กรณี STARK ยังเป็นที่จับตามองที่มีการทุจริตเกิดขึ้น มีการสร้างราคาหุ้น ออกหุ้นกู้จนเกิดการผิดนัดชำระหุ้นกู้ จนเกิดความเสียหายมากกว่า 4 หมื่นล้านบาท ทำให้หลายคนสงสัยว่า กลวิธีกลโกงนี้ทำอย่างไร จนเกิดความเสียหายได้ขนาดนี้ และมีใครเกี่ยวข้องบ้าง
SPOTLIGHT จะสรุปสถานการณ์เรื่องนี้อยู่ตรงจุดไหน?
พ.ต.ท.จักรกฤษณ์ วิเศษเขตการณ์ ผู้อำนวยการกองคดีการเงินการธนาคารและการฟอกเงิน กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) เปิดเผยว่า หลังจากออกหมายเรียกอดีตผู้บริหาร บมจ.สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น (STARK) 2 ราย ได้แก่ นายชนินทร์ เย็นสุดใจ อดีตประธานกรรมการบริษัท และ นายศรัทธา จันทรเศรษฐเลิศ อดีตกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่การเงิน ในความผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ DSI ได้ส่งหมายไปยังที่อยู่ของทั้งคู่ทางไปรษณีย์
นายศรัทธา จันทรเศรษฐเลิศ อดีตประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน บมจ.สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น (STARK) เปิดเผยผ่านรายการ “เจาะลึกทั่วไทย อินไซด์ ไทยแลนด์”
โดยยอมรับว่าเป็นผู้ตกแต่งบัญชีให้กับ STARK และบริษัทในเครือ 4-5 บริษัทจริง โดยการสร้างยอดขายเทียม สูงกว่าที่ควรจะเป็นทั้งรายได้ และกำไร และมีลูกหนี้เทียม Non-STARK เอาเงินเข้ามา โดยได้รับคำสั่งจากนายชนินทร์ เย็นสุดใจ ประธานคณะกรรมการบริษัท ขณะที่ผู้ถือหุ้นใหญ่ของ STARK เป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ทางตรง และมีผู้เชี่ยวชาญด้านโครงสร้างตลาดทุนอีกรายหนึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย โดยข้อมูลทั้งหมดได้เข้าพบและแจ้งกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ไปแล้ว
“ ตามที่ผมเข้าไปชี้แจงกับก.ล.ต.เมื่อวันที่ 20 มิ.ย.ยอมรับว่า ผมเป็นผู้ตกแต่งบัญชี วัตถุประสงค์ของการตกแต่งบัญชี เพื่อผลประโยชน์แก่ราคาหุ้น และยอมรับว่าตนเองเป็นผู้ดำเนินการตกแต่งบัญชีโดยรับคำสั่งจากกลุ่มเจ้านายทั้ง 3 คน ผมได้รับคำสั่งทางตรง 1 ท่าน เป็นคุณชนินทร์ มีผู้ได้รับผลประโยชน์ 1 ท่าน คือ ผู้ถือหุ้นใหญ่ STARK น่าจะเป็นคุณวนรัชต์ และผู้เชี่ยวชาญด้านโครงสร้างที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุนอีก 1 ท่าน คุณกอล์ฟ “ชินวัฒน์ อัศวโภคี” นายศรัทธา กล่าว
สำหรับรูปแบบการตกแต่งบัญชีของ STARK ได้มีการสร้างยอดขายเทียม ทำให้ยอดขายสูงกว่าความเป็นจริง ส่งผลให้กำไรสูงขึ้นตาม และมีลูกหนี้เทียมโผล่ขึ้นตามมา จึงต้องนำเงินจากกลุ่ม Non STARK เข้ามาชำระลูกหนี้การค้า ตนเองในฐานะคนดูแลบัญชีทั้งกลุ่มก็ต้องเกลี่ยเงินทั้งกลุ่มเอาเงินจากทั้งในกลุ่มนอกกลุ่ม STARK มาชำระหนี้ที่อยู่ใน Phelps Dodge
การตกแต่งบัญชีเพื่อสร้างราคาหุ้นของ STARK เป้าหมายการสร้างราคาหุ้น STARK เพื่อดันหุ้นขึ้นไปที่ 5 บาทได้นั้นจะต้องมีการนำ STARK เข้า SET50 ให้ได้ แต่บริษัทต้องเข้า SET100 ให้ได้ก่อน ให้สูงขึ้นก่อให้เกิดผลประโยชน์มูลค่าหลายหมื่นล้านบาท
กรณีของการออกใบสำคัญแสดงสิทธิที่ซื้อหุ้นสามัญ (วอร์แรนด์) ราคาใช้สิทธิ 5 บาทและกำหนดแปลงสิทธิปี 67 และยังมีดีลขายหุ้น Big Lot ราคากว่า 3 บาท ออกมาหลังจากทำ Reverse Takeover รวมถึงรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่แห่งหนึ่งสนใจทำดีล MD&A เข้าซื้อหุ้น STARK แต่ที่สุดดีลนี้ล้มไป
