ในงาน SX2024 ในงานเสวนา CEO PANEL 2024 วิสัยทัศน์ 2030 “พลังความร่วมมือสู่อนาคตที่ยั่งยืน” ภายใต้เป้าหมาย Thailand Supply Chain Network Business Partner Conference 2024
โดยผู้ร่วมเสวนา 4 ท่าน ได้แก่
โดยมีผู้ดำเนินรายการโดยคุณสุทธิชัย หยุ่น
โดยคุณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด กล่าวถึงความสำคัญและความจำเป็นเร่งด่วนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปสู่ความยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวาระ 6 ปีข้างหน้า อันเป็นช่วงเวลาสำคัญยิ่งยวดก่อนการสิ้นสุดกรอบเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (SDGs) ในปี ค.ศ.2030
ทั้งนี้ ในปัจจุบัน เครือเจริญโภคภัณฑ์จะได้ดำเนินการตามกรอบ SDGs ทั้ง 17 ข้อ และมีตัวชี้วัดความสำเร็จกว่า 140 ตัวชี้วัด แต่จากการประเมินในปี ค.ศ.2020 พบว่าวัดประสิทธิผลได้ 12% และในปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 20%
เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้ให้ความสำคัญกับประเด็นหลัก 3 ประการ ประกอบด้วย การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การจัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ และการปลูกฝังจิตสำนึกด้านความยั่งยืนผ่านกระบวนการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเครือซีพี มีเป้าหมายจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน Scope 1 และ 2 ซึ่งครอบคลุมการดำเนินงานภายในองค์กรทั้งหมด
ผลลัพธ์ที่เป็นที่น่าพอใจ คือ แม้ธุรกิจของเครือซีพีจะมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้อย่างมีนัยสำคัญ จาก 6.42 ล้านตัน ในปี พ.ศ. 2565 เหลือ 5.8 ล้านตัน ในปี พ.ศ. 2566 ซึ่งความสำเร็จดังกล่าว เกิดจากปัจจัยหลัก 3 ประการ ได้แก่
นอกจากนี้ เครือซีพี ยังมุ่งเน้นการใช้พลังงานทดแทน อาทิ ไบโอแก๊ส การปลูกป่าเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว และการประสานความร่วมมือกับคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทาน เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน Scope 3 ซึ่งปัจจุบัน คิดเป็น 79.3 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี
ความท้าทาย คือ การสร้างความตระหนักรู้ และการส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมจากคู่ค้าในทุกระดับของห่วงโซ่อุปทาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย Net Zero ภายในปี ค.ศ. 2050 ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยทั้งแรงจูงใจ กลไก และมาตรการที่มีประสิทธิภาพ เช่น การสนับสนุนการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในภาคอุตสาหกรรม และการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมคาร์บอน
เครือเจริญโภคภัณฑ์ เชื่อมั่นว่า การดำเนินงานอย่างจริงจัง มุ่งมั่น และการประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วน จะนำไปสู่ความสำเร็จในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการสร้างเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว
คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด(มหาชน) ได้ให้วิสัยทัศน์เชิงลึกเกี่ยวกับการขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่งยืน โดยเน้นย้ำถึงศักยภาพของความร่วมมือแบบองค์รวมในรูปแบบ Ecosystem ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการสร้างสรรค์อนาคตที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง
คุณฐาปน กล่าวว่า การประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ไม่เพียงแต่เฉพาะองค์กรขนาดใหญ่ รวมถึง ผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งถือเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติของนวัตกรรมและเทคโนโลยี ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึงแนวคิด "Co-existence" และ "Co-creation" ซึ่งเป็นการผนึกกำลังจากองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญหลากหลาย เพื่อสร้างพลังขับเคลื่อนที่แข็งแกร่งและเสริมสร้างประสิทธิภาพในการดำเนินงานให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม
รวมถึง การรับฟังเสียงสะท้อนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน การพิจารณาถึงผลกระทบเชิงปฏิบัติ (Practicality) ของนโยบายและกฎระเบียบต่างๆ แม้ว่าในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ภาคธุรกิจจะมีความก้าวหน้าในการดำเนินงานด้านความยั่งยืน และยังมีความท้าทายที่ต้องร่วมกันฝ่าฟัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมภายใต้กรอบแนวคิด "Sufficiency for Sustainability" ซึ่งสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยเน้นการดำเนินธุรกิจอย่างมีความพอประมาณ มีเหตุผลและมีภูมิคุ้มกันที่ดีควบคู่ไปกับการพัฒนาองค์ความรู้ และการยึดมั่นในคุณธรรม
