อินไซต์เศรษฐกิจ

คอนเสิร์ต Taylor Swift ดัน GDP สิงคโปร์ ขยายตัวถึง 2.9 ประเทศไหนก็อยากทำตาม

8 มี.ค. 67
คอนเสิร์ต Taylor Swift ดัน GDP สิงคโปร์ ขยายตัวถึง 2.9 ประเทศไหนก็อยากทำตาม

afp__20240307__34kv4mx__v1__h

Taylor Swift กลายเป็นบุคคลสำคัญของโลกที่ทรงอิทธิพลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศที่ได้จัดคอนเสิร์ต The Ears Tour อย่างแท้จริงจนเกิด Swiftomics หรือ ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการทัวร์คอนเสิร์ตของ Taylor Swift ที่สามารถดึงดูดเม็ดเงินมหาศาล ที่สามารถช่วยกระตุ้น GDP ของประเทศมานับหลายประเทศ

บทความนี้ SPOTLIGHT ชวนทุกคนมาถอดบทเรียนความสำเร็จของคอนเสิร์ต Taylor Swift ที่สิงคโปร์หมุดหมายเดียวในอาเซียน ที่กล้าเสี่ยงพร้อมจ่ายแต่ได้ผลลัพธ์ออกมาอย่างคุ้มค่า 

สิงคโปร์ เป็นเพียงประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ Taylor Swift เลือกแสดงคอนเสิร์ต The Ears Tour ของเธอ ทําให้ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนต่างอิจฉาตาร้อน ทั้งในแง่ของภาพลักษณ์ประเทศที่มีความพร้อมและเป็นจุดหมายปลายทางที่สนุกสนานต่อนักท่องเที่ยว รวมถึงการสร้างปัจจัยเร่งฟื้นตัวของเศรษฐกิจผ่านอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมอื่นๆอีกมากมายโดยเฉพาะ ภาคการท่องเที่ยวและบริการ อย่าง สายการบิน โรงแรมที่พัก หรือแม้กระทั้งร้านอาหาร

afp__20240307__34kv4mt__v1__h

GDP สิงคโปร์อาจขยายตัวถึง 2.9% ผลจาก Taylor Swift

Edwin Tong รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม ชุมชน และเยาวชนของสิงคโปร์ ได้มีการประเมินผลประโยชน์ของเศรษฐกิจสิงคโปร์จากการมาเยือนของ Taylor Swift ว่า สามารถสร้างรายได้ให้กับเศรษฐกิจสิงคโปร์ 350-500 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (หรือราวประมาณเกือบ 9,315,524,400 -13,307,227,500 บาท)

สำนักข่าว Bloomberg ได้มีการคาดการณ์ว่า การแสดงคอนเสิร์ต 6 รอบของ The Ears Tour ยังสามารถกระตุ้น GDP ของประเทศขยายตัวถึง 2.9% ในช่วงม.ค-มี.ค.67 ซึ่งเป็นอัตราที่รวดเร็วที่สุดในรอบ 6 ไตรมาสที่ผ่านมา เนื่องจากได้รับแรงหนุนหลักการการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่สูงขึ้น

การใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว

ปฎิเสธไม่ได้เลยว่าทุกที่ที่ Taylor Swift เลือกจัดคอนเสิร์ต จะส่งผลเป็นวงกว้างต่อการกระตุ้นการใช้จ่ายเพิ่มมากชึ้น ไม่ว่าจะเป็น ตั๋วคอนเสิร์ต ตั๋วเครื่องบิน ที่พัก อาหารและเครื่องดื่ม ตลอดจนภาคการค้าปลีกเฉพาะกลุ่ม เช่น การขายกำไลมิตรภาพ (Friendship Bracelets)

afp__20240302__34kd8fq__v4__h

ด้าน Erica Tay ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยมาโครของ Maybank กล่าวว่าประมาณ 70% ของผู้เข้าชมThe Ears Tour เป็นชาวต่างชาติ และจำเป็นที่จะต้องใช้จ่ายกับ ตั๋วเครื่องบิน ตั๋วชมการแสดง ที่พัก ตลอดจนการใช้จ่ายทั่วไปด้านความบันเทิง ช้อปปิ้ง และรับประทานอาหารนอกบ้าน

  • สายการบิน Jet Star Asia ได้เปิดเผยว่า ความต้องการเส้นทางจากกรุงเทพฯ มะนิลา และจาการ์ตาไปยังสิงคโปร์เพิ่มขึ้น 3%
  • สายการบิน Scoot และ Singapore Airlines ได้เปิดเผยว่า ความต้องการเที่ยวบินไปสิงคโปร์ในช่วงเดือนมีนาคมมีอัตราสูงขึ้น โดยเฉพาะผู้โดยสารจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

นอกจากนี้ ธนาคาร UOB ยังได้มีการบันทึกจำนวนการสมัครเปิดบัตรเครดิตในสิงคโปร์ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาในช่วงระหว่างการซื้อบัตรคอนเสิร์ตของ Taylor Swift ผลปรากฎว่า UOB มียอดการเปิดบัตรเพิ่มขึ้นกว่า 45% เนื่องจากผู้ถือบัตร UOB จะสามารถซื้อตั๋วล่วงหน้าสำหรับ The Ears Tour ที่สิงคโปร์ได้ 

แต่ The Ears Tour ไม่ได้แค่สร้างปัจจัยบวกแต่เพียงเศรษฐกิจจาก Swiftonomics อย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังสามารถสร้างผลดีอื่นๆตามมาอีกนับไม่ถ้วน

