นายภุชพงค์ โนดไธสง เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ภายใต้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เป็นประธานแถลงข่าวประชาสัมพันธ์ “การรับรองหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะดิจิทัลของหน่วยงานภาครัฐ” เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 โดยเชิญชวนให้ สถาบันอบรมต่างๆ หรือผู้พัฒนาหลักสูตรที่มีเนื้อหาด้านดิจิทัล เข้ามายื่นขอการรับรองหลักสูตร ซึ่งทางกระทรวงจะเริ่มเปิดใช้ระบบต้นแบบ “ระบบยื่นขอรับรองหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ หรือ TACC (Training Accreditation & Course Certification)” เป็นครั้งแรก ในวันที่14 ก.พ. นี้ ทางเว็บไซต์ tacc.onde.go.th
ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) ร่วมกับที่ปรึกษา ได้ดำเนิน โครงการบริหารจัดการและติดตามผลการรับรองหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะดิจิทัลของหน่วยงานภาครัฐ สำหรับข้าราชการและบุคลากรของรัฐ 6 กลุ่ม ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง ผู้อำนวยการกอง ผู้ทำงานนโยบายและวิชาการ ผู้ทำงานด้านบริการ ผู้ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยี และผู้ปฏิบัติงานอื่น ๆ โดยนอกจากโครงการนี้จะช่วยให้เกิด การรับรองหลักสูตรแล้ว ก็ยังเป็น ฐานข้อมูล (Database) หลักสูตรด้านดิจิทัลของประเทศไทย ที่หน่วยงานภาครัฐสามารถเข้ามาสืบค้นและพิจารณาก่อนวางแผนพัฒนาบุคคลากรได้
นอกจากนี้ หลักสูตรที่ได้รับรองจะ ได้รับการตรวจประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัล ได้รับข้อเสนอแนะและคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อสถาบันอบรม ในการปรับปรุงหลักสูตรให้ดียิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน ก็ยังสามารถ ของบประมาณสนับสนุนในการจัดอบรม สาหรับหลักสูตรประเด็นทักษะสาคัญฯ ผ่านกองทุน DE ได้อีกด้วย
"โลกดิจิทัลเข้ามามีบทบาทอย่างมากในปัจจุบัน กำลังคนภาครัฐจึงต้องพัฒนาให้เท่าทันต่อเทคโนโลยี และกระบวนการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป การที่จะจัดอบรมให้หน่วยงานภาครัฐ จึงต้องมีมาตรฐาน เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และสอดคล้องตามนโยบายของคณะรัฐมนตรี” นายภุชพงค์ กล่าว
สำหรับระยะเวลาที่ใช้ในการประเมินหลักสูตร ตั้งแต่ยื่นคำขอรับการประเมิน จนถึงแจ้งผลการตัดสิน จะอยู่ในช่วง 20 - 35 วัน ซึ่ง สดช. ตั้งเป้าหมายให้มี หลักสูตรที่ผ่านการรับรองทั้งสิ้น 100 หลักสูตร ภายในปี 2565
นายภุชพงค์ ยังกล่าวด้วยว่า หลังจากที่บรรลุเป้าหมายด้าน การพัฒนาศักยภาพของข้าราชการทั้ง 7 ด้าน เรียบร้อยแล้ว ในอนาคตอยากให้ หน่วยงานภาคเอกชนที่เชี่ยวชาญด้านเรื่องเทคโนโลยีด้านอื่นๆ เช่น “เมตาเวิร์ส” เข้ามามีส่วนร่วมเช่นกัน แต่ภาครัฐเองก็ต้อง ศึกษาวิธีคิดและกระบวนการทำงาน แล้วจึงนำเทคโนโลยีมาใช้ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ด้วย
“ภาครัฐต้องปรับตัว สร้างบุคคลากรให้มีความพร้อม และทำเพื่อบริการสาธารณะ บริการประชาชน” นายภุชพงค์ เสริม
หลักสูตรที่สามารถขอรับรองจากสดช. ได้ แบ่งออกเป็น 7 ด้านด้วยกัน ได้แก่
1.ความสามารถด้านความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy)
2.ความสามารถด้านการควบคุมกำกับ และการปฏิบัติตามกฎหมายนโยบาย และมาตรฐาน การจัดการด้านดิจิทัล (Digital Governance, Standard, and Compliance)
3.ความสามารถด้านเทคโนโลยีเพื่อยกระดับศักยภาพองค์กร (Digital Technology)
4.ความสามารถด้านการออกแบบกระบวนการและการให้บริการด้วยระบบดิจิทัลเพื่อการพัฒนาคุณภาพภาครัฐ (Digital Process and Service Design)
5.ความสามารถด้านการบริหารกลยุทธ์และการจัดการโครงการ (Strategic and Project Management)
6.ความสามารถด้านผู้นำดิจิทัล (Digital Leadership)
7.ความสามารถด้านการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัล (Digital Transformation)
สถาบันอบรมที่สามารถยื่นขอรับรองหลักสูตร ได้แก่สถาบันหรือหน่วยงานในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ดังต่อไปนี้
1.สถาบันอุดมศึกษาในสังกัดของกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงศึกษาธิการ รวมไปถึงกระทรวงอื่น ๆ ที่จัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษา
2. หน่วยงานภาครัฐที่มีพันธกิจในการจัดอบรม หรือให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการอบรม
3. สถาบันอบรมเอกชนที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ
4. สถาบันที่ได้รับความเห็นชอบโดยสถาบันหรือหน่วยงานที่มีอำนาจตามกฎหมาย โดยให้สามารถจัดอบรมในหัวข้อเฉพาะได้
1. ได้ขึ้นทะเบียนบัญชีรายชื่อหลักสูตรที่ได้รับการรับรอง และ สดช. จะมีการเผยแพร่รายชื่อดังกล่าวผ่านช่องทางเว็บไซต์ระบบ TACC ทำให้หน่วยงานภาครัฐสามารถมาสืบค้น รับทราบถึงหลักสูตรต่างๆ ของสถาบันอบรมที่ได้รับการรับรอง และเลือกพิจารณาในการส่งบุคลากรมาเข้ารับการอบรมในหลักสูตรเหล่านั้น
2. ได้รับตราสัญลักษณ์รับรองจาก สดช. ซึ่งสถาบันอบรมสามารถนาไปใช้เพื่อประชาสัมพันธ์ในหลักสูตรของตน หรือใส่ในประกาศนียบัตรได้
3. หลักสูตรได้รับการตรวจประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัล ได้รับข้อเสนอแนะ คำแนะนาที่เป็นประโยชน์ต่อสถาบันอบรม ในการปรับปรุงหลักสูตรให้ดียิ่งขึ้น
4. สามารถของบประมาณสนับสนุน (Grant) ในการจัดอบรม สาหรับหลักสูตรประเด็นทักษะสาคัญฯ ผ่านกองทุน DE*
1. ทักษะการพัฒนานวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์ และการคิดวิเคราะห์เชิง Design Thinking
2. ทักษะการประยุกต์ใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีดิจิทัลในการทำงาน
3. ทักษะด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ( Personal Data Protection)
4. ทักษะด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security)
5. ทักษะด้านการออกแบบกระบวนการและการให้บริการด้วยระบบดิจิทัล เพื่อพัฒนาคุณภาพงานภาครัฐ และขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัล (Digital Transformation)
6. ทักษะด้านการจัดทำชุดข้อมูลเพื่อการบริการสาธารณะ (Open Public Data)
7. ทักษะด้านการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics)
1. ได้ขึ้นทะเบียนบัญชีรายชื่อผู้เชี่ยวชาญดิจิทัล (Pool Lists) ของ สดช. ทำให้ได้รับข้อมูล ข่าวสาร และการเรียนเชิญเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของสดช. ในอนาคต
2. ได้รับการอบรมในหลักสูตรผู้ประเมินหลักสูตร ที่ สดช. จัดสรร และจัดอบรมให้ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ อีกทั้ง ทุกๆ ปี จะได้รับเชิญให้เข้าอบรมหลักสูตรดังกล่าวและหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง เพื่อทบทวนความเข้าใจ และ หรืออัพเดตข้อมูลเกี่ยวกับการรับรองหลักสูตรและการตรวจประเมิน
3. ได้ร่วมตรวจประเมินหลักสูตรกับ สดช. และกำหนดคุณภาพหลักสูตรการอบรมและการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