Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.18 บาท/ดอลลาร์  ใกล้เคียจากวันก่อน
โดย : อมรินทร์ทีวีออนไลน์

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.18 บาท/ดอลลาร์ ใกล้เคียจากวันก่อน

30 ก.ค. 67
07:59 น.
|
2.1K
แชร์

ค่าเงินบาทเช้านี้

วันที่ 30 กรกฎาคม 2567

280263

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.00 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าเมื่อเทียบราคาปิดตลาดเมื่อปลายสัปดาห์ที่ระดับ 36.10 บาท/ดอลลาร์

* ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าเล็กน้อยจากคืนวันศุกร์แต่ยังคงผันผวน ขณะที่เงินเยนทรงตัว หลังจากที่เงินเยนได้แข็งค่าขึ้นมากที่สุดในช่วงสัปดาห์ก่อน

* ในสัปดาห์นี้ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ผลการประชุม FOMC (30-31 ก.ค.) BOJ (30-31 ก.ค.) และธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) (1 ส.ค.) ทิศทางเงินทุนต่างชาติ รายงานเศรษฐกิจและการเงินเดือนมิ.ย. ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และประเด็นเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ

* เมื่อวันศุกร์ นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 7,700 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 150 ล้านบาท

* กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 35.85- 36.50
*แนะนำ ซื้อ 35.90/ ขาย 36.50
EUR/THB 38.80- 39.30
* แนะนำ ซื้อ 38.80/ ขาย 39.30

JPY/THB 0.2330- 0.2370
GBP/THB 46.00- 46.50
AUD/THB 23.40- 23.80

ค่าเงินบาทเช้านี้

วันที่ 26 กรกฎาคม 2567 

356043


ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.18 บาท/ดอลลาร์ ใกล้เคียงกับราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 36.16 บาท/ดอลลาร์

ค่าเงินบาทกลับมาอ่อนค่า หลังจากหลุดแนวรับ 36.00 บาท/ดอลลาร์ จากสัปดาห์ที่แล้ว เนื่องจากตลาดรอผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐเกี่ยวกับทิศทางการปรับลดอัตราเบี้ยในการประชุมในอาทิตย์หน้าในวันที่ 30-31 ก.ค.นี้ และจากการที่คาดการณ์ที่ว่า BOJ อาจปรับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมนโยบายการเงินสัปดาห์หน้า

ข้อมูลทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งที่ 1 สำหรับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำไตรมาส 2/2567 โดยเศรษฐกิจสหรัฐขยายตัว 2.8% สูงกว่าคาดการณ์ที่ระดับ 2.1% หลังจากมีการขยายตัวเพียง 1.4% ในไตรมาส 1/2567 ขานรับเศรษฐกิจสหรัฐที่มีการขยายตัวแข็งแกร่ง การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐได้รับแรงหนุนจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค รวมทั้งการลงทุนของภาคเอกชน

นอกจากนี้ มีประกาศตัวเลขการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ปรับตัวขึ้น 2.3% ในไตรมาส 2/2567 โดยเพิ่มขึ้นจากระดับ 1.5% ในไตรมาส 1/2567 โดยจับตาดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ที่จะมีการเปิดเผยในวันนี้โดยดัชนี PCE เป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญ และกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 10,000 ราย สู่ระดับ 235,000 รายในสัปดาห์ที่แล้วต่ำกว่าคาดกาณ์ที่ระดับ 237,000 ราย

เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 4,834 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 225 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.00- 36.30
*แนะนำ ซื้อ 36.00/ ขาย 36.30

EUR/THB 39.00- 39.50
แนะนำ ซื้อ 39.00/ ขาย 39.50

JPY/THB 0.2330- 0.2370
แนะนำ ซื้อ 0.2330/ ขาย 0.2370

GBP/THB 46.40- 46.80
AUD/THB 23.40- 23.80

ค่าเงินบาทเช้านี้

23

วันที่ 23 กรกฎาคม 2567 

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.31 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าเมื่อเทียบกับราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 36.27 บาท/ดอลลาร์

