กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ร่วมกับ 15 รัฐ ฟ้องร้อง Apple ในข้อหาใช้พลังอำนาจตลาดเพื่อเอาเปรียบผู้บริโภค นักพัฒนา และคู่แข่ง คดีความนี้มุ่งเน้นไปที่ App Store ของ Apple ซึ่งถูกกล่าวหาว่าผูกขาดตลาดและจำกัดทางเลือกของผู้บริโภค
จากรายงานของ รอยเตอร์ ระบุว่า กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ และ 15 รัฐ ร่วมกันฟ้องร้อง Apple โดยกล่าวหาว่าบริษัทใช้ความต้องการที่สูงสำหรับ iPhone และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ในการผลักดันราคาบริการต่างๆ ให้สูงขึ้น รวมถึงสร้างความเสียหายให้กับคู่แข่งรายเล็กกว่า นับเป็นความเคลื่อนไหวล่าสุดของสหรัฐฯ ในการปราบปรามยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยี
Apple นับเป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำที่ถูกรัฐบาลสหรัฐฯ ฟ้องร้องในข้อหาต่อต้านการแข่งขันทางการค้า โดยมีทั้ง Alphabet (บริษัทแม่ของ Google), Meta Platforms (Facebook) และ Amazon.com ที่เคยถูกดำเนินคดีมาแล้วทั้งในสมัยอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และประธานาธิบดีคนปัจจุบัน โจ ไบเดน
"ผู้บริโภคไม่ควรต้องจ่ายราคาที่สูงขึ้น เพียงเพราะบริษัทเหล่านี้ละเมิดกฎหมายต่อต้านการผูกขาด" อัยการสูงสุด Merrick Garland กล่าวในแถลงการณ์ "หากไม่ถูกตรวจสอบ Apple จะยิ่งเสริมสร้างการผูกขาดตลาดสมาร์ทโฟนของตนให้แข็งแกร่งขึ้นต่อไป"
ย้อนกลับไปตั้งแต่สมัยที่ยังเป็นผู้เล่นรายเล็กในตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โมเดลธุรกิจของ Apple คือการเรียกเก็บราคาพรีเมี่ยมสำหรับผลิตภัณฑ์ที่บริษัทสามารถควบคุมได้เกือบทั้งหมด ตั้งแต่การทำงานไปจนถึงการใช้งานอุปกรณ์ กระทรวงยุติธรรมพยายามที่จะเปลี่ยนโมเดลทางธุรกิจนี้ โดยบังคับให้ Apple ให้ทางเลือกแก่ผู้ใช้มากขึ้นในเรื่องของการที่แอปพลิเคชันต่างๆ จะเข้าถึงฮาร์ดแวร์ที่ Apple ออกแบบได้อย่างไร
วันที่ | ราคาเปิด | ราคาล่าสุด | ราคาสูงสุด | ราคาต่ำสุด | ปริมาณการซื้อขาย | เปลี่ยนแปลง (%) |
21/03/2024 | 175.5 | 171.35 | 177.49 | 170.85 | 93.90M | -4.10% |
20/03/2024 | 175.85 | 178.67 | 178.67 | 175.09 | 52.41M | +1.47% |
19/03/2024 | 174.35 | 176.08 | 176.6 | 173.03 | 54.85M | +1.36% |
18/03/2024 | 173.08 | 173.72 | 177.71 | 173.52 | 75.08M | +0.64% |
15/03/2024 | 172.84 | 172.62 | 172.62 | 170.29 | 119.99M | -0.22% |
14/03/2024 | 171.51 | 173 | 174.31 | 172.05 | 72.57M | +1.09% |
13/03/2024 | 172.34 | 171.13 | 173.18 | 170.76 | 51.95M | -1.21% |
12/03/2024 | 172.95 | 173.23 | 174.03 | 171.01 | 59.55M | +0.28% |
11/03/2024 | 171.57 | 172.75 | 174.38 | 172.05 | 60.14M | +1.18% |
