงินบาท มีโอกาสจะผันผวนอ่อนค่าลงได้ หลังเงินดอลลาร์ทยอยแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ตามการอ่อนค่าลงของบรรดาสกุลเงินหลัก

ขณะที่โมเมนตัมการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ ก็อาจชะลอลงได้บ้าง หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่าง ดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการนั้นออกมาแย่กว่าคาด ทำให้ผู้เล่นในตลาดยังคงเชื่อว่า เฟดจะสามารถลดดอกเบี้ยได้ราว 2 ครั้งในปีนี้ นอกจากนี้ ควรจับตาทิศทางราคาทองคำ ซึ่งในช่วงคืนที่ผ่านมาการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำ ได้ช่วยชะลอการอ่อนค่าของเงินบาท ทำให้ หากมีปัจจัยเข้ามากดดันราคาทองคำ ส่งผลให้ราคาทองคำปรับตัวลดลง

"เราคาดว่า เงินบาทก็อาจผันผวนอ่อนค่าลงบ้าง ตามโฟลว์ธุรกรรมซื้อทองคำในจังหวะย่อตัว (Buy on Dip) เนื่องจากผู้เล่นในตลาดต่างมีมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มราคาทองคำ เช่น มีเป้าราคาทองคำ (XAUUSD) ในโซน 2,400-2,500 ดอลลาร์ต่อออนซ์"

อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทก็อาจผันผวนไปตามฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ ที่อาจยังคงทยอยขายสินทรัพย์ไทยต่อเนื่องได้ในช่วงนี้ จนกว่านักลงทุนต่างชาติจะมีความเชื่อมั่นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยมากขึ้น หรือ ความเสี่ยงการเมืองไทยลดลงชัดเจน ถึงจะเริ่มเห็นการทยอยกลับเข้าซื้อสินทรัพย์ไทยของบรรดานักลงทุนต่างชาติอีกครั้ง

ทั้งนี้ ควรระวังความผันผวนในช่วงตลาดทยอยรับรู้รายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการของสหรัฐฯ เพราะหากออกมาสูงกว่าคาด สะท้อนภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังคงแข็งแกร่ง ก็อาจทำให้ผู้เล่นในตลาดปรับลดความหวังที่เฟดจะลดดอกเบี้ยได้ราว 2 ครั้งในปีนี้ หนุนให้ทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นได้ไม่ยาก

สถานการณ์ต่าเงินบามเมื่อคืน

โดยนับตั้งแต่ช่วงคืนวันที่ผ่านมา พบว่า ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ sideways (แกว่งตัวในช่วง 36.69-36.78 บาทต่อดอลลาร์) โดยแม้ว่าเงินบาทจะเผชิญแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าจากการแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องของเงินดอลลาร์ ที่ได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของเงินปอนด์อังกฤษ (GBP) หลังตลาดมองว่า ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) แม้จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 5.25% ตามคาด แต่ BOE ก็มีการส่งสัญญาณพร้อมใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น ทำให้ผู้เล่นในตลาดบางส่วนเริ่มคาดว่า BOE อาจทยอยลดดอกเบี้ยลงได้ในการประชุมครั้งถัดไปในเดือนสิงหาคม นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ยังได้แรงหนุนเพิ่มเติมจากการอ่อนค่าลงต่อเนื่องของเงินเยนญี่ปุ่น

อย่างไรก็ดี เงินบาทกลับไม่ได้อ่อนค่าไปมาก ตามโฟลว์ธุรกรรมขายทำกำไรทองคำที่ช่วยพยุงเงินบาทเอาไว้ หลังราคาทองคำสามารถปรับตัวขึ้นราว +30 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ท่ามกลางความหวังการทยอยลดดอกเบี้ยของบรรดาธนาคารกลางหลัก รวมถึงความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ทั้งฝั่งตะวันออกกลางและสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่กลับมาร้อนแรงอีกครั้ง

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยรวมเคลื่อนไหวผสมผสาน ท่ามกลางแรงขายทำกำไรบรรดาหุ้นธีม AI/Semiconductor อย่าง Nvidia -3.5%, Apple -2.2% ทว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังพอได้แรงหนุนอยู่บ้าง ตามการปรับตัวขึ้นของหุ้นกลุ่มพลังงาน อาทิ Exxon Mobil +2.2% หลังราคาน้ำมันดิบได้ทยอยปรับตัวขึ้นต่อเนื่องในช่วงนี้ ทำให้โดยรวม แม้ดัชนีหุ้นเทคฯ Nasdaq จะปรับตัวลง -0.79% แต่ดัชนี S&P500 ก็ปิดตลาดเพียง -0.25%

ด้ายฝั่งตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี STOXX600 พลิกกลับมาปรับตัวขึ้น +0.93% หนุนโดยความหวังการทยอยลดดอกเบี้ยของบรรดาธนาคารกลางหลัก โดยเฉพาะ BOE ที่เริ่มมีการส่งสัญญาณอาจทยอยลดดอกเบี้ยลงได้ นอกจากนี้ ตลาดหุ้นยุโรปยังได้แรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของบรรดาหุ้นกลุ่ม Semiconductor อาทิ ASML +2.3% หลังทาง Morgan Stanley ได้มีมุมมองเชิงบวกต่อการลงทุนในหุ้น ASM International +5.3%

ขณะที่ตลาดบอนด์ บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ยังคงแกว่งตัวแถวระดับ 4.26% โดยเรายังคงเห็นแรงซื้อบอนด์ระยะยาวในจังหวะที่บอนด์ยีลด์ปรับตัวสูงขึ้นของผู้เล่นในตลาดอยู่ หลังผู้เล่นในตลาดยังคงคาดหวังว่า เฟดจะสามารถทยอยลดดอกเบี้ยได้ราว 2 ครั้งในปีนี้ ตามรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ส่วนใหญ่ในช่วงนี้ออกมาแย่กว่าคาด อย่างไรก็ดี เราคงมองว่า บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ อาจผันผวนในกรอบ sideways และสามารถที่จะปรับตัวสูงขึ้นได้ หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาด ทำให้ผู้เล่นในตลาดปรับลดความคาดหวังต่อการลดดอกเบี้ย 2 ครั้งของเฟดในปีนี้ ทว่าเราคงคำแนะนำเดิมว่า ในทุกๆ จังหวะการปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ จะเป็นโอกาสในการทยอยเข้าซื้อบอนด์ระยะยาวที่น่าสนใจ เนื่องจากแนวโน้มดอกเบี้ยเฟดในระยะข้างหน้ามีเพียงแค่ “คง” หรือ “ลง” มากกว่าที่เฟดจะทยอยขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้ง

อย่างไรก็ตาม ตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์ทยอยแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ตามการอ่อนค่าลงของบรรดาสกุลเงินหลัก โดยเฉพาะเงินปอนด์อังกฤษ (GBP) หลังผู้เล่นในตลาดบางส่วนเริ่มคาดหวังว่า BOE อาจเริ่มทยอยลดดอกเบี้ยลงได้ในการประชุมเดือนสิงหาคม นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ยังได้แรงหนุน ตามการทยอยอ่อนค่าลงของเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) ที่ล่าสุดได้อ่อนค่าใกล้ระดับ 159 เยนต่อดอลลาร์ ทำให้โดยรวมดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) ปรับตัวขึ้นใกล้ระดับ 105.6 จุด (แกว่งตัวในกรอบ 105.3-105.7 จุด) ในส่วนของราคาทองคำ

ถึงแม้ว่าเงินดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้น ทว่า ราคาทองคำ (สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ส.ค.) ก็สามารถปรับตัวขึ้นเข้าใกล้โซน 2,380 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ท่ามกลางความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์จากทั้งปัญหาตะวันออกกลางและสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่กลับมาร้อนแรงขึ้น รวมถึงมุมมองของผู้เล่นในตลาดที่ต่างคาดหวังการทยอยลดดอกเบี้ยของบรรดาธนาคารกลางหลัก ซึ่งการปรับตัวขึ้นดังกล่าวของราคาทองคำ ก็เปิดโอกาสให้ผู้เล่นในตลาดบางส่วนทยอยขายทำกำไรและโฟลว์ธุรกรรมดังกล่าวก็มีส่วนช่วยชะลอการอ่อนค่าของเงินบาท

สำหรับวันนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้น รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและภาคการบริการ (Manufacturing and Services PMIs) ในเดือนมิถุนายนของบรรดาประเทศเศรษฐกิจหลัก ทั้งสหรัฐฯ ยูโรโซน อังกฤษ และญี่ปุ่น และในฝั่งอังกฤษ ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตา รายงานยอดค้าปลีก (Retail Sales) ในเดือนพฤษภาคม

ค่าเงินบาทเช้านี้

วันที่ 20 มิถุนายน 2567

ค่าเงินบาท

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.69 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวในช่วงแคบ ๆ จากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 36.68 บาท/ดอลลาร์

ดอลลาร์เคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก โดยวานนี้ตลาดเงินนิวยอร์กปิดทำการเนื่องในวันจูนทีนธ์ (Juneteenth)

เมื่อคืนนี้สมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB) ของสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้านลดลง 2 จุด สู่ระดับ 43 ในเดือนมิ.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค. และต่ำกว่าคาดการณ์ที่ระดับ 45 ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นปรับตัวต่ำกว่าระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ถึงมุมมองทั่วไปที่เป็นลบ

สำหรับสถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย 2,692.88 ล้านบาท และซื้อสุทธิพันธบัตรไทย 2,342 ล้านบาท

ตลาดคาดการณ์ว่า BoE จะประกาศคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันนี้ ก่อนที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนส.ค.2567 นี้ นอกจากนี้นักลงทุนยังจับตาธนาคารกลางจีน (PBOC) แถลงมติอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR) ประเภท 1 ปี และ 5 ปีในวันนี้ (20 มิ.ย.) และคืนนี้สหรัฐจะประกาศตัวเลข Jobless Claim

