Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
สมรสเท่าเทียมเริ่มแล้ว! 23 ม.ค. 68 สิทธิไหนใช้ได้ทันที
โดย : กองบรรณาธิการ SPOTLIGHT

สมรสเท่าเทียมเริ่มแล้ว! 23 ม.ค. 68 สิทธิไหนใช้ได้ทันที

22 ม.ค. 68
14:12 น.
|
282
แชร์

เป็นเวลามากกว่า 20 ปี ที่มีความพยายามผลักดันให้ ‘สมรสเท่าเทียม’ เป็นกฎหมายบังคับใช้ในประเทศไทย จนกระทั่งวันที่ 24 กันยายน 2567 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 24) พ.ศ. 2567 ได้รับการประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยจะมีผลใช้บังคับในอีก 120 วันข้างหน้า

ใจความสำคัญเกี่ยวกับพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว คือการให้สิทธิบุคคลหลากหลายทางเพศ และหน้าที่ต่าง ๆ ในฐานะคู่สมรสตามกฎหมาย รวมถึงเปลี่ยนถ้อยคำที่บ่งชี้เพศให้เป็นบุคคล ได้แก่ ชาย หญิง สามี ภริยา และสามีภริยา เป็น บุคคล ผู้หมั้น ผู้รับหมั้น และคู่สมรส

นอกจากนี้ ยังมีการปรับเปลี่ยนอายุขั้นต่ำที่สามารถทำการหมั้นและการสมรสได้ จาก 17 ปีบริบูรณ์ เป็น 18 ปีบริบูรณ์ ทั้งนี้ การหมั้นและการสมรสขณะอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดา

กฎหมายสมรสเท่าเทียมจะมีผลใช้บังคับใช้วันที่ 23 มกราคม 2568 ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่มีกฏหมายสมรสเท่าเทียมชาติที่ 37 ของโลก ชาติที่ 3 ของเอเชีย และชาติแรกในอาเซียน โดยสิทธิและหน้าที่ที่มีผลบังคับใช้ทันทีมีดังต่อไปนี้

  • การหมั้นและการสมรส
  • การหย่าร้าง รวมถึงการฟ้องหย่าหากเลี้ยงดูผู้อื่นฉันชู้ และฟ้องค่าทดแทนจากชู้ โดยไม่จำกัดเงื่อนไขเรื่องเพศ
  • การสมรสกับคนต่างชาติโดยใช้กฎหมายไทย
  • การจดทะเบียนสมรส
  • การรับบุตรบุญธรรมร่วมกัน
  • การให้ความยินยอมต่อการรักษาพยาบาล กรณีที่คู่สมรส (ผู้ป่วย) ไม่อยู่ในสภาวะที่จะรับทราบข้อมูลสุขภาพเพื่อตัดสินใจรักษาพยาบาล
  • การเป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ ในกรณีที่ศาลสั่งให้คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
  • การจัดการ ‘สินสมรส’ หรือทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสที่ทำมาหาได้ร่วมกัน หรือดูแลผลประโยชน์จากทรัพย์สิน และการจัดการหนี้สินร่วมกัน ทั้งนี้ ‘สินส่วนตัว’ ของคู่สมรสฝ่ายหนึ่งสามารถจัดการทรัพย์สินของตัวเองได้ตามปกติ
  • สิทธิในการรับมรดก
  • สิทธิในการใช้นามสกุลของคู่สมรส
  • สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี
  • สิทธิได้รับประโยชน์และสวัสดิการจากรัฐในฐานะคู่สมรส

ภาคเอกชนหลายรายยังตอบรับกฎหมายสมรสเท่าเทียม โดยการให้สิทธิได้รับประโยชน์และสวัสดิการในฐานะคู่สมรส อาทิ ประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนฌาปนกิจ สหกรณ์ออมทรัพย์ เป็นต้น

แชร์
สมรสเท่าเทียมเริ่มแล้ว! 23 ม.ค. 68 สิทธิไหนใช้ได้ทันที