08/03/2024 | 169.71 | 170.73 | 173.7 | 168.94 | 76.27M | +1.02% |
07/03/2024 | 169.07 | 169 | 170.73 | 168.49 | 69.37M | -0.07% |
06/03/2024 | 169.71 | 169.12 | 171.24 | 168.68 | 66.98M | -0.59% |
หลังจากกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ซึ่งรัฐบาลเขตโคลัมเบียร่วมฟ้องด้วย กล่าวหาว่า Apple ใช้พลังทางการตลาดเรียกเก็บเงินที่สูงขึ้นจากผู้บริโภค นักพัฒนา ผู้สร้างคอนเทนต์ ศิลปิน สำนักพิมพ์ ธุรกิจขนาดเล็ก และร้านค้าต่างๆ สำหรับคดีความยาว 88 หน้าที่ยื่นต่อศาลรัฐบาลกลางในเมืองนวร์ก รัฐนิวเจอร์ซีย์ ระบุว่าต้องการ "ปลดปล่อยตลาดสมาร์ทโฟนจากการต่อต้านการแข่งขันของ Apple รวมถึงกอบกู้การแข่งขัน เพื่อลดราคาสมาร์ทโฟน สร้างความเป็นธรรมในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับนักพัฒนา และรักษานวัตกรรมในอนาคต"
ทางสหรัฐฯ กล่าวหาว่า Apple จงใจลดคุณภาพของผลิตภัณฑ์ตัวเองเพื่อขัดขวางคู่แข่ง ยกตัวอย่าง 5 กรณีที่ Apple พยายามลดการแข่งขันทางเทคโนโลยีของสมาร์ทโฟน ไม่ว่าจะเป็น "ซูเปอร์แอป" แอปเกมที่เล่นแบบสตรีมผ่านคลาวด์ แอปส่งข้อความ สมาร์ทวอทช์ และกระเป๋าเงินดิจิทัล ยกตัวอย่างเช่น สหรัฐฯ กล่าวหาว่า Apple สร้างความยากลำบากให้แอปส่งข้อความและสมาร์ทวอทช์ของคู่แข่งทำงานได้ราบรื่นบน iPhone รวมถึงกล่าวหาว่านโยบาย app store ของ Apple เกี่ยวกับบริการสตรีมมิ่งเกมต่างๆ ก็ขัดขวางการแข่งขันด้วยเช่นกัน
กระทรวงยุติธรรมยังอ้างอิงอีเมลจาก Steve Jobs ผู้ร่วมก่อตั้ง Apple ที่เสียชีวิตไปแล้วในปี 2011 ซึ่งระบุว่า "ไม่สนุกเลยที่เห็นว่าผู้บริโภคเปลี่ยนจาก iPhone เป็น Android ได้ง่ายดาย" และสาบานว่าจะ "บังคับ" นักพัฒนาให้ใช้ระบบการชำระเงินของ Apple เพื่อกักตัวทั้งนักพัฒนาและผู้บริโภคเอาไว้ นอกจากนี้จุดสนใจที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ สอบสวน เพราะการเปลี่ยนแปลงเรื่อง App Store กระทรวงยุติธรรมจึงหันมาตรวจสอบวิธีการอื่นๆ ของ Apple เช่น การที่ Apple จำกัดการเข้าถึงชิพและเซนเซอร์ใน iPhone ของบริษัทอื่น
ด้าน Apple ไม่เห็นด้วยและออกแถลงการณ์ว่า "คดีความนี้คุกคามตัวตนของเราและหลักการที่ทำให้ผลิตภัณฑ์ Apple แตกต่างในตลาดที่มีการแข่งขันสูง หากฟ้องร้องสำเร็จ มันจะบั่นทอนความสามารถในการสร้างสรรค์เทคโนโลยีที่ผู้คนคาดหวังจาก Apple ซึ่งเป็นจุดที่ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และบริการต่างๆมาบรรจบกัน"
เวลานี้ ยังไม่ชัดเจนว่ากระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ต้องการให้ Apple เปลี่ยนแปลงอะไรโดยเฉพาะ คำฟ้องขอให้ศาลสั่งห้าม Apple ใช้การควบคุมแอปสโตร์ สัญญาต่างๆ และการใช้ส่วนเชื่อมต่อซอฟต์แวร์ส่วนบุคคล ในทางที่ทำลายคู่แข่ง นอกจากนี้ยังต้องการให้ศาลสั่งการอื่นๆ ที่จำเป็น "เพื่อฟื้นฟูสภาพการแข่งขันในตลาดที่ได้รับผลกระทบจากพฤติกรรมอันไม่ชอบด้วยกฎหมายของ Apple"