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.50 - 36.80
แนะนำ ทยอยซื้อที่ 36.50/ ขาย 36.80

EUR/THB 39.20 - 39.60
แนะนำ ซื้อ   39.20/ ขาย 39.60

JPY/THB 0.2300 - 0.2350
แนะนำ ซื้อ   0.2300 / ขาย 0.2350

GBP/THB 46.50 - 47.00
AUD/THB 24.30 - 24.70

ค่าเงินบาทเช้านี้

วันที่ 19 มิถุนายน 2567

147872

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.68 บาทดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียกับราคาปิดตลาดเมื่อวานนี้ที่ระดับ 36.84 บาทดอลลาร์

ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก หลังสหรัฐเปิดเผยยอดค้าปลีกที่ต่ำกว่าคาดในเดือน พ.ค. ซึ่งทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะเริ่มพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้

กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกเดือน พ.ค.ปรับตัวขึ้นเพียง 0.1% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.3% และหากไม่รวมยอดขายรถยนต์ ยอดค้าปลีกเดือน พ.ค.ลดลง 0.1% สวนทางกับนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.2%

หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว เครื่องมือ FedWatch Tool ของ LSEG บ่งชี้ว่า นักลงทุนคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้ แม้เฟดส่งสัญญาณในการประชุมครั้งล่าสุดว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพียง 1 ครั้งในปีนี้ก็ตาม

นอกจากนี้ ยอดค้าปลีกที่ต่ำกว่าคาดยังส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีปรับตัวลงสู่ระดับ 4.217% และเป็นปัจจัยกดดันสกุลเงินดอลลาร์

ข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่น ๆ ที่จะมีการเปิดเผยในสัปดาห์นี้ได้แก่ ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยจากสมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB), จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้าน, ยอดขายบ้านมือสอง และดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตและภาคบริการจากเอสแอนด์พี โกลบอล

เมื่อวานนี้นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดพันธบัตร 1,624 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 1,741 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.50 -36.80
แนะนำทยอยซื้อที่ 36.50/ขาย 36.80

EUR/THB 39.15 - 39.65
แนะนำทยอยซื้อที่ 39.15 / ขาย 39.65

JPY/THB 0.2305 - 0.2345
แนะนำทยอยซื้อที่ 0.2305 - 0.2345

GBP/THB 46.35 - 46.85
AUD/THB 24.30 - 24.60

ค่าเงินบาทเช้านี้

วันที่ 18 มิถุนายน 2567

411676

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.83 บาท/ดอลลาร์ ใกล้เคียงกับราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 36.82 บาท/ดอลลาร์

ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนและกลับมาอ่อนค่าจาก fund flow ที่ยังคงไหลออก หลังดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยหลุดแนวรับจิตวิทยา 1,300 จุด ในระยะสั้นนี้ความไม่แน่นอนทางการเมืองจะเป็นปัจจัยเพิ่มความผันผวนต่อตลาดการเงิน ซึ่งอาจจะทำให้นักลงทุนต่างชาติหลีกเลี่ยงการซื้อสินทรัพย์ในไทย แม้ว่าตลาดหุ้นและพันธบัตรของไทยค่อนข้างอยู่ในระดับราคาที่ต่ำก็ตาม

สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจของจีนที่สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) เปิดเผยเมื่อวานนี้ได้แก่ ยอดค้าปลีก ซึ่งเป็นมาตรวัดการอุปโภคบริโภค ปรับตัวขึ้น 3.7% ในเดือน พ.ค. ซึ่งดีกว่าในเดือนเม.ย.ที่เพิ่มขึ้น 2.3% และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 3% โดยได้แรงหนุนจากการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลวันหยุด แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวขึ้น 5.6% ในเดือน พ.ค. เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งชะลอตัวลงจากเดือน เม.ย.ที่เพิ่มขึ้น 6.7% และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 6%

ส่วนตัวเลขฝั่งสหรัฐที่ต้องติดตาม ได้แก่ยอดค้าปลีกในวันนี้ ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างในวันพฤหัสบดี รวมทั้งดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตและบริการจากเอสแอนด์พี โกลบอลในวันศุกร์

สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาทวันนี้ คาดกรอบการเคลื่อนไหวที่ 36.75-36.90 บาทต่อดอลลาร์ฯ

เมื่อวานนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดพันธบัตร 9,555 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 2,706 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.75- 36.90
แนะนำ ทยอยขายที่ระดับเหนือ 36.90

EUR/THB 39.40- 39.70
แนะนำ ทยอยขายที่ระดับ 39.70

JPY/THB 0.2320- 0.2360
แนะนำ ทยอยซื้อ 0.2320

GBP/THB 46.60-47.00
AUD/THB 24.20- 24.60

ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) 

