ปัญหาราคาน้ำมันแพงกำลังสร้างผลกระทบอย่างหนักให้กับทั่วโลจากผลกระทบจากสถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน ไม่เว้นประเทศไทยตอนนี้ที่คนใช้รถต้องจ่ายเงินเติมน้ำมันทั้งเบนซินและดีเซลที่ราคาบางประเภทตอนนี้ทะลุ 50 บาทต่อลิตไปแล้ว
ทำให้ล่าสุดรัฐบาล ประกาศขอความร่วมมือกลุ่มโรงกลั่นน้ำมันให้นำส่งกำไรค่าการกลั่นน้ำมันดีเซล และเบนซิน ส่งนำเข้าสู่กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยคาดว่าจะจัดเก็บกำไรค่าการกลั่นน้ำมันดีเซล ได้ประมาณ 5-6 พันล้านบาทต่อเดือน และส่งกำไรจากค่าการกลั่นน้ำมันเบนซินได้ 1 พันล้านบาทต่อเดือน และนำส่วนนี้มาลดราคาน้ำมันเบนซินให้กับผู้ใช้ทันที คาดว่าจะลดลงลิตรอย่างน้อย 1 บาทต่อลิตรจากราคาปัจจุบัน
1. ราคาหน้าโรงกลั่น คือ ราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ยังไม่ได้รวมภาษี กองทุน และค่าการตลาด
2. ภาษีสรรพสามิต คือ ภาษีที่จัดเก็บสินค้าที่มีผลกระทบต่อสังคม
3. ภาษีเทศบาล คือ ภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บเพิ่มขึ้นตามมาตรา 4 ของ พรบ.จัดสรรเงินภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 และส่งมอบให้กระทรวงมหาดไทย มีอัตราร้อยละ 10 ของภาษีสรรพสามิตของน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละประเภท
4. เงินที่เรียกเก็บเข้า/อุดหนุน จากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อรักษาเสถียรภาพของระดับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงภายในประเทศ
5. เงินที่เรียกเก็บเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
6. ภาษีมูลค่าเพิ่มของราคาขายส่ง
7. ค่าการตลาด คือ ผลตอบแทนที่ให้ผู้ค้าน้ำมัน(ปั๊มน้ำมัน)
8. ภาษีมูลค่าเพิ่มของค่าการตลาด คิดเป็น 7% ของค่าการตลาด
ในช่วงที่ผ่านมาราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นธุรกิจ "โรงกลั่นน้ำมัน" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างราคาน้ำมันไทยถูกพาดพิงว่าเป็นสาเหตุหนึ่งมีทำให้ราคาน้ำมันของไทยแพงเพราะมีการคิดค่าการกลั่นน้ำมันที่สูงขึ้นมาก โดยต้นเดือน มิ.ย. 2565 สหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย ได้ยื่นถึงกระทรวงพาณิชย์ เพื่อขอพิจารณาทบทวนค่าการกลั่นน้ำมัน
พร้อมให้ข้อมูลว่าของกลุ่มโรงกลั่นที่ปรับขึ้นค่าการกลั่น (GRM) เพิ่มต่อเนื่อง โดยในเดือนม. ค.2565 อยู่ที่ 1.35 บาท/ลิตร และในเดือน เม.ย. 2565 ปรับขึ้นมาอยู่ที่ 5.15 บาท/ลิตรในเดือนเม.ย. และเป็น 5.82 บาท/ลิตรในเดือนพ.ค. ถือเป็นหารฉวยโอกาสและทำให้ราคาน้ำมันปรับสูงขึ้น ทั้งที่รัฐบาลได้ปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันลง เพื่อช่วยลดโครงสร้างต้นทุนราคาน้ำมัน แบ่งเบาภาระค่าครองชีพให้ประชาชน
ค่าการกลั่น คือ ส่วนต่างของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่กลั่นได้ทุกชนิดเมื่อนำมาลบกับราคาต้นทุนน้ำมันดิบที่ซื้อมา ด้วยเหตุนี้ค่าการกลั่นจะได้มากก็ต่อเมื่อราคาน้ำมันดิบไม่สูงมาก และน้ำมันที่กลั่นออกมาสามารถขายได้ในราคาสูงซึ่งเป็นไปได้ยาก เนื่องจากระบบตลาดเสรีมีกลไกด้านราคาเป็นเครื่องมือสำคัญในการแข่งขัน ซึ่งค่าการกลั่นของโรงกลั่นในประเทศไทยจะสอดคล้องกับค่าการกลั่นของโรงกลั่นอื่นๆ ทั่วโลก และอาจมีความผันผวนไปตามวัฏจักรของตลาดโลกได้เช่นกัน
สำหรับ ค่าการกลั่นเป็นเพียงส่วนต่างของราคาสินค้าและวัตถุดิบ ยังไม่ใช่กำไรสุทธิของธุรกิจ เนื่องจากการลงทุนสร้างโรงกลั่นต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมหาศาล ดังนั้นค่าการกลั่นจึงเป็นกำไรขั้นต้นของโรงกลั่นน้ำมัน ซึ่งยังไม่ได้หักต้นทุนอื่นๆ ทั้ง ต้นทุนดอกเบี้ยเงินกู้, ค่าเสื่อมสภาพของอุปกรณ์กับโรงงาน, การบริหารจัดการ การจ้างพนักงาน ค่าดำเนินการต่างๆ ค่าน้ำไฟ ฯลฯ ซึ่งจะต้องนำมาคิดรวมด้วย
ช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเฉลี่ย 2-2.50 บาท/ลิตร
สนพ. อธิบายว่า ค่าการกลั่นน้ำมัน สูงขึ้นนี้ก็เป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าการกลั่นในตลาดโลก เริ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังจากเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวจากวิกฤตโควิดและปัญหาความไม่สงบระหว่างรัสเซีย - ยูเครน โดยในสถานการณ์ปัจจุบัน ค่าการกลั่นที่เพิ่มสูงขึ้น
เนื่องจากส่วนต่างราคาน้ำมันสำเร็จรูปและน้ำมันอ้างอิงของทุกผลิตภัณฑ์ปรับสูงขึ้นจากความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นหลังจากที่หลายประเทศทั่วโลกผ่อนคลายมาตรการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อ COVID -19 และความตึงเครียดทางการเมืองจากสงครามระหว่างประเทศรัสเซียและประเทศยูเครนซึ่งนำไปสู่การที่หลายประเทศคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อประเทศรัสเซีย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและน้ำมันดิบรายใหญ่ของโลกทำให้อุปทานในตลาดตึงตัว ประกอบกับประเทศจีนมีการลดการส่งออกเพื่อสำรองไว้ใช้ในประเทศ ค่าการกลั่นที่สูงขึ้นนี้ เกิดขึ้นทั่วโลก
ปัจจุบันประเทศไทยมีธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันรายใหญ่ 7 แห่ง มีกำลังกลั่นน้ำมันรวม 1,245,000 บาร์เรลต่อวัน
มีกำไร ปี 2564 รวมกันเกือบ 1 แสนล้านบาท ได้แก่
จากข้อมูล 'ค่าการกลั่น' ของ สนพ. จะเห็นได้ว่าตัวเลขล่าสุดเดือน มิ.ย. ปีนี้ขยับขึ้นมาแรงใกล้แตะๆ 6 บาท/ลิตร ขยับขึ้นจากค่าเฉลี่ยช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ที่ผ่านเคยอยู่ที่ 2-2.50 บาท/ลิตร พุ่งขึ้นเไปกือบ 300% แล้ว ทำให้ธุรกิจโรงกลั่นรายใหญ่ในไทยที่มีเจ้าใหญ่อย่างเครือ ปตท.ที่เป็นเจ้าของถึง 3 โรงกลั่นจากทั้งหมด 7 โรงกลั่น แต่มีกำลังการผลิตน้ำมันในเครือของกลุ่ม ปตท. ที่เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจมีรัฐบาลถือหุ้นใหญ่อยู่ โดยทั้ง 3 โรงกลั่นมีกำลังการกลั่นรวมทั้งสิ้น 770,000 บาร์เรล/วัน เรียกได้ว่ามีสัดส่วนกำลังผลิตสูงสุดมากกว่า 70% ของกำลังน้ำมันทั้งประเทศไทย
ดังนั้นรัฐบาลจึงจำเป็นต้องออกมาขยับ โดยการออกมาตรการใหม่ล่าสุด คือ ขอความร่วมมือกับกลุ่มโรงกลั่นน้ำมันให้แบ่งกำไรบางส่วนจากการกลั่นน้ำมันเข้าสู่กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ทั้งดีเซลกับเบนซิน ในส่วนของน้ำมันเบนซินจะช่วยให้ราคาลดทันทีลิตรละ 1 บาทจากราคาปัจจุบัน เพื่อบรรเทาผลกระทบความเดือนร้อนกับใช้น้ำมันเบนซินที่ราคาขึ้นมาแบบไร้ดานโดยตลอด แต่ยังไม่มีมาตรการออกดูแลราคาเหมือนกับกลุ่มน้ำมันดีเซลกับก๊าซหุงที่รัฐบาลมีกลไกควบคุมราคาไว้บ้าง
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
1.รัฐบาลมีมตินำกำไรค่าการกลั่นมาลดราคาน้ำมัน คาดเบนซินลงได้ทันที 1บาท
2.ธุรกิจโรงกลั่นยังรุ่ง SCB ปล่อยกู้ ไทยออยล์ 7 พันล้านบาท ลุยเพิ่มกำลังผลิตน้ำมัน