มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ จับมือภาครัฐ ชุมชน และ 14 เอกชนชั้นนำ ร่วมมือใน”โครงการจัดการคาร์บอนเครดิตในป่าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” ใน 77 ป่าชุมชน ตั้งเป้ากระจายรายได้ให้ชุมชนกว่า 500 ล้านบาท และ ผลิตคาร์บอนเครดิต 500,000 ตัน
โลกร้อน ผลจากการกระทำของมนุษย์
การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (Climate Change) หรือ ภาวะโลกร้อน (Global Warming) ปัญหาที่น่าปวดใจที่เราต้องพบเจอ จากการกระทำของมนุษย์เราเองทั้งสิ้น สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้มนุษย์เราต้องพบเจอการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติหลากหลายรูปแบบ เช่น
ด้านระบบนิเวศวิทยา – ภูเขาน้ำแข็งละลายตัวอย่างรวดเร็ว
ด้านเศรษฐกิจ – ธุรกิจท่องเที่ยวทางทะเลที่สำคัญสูญเสียรายได้มหาศาล
ด้านสุขภาพ – ฝุ่น PM2.5
ทำให้หลายๆองค์กรต่างเข้ามาช่วยกันคนละไม้คนละมือ เพื่อช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม ให้อยู่สืบต่อไปจนถึงรุ่นลูกหลาน เช่นเดียวกันกับ โครงการจัดการคาร์บอนเครดิตในป่าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่เป็นการร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการรับมือกับภาวะโลกร้อน อีกทั้งไฟป่า หมอกควัน ฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ ฝุน PM 2.5 ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเกิดมาจากการเผาไหม้ของเครื่องจักร โดยเฉพาะเครื่องยนต์ และฝุ่นควันจากไฟป่า
จุดเริ่มต้นของโครงการ
โครงการจัดการคาร์บอนเครดิตในป่าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เกิดขึ้นจากแนวคิดเรื่อง “คาร์บอนเครดิต” (Carbon Credit) ในภาคการเกษตรและป่าไม้ นั่นคือ ต้นไม้สามารถกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ได้ และในประเทศไทยมีชุมชนที่ดูแลป่าดีอยู่แล้ว โดยมุ่งสร้างสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ (Healthy Environment) ในการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Caebon-neutrality) ภายในปี 2573 สู่เป้าหมายการเป็นองค์กรที่การปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์ (Net Carbon Zero) ในปี 2593
โดยเป็นการร่วมมือของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ และ ภาคเอกชนกว่า 14 บริษัทชั้นนำ ตั้งแต่ปี 2564 ใน 10 จังหวัดทั่วประเทศไทย ได้แก่ : เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ลำปาง แม่ฮ่องสอน กำแพงเพชร อุทัยธานี ยโสธร อำนาจเจริญ และกระบี่ ในพื้นป่ากว่า 147,037 ไร่ และประชากรกว่า 120 ชุมชน
โดยจะเป็นการสร้างประโยชน์ในทุกมิติ จากแนวคิดว่าคาร์บอนเครดิตเป็นกลไกที่จะกระตุ้นให้ชุมชนดูแลป่าและดูแลตัวเองได้ดีขึ้น ส่งผลให้ลดการสูญเสียพื้นที่ป่า ลดอัตราการเกิดไฟป่าและลดปัญหาฝุ่นควัน pm 2.5 ซึ่งเมื่อชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีก็จะบรรเทาปัญหาการว่างงาน หนี้ครัวเรือนและในขณะเดียวกันก็สามารถช่วยภาคเอกชนในการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินธุรกิจได้ด้วย
แผนดำเนินการปี 2563-2567
ระยะพัฒนาระบบ
ปี 2563-2565 : มีพื้นที่ปฎิบัติการ 52 ป่าชุมชน ครอบคลุมพื้นที่ 51,354 ไร่ ใน 7 จังหวัด มีชุมชนมาเข้าร่วมกว่า 12,361 ครัวเรือน
ระยะขยายผล
ปี 2566 : ร่วมมือกับชุมชน 129 แห่ง ใน 9 จังหวัดครอบคลุมพื้นที่ 194,850 ไร่ ป้อนคาร์บอนได้ 500,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และสร้างประโยชน์แก่ชุมชนในป่า 25,082 ครัวเรือน การดำเนินงานในแต่ละป่าชุมชนครอบคลุมระยะเวลา10ปี และคาดว่าจะทำให้เกิดประโยชน์ทางตรงด้านรายได้ชุมชนรวมเพิ่มขึ้นประมาณ 500-630 ล้านบาท
ปี 2567 : ตั้งเป้าขยายงานครอบคลุมพืนที่อีก 150,000 ไร่ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายผลิตคาร์บอนเครดิต 1 ล้านตันภายในปี 2570
ชาวบ้านได้อะไรจากโครงการ
องค์กรภาคเอกชนที่เห็นถึงความสำคัญและเข้าร่วมในโครงการประกอบด้วย
2563 – 2565 ระยะพัฒนาระบบ
2566 ระยะขยายผล