Apple เคยถูกสอบสวนและโดนคำสั่งในข้อหาต่อต้านการผูกขาดมาแล้ว ทั้งในยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ รวมทั้งยังโดนฟ้องโดยคู่แข่งทางธุรกิจอย่าง Epic Games ด้วย หนึ่งในธุรกิจที่ทำรายได้มหาศาลที่สุดของ Apple คือ App Store ที่เรียกเก็บค่าคอมมิชชั่นจากนักพัฒนาสูงถึง 30% โดยธุรกิจนี้รอดพ้นจากข้อพิพาททางกฎหมายภายใต้กฎหมายสหรัฐฯ จากคดีที่ฟ้องร้องโดย Epic มาแล้ว แม้คดีดังกล่าวจะพบว่า Apple ไม่ได้ละเมิดกฎหมายต่อต้านการผูกขาด แต่ผู้พิพากษาของรัฐบาลกลางก็ได้สั่งให้ Apple อนุญาตให้มีการใช้ลิงก์และปุ่มเพื่อชำระเงินสำหรับแอป โดยไม่ต้องจ่ายค่าคอมมิชชั่นให้ Apple นอกจากนี้ Apple ยังยืนยันมาโดยตลอดว่า บริษัทจำกัดการเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้และฮาร์ดแวร์บางส่วนของ iPhone สำหรับนักพัฒนาภายนอก ด้วยเหตุผลด้านความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย
ระหว่างการแถลงข่าว อัยการสูงสุดสหรัฐฯ Merrick Garland กล่าวว่า กระทรวงยุติธรรมเชื่อว่าจะชนะคดีนี้ "เราฟ้องคดีเพราะเชื่อว่าข้อเท็จจริงต่างๆ เป็นเหตุผลอันสมควร และเราเชื่อว่ามีแนวโน้มที่จะชนะคดีเหล่านั้น" Garland กล่าว ด้านผู้ช่วยอัยการสูงสุด Jonathan Kanter ของแผนกต่อต้านการผูกขาด กล่าวว่ากระทรวงยุติธรรมจะแสดงหลักฐานว่าแนวทางของ Apple ไม่ได้มีแรงจูงใจจากความกังวลเหล่านั้นเพียงอย่างเดียว "คำฟ้องของเราได้อธิบายว่า ในหลายกรณี พฤติกรรมของ Apple ทำให้ระบบนิเวศของพวกเขา (ecosystem) มีความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยลดน้อยลง " Kanter กล่าว
ในยุโรป โมเดลธุรกิจ App Store ของ Apple ถูกยกเลิกไปแล้วโดยกฎหมายใหม่ที่เรียกว่า "กฎหมายตลาดดิจิทัล" (Digital Markets Act) ที่มีผลบังคับใช้เมื่อต้นเดือนนี้ Apple วางแผนที่จะอนุญาตให้นักพัฒนาเสนอแอปสโตร์ของตนเองได้ และที่สำคัญที่สุด - ไม่ต้องจ่ายค่าคอมมิชชั่นใดๆ อย่างไรก็ตาม คู่แข่งอย่าง Spotify และ Epic โต้แย้งว่า Apple ยังคงทำให้การนำเสนอแอปสโตร์ทางเลือกเป็นเรื่องยากอยู่ดี
บริษัทที่ทำฮาร์ดแวร์อย่าง Tile (ผู้ผลิตอุปกรณ์ติดตามอัจฉริยะ) บ่นว่า Apple จำกัดการใช้เซนเซอร์ใน iPhone ในขณะที่อุปกรณ์ของ Apple เอง (อย่าง AirTags) สามารถเข้าถึงเซนเซอร์ต่างๆ ได้มากกว่า หรือ Apple จำกัดการเข้าถึงชิปชำระเงินแบบไร้สัมผัส บังคับให้บัตรเครดิตเพิ่มเข้า iPhone ได้ผ่านบริการ Apple Pay ของ Apple เท่านั้น และบริการ iMessage ของ Apple ก็ถูกวิจารณ์ว่าผูกขาดเกินไป เพราะทำงานได้เฉพาะบนอุปกรณ์ Apple เท่านั้น ให้เข้าใจง่ายๆ คือ Apple ถูกกล่าวหาว่าใช้การผูกขาดเพื่อลดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้และปิดกั้นคู่แข่ง
ที่มา Reuters