ค่าเงินบาทกลับมาอ่อนค่าในช่วงปลายสัปดาห์ หลังจากหลุดแนวรับ 36.00 บาท/ดอลลาร์ ไปแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 4 เดือนที่ 35.82 บาท/ดอลลาร์ในช่วงกลางสัปดาห์ตามทิศทางการแข็งค่าของสกุลเงินอื่น ๆ ในเอเชีย นำโดยเงินเยนซึ่งแข็งค่าขึ้นท่ามกลางการคาดการณ์ว่า ทางการญี่ปุ่นอาจเข้าแทรกแซงตลาดเพื่อสกัดไม่ให้เงินเยนอ่อนค่าเร็วรวมถึงการปรับขึ้นทำ all time high ของทองคำแถวบริเวณ 2,470 ดอลลาร์/ออนซ์

อย่างไรก็ตามเงินดอลลาร์ได้ดีดตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดรายสัปดาห์ตามทิศทางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น และราคาทองคำที่ปรับลง หลังนายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐคนปัจจุบัน ประกาศถอนตัวจาก การลงชิงตําแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐในปลายปีนี้ อันเป็นผลให้ความไม่แน่นอนทางการเมืองของสหรัฐเพิ่มขึ้น รวมถึงความวิตกกับปัญหาระบบไซเบอร์ล่มทั่วโลกซึ่งส่งผลกระทบต่อธนาคาร สายการบิน และสถานีโทรทัศน์ แม้ว่าความผันผวนในตลาดสกุลเงินสามารถควบคุมได้ก็ตาม

สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาทวันนี้ คาดกรอบการเคลื่อนไหวที่ 36.20-36.50 บาท/ดอลลาร์ฯ

เมื่อวันศุกร์นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดพันธบัตร 2,654 ล้านบาท และซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทย 278 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ

  • USD/THB 36.20- 36.50 แนะนำ ทยอยซื้อที่ระดับ 36.20
  • EUR/THB 39.40- 39.80 แนะนำ ทยอยขายที่ระดับ 39.80
  • JPY/THB 0.2300- 0.2340 แนะนำ ทยอยซื้อ   0.2300
  • GBP/THB 46.80-47.20
    AUD/THB 24.00- 24.40

 


วันที่ 19 กรกฎาคม 2567 

19

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.20 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าเมื่อเทียบกับราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 35.97 บาท/ดอลลาร์

ดอลลาร์แข็งค่าเทียบสกุลเงินหลัก ทั้งนี้ นายคริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ หนึ่งในสมาชิกคณะกรรมการผู้ว่าการเฟด และเป็นสมาชิกถาวรของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟด (FOMC) ส่งสัญญาณบ่งชี้ว่า เฟดเตรียมปรับลดอัตราดอกเบี้ยในไม่ช้า ตราบใดที่ไม่มีเรื่องที่จะสร้างความประหลาดใจครั้งใหญ่เกี่ยวกับเงินเฟ้อและการจ้างงาน

กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรก เพิ่มขึ้น 20,000 ราย สู่ระดับ 243,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 12 ส.ค. 2566 และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 229,000 ราย เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 583 ล้านบาท และซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทย 1,292 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ

  • USD/THB 36.00- 36.30 แนะนำ ซื้อ 36.00/ ขาย 36.30
  • EUR/THB 39.20- 39.70 แนะนำ ซื้อ 39.20 / ขาย 39.70
  • JPY/THB 0.2280- 0.2330 แนะนำ ซื้อ 0.2280/ ขาย 0.2330
  • GBP/THB 46.50- 47.00
  • AUD/THB 24.00- 24.50

 


 

วันที่ 18 กรกฎาคม 2567 

588184

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 35.94 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าเมื่อเทียบกับราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 35.83 บาท/ดอลลาร์

ดอลลาร์อ่อนค่าเทียบกับสกุลหลัก โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับค่าเงินเยน ซึ่งปรับตัวแข็งค่าอย่างมากระหว่างการซื้อขายเมื่อวานนี้ ท่ามกลางกระแสคาดการณ์ว่า ทางการญี่ปุ่นอาจเข้าแทรกแซงตลาดเพื่อพยุงค่าเงินเยน ซึ่งจะเป็นการดำเนินการเป็นสัปดาห์ที่ 2 ติดต่อกัน ทั้งนี้ค่าเงินเยนยังคงแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น เช่น ยูโรและปอนด์

