Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
ประมวลภาพความยิ่งใหญ่ของ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ รูปแบบใหม่
โดย : อมรินทร์ทีวีออนไลน์

ประมวลภาพความยิ่งใหญ่ของ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ รูปแบบใหม่

9 ก.ย. 65
10:11 น.
|
2.9K
แชร์

เป็นเวลากว่า 31ปีแล้วที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ได้ทำหน้าที่ในการต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง รวมถึงเป็นสถานที่บันทึกเรื่องราวความทรงจำของงานประชุมและอิเวนต์สำคัญๆ ทั้งในระดับชาติและนานาชาติกว่า 20,000 งาน ก่อนจะประกาศปิดปรับปรุงครั้งใหญ่ในเดือนเมษายน 2562 ผ่านมา 3 ปีแล้วในวันจันทร์ที่ 12 กันยายน 2565 นี้ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ จะกลับมาให้บริการอีกครั้ง อย่างไม่เป็นทางการ(Soft Opening) แต่การกลับมาครั้งนี้ยิ่งใหญ่ อลังการกว่าเดิม ทีมงาน SPOTLIGHT ได้เข้าบันทึกภาพทุกส่วนของ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์โฉมใหม่อย่างละเอียด ไปดูกันว่าจะยิ่งใหญ่ขนาดไหน

พื้นที่โดยรวมใหญ่กว่าเดิม 5 เท่า

ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์รูปแบบใหม่ใช้งบประมาณกว่า 15,000 ล้านบาท ในการขยายพื้นที่รวมให้มากขึ้นถึง 5 เท่า เป็น 300,000 ตารางเมตร โดยแบ่งเป็นพื้นที่จัดงานอิเวนต์ 78,500 ตารางเมตร พื้นที่สำหรับร้านค้าปลีก 11,000 ตารางเมตร สามารถรองรับการจัดงานได้ทุกรูปแบบอย่างไร้ขีดจำกัด ด้วยจำนวนฮอล์จัดนิทรรศการ 8 ห้อง ห้องเพลนารี 4 ห้อง ห้องบอลรูม 4 ห้อง และห้องย่อย 50 ห้อง รองรับผู้เข้าใช้บริการได้มากถึง 100,000 คน/วัน พร้อมลานจอดรถใต้ดินที่สามารถจอดรถยนต์ได้มากถึง 3,000 คัน ประเมินว่าทั้งปีสามารถรองรับผู้คนได้ถึง 13 ล้านคนต่อปี

ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

QSNCC - Queen Sirikit National Convention Center สามารถมองเห็นจากด้านหน้าถนนรัชดาภิเษกได้อย่างโดดเด่น

การออกแบบตกแต่งภายในสื่อความเป็นไทยสู่สายตาชาวโลก

ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ทำหน้าที่เสมือนห้องรับรองแขกทั้งในประเทศไทยและระดับนานาชาติโดยการออกแบบตกแต่งสถาปัตยกรรมภายในของศูนย์ฯสิริกิติ์ โฉมใหม่มุ่งเน้นการนำเสนอความเป็นไทยที่ผสมผสานกับยุคสมัยใหม่ได้อย่างลงตัว ภายใต้แนวคิด ‘สืบสาน รักษา ต่อยอด โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากฉลองพระองค์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) มาสร้างสรรค์ให้แต่ละชั้นภายในศูนย์ฯสิริกิติ์ มีความโดดเด่นที่แตกต่างกัน สะท้อนเอกลักษณ์ความเป็นไทยสู่สายตาชาวโลก

ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

เบื้องหลังของความยิ่งใหญ่อลังการมาจากนักออกแบบแถวหน้าของประเทศไทย 4 ท่านที่ได้ทุ่มความคิด การดีไซน์ออกมาได้อย่างกลมกลืนและลงตัว โดยงานออกแบบสถาปัตยกรรมทั้งหมดมาจาก คุณนพดล ตันพิวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดีไซน์ 103 อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด , การออกแบบตกแต่งภายในคือคุณอริศรา จักรธรานนท์ ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ออนเนี่ยน จำกัด , การออกแบบงานภูมิสถาปัตยคือ คุณยุทธพล สมานสุข ผู้ช่วยรองผู้อำนวยการและผู้อำนวยการฝ่ายออกแบบ บริษัท ฉมา จำกัด ,ส่วนผู้ที่ดีไซน์อัตลักษณ์ให้กับศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ คือ คุณมะลิ จุลเกียรติ ผู้ก่อตั้ง บริษัท บีอาวเฟรนด์ จำกัด

4 ดีไซน์เนอร์ผู้ออกแบบ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ชมความงดงามและความหมายของการออกแบบตกแต่งในแต่ละชั้นของศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์จากภาพถ่ายของกองบรรณาธิการ SPOTLIGHT

 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์


ภาพความสวยงามของศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สะท่อนความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะ
ยกระดับศูนย์การประชุมแห่งชาติสู่การเป็น The Ultimate Inspiring World-Class Event Platform หรือสุดยอดแพลตฟอร์มระดับโลกที่สร้างแรงบันดาลใจสำหรับทุกงานอิเวนต์เพื่อคนทุกคน บนแนวคิดหลักทั้ง 5 ประการ ได้แก่

  1. ที่สุดของการเข้าถึงง่าย (Ultimate Accessibility) เพราะตั้งอยู่กลางเมืองบนถนนรัชดาภิเษก เชื่อมต่อแยกพระราม 4-รัชดา สามารถเข้าออกได้จาก 4 เส้นทาง ได้แก่ ถนนพระราม 4, ถนนสุขุมวิท, ถนนรัชดาภิเษก และถนนดวงพิทักษ์ พร้อมด้วยทางเชื่อมตรงรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สู่พื้นที่การจัดงาน เพื่อความสะดวกสบายมากขึ้นสำหรับทุกคน
  2. ที่สุดของความปลอดภัย (Ultimate Safety) รักษาความปลอดภัยขั้นสูงสุด ดำเนินงานโดยบริษัทรักษาความปลอดภัย Certis Security ตามมาตรฐานการดำเนินงานระดับสากล

  3. ที่สุดแห่งเทคโนโลยีขั้นสูง (Ultimate Technology) ใช้งานอินเทอร์เน็ต (5G), สนับสนุนการจัดอิเวนต์รูปแบบออนไลน์และไฮบริด, เข้าใช้งานพื้นที่แบบไร้สัมผัส,ใช้ระบบบริหารอาคารอัจฉริยะ

  4. ที่สุดแห่งความยืดหยุ่นเพื่อการจัดงานทุกรูปแบบ (Ultimate Flexibility) ใช้เทคโนโลยีการก่อสร้างขั้นสูง ไม่มีเสาค้ำยัน ทำให้สะดวกต่อการจัดการระบบโลจิสติกส์ และขนย้ายสินค้าจัดแสดงเข้าในพื้นที่ช่วงก่อนการจัดงาน และรองรับการจัดประชุมรวมถึงนิทรรศการหลากหลายรูปแบบได้พร้อม ๆ กัน

  5. ที่สุดแห่งความยั่งยืนเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี (Ultimate Sustainability) ก่อสร้างตามมาตรฐานอาคารเขียว LEED ระดับ Silver เน้นใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า 25% และวัสดุที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้มากกว่า 75% นอกจากนั้น ยังมีแผนติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์โดยรอบโครงการในอนาคตอันใกล้อีกด้วย

หลังจากวันที่ 12 กันยายนนี้เป็นต้นไปศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ จะอัดแน่นไปด้วยอิเว้นต์มากมายตลอดปี 2565  ด้วยคอนเซ็ปต์ที่เป็นมากกว่า“ศูนย์การประชุม”จะทำให้เราได้เห็นบทบาทของศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ที่จัดงานไลฟ์สไตล์ จัดคอนเสิร์ต ไทย เกาหลี รวมไปถึงงานสัปดาห์หนังสือ,งาน Sustainability Expo 2022 

แต่งานใหญ่ที่สุดของปี2565 คือการจัดงานประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือ Asia-Pacific Economic Cooperation - APEC ในวันที่ 13-18 พฤศจิกายน 2565 ซึ่งจะใช้พื้นที่ทั้งหมดของศูนย์ประชุมแห่งชาตืสิริกิติ์ คาดมีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวนมาก และไม่เพียงแต่ได้ทำหน้าที่เป็นสถานที่ประชุม ต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองระดับประเทศเท่านั้น การปรับศูนย์ประชุมแห่งชาตืสิริกิติ์ครั้งนี้ยังเป็นการสนับสนุนการเติบโตเศรษฐกิจไทยได้ทั้งทางตรงและทางอ้อมอีกด้วย 

 

ถ่ายภาพโดย : สรเดช ปานเสน

.

 ***สามารถกดอ่านรายละเอียดของภาพได้ที่ Gallery ด้านล่าง ***

 

รูปภาพทั้งหมด

แชร์
ประมวลภาพความยิ่งใหญ่ของ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ รูปแบบใหม่