“ความคาดหวังของเราก็คือ จะช่วยให้เกษตรกรทำรายได้ 1 ล้านบาท ต่อปี ต่อรายครับ”
“เราคาดหวังว่าอาชีพนี้จะมีความเป็นอยู่ที่ดี คนภูมิใจในอาชีพเกษตรกร อยากจะกลับมาพัฒนาพื้นที่บ้านเกิดของตัวเองให้ดีขึ้น เป็นอาชีพที่น่าภูมิใจและอยู่ได้อย่างยั่งยืน”
นี่คือเป้าหมายของทีม ‘FarmConnect’ สตาร์ทอัพสาย Ag-Tech ( Agriculture-Tech หรือ เทคโนโลยีการเกษตร) ที่ช่วยเกษตรกรโดยการ นำเทคโนโลยีด้านฐานข้อมูล และระบบ IoT เข้ามาช่วยให้น้ำและปุ๋ยกับพืชในแปลงที่เกษตรกรดูแลอยู่ แบบอัตโนมัติ และตรงตามความต้องการของพืชแต่ละชนิด
ซึ่งจะสามารถเร่งผลผลิตเนื่องจากพืชจะ ได้รับน้ำและอาหารในปริมาณ และช่วงเวลาที่ ‘เหมาะสมที่สุด’ อ้างอิงจากฐานข้อมูล ‘Crop Profile’ หรือความต้องการน้ำ ปุ๋ย และบรรยากาศการเพาะปลูกที่เหมาะสมของพืชแต่ละชนิด อย่างเฉพาะเจาะจง ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ลดค่าน้ำ ค่าปุ๋ย ค่าจ้างคนบางส่วน รวมถึงดันรายได้จากการยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ ดังที่สมาชิกในทีมหวังว่าจะช่วยให้เกษตรกร สร้างรายได้มากถึง ‘1 ล้านบาท’ ในต่ละปี
เพียงติดตั้งเครื่องมือเข้ากับระบบปั๊มน้ำ และปุ๋ยของแปลงเกษตร ก็สามารถควบคุมผ่านแอพพลิเคชันได้ ทั้งระบบอัตโนมัติ และระบบควบคุมด้วยตนเอง ประหยัดต้นทุน เวลา ค่าใช้จ่าย แถมยังช่วยให้คุณภาพของผลผลิตทางการเกษตรสูงขึ้นอีกด้วย
ทีม FarmConnect คือ ‘ความหวังใหม่’ ของวงการ Ag-Tech ของไทย และเป็นผู้ชนะเลิศในโครงการ ‘BAAC Hackathon and Incubator’ ที่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ร่วมกับ HUBBA จัดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เพื่อเฟ้นหาสุดยอดสตาร์ทอัพสายเกษตร เพื่อมายกระดับวงการเกษตรกรรมไทย
“เป็นสิ่งที่น่าเสียดายนะครับ ถึงแม้ประเทศไทยจะเป็นประเทศเกษตรกรรมอันดับต้นๆ ของโลก และเป็นวัฒนธรรมของเราด้วย แต่สตาร์ทอัพในกลุ่ม Agriculture-tech ยังน้อยอยู่ ส่วนใหญ่จะเป็น Health-tech ตามกระแสโควิด เพราะฉะนั้น ศักยภาพของเรายังมีอีกเยอะที่ยังไม่ได้แสดงออกมา เราจึงควรสนับสนุนให้มากขึ้น และยกระดับให้เป็นศูนย์กลางด้าน Agri-tech ของโลกให้ได้”
คุณชาล เจริญพันธ์ ซีอีโอของ ‘HUBBA’ พี่เลี้ยงสตาร์ทอัพชื่อดังของเมืองไทย กรรมการการผู้ทรงคุณวุฒิของโครงการ กล่าวถึงเค้กก้อนใหญ่ที่รอให้คนไทยเข้ามาพัฒนาพัฒนาประสิทภาพการทำการเกษตรของเมืองไทย รวมถึงผลักดันให้กลายเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีด้านการเกษตรของโลก
ในโครงการครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมแข่งขันทั้งหมด 8 ทีม เพื่อมาแก้ปัญหาทั้ง 4 ด้านที่พี่น้องเกษตรกรในประเทศเรากำลังเผชิญอยู่ ได้แก่
ด้านที่ 1 : ข้าวไทยในตลาดสากล - มุ่งแก้ปัญหาผลผลิตต่อไร่ต่ำ ต้นทุนสูง คุณภาพต่ำ โดยการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาและปรับปรุงข้าวไทย ให้มีคุณภาพและมูลค่าเทียบเท่าตลาดสากล
ทีมผู้เข้าแข่งขัน
-ทีม Jasmine : นำบล็อกเชนมาช่วยในการทำสัญญาระหว่างชาวนากับบริษัท เพื่อสร้างความเป็นธรรม ให้ขยายโอกาสในการเข้าถึงลูกค้าของชาวนา
ด้านที่ 2 : เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม : มุ่งแก้ปัญหาต้นทุนการผลิตและภาษี รวมถึงประสิทธิภาพในการเลี้ยงโคนมของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมและผู้ประกอบการอุตสาหกรรมนมของไทย
ทีมผู้เข้าแข่งขัน
-ทีม หมอวัวนมสายฟ้า : สร้างเครือข่าย ‘หมอวัวนมสายฟ้าออนไลน์’ ซึ่งเป็นทั้งแพลตฟอร์มบริการการรักษาทางไกลเกี่ยวกับโรคในวัว, สถาบันอบรมให้ความรู้ด้านการทำฟาร์มนมวัวครบวงจร และที่ปรึกษาประจำฟาร์ม
