โหวตนายก, #นายกพิธา, #ประชุมสภา, #เลือกนายกตามผลเลือกตั้ง เป็นแฮชแท็กสุดฮอตที่สลับกันติดท็อปเทรนด์ Twitter แบบนาทีต่อนาที ในวาระประวัติศาสตร์ ‘การโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย’ ที่คนไทยจับตามองผ่านทุกแพลตฟอร์ม
WISESIGHT ผู้ให้บริการการวิเคราะห์โซเชียลมีเดียเบอร์ต้นของไทย ได้ติดตามกระแสอย่างใกล้ชิด และได้ทำการเก็บข้อมูลจากโซเชียลมีเดียทุกช่องทาง ได้แก่ Facebook, Twitter, Instagram, YouTube, TikTok, Pantip, และเว็บไซต์ข่าว โดยใช้คำสำคัญและใส่แฮชแท็กที่เกี่ยวข้องกับการโหวตนายกฯ ทั้งหมดบนเครื่องมือ Social Listening หรือ ZOCIAL EYE เพื่อนำมาวิเคราะห์สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในวันที่ 12-13 กรกฎาคม 2566 โดยพบว่า
จากวันที่ 12 ไปจนถึงวันที่ 13 กรกฎาคม มีข้อความการพูดถึงเพิ่มสูงขึ้น 10 เท่า มียอดรวมข้อความทั้งสิ้น 285,816 ข้อความ คิดเป็นเอ็นเกจเมนต์รวม 50 ล้านเอ็นเกจเมนต์ จากมากกว่า 55,000 ผู้ใช้งาน ซึ่งช่องทางที่มีการพูดถึงอันดับ 1 คือ Twitter คิดเป็น 52% ของช่องทางทั้งหมด รองลงมาคือ Facebook คิดเป็น 42% และช่องทางอื่นๆ 6%
สำหรับโพสต์ที่ได้รับเอ็นเกจเมนต์สูงที่สุดบนช่องทาง Twitter เป็นโพสต์ที่กล่าวชมการแสดงผลโหวตแบบเรียลไทม์ พร้อมบอกชื่อและพรรคของคนที่ลงคะแนน จัดทำโดยสำนักข่าว Thai PBS ได้รับการรีทวิตไปทั้งสิ้นมากกว่า 150,000 ครั้ง
โดยช่วงเวลาที่ได้รับเอ็นเกจเมนต์สูงสุด คือ 10.00-11.00 น. ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นพิจารณาโหวตเลือกนายกฯ มีเอ็นเกจเมนต์สูงถึง 3.6 ล้านเอ็นเกจเมนต์ และช่วง 16.00-18.00 น. ซึ่งเป็นช่วงนับคะแนนโหวตไปจนถึงประกาศผล
ในส่วนของ Sentiment หรือความรู้สึกนึกคิดต่อเรื่องดังกล่าว พบว่า เกิน 64% โพสต์ข้อความไปในเชิงลบ ในขณะที่ 32% มีความเห็นไปในเชิงเป็นกลาง มีเพียง 2% เท่านั้นที่แสดงความคิดเห็นในเชิงบวก
นอกจากการนำเสนอข่าวอัปเดตผลแบบเรียลไทม์ที่เกิดขึ้น ไวซ์ไซท์ จะมาสรุปความคิดเห็นบนโลกโซเชียลในภาพรวม ซึ่งแบ่งออกมาได้เป็น 3 ประเด็น ดังนี้
ส่วนผลการโหวตนายกฯ ครั้งหน้าจะเป็นอย่างไรนั้น ก็ต้อมาติดตามกันต่อในวันที่ 19 ก.ค.