นักลงทุนมีความมั่นใจว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในเดือน ก.ย. ที่จะถึงนี้ หลังการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่ต่ำกว่าคาด และการที่ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวว่าอาจมีการปรับลดดอกเบี้ยโดยไม่รอจนกว่าเงินเฟ้อปรับตัวสู่เป้าหมายที่ระดับ 2%

เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตรไทยที่ระดับ 8,000 ล้านบาท ขณะที่ซื้อสุทธิหุ้นไทย 700 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 35.80- 36.10
แนะนำ ซื้อ 35.80/ ขาย 36.10

EUR/THB 39.10- 39.50
แนะนำ ซื้อ 39.10/ ขาย 39.50

JPY/THB 0.2280- 0.2320
GBP/THB 46.50- 46.90
AUD/THB 24.00- 24.40

ค่าเงินบาทเช้านี้

วันที่ 17 กรกฎาคม 2567 

294905

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.00 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 36.10 บาท/ดอลลาร์

ดอลลาร์แข็งค่าเทียบสกุลเงินหลัก ขานรับยอดค้าปลีกที่ดีกว่าคาด ทำให้นักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับการใช้จ่ายของผู้บริโภค และภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐ ทำให้ตลาดเชื่อมั่นว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือน ก.ย.

กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกปรับตัวขึ้น 0.0% หรือไม่มีการเปลี่ยนแปลงในเดือน มิ.ย. เมื่อเทียบรายเดือน ขณะที่ตลาดคาดการณ์ว่าลดลง 0.3% หลังจากปรับตัวขึ้น 0.3% ในเดือน พ.ค. และเมื่อเทียบรายปี ยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้น 2.3% ในเดือน มิ.ย. หลังจากปรับตัวขึ้น 2.6% ในเดือน พ.ค.

จับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ได้แก่การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน มิ.ย., รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ หรือ Beige Book จากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด), จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือน มิ.ย.จาก Conference Board

เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 1,492 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 68 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ

USD/THB 35.90- 36.20 แนะนำ ซื้อ 35.90/ ขาย 36.20

EUR/THB 39.00- 39.50 แนะนำ ซื้อ 39.00/ ขาย 39.40

JPY/THB 0.2260- 0.2300 แนะนำ ซื้อ 0.2260/ ขาย 0.2300

  • GBP/THB 46.50- 46.90
  • AUD/THB 24.00- 24.40

 


วันที่ 16 กรกฎาคม 2567 

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด  36.15 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากวันก่อน

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.15 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 36.23 บาท/ดอลลาร์

ดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบสกุลเงินหลัก หลังจากนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) กล่าวเมื่อคืนวว่า เฟดจะไม่รอจนกว่าเงินเฟ้อปรับตัวสู่เป้าหมาย 2% ก่อนที่จะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ย และเขาไม่คิดว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะเผชิญกับภาวะทรุดตัวลงอย่างรุนแรง หลังมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว

การกล่าวสุนทรพจน์ดังกล่าว ถือเป็นการแสดงความเห็นของนายพาวเวลเป็นครั้งสุดท้ายก่อนที่เจ้าหน้าที่เฟดจะเริ่มเข้าสู่ช่วงงดเว้นการแสดงความเห็นเกี่ยวกับนโยบายการเงิน (Blackout Period) ในวันเสาร์นี้ และก่อนที่เฟดจะจัดการประชุมกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ในวันที่ 30-31 ก.ค.

นักลงทุนคาดการณ์ว่า เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้งในปีนี้ โดยจะเกิดขึ้นในเดือน ก.ย., พ.ย. และ ธ.ค. จากเดิมที่คาดว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพียง 2 ครั้งในเดือนก.ย.และ ธ.ค. หลังสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่ต่ำกว่าคาดเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด

ล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 89.9% ที่เฟดจะลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมเดือนก.ย. และให้น้ำหนัก 59.2% ที่เฟดจะลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมเดือนพ.ย. นอกจากนี้ยังให้น้ำหนัก 52.6% ที่เฟดจะลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมเดือน ธ.ค.

เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 4,346 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 443 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ

USD/THB 36.00 - 36.30 แนะนำ ซื้อ 36.00/ ขาย 36.30

EUR/THB 39.15 - 39.65 แนะนำ ซื้อ 39.15/ ขาย 39.65

JPY/THB 0.2265 - 0.2305 แนะนำ ซื้อ 0.2265/ ขาย 0.2305

  • GBP/THB 46.70 - 47.10
  • AUD/THB 24.30 - 24.60

 


วันที่ 15 กรกฎาคม 2567 

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด  36.20 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากวันก่อน

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.20 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวานศุกร์ที่ระดับ 36.21 บาท/ดอลลาร์

ดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบสกุลเงินหลัก จากที่ตลาดยังคงคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเดือน ก.ย. แม้ว่าล่าสุด สหรัฐฯจะรายงานตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือน มิ.ย.ออกมาสูงกว่าคาดเล็กน้อยก็ตาม

ทั้งนี้ สหรัฐฯ รายงานตัวเลขดัชนี PPI ทั่วไป (Headline PPI) ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 2.6% ในเดือนมิ.ย. เมื่อเทียบรายปี สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ระดับ 2.3% และเมื่อเทียบรายเดือน ดัชนี PPI ทั่วไป ปรับตัวขึ้น 0.2% ในเดือน มิ.ย. สูงกว่าที่คาดการณ์ที่ระดับ 0.1%

สถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติระหว่างวันที่ 8-12 ก.ค. 2567 นั้น นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย 3,149.7 ล้านบาท แต่มีสถานะเป็น Net Inflows เข้าตลาดพันธบัตรไทย 8,716 ล้านบาท

ปัจจัยที่ควรติดตามในสัปดาห์นี้ได้แก่ทิศทางเงินทุนต่างชาติ สถานการณ์สกุลเงินในภูมิภาค ถ้อยแถลงของประธานเฟดและเจ้าหน้าที่เฟดท่านอื่น และผลการประชุม ECB

ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ผลสำรวจภาคการผลิตของเฟดสาขานิวยอร์กเดือนก.ค. ยอดค้าปลีก ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้าน การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมิ.ย. รายงาน Beige Book ของเฟด และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ

USD/THB 36.10 - 36.40 แนะนำ ทยอยซื้อที่ 36.10/ ขาย 36.40

EUR/THB 39.20 - 39.60 แนะนำ ซื้อ   39.20/ ขาย 39.60

JPY/THB 0.2250 - 0.2300 แนะนำ ซื้อ   0.2250 / ขาย 0.2300

  • GBP/THB 46.50 - 47.00
  • AUD/THB 24.30 - 24.80

 


วันที่ 12 กรกฎาคม 2567 

ค่าเงินบาทเช้านี้

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.10 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 36.27 บาท/ดอลลาร์

ดอลลาร์อ่อนค่าเทียบสกุลเงินหลัก หลังการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่ต่ำกว่าคาด ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ทั้งนี้ ดัชนี CPI ทั่วไป (Headline CPI) ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 3.0% ในเดือนมิ.ย. เมื่อเทียบรายปี ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 3.1% จากระดับ 3.3% ในเดือนพ.ค. ส่วนดัชนี CPI พื้นฐาน (Core CPI) ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 3.3% ในเดือนมิ.ย. เมื่อเทียบรายปี ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 3.4% จากระดับ 3.4% ในเดือนพ.ค.

เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 1,535 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 584 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ

USD/THB 36.00- 36.30
แนะนำ ซื้อ 36.00/ ขาย 36.30

EUR/THB 39.00- 39.50
แนะนำ ซื้อ 39.00 / ขาย 39.50

JPY/THB 0.2250- 0.2300
แนะนำ ซื้อ 0.2250/ ขาย 0.2300

  • GBP/THB 46.50- 47.00
  • AUD/THB 24.30- 24.80 

 


วันที่ 11 กรกฎาคม 2567

204526

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.35 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 36.40 บาท/ดอลลาร์

ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวในทิศทางแข็งค่าขึ้น เนื่องจากดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลหลักหลัง ประธาน FED แถลงนโยบายการเงินและภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ รอบครึ่งปีต่อสภา โดยมองว่า เงินเฟ้อไม่ใช่ความเสี่ยงประการเดียวที่ FED พิจารณา แต่การตรึงดอกเบี้ยไว้ ในระดับสูงและนานเกินไป อาจส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งอยู่ในโทนที่มีความ DOVISH มากขึ้น

สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานเมื่อวานนี้ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ชะลอตัวลงในเดือนมิ.ย. ขณะที่ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ส่งสัญญาณดีขึ้น แต่ยังชี้ว่าจีนยังคงเผชิญกับภาวะเงินฝืด แม้รัฐบาลจีนได้ออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศก็ตาม ทั้งนี้ ดัชนี CPI ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค ปรับตัวขึ้น 0.2% ในเดือนมิ.ย. เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งชะลอตัวลงจากเดือนพ.ค.ที่เพิ่มขึ้น 0.3%    แต่ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อ PPI กลับหดตัวในอัตราที่ช้าที่สุดในรอบ 16 เดือน

ตลาดรอดูตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐในวันนี้เพื่อหาสัญญาณที่ชัดเจนเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟด โดยสหรัฐจะเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนมิ.ย.ในวันนี้ และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ประจำเดือนมิ.ย.ในวันศุกร์

สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาทวันนี้ คาดกรอบการเคลื่อนไหวที่ 36.25-36.45 บาทต่อดอลลาร์ฯ

เมื่อวานนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตร 3,136 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 2,047 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.25- 36.45
แนะนำ ทยอยซื้อที่ระดับ 36.25

EUR/THB 39.20- 39.60
แนะนำ ทยอยขายที่ระดับ 39.60

JPY/THB 0.2240- 0.2280
แนะนำ ทยอยซื้อ   0.2240

GBP/THB 46.50-46.90
AUD/THB 24.40- 24.80

ค่าเงินบาทเช้านี้

วันที่ 10 กรกฎาคม 2567

ค่าเงินบาทเช้านี้

วันที่ 9 กรกฎาคม 2567

220627

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.43 บาท/ดอลลาร์ ใกล้เคียงกับราคาปิดตลาดเมื่อวาน ที่ระดับ 36.45 บาท/ดอลลาร์

ดอลลาร์อ่อนค่าเทียบสกุลเงินหลัก ก่อนการเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อ และถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ต่อสภาคองเกรสในสัปดาห์นี้ โดยนายพาวเวลมีกำหนดกล่าวแถลงการณ์รอบครึ่งปีว่าด้วยนโยบายการเงินและภาวะเศรษฐกิจสหรัฐต่อคณะกรรมาธิการการธนาคารประจำวุฒิสภาสหรัฐในวันที่ 9 ก.ค. ก่อนที่จะกล่าวต่อคณะกรรมาธิการบริการการเงินประจำสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 10 ก.ค.

นักลงทุนรอดูตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ได้แก่ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค ประจำเดือนมิ.ย.ในวันพฤหัสบดีนี้

สำหรับตัวเลข Fund Flow เมื่อวานนี้นักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิตลาดพันธบัตรไทยที่ระดับ 94 ล้านบาท ขณะที่ซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทย 380 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.30 - 36.60

แนะนำ ทยอยซื้อที่ 36.30/ ขาย 36.60
EUR/THB 39.30 - 39.80
แนะนำ ซื้อ 39.30/ ขาย 39.80

JPY/THB 0.2250 - 0.2295
แนะนำ ซื้อ 0.2250 / ขาย 0.2295

GBP/THB 46.65 - 47.00
AUD/THB 24.40 - 24.90 

ค่าเงินบาทเช้านี้

วันที่ 8 กรกฎาคม 2567

ค่าเงินบาท

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.46 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ที่ระดับ 36.57 บาท/ดอลลาร์

ดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบสกุลเงินหลัก หลังจากเกิดความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจสหรัฐ หลังตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรชะลอตัวในเดือนมิ.ย. ขณะที่อัตราว่างงานสูงกว่าคาด ซึ่งตอกย้ำมุมมองที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเดือนก.ย.ปีนี้

โดยล่าสุดตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 206,000 ตำแหน่งในเดือนมิ.ย. ใกล้เคียงกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 200,000 ตำแหน่ง และชะลอตัวจากระดับ 218,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ค.