ค่าเงินบาทเช้านี้

วันที่ 17 มิถุนายน 2567

553759

ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เปิดเผยว่า
ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.65บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวันทำการก่อนหน้าที่ระดับ 36.78 บาท/ดอลลาร์

ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก เนื่องจากนักลงทุนพากันถือครองดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัย ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองในฝรั่งเศส โดยมีความกังวลเกี่ยวกับชัยชนะในการเลือกตั้งของพรรคเนชันแนล แรลลี (National Rally) ซึ่งเป็นพรรคขวาจัด หลังจากทางพรรคเพิ่งคว้าชัยชนะในการเลือกตั้งรัฐสภายุโรป โดยนายบรูโน เลอ แมร์ รัฐมนตรีคลังฝรั่งเศสกล่าวเตือนว่า ฝรั่งเศสอาจเผชิญวิกฤตการณ์ทางการเงิน หากพรรคขวาจัดหรือซ้ายจัดชนะการเลือกตั้งในครั้งนี้

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 232 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 714 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.50- 36.80
*แนะนำ ซื้อ 36.50/ ขาย 36.80

EUR/THB 39.00- 39.50
แนะนำ ซื้อ 39.00 / ขาย 39.50

JPY/THB 0.2310- 0.2360
แนะนำ ซื้อ 0.2310/ ขาย 0.2360

GBP/THB 46.30- 46.90
AUD/THB 24.00- 24.50

กสิกรไทยประเมินค่าเงินบาทสัปดาหนี้ 36.50-37.00 บาท/ดอลลาร์

ธนาคารกสิกรไทยมองกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่ระดับ 36.50-37.00 บาทต่อดอลลาร์ 

โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ดังนี้

  • ทิศทางเงินทุนต่างชาติ
  • ปัจจัยทางการเมืองของไทย
  • สัญญาณเกี่ยวกับดอกเบี้ยสหรัฐฯ จากถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟด ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ผลสำรวจภาคการผลิตของเฟดสาขานิวยอร์กและผลสำรวจแนวโน้มธุรกิจของเฟดสาขาฟิลาเดลเฟียเดือนมิ.ย. ยอดค้าปลีก การผลิตภาคอุตสาหกรรม ข้อมูลการเริ่มสร้างบ้านและยอดขายบ้านมือสองเดือนพ.ค. รวมถึงตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ 

รวมถึง ตลาดยังรอติดตามตัวเลขอัตราเงินเฟ้อเดือนพ.ค. และผลการประชุมของธนาคารกลางอังกฤษ ตัวเลขเศรษฐกิจเดือนพ.ค. และการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR) ของจีน รวมถึงดัชนี PMI เบื้องต้นสำหรับเดือนมิ.ย. ของญี่ปุ่น อังกฤษ ยูโรโซนและสหรัฐฯ

กรุงไทยคาดเงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าแตะ 37 บาท/ดอลลาร์ จากปัจจัยการเมือง

โดยนายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย ประเมินว่า โมเมนตัมการอ่อนค่าได้ชะลอลงบ้าง ทว่าเงินบาทยังมีความเสี่ยงผันผวนอ่อนค่าทดสอบแนวต้านโซน 37 บาท/ดอลลาร์ หากความไม่แน่นอนของการเมืองไทยเพิ่มสูงขึ้น ทำให้บรรดานักลงทุนต่างชาติยังคงเดินหน้าขายสินทรัพย์ไทย

แนะควรจับตาทิศทางราคาทองคำและเงินหยวนของจีน (CNY) โดยเงินหยวนอาจแข็งค่าขึ้นบ้าง หากผู้เล่นในตลาดเชื่อมั่นแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจจีนมากขึ้น

ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์นั้น ประเมินว่า แม้ผู้เล่นในตลาดจะเชื่อว่า เฟดจะลดดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้ แต่เงินดอลลาร์อาจยังได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของเงินยูโร (EUR) ตราบใดที่ผู้เล่นในตลาดยังมีความกังวลต่อสถานการณ์การเมืองยุโรป

อย่างไรก็ตาม เงินดอลลาร์ก็อาจกลับมาแข็งค่าขึ้นต่อได้ไม่ยาก หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาด กดดันให้ผู้เล่นในตลาดเริ่มไม่แน่ใจว่า เฟดจะสามารถลดดอกเบี้ยได้ 2 ครั้งในปีนี้

Krungthai GLOBAL MARKETS  แนะนำว่า ผู้เล่นในตลาดควรเลือกใช้เครื่องมือในการปิดความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนที่หลากหลายมากขึ้น ท่ามกลางความผันผวนของเงินบาท รวมถึงสกุลเงินอื่นๆ ที่สูงขึ้นกว่าช่วงอดีตที่ผ่านมาพอสมควร โดยผู้เล่นในตลาดอาจเลือกใช้เครื่องมือเพิ่มเติม อาทิ Options หรือ Local Currency ควบคู่ไปกับการปิดความเสี่ยงผ่านการทำสัญญา Forward

มองกรอบค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ ที่ระดับ 36.30-37.00 บาท/ดอลลาร์

