ปัญหาโลกเดือดและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลายเป็นหนึ่งในปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ทั่วโลกให้ความสำคัญและเร่งหามาตรการแก้ไขอย่างเร่งด่วน แต่เชื่อหรือไม่? ว่าเราสามารถช่วยโลกได้ แค่เปลี่ยนวิธีการกิน
แม้ว่าหลังโควิด -19 ผู้บริโภคหันมาดูแลสุขภาพมากขึ้น ทั้งในเรื่องของการดูแล รักษา และป้องกันสุขภาพ เช่นเดียวกันกับการเลือกอาหารการกินที่ดี เช่น สินค้าออร์แกนิค แต่หลายๆคนกลับมีคำถามที่ว่า ทำไมของออร์แกนิคมักมีราคาแพงกว่าอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ?
บทความนี้ SPOTLIGHT ได้สรุปสาระสำคัญ จากหัวข้อเสวนา Crafting the Menu saving our world รังสรรค์จาน สรรค์สร้างโลก จาก คุณอรุษ นวราช กรรมการผู้จัดการ บริษัท สวนสามพราน จำกัด และนายกสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย (Thai Organic Consumer Association) หรือ TOCA และ เชฟ ริค ดินเจน (Rick Dingen) เชฟ Michelin Green Star แห่งห้องอาหารจำปา
คุณอรุษ ได้เล่าว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีเกษตรกรปลูกสินค้าออร์แกนิค อยู่แค่ 3% ของเกษตรกรทั้งประเทศ
“สินค้าออร์แกนิคเวลาออกจากฟาร์ม หากไม่ได้ขายตรงสู่มือผู้บริโภค แต่ต้องผ่านระบบพ่อค้าคนกลางอย่างเช่น ห้างสรรพสินค้า ก็จะทำให้สินค้ามีราคาแพง โดยเฉพาะตอนนี้ ประเทศไทยมีเกษตรกรออร์แกนิคอยู่แค่ 5 แสนราย มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวออร์แกนิกประมาณ 1 ล้านไร่ ซึ่งน้อยกว่า 1% ของพื้นที่เกษตรทั้งหมด”
สิ่งเหล่านี้คือปัจจัย ที่ทำให้สินค้าออร์แกนิคมีราคาแพงเพราะความต้องการในตลาดยังน้อยอยู่ เปรียบเสมือนกับหลัก demand และ supply
คุณอรุษ ได้เล่าว่า สินค้าออร์แกนิคเวลาออกจากฟาร์ม หากไม่ได้ขายตรงสู่มือผู้บริโภค แต่ต้องผ่านระบบพ่อค้าคนกลางอย่างห้างสรรพสินค้า ก็จะทำให้สินค้ามีราคาแพง และด้วยปัจจัยสินค้าออร์แกนิคมีน้อยหายากก็ยิ่งทำให้ราคานั้นเพิ่มพูน
โดยคุณอรุษได้แนะนำว่า “หากให้ซื้อของออร์แกนิค ราคาที่เป็นธรรม ผู้บริโภคสามารถไปซื้อสินค้าโดยตรงกับเกษตรกรตามตลาดนัดอินทรีย์ หรือ ตลาดนัดสีเขียว ซึ่งตอนนี้มีอยู่หลายพื้นที่ในประเทศไทย เช่น ตลาดจริงใจ จังหวัดเชียงใหม่ ตลาดสุขใจ จังหวัดนครปฐม ตลาดนัดสีเขียว จังหวัดสุรินทร์"
“ตลาดสุขใจ” ที่สวนสามพรานจัดต่อเนื่องมาเป็นเวลา 14 ปี เป็นโมเดลที่เปิดโอกาสให้เกษตรกรได้ส่งผลผลิตออร์แกนิกตรงถึงมือผู้บริโภค ทำให้เกษตรกรได้รับรายได้ที่ดีกว่าการส่งผ่านคนกลาง และผู้บริโภคก็ได้ของสดใหม่ไร้สารพิษในราคาย่อมเยา โมเดลนี้ช่วยให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมมากขึ้น โดยในแต่ละสุดสัปดาห์จะมีนักช้อปสินค้าเกษตรกว่า 500 คนมาจับจ่ายของในตลาด
การซื้อวัตถุดิบโดยตรงจากเกษตรกรอินทรีย์นั้น นอกจากจะช่วยให้เกษตรกรกำหนดราคาที่เป็นธรรมได้เองและมีรายได้เพิ่มขึ้นแล้ว ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของการไม่ใช้สารเคมีในเกษตรอินทรีย์คือ ค่าใช้จ่ายในส่วนของปัจจัยการผลิตลดลงกว่าร้อยละ 70
คุณอรุษ ได้เล่าว่า “เกษตรกรสามารถตั้งราคาขายที่พอใจได้เอง ซึ่งเป็นครั้งแรกที่พวกเขาสามารถปลูกและตั้งราคาขายที่พอใจได้”
“จำปา” ร้านอาหารยุโรปร่วมสมัย ที่ได้ดาวมิชลินรักษ์รักษ์โลก (MICHELIN Green Star) เนื่องจาก
เชฟริก ได้เล่าว่า “เขาจะไปพบกับชาวประมงพื้นบ้านที่เป็นซัพพลายเออร์ประมาณ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อวางแผนการสร้างสรรค์เมนู เพราะเขายึดถือหลักการที่ว่าจะปรุงอาหารจากสิ่งที่เกษตรกรปลูกและชาวประมงหามาได้”
“ประเทศไทยเองก็มีอาหารท้องถิ่นที่ดีมาก เราสามารถหาแหล่งผักท้องถิ่นได้ ส่วนความอร่อยนั้นขึ้นอยู่กับเทคนิคการปรุงอาหาร หน้าที่ของเชฟคือการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการทำจานอาหารให้อร่อยที่สุด อย่างบีทรูท เราใช้ทุกส่วนและใช้เทคนิคการทำอาหารให้เป็นจานพิเศษ นอกจากนี้ผมยังมีหน้าที่ให้ความรู้ความเข้าใจกับลูกค้าเกี่ยวกับทุกๆ จานที่ได้รับ”
การกู้โลก อาจจะไม่ได้เป็นภารกิจที่เหนือความสามารถของเรา แค่กินด้วยความตระหนัก ความรับผิดชอบและร่วมกันลงมือทำจริงไม่ว่าจะเลือกกินอาหารออร์แกนิก อาหารในท้องถิ่น การจัดการวัตถุดิบตลอดกระบวนการตั้งแต่การปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ที่เป็นอาหาร ตลอดจนการจัดการขยะ ของเสีย ของเหลือจากการกิน แค่นี้ก็ช่วยกู้โลกได้