ส่วนอัตราการว่างงานปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 4.1% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนต.ค.2564 และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 4.0%

สำหรับสถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติระหว่างวันที่ 1-5 ก.ค.2567 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย 845 ล้านบาท และมีสถานะเป็น Net Outflows ออกจากตลาดพันธบัตรไทย 10,633 ล้านบาท

ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ทิศทางเงินทุนต่างชาติ (Flow) สถานการณ์สกุลเงินในภูมิภาค ถ้อยแถลงของประธานเฟดต่อสภาคองเกรสของสหรัฐฯ และมุมมองต่อทิศทางดอกเบี้ยของเจ้าหน้าที่เฟดท่านอื่น

ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนมิ.ย.

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.30 - 36.60
แนะนำ ทยอยซื้อที่ 36.30/ ขาย 36.60

EUR/THB 39.30 - 39.80
แนะนำ ซื้อ   39.30/ ขาย 39.80

JPY/THB 0.2250 - 0.2300
แนะนำ ซื้อ   0.2250 / ขาย 0.2300

GBP/THB 46.50 - 47.00
AUD/THB 24.40 - 24.90

ค่าเงินบาทเช้านี้

วันที่ 5 กรกฎาคม 2567

411595

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด  36.62 บาท/ดอลลาร์ ใกล้เคียงกับราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 36.63 บาท/ดอลลาร์

ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวในทิศทางแข็งค่าขึ้น ตามโฟลว์ธุรกรรมทอง หลังราคาทองคำรีบาวด์ขึ้นมาที่ระดับ 2,350  โดยปัจจัยสนับสนุนมาจากการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจสหรัฐที่ส่งสัญญาณอ่อนแอลงในช่วงนี้ ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐและค่าเงินดอลลาร์ปรับลดลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก

อย่างไรก็ดีจากถ้อยแถลงของพาวเวล และรายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของเฟด (FOMC) รอบเดือนมิ.ย. นั่นชี้ว่า เฟดยังต้องการประเมินข้อมูลเพิ่มเติม จนกว่าจะมีความมั่นใจมากพอต่อการบรรลุเป้าหมายด้านเงินเฟ้อกลางสหรัฐ (เฟด) จึงจะสามารถเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง ดังนั้นยังคงแนะนําให้ติดตามข้อมูลเศรษฐกิจและเงินเฟ้อของสหรัฐ เพื่อประเมินแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดต่อไป. โดยวันนี้จะมีการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ตัวเลขจ้างงานจะเพิ่มขึ้น 189,000 ตำแหน่งในเดือนมิ.ย. หลังจากที่เพิ่มขึ้น 272,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ค. และคาดว่าอัตราว่างงานจะทรงตัวที่ระดับ 4.0% ในเดือนมิ.ย

สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาทวันนี้ น่าจะยังคงเห็นแรงซื้อเงินดอลลาร์ในช่วงเงินบาทแข็งค่าเข้าใกล้โซน 36.50 บาท/ดอลลาร์ โดยคาดกรอบการเคลื่อนไหวที่ 36.50-36.75 บาท/ดอลลาร์

เมื่อวานนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดพันธบัตร 1,312 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 1,369  ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.50- 36.75
*แนะนำ ทยอยซื้อที่ระดับ 36.50

  • EUR/THB 39.50- 39.90 แนะนำ ทยอยขายที่ระดับ 39.90
  • JPY/THB 0.2260- 0.2300 แนะนำ ทยอยซื้อ   0.2260

GBP/THB 46.60-46.90
AUD/THB 24.40- 24.80

 

วันที่ 4 กรกฎาคม 2567

107768

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.65 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 36.78 บาท/ดอลลาร์

ดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก หลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจและแรงงานชะลอตัวลง ซึ่งอาจส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เริ่มพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนก.ย.

ออโตเมติก ดาต้า โพรเซสซิ่ง อิงค์ (ADP) เปิดเผยว่า การจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐเพิ่มขึ้นเพียง 150,000 ตำแหน่งในเดือนมิ.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนม.ค. และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 160,000 ตำแหน่ง หลังจากเพิ่มขึ้น 157,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ค.

สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคบริการของสหรัฐร่วงลงสู่ระดับ 48.8 ในเดือนมิ.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปี หรือนับตั้งแต่เดือนพ.ค.2563 และ คำสั่งซื้อภาคโรงงานของสหรัฐลดลง 0.5% ในเดือนพ.ค. สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.2% หลังจากเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนเม.ย. โดยได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยและการชะลอตัวของอุปสงค์

หลังสหรัฐเปิดเผยรายงานดังกล่าว ข้อมูลจาก LSEG FedWatch บ่งชี้ว่านักลงทุนให้น้ำหนักมากกว่า 70% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนก.ย.

นักลงทุนจับตาตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่จะประกาศในวันศุกร์นี้ รวมทั้งรายงานการประชุมนโยบายการเงินประจำวันที่ 11-12 มิ.ย.ของเฟด เพื่อประเมินทิศทางอัตรา

เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 3,829 ล้านบาท และซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทย 1,319 ล้านบาท
กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ

  • USD/THB 36.50 - 36.80 แนะนำทยอยซื้อที่ 36.50/ขาย 36.80
  • EUR/THB 39.35 - 39.85 แนะนำทยอยซื้อที่ 39.35 / ขาย 39.85
  • JPY/THB 0.2245 - 0.2295 แนะนำทยอยซื้อที่ 0.2245 - 0.2295

GBP/THB 46.50 - 47.00
AUD/THB 24.45 - 24.75

 


วันที่ 3 กรกฎาคม 2567

593815

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.78 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวันทำการก่อนหน้าที่ระดับ 36.86 บาท/ดอลลาร์

ดอลลาร์อ่อนค่าเทียบสกุลเงินหลัก สอดคล้องการปรับตัวลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือน มิ.ย.ในวันศุกร์นี้ นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ตัวเลขจ้างงานเพิ่มขึ้น 189,000 ตำแหน่งในเดือน มิ.ย. จากระดับ 272,000 ตำแหน่งในเดือน พ.ค. และคาดว่าอัตราว่างงานทรงตัวที่ระดับ 4.0%

ขณะเดียวกัน นักลงทุนจับตานายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งมีกำหนดกล่าวถ้อยแถลงใน 2 เวทีสำคัญเพื่อหาสัญญาณบ่งชี้กำหนดเวลาในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด

เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 2,917 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 2,821 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.60- 36.90
แนะนำ ซื้อ 36.60/ ขาย 36.90

EUR/THB 39.20- 39.70
cนะนำ ซื้อ 39.20 / ขาย 39.70

JPY/THB 0.2250- 0.2300
แนะนำ ซื้อ 0.2250/ ขาย 0.2300

GBP/THB 46.50- 47.00
AUD/THB 24.30- 24.80

ค่าเงินบาทเช้านี้

วันที่ 2 กรกฎาคม 2567

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.76 บาท/ดอลลาร์ ใกล้เคียงกับราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 36.74 บาท/ดอลลาร์

626298

ดอลลาร์อ่อนค่าเทียบสกุลเงินหลัก หลังสหรัฐเปิดเผยดัชนีภาคการผลิตที่อ่อนแอ ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)

จับตานายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีกำหนดกล่าวแถลงการณ์รอบครึ่งปีว่าด้วยนโยบายการเงินและภาวะเศรษฐกิจสหรัฐต่อสภาคองเกรสในเดือน ก.ค. โดยมีกำหนดกล่าวถ้อยแถลงต่อคณะกรรมาธิการการธนาคารประจำวุฒิสภาและต่อสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 9 -10 ก.ค. ซึ่งจะมีขึ้นก่อนการประชุมนโยบายการเงินของเฟดในวันที่ 30-31 ก.ค. เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟด

เปิดเผยตัวเลขดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 48.5 ในเดือน มิ.ย. จากระดับ 48.7 ในเดือน พ.ค. และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 49.1 และดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายเดือนมิ.ย.ของสหรัฐปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 51.6 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือน จากระดับ 51.3 ในเดือน พ.ค.

ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่สำคัญในสัปดาห์นี้ได้แก่ ข้อมูลเศรษฐกิจและแรงงาน ซึ่งรวมถึงตัวเลขการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) เดือน พ.ค., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดุลการค้าเดือน พ.ค., ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือน พ.ค. และตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือน มิ.ย.

ปิดตลาดเมื่อวาน นักลงทุนต่างชาติขายพันธบัตรไทยสุทธิ  4,185 ล้านบาท และซื้อหุ้นไทยสุทธิ 337 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.50- 36.90
แนะนำ ทยอยซื้อที่ 36.50/ ขาย 36.90

EUR/THB 39.30- 39.80
แนะนำ ซื้อ   39.30/ ขาย 39.80

JPY/THB 0.2260- 0.2300
แนะนำ ซื้อ   0.2320/ ขาย 0.2360

GBP/THB 46.20- 46.60
AUD/THB 24.30- 24.70

ค่าเงินบาทเช้านี้

วันที่ 1 กรกฎาคม 2567

949936

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.74 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ที่ระดับ 36.86 บาท/ดอลลาร์

ดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันศุกร์ หลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อลดลงในเดือน พ.ค. ซึ่งตอกย้ำการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในปีนี้

กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลทั่วไป (Headline PCE) ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 2.6% ในเดือน พ.ค. เมื่อเทียบรายปี สอดคล้องตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ จากระดับ 2.7% ในเดือน เม.ย. และเมื่อเทียบรายเดือน ดัชนี PCE ทั่วไป ไม่เปลี่ยนแปลงในเดือน พ.ค. สอดคล้องตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ หลังจากปรับตัวขึ้น 0.3% ในเดือน เม.ย. ส่วนดัชนี PCE พื้นฐาน (Core PCE) ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน และเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญ ปรับตัวขึ้น 2.6% ในเดือน พ.ค. เมื่อเทียบรายปี สอดคล้องตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ จากระดับ 2.8% ในเดือน เม.ย. และเมื่อเทียบรายเดือน ดัชนี PCE พื้นฐานปรับตัวขึ้น 0.1% ในเดือนพ.ค. สอดคล้องตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ จากระดับ 0.3% ในเดือน หลังจากการเปิดเผย PCE นั้น ข้อมูลจาก LSEG บ่งชี้ว่า มีโอกาสประมาณ 67% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือน ก.ย. เมื่อเทียบกับ 65% ก่อนการเปิดเผยข้อมูล PCE

จับตาการเปิดเผยรายงานการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ตลาดคาดว่า อาจเพิ่มขึ้น 195,000 ตำแหน่งในเดือน มิ.ย. เทียบกับ 272,000 ตำแหน่งในเดือน พ.ค.

ปิดตลาดเมื่อวันศุกร์นักลงทุนต่างชาติขายพันธบัตรไทยสุทธิ 1,220 ล้านบาท และขายหุ้นไทยสุทธิ 2,620 ล้านบาท

กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.50- 36.90
แนะนำ ทยอยซื้อที่ 36.50/ ขาย 36.90

EUR/THB 39.30- 39.80
แนะนำ ซื้อ   39.30/ ขาย 39.80

JPY/THB 0.2260- 0.2300
แนะนำ ซื้อ   0.2320/ ขาย 0.2360

GBP/THB 46.60- 47.00
AUD/THB 24.30- 24.70 

 ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) 

แชร์

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.18 บาท/ดอลลาร์  ใกล้เคียจากวันก่อน