ส่วนกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 36.55-36.80 บาท/ดอลลาร์

มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก


ฝั่งสหรัฐฯ – ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่ รายงานข้อมูลเศรษฐกิจ ทั้ง ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและภาคการบริการ โดย S&P Global เดือนมิถุนายน (Manufacturing & Services PMIs) และยอดค้าปลีก (Retail Sales) เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตาถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด ซึ่งเรามองว่า โทนการสื่อสารอาจมีลักษณะ Neutral-Slightly Dovish ได้ ทำให้หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ไม่ได้สะท้อนภาพเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งกว่าคาด แต่กลับสะท้อนการชะลอลงของเศรษฐกิจเพิ่มเติม ถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด ก็อาจพอช่วยให้ผู้เล่นในตลาดคลายกังวลแนวโน้มดอกเบี้ยเฟดและยังคงเชื่อว่า เฟดจะลดดอกเบี้ยลง 2 ครั้งในปีนี้ อย่างไรก็ดี เราประเมินว่า แม้ผู้เล่นในตลาดจะยังคงเชื่อว่า เฟดจะสามารถทยอยลดดอกเบี้ยได้ราว 2 ครั้งในปีนี้ แต่เงินดอลลาร์ก็อาจไม่ได้อ่อนค่าลงชัดเจน เนื่องจากเงินดอลลาร์อาจยังพอได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของบรรดาสกุลเงินหลัก อย่าง เงินยูโร (EUR) ที่เผชิญแรงกดดันจากปัญหาการเมืองในยุโรป ส่วนเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) ก็ยังเสี่ยงผันผวนอ่อนค่า หลังผู้เล่นในตลาดเริ่มไม่แน่ใจว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะสามารถดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น อย่าง การปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายได้ในปีนี้

ฝั่งยุโรป – ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของอังกฤษ อาทิ อัตราเงินเฟ้อ CPI ยอดค้าปลีก และดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการ เพื่อประเมินแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) อนึ่งเราประเมินว่าในการประชุม BOE เดือนมิถุนายนนั้น BOE จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 5.25% และอาจยังส่งสัญญาณไม่รีบลดดอกเบี้ย เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน Core CPI แม้จะชะลอลงต่อเนื่อง แต่ก็ยังอยู่ในระดับสูงเกิน 3% พอสมควร ซึ่งในกรณีดังกล่าวอาจพอช่วยพยุงค่าเงินปอนด์อังกฤษ (GBP) ได้บ้าง พร้อมกันนั้น ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) เพื่อประเมินแนวโน้มดอกเบี้ยของ ECB ขณะเดียวกัน ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามประเด็นการเมืองยุโรป โดยเฉพาะ สถานการณ์การเมืองฝรั่งเศส ซึ่งจะมีการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 30 มิถุนายน – 7 กรกฎาคม นี้ โดยความไม่แน่นอนของสถานการณ์การเมืองในฝรั่งเศสอาจสร้างความผันผวนให้กับตลาดการเงินและสามารถกดดันให้เงินยูโร (EUR) และตลาดหุ้นยุโรปมีแนวโน้มอ่อนค่าลง/ปรับตัวลดลงในระยะสั้นได้

ฝั่งเอเชีย – ผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนผ่านรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญรายเดือน อาทิ ยอดค้าปลีก ยอดผลผลิตอุตสาหกรรม เป็นต้น ส่วนในฝั่งญี่ปุ่น ควรรอลุ้นรายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI และรายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ได้ ทั้งนี้ บรรดานักวิเคราะห์ต่างประเมินว่า ทั้งธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) และธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 4.35% และ 6.25% จนกว่าจะมั่นใจว่า แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อจะทยอยกลับสู่เป้าหมายได้สำเร็จ และค่าเงินจะมีเสถียรภาพมากขึ้น (สำหรับ BI)

ฝั่งไทย – ประเด็นสำคัญที่ควรจับตาในระยะสั้น คือ สถานการณ์การเมืองไทย ซึ่งจะมีการพิจารณาคดีการเมืองที่สำคัญ ในวันที่ 18 มิถุนายนนี้ โดยความไม่แน่นอนของสถานการณ์การเมืองอาจทำให้นักลงทุนต่างชาติยังไม่รีบกลับเข้ามาลงทุนในสินทรัพย์ไทย

 

ค่าเงินบาทเช้านี้

วันที่ 14 มิถุนายน 2567

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด อยู่ที่ 36.74 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าเมื่อเทียบกับราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 36.66 บาท/ดอลลาร์

ค่าเงินบาทรายวัน

ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณในการประชุมครั้งล่าสุดว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพียง 1 ครั้งในปีนี้ เนื่องจากดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ที่ต่ำกว่าคาด ขณะที่ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกพุ่งสูงสุดในรอบ 10 เดือน ซึ่งบ่งชี้ถึงตลาดแรงงานที่อ่อนแอ

กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้ผลิต ประจำเดือนพ.ค โดยดัชนี PPI ทั่วไป (Headline PPI) ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 2.2% ในเดือน พ.ค. เมื่อเทียบรายปี ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 2.5% จากระดับ 2.3% ในเดือน เม.ย. และดัชนี PPI ทั่วไป ปรับตัวลง 0.2% ในเดือน พ.ค. ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าปรับตัวขึ้น 0.1% หลังจากปรับตัวขึ้น 0.5% ในเดือน เม.ย. และเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรก เพิ่มขึ้น 13,000 ราย สู่ระดับ 242,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 10 เดือน หรือนับตั้งแต่เดือน ส.ค. 2566 และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 225,000

จับตาการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ในวันนี้

ปิดตลาดเมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อพันธบัตรไทยสุทธิ  419 ล้านบาท และขายหุ้นไทยสุทธิ 2,024 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.50- 36.90
แนะนำ ทยอยซื้อที่ 36.50/ ขาย 36.90

EUR/THB 39.30- 39.80
แนะนำ ซื้อ   39.30/ ขาย 39.80

JPY/THB 0.2320- 0.2360
แนะนำ ซื้อ   0.2320/ ขาย 0.2360

GBP/THB 46.60- 47.00
AUD/THB 24.10- 24.50

ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) 

เงินบาทเช้านี้

วันที่ 13 มิถุนายน 2567

167293

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด อยู่ที่ 36.57 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าเมื่อเทียบกับราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 36.70 บาท/ดอลลาร์

ดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักๆ หลังการเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อที่ต่ำกว่าคาดของสหรัฐ ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)

คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับ 5.25-5.50% ในการประชุม ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ และในการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Dot Plot) เจ้าหน้าที่เฟดส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% เพียง 1 ครั้งในปี 2567 โดยนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟดได้กล่าวแถลงว่า แม้เงินเฟ้อชะลอตัวลงในช่วงที่ผ่านมา แต่ก็ยังอยู่ในระดับที่สูงเกินไป และการคาดการณ์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้ถูกเลื่อนออกไปเนื่องจากแนวโน้มที่เงินเฟ้อจะปรับตัวลงสู่เป้าหมายของเฟดที่ระดับ 2% นั้น มีความล่าช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้

การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 6 ต่อ 1 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.50% ต่อปี

กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค ประจำเดือนพ.ค.โดยดัชนี CPI ทั่วไป (Headline CPI) ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 3.3% ในเดือนพ.ค. เมื่อเทียบรายปี ต่ำกว่าที่คาดการณ์ที่ระดับ 3.4% จากระดับ 3.4% ในเดือนเม.ย. ส่วนดัชนี CPI พื้นฐาน (Core CPI) ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 3.4% ในเดือนพ.ค. เมื่อเทียบรายปี ต่ำกว่าคาดการณ์ที่ระดับ 3.5% จากระดับ 3.6% ในเดือนเม.ย.

จับตาการเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือน พ.ค. ส่วนในวันพรุ่งนี้จะเปิดเผยราคานำเข้าและส่งออกเดือน พ.ค. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือน มิ.ย.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน

ปิดตลาดเมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติขายพันธบัตรไทยสุทธิ 1,345 ล้านบาท และขายหุ้นไทยสุทธิ 1,815 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.40- 36.80
แนะนำ ทยอยซื้อที่ 36.40/ ขาย 36.80

EUR/THB 39.40- 39.80
แนะนำ ซื้อ   39.40/ ขาย 39.80

JPY/THB 0.2310- 0.2350
แนะนำ ซื้อ   0.2310/ ขาย 0.2350

GBP/THB 46.60- 47.00
AUD/THB 24.10- 24.50

ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) 

ค่าเงินบาทเช้านี้

วันที่ 12 มิถุนายน 2567

104095


ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.72 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวช่วงแคบๆ จากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 36.74 บาท/ดอลลาร์

ดอลลาร์เคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก โดยตลาดรอผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในคืนนี้ แม้มีการคาดว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยแต่ตลาดจับตาถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด หลังการประชุม เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ รวมทั้งการคาดการณ์ (Dot Plot) ว่าเฟดจะลดดอกเบี้ยครั้งแรกในปีนี้เมื่อใด

รวมทั้ง ตลาดจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค ของสหรัฐ ประจำเดือนพ.ค.ในคืนนี้ โดยนักวิเคราะห์คาดยังคงอยู่ในระดับสูง

วันนี้มีการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) คาดว่าจะมีมติไม่เป็นเอกฉันท์ ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.50% หลังแนวโน้มเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อยังใกล้เคียงกับคาดการณ์ของทาง กนง.

สำหรับสถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย 3,208.68 ล้านบาท และขายสุทธิพันธบัตรไทย 950 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.60 - 36.90
แนะนำ ทยอยซื้อที่ 36.60/ ขาย 36.90

EUR/THB 39.30 - 39.70
แนะนำ ซื้อ   39.30/ ขาย 39.70

JPY/THB 0.2310 - 0.2360
แนะนำ ซื้อ   0.2310 / ขาย 0.2360

GBP/THB 46.50 - 47.00
AUD/THB 24.10 - 24.60

ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) 

ค่าเงินบาทเช้านี้

วันที่ 11 มิถุนายน 2567

808349

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.78 บาทดอลลาร์ แข็งค่าเมื่อเทียบกับราคาปิดตลาดเมื่อวานนี้ที่ระดับ 36.82 บาทดอลลาร์

ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ โดยตลาดถูกกดดันจากความกังวลหลังการเปิดเผยข้อมูลการจ้างงานของสหรัฐที่เพิ่มขึ้นเกินคาดบ่งชี้ถึงภาวะเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง และทำให้เกิดความกังวลว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะชะลอการปรับลดอัตราดอกเบี้ยออกไปนานกว่าที่บรรดานักลงทุนคาดไว้

เครื่องมือ FedWatch ของ CME บ่งชี้ว่า บรรดาเทรดเดอร์คาดการณ์ในขณะนี้ว่า มีโอกาส 56% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเดือน ก.ย.

นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐ ประจำเดือนพ.ค.ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค ในวันพุธนี้(12 มิ.ย.) และนักลงทุนยังจับตาผลการประชุมเฟดซึ่งจะมีการแถลงในวันพุธนี้ตามเวลาสหรัฐ โดยตลาดคาดการณ์ว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.25-5.50% ในการประชุมครั้งนี้ นอกจากนี้ เฟดจะเปิดเผยตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจ โดยนักลงทุนจับตารายงานเหล่านี้อย่างใกล้ชิดเพื่อหาสัญญาณที่ชัดเจนเกี่ยวกับช่วงเวลาที่เฟดจะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ย

เมื่อวานนี้นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดพันธบัตร 1,253 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 1,613 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.60 -36.90
แนะนำทยอยซื้อที่ 36.60/ขาย 36.90

EUR/THB 39.35 - 39.85
แนะนำทยอยซื้อที่ 39.35 / ขาย 39.85

JPY/THB 0.2320 - 0.2360
แนะนำทยอยซื้อที่ 0.2320 - 0.2355

GBP/THB 46.55 - 47.05
AUD/THB 24.15 - 24.45

ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) 

ค่าเงินบาทเช้านี้

วันที่ 10 มิถุนายน 2567

799591


ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.95 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวันทำการก่อนหน้าที่ระดับ 36.65 บาท/ดอลลาร์

ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก หลังข้อมูลการจ้างงานในสหรัฐเพิ่มขึ้นเกินคาดในเดือนพ.ค. ซึ่งเป็นไปได้ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจเลื่อนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรในตลาดยุโรปปรับตัวขึ้นเช่นกัน หลังการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว

นักลงทุนจับตาการเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐในสัปดาห์นี้ และการประชุมนโยบายการเงินของเฟดในวันที่ 11-12 มิ.ย.นี้

เมื่อวันศุกร์ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 160 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทยที่ระดับ 500 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.75- 37.10
แนะนำ ซื้อ 36.75 / ขาย 37.00

EUR/THB 39.70- 40.00
แนะนำ ซื้อ 39.70 / ขาย 40.00

JPY/THB 0.2340- 0.2390
แนะนำ ซื้อ 0.2340/ ขาย 0.2390

GBP/THB 46.75- 47.00
AUD/THB 24.15- 24.75

ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb)  

วันที่ 7 มิถุนายน 2567

ค่าเงินบาท 

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.42 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวันทำการก่อนหน้าที่ระดับ 36.53 บาท/ดอลลาร์

ดอลลาร์อ่อนค่าเทียบสกุลเงินหลัก หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ขอสวัสดิการว่างงานสูงกว่าคาด โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรก เพิ่มขึ้น 8,000 ราย สู่ระดับ 229,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 220,000 ราย นอกจากนี้ นักลงทุนจับตาตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือน พ.ค.ในวันศุกร์นี้ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่า ตัวเลขจ้างงานเพิ่มขึ้น 185,000 ตำแหน่งในเดือน พ.ค. จากระดับ 175,000 ตำแหน่งในเดือน เม.ย. และคาดว่าอัตราว่างงานทรงตัวที่ระดับ 3.9%

เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 331 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 3,185 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.30- 36.60
แนะนำ ซื้อ 36.30/ ขาย 36.60

EUR/THB 39.40- 39.90
แนะนำ ซื้อ 39.40 / ขาย 39.90

JPY/THB 0.2310- 0.2360
แนะนำ ซื้อ 0.2310/ ขาย 0.2360

GBP/THB 46.30- 46.90
AUD/THB 24.00- 24.50

ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) 

ค่าเงินบาทเช้านี้

วันที่ 5 มิถุนายน 2567

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด อยู่ที่ 36.61 บาท/ดอลลาร์ ใกล้เคียงกับราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 36.60 บาท/ดอลลาร์

632099

ดอลลาร์อ่อนค่าเทียบสกุลเงินหลัก หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขการเปิดรับสมัครงานต่ำสุดในรอบกว่า 3 ปี ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ คาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในปีนี้ในเดือน ก.ย. และปรับลดอีกครั้งในเดือน ธ.ค.

กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งที่ 2 สำหรับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำไตรมาส 1/2567 โดยระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐขยายตัว 1.3% ในไตรมาสดังกล่าว ต่ำกว่าตัวเลขประมาณการครั้งที่ 1 ที่ระดับ 1.6% นอกจากนี้ยังเปิดเผยผลสำรวจการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) พบว่า ตัวเลขการเปิดรับสมัครงาน ซึ่งเป็นมาตรวัดอุปสงค์ในตลาดแรงงาน ลดลงสู่ระดับ 8.06 ล้านตำแหน่งในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบกว่า 3 ปี หรือนับตั้งแต่เดือนก.พ. 2564 โดยตัวเลขการเปิดรับสมัครงานปรับตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 8.4 ล้านตำแหน่ง จากระดับ 8.36 ล้านตำแหน่งในเดือน มี.ค. โดยมองว่าเป็นมาตรวัดภาวะตึงตัวในตลาดแรงงาน ซึ่งเป็นปัจจัยในการพิจารณานโยบายการเงินและอัตราดอกเบี้ยของเฟด ประกอบกับล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 65% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 5.00-5.25% ในการประชุมเดือน ก.ย.

จับตาการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือน พ.ค.ในวันศุกร์นี้ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ตัวเลขจ้างงานจะเพิ่มขึ้น 185,000 ตำแหน่งในเดือน พ.ค. หลังจากที่เพิ่มขึ้น 175,000 ตำแหน่งในเดือน เม.ย. และคาดว่าอัตราว่างงานจะทรงตัวที่ระดับ 3.9% ในเดือน พ.ค.

ปิดตลาดเมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อพันธบัตรไทยสุทธิ  993 ล้านบาท และขายหุ้นไทยสุทธิ 2,243 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.50- 36.90
แนะนำ ทยอยซื้อที่ 36.50/ ขาย 36.90

EUR/THB 39.60- 40.00
แนะนำ ซื้อ   39.60/ ขาย 40.00

JPY/THB 0.2340- 0.2380
แนะนำ ซื้อ   0.2340/ ขาย 0.2380

GBP/THB 46.50- 46.90
AUD/THB 24.10- 24.50

ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) 

ค่าเงินบาทเช้านี้

วันที่ 4 มิถุนายน 2567

928435

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.62 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวานศุกร์ที่ผ่านมาที่ระดับ 36.80 บาท/ดอลลาร์

ดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก เนื่องจากนักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อของสหรัฐ หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลที่บ่งชี้ว่า เงินเฟ้อของสหรัฐเพิ่มขึ้นตามคาดในเดือน เม.ย. ซึ่งแม้จะไม่ได้บ่งชี้อย่างชัดเจนว่าเฟดจะสามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงได้เร็วเพียงใด แต่ก็ทำให้นักลงทุนเริ่มคาดการณ์กันว่าเฟดอาจมีโอกาสที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย ครั้งแรกในเดือน ก.ย. และครั้งที่ 2 ในเดือน ธ.ค.

ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลทั่วไป (Headline PCE) ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 2.7% ในเดือน เม.ย. เมื่อเทียบรายปี สอดคล้องตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ และเมื่อเทียบรายเดือน ดัชนี PCE ทั่วไป ปรับตัวขึ้น 0.3% ในเดือน เม.ย. สอดคล้องตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์

เมื่อคืนนี้สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 48.7 ในเดือน พ.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน จากระดับ 49.2 ในเดือน เม.ย. และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะอยู่ที่ 49.6 โดยดัชนีปรับตัวต่ำกว่าระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ว่าภาคการผลิตของสหรัฐอยู่ในภาวะหดตัว

สำหรับสถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ ระหว่างวันที่ 27 - 31 พ.ค. 67 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย 11,765 ล้านบาท และขายสุทธิพันธบัตรไทย 1,494 ล้านบาท

ในสัปดาห์นี้ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ อัตราเงินเฟ้อเดือน พ.ค. ของไทย ทิศทางเงินทุนต่างชาติ สถานการณ์ราคาทองคำในตลาดโลกและผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB)

ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชน ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างงานเดือน พ.ค. ตัวเลขการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน เดือน เม.ย. รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.50 - 36.80
แนะนำ ทยอยซื้อที่ 36.50/ ขาย 36.80

EUR/THB 39.70 - 40.10
แนะนำ ซื้อ   39.70/ ขาย 40.10

JPY/THB 0.2330 - 0.2380
แนะนำ ซื้อ   0.2330 / ขาย 0.2380

GBP/THB 46.60 - 47.00
AUD/THB 24.30 - 24.70

ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) 

แชร์
ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.95บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากวันก่อน