สร้างอิทธิพลทางวัฒนธรรม

คอนเสิร์ต The Ears Tour ของ Taylor Swift ได้เปลี่ยนภาพลักษณ์ของสิงค์โปร์ เกาะเล็กๆที่ไม่ได้เป็นเพียงแต่สถานที่สำหรับทำธุรกิจและจัดงานแสดงสินค้าแต่เพียงเท่านั้น แต่เกาะเล็กๆนี้ยังมีความพร้อมที่สามารถจัดแสดงงานดนตรีระดับโลก เทียบเท่ากับประเทศอื่นๆที่ Taylor Swift ได้จัดแสดง

โดย Yun Liu นักเศรษฐศาสตร์ของ HSBC ได้กล่าวว่า “การจัดดนตรีสดจากบริษัทระดับโลก ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ของสิงคโปร์ในฐานะจุดหมายปลายด้านการท่องเที่ยว”

นอกจากนี้ยังสามารถสร้างสิงคโปร์ให้เป็นศูนย์กลางวัฒนธรรม ที่ส่งมอบประสบการณ์อันล้ำค่าที่สามารถอยู่ในใจนักท่องเที่ยวชาวสวิฟตี้ตลอดไป

afp__20240228__34ke86e__v1__h

แม้มีราคาที่ต้องจ่าย (กว่า500 ล้านบาท) แต่ก็คุ้มค่าในระยะสั้น

หลังจากที่นายกเศรษฐา ได้มีการเปิดเผยว่า ตนได้มีการพูดคุยกับผู้จัดคอนเสิร์ตที่ประเทศสิงคโปร์ จนรู้ว่ารัฐบาลสิงคโปร์ได้มีการเจรจาส่วนตัวและทำข้อตกลง ว่าประเทศสิงค์โปร์จะเป็นหมุดหมายเดียวสำหรับ คอนเสิร์ต The Ears Tour  ในภูมิภาคเอเชียตัววันออกเฉียงใต้ โดยรัฐบาลจะมีการสนับสนุนเงินครั้งละ 100 ล้านบาท/โชว์ 1 ครั้ง แต่ส่วนตัวตนคิดว่าราคาที่จ่ายไปคุ้มค่ากับสิ่งที่ได้รับมา เนื่องจากนักท่องเที่ยวจะตามเข้ามาท่องเที่ยวจำนวนมาก โรงแรมที่พักก็จะขายได้ ตลอดจนร้านค้าข้างถนน หรือแม้แต่ร้านหมูปิ้งก็จะมีรายได้  โดยนายกเศรษฐาได้มีการกล่าวเสริมว่า “หากรู้เร็วกว่านี้ ตนอาจจะไปทำข้อตกลงก่อนก็เป็นได้”

ทําให้ผู้นำสิงคโปร์ ลี เซียน ลุง ได้เปิดเผยว่า “มันเป็นความตกลงที่สำเร็จมาก ๆ ผมไม่ได้มองว่าเป็นสิ่งที่ไม่เป็นมิตร” และยอมรับมีข้อตกลงพิเศษจ่ายค่าตัวให้ Taylor Swift และมองว่าไม่เห็นว่า เป็นการกระทำที่ไม่เป็นมิตรต่อเพื่อนบ้านแต่อย่างใด หากเขาไม่สามารถปิดข้อตกลงกับสวิฟต์ได้ก่อน ก็จะมีประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆ ปิดดีลในลักษณะเดียวกัน 

202310126f1afd488fa14fda9fb0e

ด้านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวอินโดนีเซีย ได้ออกมาแสงความคิดเห็นว่า “เราจำเป็นต้องมีสวิฟโตโนมิกส์ (Swiftonomics) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอินโดนีเซีย และกำลังพิจารณาหาสิ่งจูงใจอื่นๆเพิ่มเติมสำหรับการจัดกิจกรรมขนาดใหญ่อื่นๆ เช่น คอนเสิร์ต ”

นอกจากนี้ Business Insider ได้ออกมาวิเคราะห์ถึงวิธีอันชาญฉลาของรัฐบาลสิงคโปร์ที่ผลักดันให้ได้รับสิทธิเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่ได้รับการมาเยือนของ Taylor Swift เปรียบเสมือนกับการดำเนินธุรกิจก็ต้องมีค่าใช้จ่าย แต่การจ่ายเงินในครั้งนี้จะช่วยพาเราเปิดประตูไปสู่แผนที่โลกอย่างสมบูรณ์แบบ แม้จะเป็นการตัดสินใจอย่างชาญฉลาด แต่อาจสามารถกระตุ้นการท่องเที่ยวได้แค่ในระยะสั้นเท่านั้น ยังคงไม่ใช่ทางออกระยะยาวแบบยั่งยืนของสิงค์โปร์ได้

สิงค์โปร์ควรมีมาตรการระยะยาวและยั่งยื่นมากขึ้น เช่นการทำให้สิงค์โปร์น่าอยู่ จนสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวและศิลปินมาร่วมมงานด้วยตัวเองจนไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินสนับสนุนก็ตาม โดยมีการยกตัวอย่างถึง ‘ลาสเวกัส’ ตัวอย่างเมืองที่เคยกันดารจากทะเลทราย มาสู่เมืองแห่งความบันเทิงที่ไม่เคยหลับใหล หมุดหมายเมืองยอดฮิตของนักท่องเที่ยว

อ้างอิง : Bloomberg 

The Economic Times

Business Insider

 

 

 

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT