ล่มซ้ำรอบ 2 ถกค่าแรง 400 บาทไปไม่ถึงฝัน กรรมการฝ่ายรัฐบาล-ลูกจ้าง ไม่ได้เข้าร่วม

20 ก.ย. 67

ล่มซ้ำรอบ 2 ถกค่าแรง 400 บาทไปไม่ถึงฝัน กรรมการฝ่ายรัฐบาล-ลูกจ้าง ไม่ได้เข้าร่วม ปลัดแรงงาน บอกคงเขาคงมีเหตุผล ยันไม่ได้อยู่เบื้องหลัง 

วันที่ 20 ก.ย. 67 ที่กระทรวงแรงงาน นาย ไพโรจน์ โชติเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน ให้สัมภาษณ์หลังการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 กรรมการไตรภาคี หรือบอร์ดค่าจ้าง โดยมีการพิจารณาวาระสำคัญ คือการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำครั้งที่ 3 ของปี 2567 ซึ่งถูกเลื่อนมาจากการประชุมเมื่อวันที่ 16 ก.ย.ที่ผ่านมา เนื่องจากกรรมการฯ สัดส่วนนายจ้างไม่ได้เข้าร่วมประชุมว่า 

การประชุมวันนี้ไม่ได้ล่ม แต่ไม่ครบองค์ประชุม 2 ใน 3 เพราะมีตัวแทนของข้าราชการไม่ได้เข้าร่วมประชุม 4 คน ประกอบด้วย กระทรวงพาณิชย์ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ธนาคารแห่งประเทศไทย สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งทั้ง 4 หน่วยงานติดภารกิจสำคัญ หากมีการส่งตัวแทนก็ไม่สามารถลงมติได้ และยืนยันว่าไม่มีนัยยะทางการเมือง และฝ่ายลูกจ้างไม่มา 2 คน เนื่องจากตามข้อกำหนดระบุว่าจะต้องมีผู้เข้าประชุม 10 คนขึ้นไป 

ล่มซ้ำรอบ 2 ถกค่าแรง 400 บาทไปถึงฝัน กรรมการฝ่ายรัฐบาล-ลูกจ้าง ไม่ได้เข้าร่วม

ดังนั้นที่ประชุมวันนี้จึงมีการพูดคุยกันโดยมีการพูดถึงสภาพของการจ้างงาน ที่มีการจ้างลูกจ้างและจ่ายค่าจ้างในอัตรา 400 บาทอยู่จำนวนเท่าไร มีผลกระทบต่อแรงงานไทย และแรงงานต่างด้าวอย่างไรบ้าง หากมีการขึ้นค่าแรง 400 บาท จะมีแรงงานต่างด้าวได้รับผลประโยชน์ ประมาณ 1 ล้านคน ส่วนแรงงานไทยได้รับผลประโยชน์ประมาณเกือบ 4 ล้านคน ซึ่งเป็นเพียงการเสนอข้อมูลในที่ประชุมทราบแต่ยังไม่มีการลงมติ 

ทั้งนี้มีการนัดหมายประชุมครั้งถัดไปในวันที่ 24 ก.ย.นี้ ซึ่งได้มีการโทรสอบถามกันแล้ว หากยังไม่ครบอีกก็จะมีการขยับการประชุมไปอีก คาดว่าน่าจะได้ข้อสรุปและสามารถนำเข้าครม. ประมาณวันที่ 1 ต.ค. อย่างไรก็ตาม ตนอยากทำให้ทันก่อนเกษียณอายุราชการ ซึ่งตนก็เหลือเวลาอีก 6 เมื่อถามย้ำว่า ไม่น่าประกาศใช้ทันวันที่ 1 ต.ค. ใช่หรือไม่ นายไพโรจน์ พยักและตอบว่า “ใช่”  

ทั้งนี้หากหลังวันที่ 30 ก.ย.นี้ไป จะเป็นหน้าที่ของปลัดกระทรวงแรงงานคนใหม่รับผิดชอบเรื่องนี้ หากยังไม่ได้เข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ จะมีรักษาการปลัดกระทรวงเป็นผู้รับผิดชอบต่อไป ทั้งนี้ยืนยันว่าไม่มีอะไรมากดดัน แต่ละฝ่ายก็มีมุมมองของตัวเอง 