ส่วนการออกหุ้นกู้วงเงินรวมกว่า 9 พันล้านบาท เนื่องจากก่อนหน้าในกลุ่ม STARK ใช้เงินของธนาคารทำทุกดีล โดยเฉพาะการซื้อบริษัทที่เวียดนามที่มีขนาดใหญ่มาก แต่กลับมาเจอกับสถานการณ์โควิด-19 ทำให้แผนธุรกิจของเวียดนามไม่ได้เป็นไปตามที่คิด ผลงานขาดทุนแต่เลือกชำระหนี้ตรงตลอดเวลา เงินจากชำระหนี้ของเวียดนามมาจากการบริหารงานของ Phelps Dodge เมื่อ Phelps Dodge จ่ายชำระหนี้แทนเวียดนาม ซึ่งขาดทุน ทำให้เกิดปัญหากระแสเงินสดก็เลยฉุดทั้งหมด
ต่อมา STARK ต้องการขายหุ้นให้กับรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ เพื่อแก้ปัญหาสภาพคล่อง บวกกับตอนนั้นคาดว่าน่าจะผ่านไปได้เรียบร้อย จึงออกหุ้นกู้ล็อตแรก และไม่เคยผิดนัดชำระหนี้ รอลุ้นให้ดีลจบ Cash Flow ก็จะแก้ปัญหาได้ โดยหุ้นกู้ไม่เกี่ยวตกแต่งบัญชี แต่เพื่อใช้ชำระคืนหนี้
สำหรับผลประโยชน์ที่ได้จากการสร้างราคาหุ้น STARK ให้สูงขึ้น ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จากเหตุการณ์ดังกล่าวจะเป็นผู้ถือหุ้นที่ขายหุ้น Big lot ในราคาสูง และการแปลงวอร์แรนต์ เป็นหลักหมื่นล้านบาท ยังไม่รวมหนี้ที่กู้จากสถาบันการเงินมาทำดีลต่าง ๆ เงินจากการขายเพิ่มทุน และการออกหุ้นกู้ รวมแล้วหลายหมื่นล้านบาท
เส้นทางการเงินของ STARK ได้ผ่านบัญชีของตนเอง และเข้าไปที่บริษัทลูกๆของ STARK เป็นบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นใหญ่คนเดียวกัน ขณะที่ตนเองไม่ได้รับผลประโยชน์ใดๆ ในการสร้างราคาหุ้น STARK และไม่มีเส้นทางการเงินผ่านเข้ามาทางบัญชีของภรรยา โดยบัญชีที่ถูกอายัดไปเป็นบัญชีเงินเดือนที่ปกติโอนให้ภรรยาไว้ใช้จ่าย และเสียภาษีปกติ รวมทั้งบัญชีเพื่อผ่อนบ้าน ไม่เกี่ยวข้องกับการตกแต่งบัญชี
“ตอนแรกๆ ไม่ได้ทำเยอะ เพื่อที่จะทำให้ราคาหุ้นค่อยๆ ขึ้นก็คงไว้ ง่ายๆประมาณนี้ และปัญหาการเงินที่เกิดขึ้นของ STARK ที่ทำให้จนกระดาน มีสาเหตุมาจากจำนวนสุดท้ายในตอนที่มีรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นชิ้นที่ใหญ่สุดที่ถูกสั่งทำให้ต้องทำการตกแต่งบัญชี เพื่อทำให้รัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งมีความเชื่อมั่น และเข้ามาซื้อหุ้น STARK แต่มีการล้มกระดานขึ้นในปี 64 ทำให้เกิดปัญหาขึ้นมา” นายศรัทธากล่าว
STARK ได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า คณะกรรมการรบริษัทมีมติเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท จากเดิม เป็น “นายวนรัชต์ ตั้งคารวคุณ” เป็น “นายภูมิพัฒน์ สินาเจริญ” ลงลายมือชื่อร่วมกับ “นายอภิชาติ ตั้งเอกจิต และประทับตราบริษัท
พร้อมแจ้งรายชื่อกรรมการชุดใหม่ แทนกรรมการที่ลาออก ดังนี้
ตัวแทนนักลงทุนรายย่อย STARK เตรียมร้อง DSI ในวันพรุ่งนี้ ( 6 ก.ค.) ให้ดำเนินคดีผู้ต้องสงสัย 7 ราย ฐานฉ้อโกง ร่วมกันฟอกเงิน พร้อมขอ DSI ประสาน ปปง.อายัดทรัพย์ ชี้ “วนรัชต์” เป็นหนึ่งในผู้ต้องสงสัยไม่ใช่ผู้เสียหายตามที่ให้ข่าว เหตุได้รับประโยชน์จากราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้น โอดหน่วยงานกำกับดูแลเดินเรื่องช้าหวั่นผู้ต้องสงสัยเดินทางออกนอกประเทศ
