ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เมื่อแจ้งความถูกทำร้ายร่างกาย ต้องทำอย่างไร

23 ก.ค. 67

ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว หนีออกมาแล้วยังโดนกระทำ จะต้องใช้กฎหมายข้อไหนเอาผิด ถอดบทเรียน เมื่อแจ้งความอดีตคนรักทำร้ายร่างกาย ต้องทำอย่างไร

เพราะปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เป็นหนึ่งในเรื่องที่เห็นได้บ่อยครั้งตามหน้าข่าวสาร ไม่ว่าจะเป็นประชาชนทั่วไป คนดัง นักร้อง นักแสดง รวมไปถึงเธอคนนี้ เชอรีน ณัฐจารี หรเวชกุล นักแสดงและศิลปิน ผู้เป็นน้องสาวของ นิชคุณ หรเวชกุล หรือ นิชคุณ 2PM ที่ล่าสุดเธอได้เดินทางเข้าแจ้งความดำเนินคดี อดีตสามีที่ทำร้ายร่างกายและคุกคาม ทั้งเมื่อตอนอดีตและปัจจุบัน

ก่อนหน้านี้ เชอรีน ได้ออกมาเปิดเผยถึงความสัมพันธ์ที่จบไม่สวยของทั้งคู่ ด้วยการแสดงจุดยืนเมื่อช่วงเดือนพ.ค.ที่ผ่านมาว่า เธอและสามีได้เลิกรากันตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคม ของปี 2566 แล้วจึงได้ประกาศเรื่องนี้ลงโซเชียลมีเดีย โดยในครั้งนี้เธอได้เปิดเผยถึงปัญหาที่เกิดขึ้น หลังเข้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้ว

เชอรีน เปิดเผยสาเหตุของการทำร้ายร่างกาย มักเกิดหลังจากการที่อดีตสามีดื่มสุรา จากนั้นขาดสติ ด้วยความอารมณ์ร้อนจึงได้เจ้ามาทำร้ายร่างกาย รวมทั้งหมด 4 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 / ครั้งที่ 2 เดือนกรกฎาคม 2565 / ครั้งที่ 3 เดือนเมษายน 2566 / และครั้งที่ 4 เดือนกันยายน 66

ทุกครั้งที่เกิดการทำร้ายร่างกาย เชอรีนเป็นฝ่ายอดทน เพราะไม่อยากให้ครอบครัวแตกแยกให้ลูกเห็น แต่ครั้งสุดท้ายที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดความกลัวว่าเรื่องจะร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต ซึ่งหลังจากเลิกรากันไป ยังถูกก่อกวนและติดตามจากอดีตสามีโดยตลอด หลังจากเรื่องที่เกิดขึ้น ที่ปล่อยให้เกิดเป็นข่าว เพราะกลัวว่าหากวันใดเกิดเรื่องขึ้นกับเชอรีนเอง เรื่องจะได้ไม่เงียบ

เบื้องต้นการกระทำของอดีตสามีเชอรีน เข้าข่ายความผิด มาตรา 295 ผู้ใดทำร้ายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น , ความรุนแรงในครอบรัว , ข่มขู่คุกคาม ทำให้ปราศจากเสรีภาพ คาดว่า 1-2 สัปดาห์จากนี้จะมีการออกหมายเรียก ส่วนกระบวนการไกล่เกลี่ยสามารถทำได้ควบคู่กันไปได้ เพราะเป็นเรื่องปัญหาในครอบครัว

 

ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว คืออะไร
ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ไม่ว่าจะเกิดจากบุคคลใด อาทิ สามีทำร้ายภรรยา พ่อแม่ทำร้ายร่างกายลูก หรือลูกทำร้ายร่างกายพ่อแม่วัยชรา ล้วนเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตามข่าวอยู่บ่อยครั้งในสังคม มีทั้งกรณีที่ทำรุนแรง จนเกิดเป็นการพิการหรือบาดเจ็บสาหัญ หรือแม้กระทั่งเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดการสูญเสีย นับวันยิ่งทวีความรุนแรงมาขึ้น โดยส่วนหใญ่แล้วผู้ที่ถูกกระทำหรือตกเป็นเหยื่อ มักเป็นเด็กและผู้หญิง

จากสถิติการช่วยเหลือเหยื่อจากความรุนแรงในครอบครัว ในรอบ 6 เดือน ของปี 2567 พบว่ามีจำ
นวนสูงถึง 1,296 ราย โดยส่วนใกญ่มักเกิดจากผู้เป็นสามีกว่า 41.63% โดยส่วนใหญ่เหยื่อเป็นเพศหญิงวัยกลางคนตั้งแต่อายุ 36-59 ปี สูงเป็นอันดับที่ 1 จำนวนกว่า 260 เคสจากที่สอบสวนแล้ว 956 ราย

นอกเหนือจากนี้ สถิติปัญหาความรุนแรงประจำเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2567 ในระยะเวลาเพียง 2 เดือน กลับมีจำนวนสูงถึง 373 กรณี นับเป็น 410 ราย โดยเป็นความรุนแรงที่เกิดในครอยครัวถึง 281 ราย คิดเป็นร้อยละ 68.53

 

pic6

 

ปัจจัยของการกระทำความรุนแรง

  • การใช้สารกระตุ้น ได้แก่ การดื่มสุรา การใช้สารเสพติด
  • ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ได้แก่ การนอกใจ การทะเลาะ และความหึงหวง
  • สภาพแวดล้อม ได้แก่ สื่อลามกต่าง ๆ ความใกล้ชิด และโอกาสที่เอื้ออำนวย
  • ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ ปัญหาความยากจน และการว่างงาน
  • ปัญหาด้านสุขภาพกาย ได้แก่ การเจ็บป่วยเรื้อรัง ความพิการทางร่างกาย
  • ปัญหาด้านสุขภาพจิต ได้แก่ ความเครียด ความเจ็บป่วยจากโรคจิตเวช
  • ปัญหาด้านอื่น ๆ ได้แก่ การมีเพศสัมพันธ์โดยสมัครใจของวัยรุ่น เกิดเป็นการทะเลาะวิวาท

 

ทั้งนี้หากปัญหาความรุนแรงภายในครอบครัว เกิดจากการที่สามีหรือภรรยาทำร้ายร่างกายกันเอง มีความผิดตามกฎหาย เพียงแต่สามารถยอมความได้ ซึ่งมีความผิดฐานจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนเกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

วิธีรับมือเมื่อเกิดปัญหาความรุนแรงภายในครอบครัว
ตั้งสติให้ดีหลังจากเกิดเหตุ อันดับแรกคือการขอความช่วยเหลือจากคนในครอบครัว หากตั้งสติได้เรียบร้อยแล้ว สามารถโทรขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือได้เร่งด่วน อาทิ

  • ตำรวจ โทร. 191
  • ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300
  • ศูนย์ช่วยเหลือเร่งด่วน สายด่วน 1507, 1578
  • มูลนิธิปวีณาเพื่อเด็กและสตรี สายด่วน 1134

 

pic5

 

วิธีช่วยเหลือ หากพบปัญหาความรุนแรง
สำหรับผู้ที่พบเห็นความรุนแรงภายในครอบครัว สามารถแจ้งแต่เจ้าหน้าที่ได้ พร้อมได้รับความคุ้มครอง โดยการช่วยเหลือนั้น ไม่ต้องรับความผิดทางใด แต่ถ้าหากเมินเฉยทั้งที่สามารถช่วยได้ ผู้ที่พบเห็นอาจมีความผิดในโทษ จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ทั้งนี้หากผู้ที่พบเห็นเหตุการณ์ที่ผิดปกติ หรือความรุนแรงดังกล่าว เป็นเหตุการณ์ที่ผู้ก่อเหตุมีอาวุธ, ผู้ก่อเหตุขู่ว่ามีอาวุธ หรือจะทำร้าย รวมถึงผู้ก่อเหตุเป็นผู้ชาย แต่ผู้เห็นเหตุการณ์เป็นผู้หญิง เหตุการณ์เหล่านี้ สามารถลดความสูญเสียได้ การไม่เข้าไปช่วยไม่มีความผิด

 

ที่มา : กรมประชาสัมพันธ์ (prd.go.th) / ฐานข้อมูลเปิดภาครัฐ (opendata.nesdc.go.th)

advertisement

เทรนดี้ คุณอาจสนใจ

ข่าวยอดนิยม

ไลฟ์สไตล์ ล่าสุด