ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ รู้ทันอันตราย ที่เกิดได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่

15 ก.ค. 67

รู้เท่าทันภัยอันตราย! ทำความรู้จัก ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ภาวะผิดปกติที่เกิดขึ้นระหว่างหลับ เช็กสัญญาณอันตราย ที่เกิดขึ้นได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ อีกหนึ่งความอันตรายที่อาจเกิดได้กับคนในครอบครัว เป็นอีกหนึ่งอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ บางครั้ต้นตออาจมาจากอาการภูมิแพ้ แพ้อากาศ หรอแพ้ฝุ่น หลายคนอาจจะคิดว่าไม่เป็นอะไร เพราะอาการที่แสดงออกมีเพียงการกรนระหว่างนอนเท่านั้น แต่เมื่อการกรนหนักข้อขึ้นเรื่อย ๆ อาจส่งผลให้มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้เช่นกัน

 

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คืออะไร ?
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หรือ Obstructive Sleep Apnea (OSA) เป็นอีกหนึ่งภาวะความผิดปกติของการหายใจ ที่เกิดขึ้นระหว่างการนอนหลับ เป็นอันตรายที่อาจก่อให้เกิดความผิดปกติอื่นตามมา อาจส่งผลร้ายแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยมีการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนต้น มีความตีบแคบตั้งแต่จมูกลงไปจนถึงปอด จนเกิดเป็นอาการหยุดหายใจเป็นช่วง ๆ ระหว่างการนอน ทำให้มีอาการนอนกรน ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่นตามมา เช่น สมรรถภาพทางเพศลดลง หรือเกิดโรคต่าง ๆ ทั้งความดันโลหิตสูง หรือโรคหัวใจ ซึ่งอาการนี้สามารถพบได้ในทุกเพศ ทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ โดยส่วนใหญ่มักไม่สังเกตความผิดปกตินี้ กว่าจะรู้สาเหตุก็สายเกินแก้

สาเหตุภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
เกิดจาความผิดปกติของระบบหายใจร่วมกัน ได้แก่ จมูก ช่องคอ ผนังคอหอย เป็นต้น ทำให้พื้นที่บริเวณดังกล่าวแคบลง กลายเป็นการอุดกั้นการหายใจ ทำให้เกิดเป็นการสั่นสะเทือนจากการหายใจ ออกมาเป็นเสียงกรนระหว่างหลับ เมื่อระบบหายใจแคบลง ทำให้ร่างกายต้องพยายามหายใจให้แรงขึ้นกว่าปกติ ยิ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ทางเดินหายใจแคบลง จนเกิดเป็นอาการไม่สามารถหายใจเข้าออกได้ในชั่วขณะหนึ่ง จึงเกิดเป็นภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

istock-1188317754

 

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ มีกี่ประเภท ?

  1. หยุดหายใจเพราะการอุดกั้นทางเดินหายใจ หรือ Obstructive Sleep Apnea เป็นภาวะการหยุดหายใจขณะหลับ ประเภทที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากการที่ระบบทางเดินหายใจแคบลง
  2. หยุดหายใจเพราะความผิดปกติจากสมองส่วนกลาง หรือ Central Sleep Apnea เป็นภาวะที่เกิดจากสมองส่วนกลาง ไม่สามารถสั่งการกล้ามเนื้อขณะนอนหลับได้ เป็นหนึ่งในประเภทที่พบได้น้อยที่สุด ซึ่งอาจเหิดจากโรคหลอดเลือดในสมอง หรือยาที่มีผลต่อระบบสมองส่วนกลาง
  3. หยุดหายใจแบบผสม หรือ Mixed Sleep Apnea เป็นภาวะหารหยุดหายใจ ที่เกิดขึ้นจาก 2 สาเหตุร่วมกัน ได้แก่การอุดกั้นของระบบทางเดินหายใจ ร่วมกันกับการไม่สามารถสั่งการสมองส่วนกลางได้

 

กลุ่มเสี่ยงต่อภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
อาการหยุดหายใจขณะหลับ สามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย เพศหญิงมักมีอาการในช่วงใกล้หมดประจำเดือน ส่วนเด็กมักพบจากสาเหตุของอาการต่อมทอนซิล และอดีนอยด์โต หรืออักเสบเรื้อรัง แต่โดยทั่วไปแล้วมักจะพบในเพศชายอายุประมาณ 30 ปี โดยจะพบผู้ป่วยโรคนี้กว่าร้อยละ 20 หากอายุ 35 ปีขึ้นไป จะพบว่ากว่าร้อยละ 60 ผู้ชายจะเกิดอาการนี้เป็นส่วนมาก นับเป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิต ยิ่งอายุมาขึ้นยิ่งมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น โดยส่วนใหญ่แล้วสามารถเช็กความเสี่ยงร่วมได้ดังนี้

  • ลักษณะโครงสร้างของใบหน้า ส่งผลให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
  • ผลกระทบจากโรค เช่น โรคอ้วน โรคเกี่ยวกับหัวใจ โรคภูมิแพ้ โรคเบาหวาน
  • เกิดจากการทานยาบางชนิด ที่อาจส่งผลกับระบบทางเดินหายใจ
  • พฤติกรรมในชีวิตประจำวัน จากการดื่มแอลกอฮอล์หรือการสูบบุหรี่

 

เช็กอาการเสี่ยง ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

  • นอนกรน, นอนกัดฟัน
  • หยุดหายใจในขณะหลับ
  • ตื่นเพราะหายใจแรง, สำลัก หรือหายใจติดขัด
  • ตื่นแล้วรู้สึกเจ็บคอ ปากแห้ง
  • นอนเตะขาไปมาในขณะหลับ
  • รู้สึกกระสับกระสายจนต้องการขยับขา ในขณะที่นอนเฉยๆ ช่วงกลางคืน
  • ละเมอเดิน, ละเมอพูด, ออกท่าทางขณะฝัน
  • ฝันร้าย, ฝันผวา
  • นอนตกเตียง
  • ชักขณะหลับ

istock-1693545317

 

ผลกระทบจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

  • ผลกระทบตอนกลางวัน : ผู้ใหญ่ที่มีอาการหยุดหายใจระหว่างหลับ ตอนกลางวันอาจรู้สึกปวดหัว นอนไม่พอ หรือรู้สึกไม่สดชื่น ส่งผลให้รู้สึกล้าหรือไม่มีสมาธิ อาจมีความหงุดหงิดง่ายกว่าปกติ บางคนอาจส่งผลทำให้คุณภาพการทำงานแย่ลง หากผู้ที่มีอาการเป็นเด็ก อาจมีผลให้เด็กซนขึ้น เด็กอาจมีอาการสมาธิสั้น ไม่สามารถเรียนรู้ได้เต็มประสิทธิภาพ
    ผลกระทบตอนกลางคืน : ผู้ใหญ่ที่มีอาการหยุดหายใจขณะนอนหลับ อาจมีเสียงกรนดังกว่าปกติ หายใจแรง หายใจขัดเพราะหาอากาศ บางรายอาจมีอาการละเมอ จนกลายเป็นสะดุ้งตื่นระหว่างคืน หากเป็นอาการในเด็ก อาจทำให้เด็กติดนิสัยการนอนคว่ำ รวมถึงมีอาการฉี่รดที่นอน ส่งผลให้เด็กไม่สามารถเติบโตได้สมวัย

 

วิธีการรักษาด้วยการตรวจการนอนหลับ Sleep Test
ถือเป็นการตรวจมาตรฐานที่ช่วยในการตรวจวิเคราะห์ ระบบการทำงานของร่างกายขณะนอนหลับ มีประโยชน์สำหรับประกอบการวินิจฉัยและวางแผนการรักษา อาทิ การตรวจระดับออกซิเจนในเลือด ระบบหายใจ การทำงานของคลื่นไฟฟ้าสมอง คลื่นไฟฟ้าหัวใจ กล้ามเนื้อ พฤติกรรมขณะนอนหลับ เป็นต้น

ทั้งนี้ผู้เข้ารับการตรวจควรเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจโดย งดการทานยานอนหลับ การดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ เลี่ยงการออกกำลังกายหนัก สำหรับวัยทำงานที่ต้องสงสัยว่าอาจมีอาการดังกล่าว สามารถเข้ารับการตรวจรักษาโดยใช้สิทธิผู้ประกันตน ม.33 และ ม.39 ได้แล้ว

 

ที่มา : paolohospital.com / petcharavejhospital.com / thaigov.go.th

advertisement

สุขภาพและความงาม คุณอาจสนใจ

ข่าวยอดนิยม

ไลฟ์สไตล์ ล่าสุด