ดร.ณัฐวุฒิ รุ่งวงษ์ ประธาน บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน ต้นธารคอร์ปอเรชั่น ในฐานะที่ปรึกษาการลงทุนผู้ถือหุ้นรายย่อยของ บริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STARK กล่าวว่า ในวันพรุ่งนี้ ( 6 ก.ค.) กลุ่มผู้ถือหุ้นรายย่อยที่เสียหาย 11,000 คน จะส่งผู้แทนเข้าแจ้งความร้องทุกข์กับกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ให้ดำเนินคดีต่อผู้ต้องสงสัยจำนวน 7 ราย ในข้อหาฉ้อโกงประชาชน ร่วมกันฟอกเงิน และความผิดตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ และจับกุม ควบคุมตัวกลุ่มบุคคลผู้ร่วมกระทำความผิดโดยพลัน พร้อมทั้งระงับการเดินทางไปต่างประเทศของกลุ่มบุคคลดังกล่าวภายในวันที่ 6 กรกฎาคม 2566 เป็นต้นไป และให้ DSI ประสานสำนักงานคณะกรรมการป้องปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เพื่ออายัดทรัพย์สิน และพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ร่วมขบวนการดังกล่าวทั้งหมดโดยพลัน
เนื่องจากทาง STARK ได้แจ้งให้นายวนรัชต์ ตั้งคารวคุณ พ้นจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจใน STARK ตามหนังสือที่บริษัทแจ้งไปยังตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม เวลา 21.00 น. เช่นเดียวกับพ.ต.ท.ปกรณ์ สุชีวกุล ที่ได้ลาออกจากการเป็นประธานบริษัท ภายหลังจากถูกอดีตประธานบริหารฝ่ายการเงิน หรือ CFO ของ STARK ให้สัมภาษณ์ทางรายการโทรทัศน์ว่า เป็นผู้ได้ประโยชน์จากการตกแต่งบัญชี สามารถทำให้ขายหุ้นล็อตใหญ่ได้เป็นเงินนับหมื่นล้านบาท ในกรณีนี้นายวนรัชต์ได้ ให้ข่าวว่า เป็นเพียงผู้ถือหุ้นใหญ่ และกรรมการบริษัทเท่านั้น ไม่ได้มีอำนาจบริหาร เพราะได้ยกอำนาจสิทธิ์ขาดในการบริหารกิจการให้กับนายชนินทร์ เย็นสุดใจ เป็นประธานกรรมการ
“นายวนรัชต์ ในฐานะผู้เสียหายเป็นผู้กล่าวโทษดำเนินคดีต่อนายชนินทร์ และลูกน้อง ทำให้เกิดข้อกังขาว่า ในเมื่อนายวนรัชต์เป็นผู้ได้รับผลประโยชน์จากการตกแต่งปลอมแปลงบัญชีด้วยการขายหุ้นล็อตใหญ่มูลค่านับหมื่นล้านบาท ทำไมเขาจึงเป็นเพียงผู้เสียหาย ไม่ตกเป็นผู้ต้องสงสัย เจ้าหน้าที่ในกรม DSI กล่าวว่า เนื่องจากยังไม่มีใครมาร้องทุกข์ดำเนินคดีต่อนายวนรัชต์ เรื่องนี้อดีต CFO ของ STARK ไปให้ข้อมูลหลักฐานกับสำนักงานก.ล.ต.หมดแล้วตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน หลักฐานชัดเจนเส้นทางการเงินว่าออกจากบัญชีไหน ไปเข้าบัญชีใคร แต่เวลาล่วงเลยมาถึงขั้นนี้ ก.ล.ต.ยังไม่มาแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดี ซึ่งหากก.ล.ต.ไม่ทำ ทางผู้เสียหายคือผู้ถือหุ้นรายย่อยจะมาร้องทุกข์กล่าวโทษเองก็ได้"
อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ยืนยันว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ( ก.ล.ต.) มีอำนาจที่จะระงับความเสียหายได้หลายอย่าง ทั้งการอายัดทรัพย์สิน การห้ามเคลื่อนย้ายถ่ายเทหลักฐาน ประสานงานห้ามผู้ต้องสงสัยเดินทางออกนอกราชอาณาจักร แต่ปล่อยเวลาล่วงเลยมาถึงบัดนี้
นอกจากนี้ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังควรแสดงบทบาทครั้งสุดท้ายก่อนหมดอำนาจหน้าที่ด้วยการมีคำสั่งพิเศษขีดเส้นต่อก.ล.ต.ภายใน 3 วัน 7 วัน ให้เร่งดำเนินคดีต่อผู้ต้องสงสัยในคดีนี้ ประสานงานอายัดทรัพย์สินต่างๆ ตามเงินมาคืนผู้เสียหาย จะสามารถกอบกู้ความเชื่อมั่นคืนตลาดทุนได้"เจ้าหน้าที่ระดับสูงผู้เรื่องดีเสนอแนะ
ที่มา : DSI ขู่ออกหมายจับ 2 อดีตผู้บริหาร STARK “ชนินท์-ศรัทธา” หากหลบหน้า จ่อขยายผลฟันบริษัทลูก
อดีต CFO เปิดหน้าแฉยับอดีตเจ้านายสั่งแต่งบัญชี STARK ปั่นราคาหุ้นหวังหลอกขาย “เครือใหญ่”
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย