Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
‘สื่อไทย’ อนาคตจะเป็นอย่างไร ?  TV เจอสมรภูมิศึก‘ชิงเรตติ้ง’ ออนไลน์เจอศึก‘ชิงยอดไลค์’
โดย : อมรินทร์ทีวีออนไลน์

‘สื่อไทย’ อนาคตจะเป็นอย่างไร ? TV เจอสมรภูมิศึก‘ชิงเรตติ้ง’ ออนไลน์เจอศึก‘ชิงยอดไลค์’

15 มิ.ย. 67
00:00 น.
|
680
แชร์

‘สื่อไทย’ อนาคตจะเป็นอย่างไร ?  TV เจอสมรภูมิศึก‘ชิงเรตติ้ง’ ออนไลน์เจอศึก‘ชิงยอดไลค์’

บทความนี้ SPOTLIGHT ได้สรุปสาระสำคัญการเสวนา The Future of Media : อนาคตของสื่อไทย โดยคุณพงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ CEO at Show No Limit and Host of Beartai Tech Contents, คุณจิตสุภา วัชรพลCO-CEO ไทยรัฐทีวี และ ไทยรัฐออนไลน์, คุณณัฏฐา โกมลวาทิน News Director THE STANDARD จากงาน Creative Talk Conference 2024

TV เจอสมรภูมิศึกชิงเรตติ้ง ออนไลน์เจอศึกชิงยอดไลค์

ในปัจจุบันที่สื่อไทยต่างติดกับดักสมรภูมิเรตติ้ง ส่งผลให้การผลิตคอนเทนต์น้ำดีมีคุณคุณภาพ มีสาระ และคนดูได้ประโยชน์เหลือน้อยเต็มที

โดยในฝากของผู้ผลิตข่าว หลายองค์กร ต่างใช้ KPI (Key Performance Indicator) หรือดัชนีชี้วัดผลงานความสำเร็จของงานผ่านเรตติ้ง (สื่อ TV) หากเป็นออนไลน์ ก็วัดความสำเร็จผ่านยอดไลค์ ยอดแชร์ หรือแม้แต่จำนวนคนอ่าน 

ข่าวที่ได้เรทติ้งดี คือ ข่าวอาชญากรรม ผลักดันให้คนเล่าข่าว เล่าขยี้ดราม่า เนื่องจากจะได้รับความสนใจจากคนดู และเป็นกระแสสังคมเป็นพิเศษ ทำให้ปัจจุบันสังคมไทยมีแต่คอนเทนต์ที่เต็มไปด้วยดราม่า ซึ่งปฎิเสธไม่ได้ว่าสิ่งเหล่านี้ ไม่เกิดผลดีต่อสังคมไทยสักเท่าไรนัก

แต่ต้องอย่าลืมว่า องค์กรสื่อ ก็คือ ธุรกิจอย่างนึง ที่ต้องการรายได้และผลกำไร ในแง่ของธุรกิจหากมีแต่ผู้ผลิต ไม่มีผู้บริโภค ธุรกิจก็ไม่สามารถเติบโตได้  และหากจะทำให้ธุรกิจสร้างผลกำไรได้ ก็ต้องทำคอนเทนต์เอาคนดู ความชอบของกลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างไร คนผลิตก็ต้องทำคอนเทนต์แบบนั้น  

นี่ยังไม่รวมถึงรายได้ค่าโฆษณา เพราะสปอนเซอร์มีเข้าเฉพาะสื่อที่มีเรตติ้งสูง และพวกเขาไม่ได้เชิงคุณภาพของคนดู แต่วัดเชิงปริมาณ นั้นก็คือ จำนวนคนมองเห็นโฆษณา

‘สื่อไทย’ อนาคตจะเป็นอย่างไร ?  TV เจอสมรภูมิศึก‘ชิงเรตติ้ง’ ออนไลน์เจอศึก‘ชิงยอดไลค์’

อย่าล่าเรตติ้ง ให้ล่า Trust (ความเชื่อ)

จริงอยู่ที่สื่อ ต้องการเรตติ้ง และยอดไลค์ แต่ต้องอย่าลืมว่าสื่อมวลชน ต้องทำหน้าที่เป็นกระจกสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม ฐานะ Watchdog หรือ Gatekeeper ไม่เพียงแต่บอกเล่าเรื่องราวเปิดปมปัญหาที่ซุกซ่อนในสังคม แต่ต้องขับเคลื่อนทางสังคมในทางบวก

การเข้ามาของเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ส่งผลให้เกิดสื่อออนไลน์ทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่มากมาย เช่นเดียวกันกับการเกิด content creators ที่เข้ามาแทนที่นักข่าวฉบับเดิมๆ จากหน้าจอทีวี มาสู่หน้าจอโทรศัพท์ ทำให้ผู้เสพสื่อมีช่องทางมากมายในการเสพข่าว  

แต่สิ่งที่ยากที่สุดสำหรับสื่อในยุคปัจจุบันไม่ใช่เรตติ้ง แต่คือการสร้างความเชื่อมั่นจากผู้คนดู หากสื่อไหนนำเสนอข่าวไม่เป็นธรรม ไม่เป็นกลาง เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือแม้แต่เสนอข่าวบิดเบือนความจริง คนดูก็พร้อมที่จะแบนสื่อนั้นๆได้ไม่ยาก เพราะสื่อไม่ใช่เพียงแค่อาชีพ แค่คือวิชาชีพ ที่มีต้องคุณค่า และ จรรยาบรรณ

คนไทย ไม่ยอมเสียเงินกับข่าว’ แต่ยอมเสียเงินกับ Entertainment

หากเราได้เสพสื่อตะวันตกอย่างเช่น The New York Times หรือ Bloomberg เราจะพบว่าบางคอนเทนต์ที่เป็นบทวิเคราะห์เชิงลึก ผู้อ่านจะต้องจ่ายเงินเพื่อเข้าไปดู ซึ่งอาจเป็นการจ่ายเงินรายข่าว หรือเป็นการ subscription รายเดือนหรือปี ทำให้เกิดคำถามว่า เป็นไปได้หรือไม่ หากสื่อไทยผลิตคอนเทนต์ดีมีคุณภาพ จะสามารถเก็บเงินจากคนดูได้เหมือนกับสื่อตะวันตก ? เพราะหากทำได้ ก็จะทำให้ผู้ผลิต ตั้งใจทำข่าวที่ดี มีสาระมากขึ้น

  • คุณหนุ่ย แบไต๋

ได้แสดงความคิดเห็นว่า ส่วนตัวตนไม่เชื่อว่าผู้อ่านจะยอมจ่ายเงินเพื่อให้ได้อ่านหรือดูข่าว แต่หากจะขายได้สื่อต้องขายให้แก่แพลตฟอร์ม ไม่ใช่ผู้บริโภค เช่น Netflix เพราะปัจจุบัน Netflix ได้มีการผันตัวเองทำรายการต่างๆให้มีความหลากหลายมาขึ้น นอกเหนือจากแพลตฟอร์มดูหนังอย่างเดียว

‘สื่อไทย’ อนาคตจะเป็นอย่างไร ? TV เจอสมรภูมิศึก‘ชิงเรตติ้ง’ ออนไลน์เจอศึก‘ชิงยอดไลค์’

  • คุณนิค ไทยรัฐ

ได้แสดงความคิดเห็นว่า ปัจจุบันคนไทยยอมจ่ายเงินแค่ ความบันเทิง หรือ Entertainment อย่างเดียว หากจะเก็บเงินสำหรับข่าว ต้องนำข่าว มาแปรรูป เพิ่มสีสัน เพิ่มคุณค่า เพิ่มความสนุก เช่น ทำข่าวสารคดี (documentary) เพื่อให้ตรงจริตคนดูมากขึ้น พวกเขาถถึงอาจยอมจ่ายเงิน

‘สื่อไทย’ อนาคตจะเป็นอย่างไร ? TV เจอสมรภูมิศึก‘ชิงเรตติ้ง’ ออนไลน์เจอศึก‘ชิงยอดไลค์’

  • คุณเต๋า เดอะ สแตนดาร์ด

ได้แสดงความคิดเห็นว่า อาจเป็นไปได้ในอนาคตที่รายการของเดอะ สแตนดาร์ด ที่มีการวิเคราะห์เชิงลึก มีฐานแฟนคลับมากพอ อย่าง The Secret Sauce หรือ 8 Minute History ผู้บริโภคก็อาจจะยอมจ่าย

‘สื่อไทย’ อนาคตจะเป็นอย่างไร ? TV เจอสมรภูมิศึก‘ชิงเรตติ้ง’ ออนไลน์เจอศึก‘ชิงยอดไลค์’

Passion อย่างเดียวไม่พอ ต้องมี Business Model ด้วย

  • คุณหนุ่ย แบไต๋ – จาก 10 เพจ เหลือ 1 เพจ

คุณหนุ่ย มองว่า การทำสื่อต้องมี Business model ที่ชัดเจน ต้องรู้ช่องทางการสร้างรายได้เพื่อหล่อเลี้ยงบริษัท เพราะแค่ความหลงใหลอย่างเดียวไม่สามารถทำให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดได้ หรือการพึ่งพาแต่เม็ดเงินจากยอดวิวแพลตฟอร์มดิจิทัลก็เสี่ยงเกินไ  จากเดิมที่แบไต๋เคยเปิดเพจมากถึง 10 เพจ แต่ไม่ใช่ว่าทุกเพจจะสามารถทำรายได้ให้กับบริษัทได้ ปัจจุบันจึงเหลือเพจหลักเพียงเพจเดียว คือ เพจแบไต๋ เพื่อควบคุมต้นทุน และหันมาเน้นการสร้างคอนเทนต์ที่มีคุณภาพด้วยสโลแกน “น้อยแต่คุณภาพ” แทน

โดยหากต้องการให้โมเดลธุรกิจอยู่รอดต่อไปในอนาคต บริษัทสื่อควรรักษารูปแบบการทำคอนเทนต์ทั้ง 2 แบบ ได้แก่ คอนเทนต์ที่มีโฆษณา (Branded content) และคอนเทนต์ดั้งเดิม (Original content) ของเพจ โดยชั่งน้ำหนักระหว่างการทำคอนเทนต์ของทั้ง 2 ประเภทดังกล่าว เพื่อหาจุดสมดุลระหว่างจุดประสงค์ของการทำสื่อและความอยู่รอดของธุรกิจ

‘สื่อไทย’ อนาคตจะเป็นอย่างไร ? TV เจอสมรภูมิศึก‘ชิงเรตติ้ง’ ออนไลน์เจอศึก‘ชิงยอดไลค์’

  • คุณนิค ไทยรัฐ – จาก 1 ช่อง สู่ 8 ช่อง

คุณนิค ได้เล่าว่า ปัจจุบันไทยรัฐออนไลน์ได้เปิดช่องยูทูบเพิ่ม 8 ช่อง ซึ่งมีหน้าที่ในการนำเสนอคอนเทนต์และมีกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน เพื่อตอบสนองความสนใจของผู้ชมที่หลากหลาย เพราะก่อนหน้านี้ ไทยรัฐเคยมัดรวมคอนเทนต์ทุกหมวดหมู่ไว้ที่ช่องเดียว แต่กลับกลายเป็นว่าคอนเทนต์บางประเภทถูกคอนเทนต์ที่ได้รับความสนใจมากกว่าดึงความสนใจไป

โดยแต่ละช่องจะต้องมีตัวตนที่ชัดเจน เข้าใจพฤติกรรมและความสนใจของคนดูของตนเป็นอย่างดี ทำให้ไม่แย่งความสนใจและคนดูกัน จากโมเดลนี้ ทำให้ไทยรัฐขยายฐานผู้ชมไปยังกลุ่มที่ไทยรัฐยังไม่สามารถเข้าถึงได้ ซึ่งแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ของ KPI

เจาะกลุ่มคนดูไม่พอ ต้องสร้างคอมมูนิตี้

  • คุณเต๋า เดอะ สแตนดาร์ด

ได้เปิดเผยว่า สิ่งที่เดอะ สแตนดาร์ดคำนึงถึงเป็นพิเศษ คือการสร้างชุมชนหรือคอมมูนิตี้ ในกลุ่มคนดู แต่ก่อนที่เราจะเจาะกลุ่มคนดู เราต้องทราบก่อนว่ากลุ่มคนดูเป้าหมายหลักของเราคือใคร

โดย เดอะ สแตนดาร์ดเน้นไปที่กลุ่มพรีเมียมแมส (Premium mass) หรือกลุ่มคนวัยทำงานที่มีอายุระหว่าง 25-35 ปีที่มีความสนใจข้อมูลข่าวสารเชิงลึก ต้องการพัฒนาตนเอง รวมถึงประเด็นหนัก ๆ เช่น ประวัติศาสตร์ และปรัชญา

ทำให้แต่ละรายการของ เดอะ สแตนดาร์ด มีความชัดเจนทั้งในแง่ของผู้ดำเนินรายการ คอนเทนต์เฉพาะกลุ่ม โดยปัจจุบัน เดอะ สแตนดาร์ด ทั้งหมด 8 ช่อง เพื่อตอบโจทย์ความสนใจของผู้บริโภคที่หลากหลาย แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ’ความสม่ำเสมอในการผลิตคอนเทนต์’ เช่นมาทุกวันจันทร์ เพื่อรักษาฐานคนดูให้อยู่กับเราได้นาน

ส่องรายได้ ผลประกอบการ ของ 3 บริษัทสื่อ

  • เดอะสแตนดาร์ด

บริษัท เดอะสแตนดาร์ด จำกัด

images(3)_1

ปี 2563

รายได้ : 165,262,315 บาท

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ : 36,747,775 บาท

ปี 2564

รายได้ : 205,221,062 บาท

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ : 53,126,692 บาท

ปี 2565

รายได้ : 259,860,444

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ : 44,259,850

dfqror7owzulq5fzyjja515688fyp

  • ไทยรัฐทีวี

บริษัท ทริปเปิล วี บรอดคาสท์ จำกัด

ปี 2563

รายได้ : 1,515,066,241 บาท

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ : 175,878,570 บาท

ปี 2564

รายได้ : 1,847,786,941 บาท

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ : 521,985,768 บาท

ปี 2565

รายได้ : 1,833,749,978 บาท

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ : 540,323,500 บาท

channels4_profile(2)

  • แบไต๋

บริษัท โชว์ไร้ขีดจำกัด

ปี 2563

รายได้ : 83,160,405 บาท

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ : 11,073,850 บาท

ปี 2564

รายได้ : 105,364,240 บาท

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ : 13,659,535 บาท

ปี 2565

รายได้ : 162,427,574

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ : 19,278,151 บาท

 

 

 

 

แชร์
‘สื่อไทย’ อนาคตจะเป็นอย่างไร ?  TV เจอสมรภูมิศึก‘ชิงเรตติ้ง’ ออนไลน์เจอศึก‘ชิงยอดไลค์’