อีกทั้ง ยังให้ความสำคัญของการตระหนักรู้และความรับผิดชอบต่อ "Planet" "People" "Prosperity" และ "Peace" เพื่อให้เกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริง ยกตัวอย่างสถานการณ์โลก เช่น ปัญหาความอดอยาก(Zero Hunger) ซึ่งส่งผลกระทบต่อดัชนีชี้วัดความยั่งยืน(SDGs) ในระดับโลกรวมถึงประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยมีศักยภาพในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงด้านความยั่งยืนโดยอาศัยความร่วมมือแบบ Ecosystem เพื่อสร้างอนาคตที่สดใสและยั่งยืนสำหรับคนรุ่นลูกรุ่นหลาน
คุณธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม กรรมมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCG กล่าวว่า ประเทศไทยมีโครงการที่สามารถผลักดันการเปลี่ยนแปลงใน 2 เรื่อง คือ ลดการปล่อยคาร์บอน และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน การลดคาร์บอน
SCG จึงได้ทำการทดลอง สระบุรี แซนด์บ็อกซ์ (Saraburi Sandbox) ทำให้จังหวัดสระบุรีเป็นจังหวัดที่โลว์คาร์บอน หากทำให้สระบุรี net zero ได้ ตนเชื่อว่าทุกเมืองก็จะทำตามได้ เช่น ระยอง ชลบุรี กรุงเทพฯ
โดยขณะนี้ได้มีการปรับให้อุตสาหกรรมซีเมนต์เป็นโลว์คาร์บอน ซึ่งปีที่ผ่านมา SCG มียอดขายปูนซีเมนต์ในไทยเป็นโลว์คาร์บอนไปได้แล้ว 70% จากที่ตั้งเป้าเอาไว้ที่ 80% และในปีหน้าตั้งเป้าจะไปให้ถึง 100%
ทั้งนี้ การผลักดันอุตสาหกรรม และเทคโนโลยีการผลิต การบริหารต้นทุนทางการผลิต การบริหารซัพพลายเชน การปรับระเบียบข้อบังคับมาตรฐานการก่อสร้างไปเป็นโลว์คาร์บอน สามารถทำได้ดี แต่ในเรื่องของ Circular Economy (เศรษฐกิจหมุนเวียน) ยังต้องสร้าง Business Model แบบคาร์บอนต่ำ และมีการเติบโตสูง และการรีไซเคิลพลาสติกในแต่ละปีมีการเติบโตสูงกว่า Conventional plastic (พลาสติกประเภทเดิม) ได้ถึง 2-3 เท่า
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยมีศักยภาพทางด้านรีไซเคิล แต่ทางยุโรปดำเนินการไปได้ดีกว่า SCG จึงมีการระดมสมองจากผู้คนกว่า 3,500 คน พบว่า ยังขาดในเรื่องของแผนแม่บทด้านรีไซเคิล ต้องร่วมกันสร้างจิตในการแยกขยะเปียกและขยะแห้ง เนื่องจากการศึกษา พบว่า การแยกขยะเปียกออกจากขยะแห้ง เพื่อรีไซเคิลให้ได้คุณภาพต้องใช้พลังงานและงบประมาณจำนวนมาก
แต่หากแยกขยะเปียกขยะแห้งได้ดีจะช่วยให้คุณภาพในการรีไซเคิลและนำมาผลิตสินค้าใหม่จะทัดเทียมกับยุโรป เรื่องนี้จำเป็นต้องช่วยกันเร่งผลักดันไปสู่เศรษฐกิจรีไซเคิลอย่างจริงจังจะช่วยการเติบโตให้กับประเทศ ได้ทั้งบริษัทเล็กและบริษัทใหญ่ รวมถึง การเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาด
คุณธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เรื่องของความยั่งยืน ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป ซึ่งเน้นธุรกิจอาหารทะเล โฟกัสอยู่ที่ Healthy Living สุขภาพคน และ Healthy Ocean สุขภาพของทะเล โดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเป็นเรื่องของความอยู่รอด ประเทศไทยประสบปัญหาประมงผิดกฎหมาย การใช้แรงงานที่ไม่ถูกต้อง การใช้แรงงานเยี่ยงทาส หรือในเรื่องของการค้าแรงงาน
ทั้งนี้ จึงต้องใช้เวลาในการดูแล 4 เรื่องหลัก ได้แก่
ทั้งนี้ บริษัทได้ทำการค้ากับผู้ค้าทั่วโลกซึ่งแต่ละแห่งต่างยึดมั่นในนโยบายนี้ ซึ่งไทยยูเนี่ยนตั้งเป้าจะต้องลดสโคป 1-3 เรื่องคาร์บอนให้ได้ 42% ภายในปี 2030 ถือว่าเป็นความท้าทาย แต่ถือว่าเราทำได้ดี ซึ่งจากเดิมมีแค่ 4 เป้าหมาย เพิ่มเป็น 11 เป้าหมาย จากเดิมที่ดูแลเรื่องอาหารทะเล สัตว์น้ำที่มาจากธรรมชาติ
โดยเฉพาะปลาทูน่า ก็ได้ขยายไปดูแลสัตว์น้ำพันธุ์อื่นๆ เช่น ปลาแมคเคอร์เรล ปลาซาร์ดีน ปลาแซลมอน และยังขยายไปสู่สัตว์น้ำเลี้ยง คือ กุ้ง ช่วยเกษตรกรภายในประเทศว่าต้องเลี้ยงอย่างไรให้มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยในการลดการใช้พลังงาน
นอกจากนี้ ยังขยายไปถึงภาคเกษตรกรรม เช่น ถั่วเหลือง ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการใช้ทำอาหารสัตว์ ตั้งเป้าจะจัดซื้อถั่วเหลืองที่ไม่ทำลายป่า ต้องตรวจสอบแหล่งที่มาให้ถูกต้อง และยังทำกุ้งคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Shrimp) เพราะได้รับความร่วมมือจากสถาบันการเงินมาช่วยลงทุนเรื่องโซลาร์ เพื่อให้ทุกฟาร์มในเครือข่ายได้ใช้พลังงานโซลาร์
สำหรับผู้ประกอบการส่วนใหญ่ที่สนใจในเรื่องความยั่งยืน (Sustainability) มักจะกังวลเรื่องเงินทุน แต่อยากจะให้เห็นว่า การให้ความสนใจในเรื่องของการประหยัดพลังงาน จะส่งผลดีต่อผู้ประกอบการเองในเรื่องการลดค่าใช้จ่าย ลดต้นทุน