-ทีม Agrigen : ลดต้นทุนการผลิตที่เกิดขึ้นจาก ‘โรคเต้านมอักเสบในวัว’ ด้วยระบบติดตามเต้านมอักเสบที่ประกอบไปด้วยเครื่องนับจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวในน้ำนมดิบ และแพลตฟอร์ม ‘Agrigen Tag AI’
-ทีม เอ็นพลัส อะโกร : สร้างนวัตกรรมหัวเชื้อจุลินทรีย์ เพิ่มประสิทธิภาพการย่อยและปรับสมดุลในกะเพราะโคนม เพื่อสุขภาพที่ดีของโคนม อันจะนำมาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง
ด้านที่ 3 : การเกษตรเพื่ออาหารสุขภาพ : มุ่งพัฒนาด้านความปลอดภัยของอาหาร สุขภาพและสวัสดิภาพแรงงาน รวมถึงความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
ทีมผู้เข้าแข่งขัน
-ทีม แพทการ์เด้น : สร้างนวัตกรรมการปลูกผักไฮโดรออร์แกนิกด้วยนวัตกรรมธรรมชาติ โดยชูจุดเด่นที่ผลิตภัณฑ์วัสดุปลูกจากธรรมชาติ เพื่อทดแทนการใใช้ฟองน้ำในปัจจุบัน
ด้านที่ 4 : การเพิ่มมูลค่าห่วงโซ่อุปทานการเกษตร : มุ่งสร้างความยั่งยืนให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งห่วงโซ่อุปทานการเกษตรด้วยหลากหลายวิธี อาทิ การสร้างเครือข่ายพันธมิตร การประเมินกระบวนการ ระบบ ไปจนถึง
ผลผลิตที่อาจเกิดขึ้นส าหรับการอนุมัติสินเชื่อ
ทีมผู้เข้าแข่งขัน
-ทีม อุดรเนเจอรอล แอนด์ ฟลอสส์ โปรดักส์ : นำ ‘เซริซีน’ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ส่วนเกิน จากผลิตภัณฑ์ไหมขัดฟันจากเส้นไหมแท้ มาผลิตเป็น ‘มาสก์บำรุงผิวหน้า’ จากผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ 100%
-ทีม Farmsuke : สร้างแพลตฟอร์มสร้างองค์ความรู้เพื่อการทำการเกษตรอย่างมืออาชีพ เพื่อปลุกปั้นทายาทเกษตรกรรุ่นใหม่ ที่สร้างรายได้อย่างมั่นคง และไร้ซึ่งปัญหาหนี้สิน
-ทีม FarmConnect : นำเทคโนโลยีด้านฐานข้อมูล และระบบ IoT เข้ามาช่วยให้น้ำและปุ๋ยกับพืชในแปลงที่เกษตรกรดูแลอยู่ แบบอัตโนมัติ พัฒนาคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตร
ซึ่งแต่ละทีม ก็นำเสนอแผนธุรกิจได้อย่างน่าสนใจ พร้อมนำไปใช้แก้ปัญหาจริงแล้วในหลากหลายพื้นที่ของประเทศ และที่สำคัญคือ โอกาสในการ ‘Scale Up’ หรือขยายธุรกิจ ไปยังพื้นที่อื่นๆ ในประเทศไทย ภูมิภาคอาเซียน หรือในพื้นที่ๆ ต่างๆ ของโลก
แต่แม้จะมีนวัตกรรมใหม่ๆ มาช่วยพัฒนาการเกษตรไทย แต่หนึ่งปัญหาใหญ่ที่ยังอยู่คู่สังคมไทยก็คือ การที่ผู้คนละทิ้งอาชีพเกษตรกรรม แล้วเข้าไปแสวหาโอกาสการทำงานในหัวเมือง ทำให้ผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ การเพิ่มศักยภาพการทำงานให้คนกลุ่มนี้ รวมถึงดึงดูดกลุ่มคนรุ่นใหม่ให้กลับมาสนใจการทำอาชีพทางการเกษตร นับเป็นความท้าทายครั้งใหญ ที่หลายภาคส่วนควรร่วมมือกันจัดการ
“เกษตรกรกลุ่มที่เป็นผู้สูงอายุบางรายก็มีศักยภาพในการทำอยู่ หากมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ก็จะช่วยขยายระยะเวลาที่เขาอยู่ในภาคการเกษตรได้นานมากยิ่งขึ้น ในขณะที่เด็กรุ่นใหม่ก็สามารถเข้ามาเรียนรู้วิธีการทำการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
“อยากให้ช่วยกันคิดว่า ทำอย่างไรให้เกษตรกรของไทย ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มผู้สูงอายุแล้ว สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีเหล่านี้ได้ง่ายและสะดวก อาจจะทำต้นทุนให้ต่ำลง หรือใช้งานได้ง่ายมากขึ้น”
ความเห็นจาก คุณอนุรักษ์ กิจบำรุง และคุณเสธวิทย์ รุ้งแก้ว ผู้บริหาร และพนักงานจากธ.ก.ส. ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของการแข่งขัน ‘BAAC Hackathon and Incubator’ ในครั้งนี้