ส่วนผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมประชุมนั้น มีการแจ้งให้ทราบล่วงหน้าก่อนหรือไม่ นายไพโรจน์ กล่าวว่า บางคนแจ้งกะทันหัน 2-3 ชั่วโมงที่ผ่านมา บางคนแจ้งมาล่วงหน้าว่า 1 วันว่าติดภารกิจ ส่วนลูกจ้าง 2 คนที่ไม่ได้เข้าร่วมนั้น แจ้งว่า ติดภารกิจส่วนตัว เพราะถึงจะมีการนัดประชุมล่วงหน้า แต่หากไม่สามารถร่วมการประชุมได้ แล้วส่งผู้แทนมาร่วมประชุม จะไม่สามารถลงมติได้ อยากให้กรรมการตัวจริงมาด้วยตนเอง ดังนั้นการประชุมครั้งหน้าก็จะย้ำไปยังกรรมการตัวจริง 

ล่มซ้ำรอบ 2 ถกค่าแรง 400 บาทไปถึงฝัน กรรมการฝ่ายรัฐบาล-ลูกจ้าง ไม่ได้เข้าร่วม

ส่วนผู้ที่ไม่ได้เข้าประชุมครั้งนี้เป็นสัดส่วนรัฐบาล มองว่ารัฐบาลไม่จริงใจในการขึ้นค่าแรง นายไพโรจน์ กล่าวว่า เป็นเรื่องของไตรภาคีในการพิจารณา เมื่อถามย้ำว่า หากเข้าครม.วันที่ 19 ต.ค.ให้มีการปรับเพิ่มค่าจ้างฯ จะขึ้นย้อนหลังให้หรือไม่ นายไพโรจน์ กล่าวว่า อาจจะต้องเบรกและกำหนดวันกันใหม่ ไม่น่าจะย้อนหลัง    

สำหรับการประชุมครั้งที่แล้ว นายจ้างไม่ได้เข้าร่วม พอเข้าใจได้ แต่ครั้งที่เป็นสัดส่วนภาครัฐบาลไม่มาทั้งหมดเลย เป็นเรื่องผิดปกติหรือไม่ นายไพโรจน์ กล่าวว่า ตนขอไม่ตอบเรื่องนี้ แต่ตนไม่ได้อยู่เบื้องหลัง 

ส่วนที่มีคนเห็นกรรมการการกระทรวงพาณิชย์ มาที่กระทรวงแรงงานในช่วงที่มีการประชุม แต่ไม่เข้าประชุม นายไพโรจน์ ถามกลับผู้สื่อข่าวว่า “ไม่เข้าใช่ไหม” เขาคงมีเหตุผลส่วนตัวว่าไม่อยากประชุม เพราะบางครั้งคนที่ไม่ได้อยู่ในห้องประชุมไม่รู้ว่าบรรยากาศข้างในเป็นอย่างไร แต่ตนรู้ดี 

เมื่อถามย้ำว่า ครั้งนี้ล่มเพราะรัฐบาล จะทำอย่างไร ในฐานะประธานบอร์ด นายไพโรจน์ กล่าวว่า ตนเหลืออีก 6 วันเอง ผู้สื่อข่าวถามต่อว่า มีการตีความว่า ที่รัฐบาลไม่เข้า เพื่อไปหาตัวเลขใหม่ในรอบหน้า นายไพโรจน์ กล่าววว่า มันน่าจะมีประเด็น แต่ไม่ขอพูดดีกว่า 

รายงานข่าวแจ้งว่า มีคนพบนายพูลพงษ์ นัยนาภากร ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์  กรรมการค่าจ้าง สัดส่วนรัฐบาล ปรากฏตัวที่กระทรวงแรงงานในช่วงเวลาเที่ยง กำลังขึ้นลิฟต์สำหรับผู้บริหารขึ้นไปยังชั้นบนของอาคาร 15 ชั้น กระทรวงแรงงาน แต่กลับไม่ได้เข้าร่วมประชุม

advertisement

advertisement

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส