ซึ่งการพลิกโฉมองค์กรเป็น “Digital-First Company” ตัวองค์กรธุรกิจต้องสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงและลดต้นทุนการบริหารงาน รวมถึงรองรับเทรนด์การทำธุรกิจในรูปแบบใหม่บนโลกออนไลน์ ที่กำลังกลายเป็นช่องหลัก ทั้งในการขายและการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายที่มีอำนาจการซื้อสูงสุดอย่างGen M (Millennials) และ Gen Z (Zoomers) เพื่อสร้างโอกาสเติบโตทางธุรกิจอย่างมั่นคงในระยะยาว
Digital-First Company กุญแจไขสู่ความสำเร็จขององค์กรยุคใหม่
นิยามของ Digital-First Company คือ การคิดใหม่ในทุกแง่มุมของการทำธุรกิจ ครอบคลุมตั้งแต่การใช้เทคโนโลยี กระบวนการดำเนินงาน จนถึงโครงสร้างขององค์กร อย่างไรก็ตามการคิดใหม่นี้มิได้หมายถึงความเปลี่ยนแปลงเสมอไป แต่เป็นการปรับตัวและเลือกใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงหรือวิกฤตต่าง ๆ และสามารถสร้างโอกาสการเติบโตทางธุรกิจ โดย Digital-First Company จะทำให้องค์กรมีความยืดหยุ่น พร้อมปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ สอดรับบริบทของการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจ
ปัจจัยสนับสนุน ให้เป็น Digital-First Company
Digital-First Strategy - การหา Business Model ที่สามารถสร้างการเติบโตแบบก้าวกระโดดให้กับธุรกิจ ด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์และบริการในรูปแบบดิจิทัล
Digital-First People - การสร้างทัศนคติ Digital Native Business ให้พนักงาน โดยผู้บริหารจะเป็นผู้กำหนดเป้าหมาย และสร้างแรงกระตุ้นให้พนักงานปรับทัศนคติและยอมรับกระบวนการทำงานรูปแบบดิจิทัล รวมถึงกำหนดเครื่องมือ RWA (Ready, Willing, and Able) ซึ่งเป็นการประเมินความพร้อมและความสามารถในการปรับตัว ผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย และแนวทางการพัฒนา Digital Culture ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละหน่วยธุรกิจ
Partnership API & Ecosystem Management : เป็นการเชื่อมต่อระบบขององค์กรกับพันธมิตรทางธุรกิจด้วยเทคโนโลยี Application Program Interface - API และการบริหารจัดการอีโคซิสเต็มร่วมกัน เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นให้ลูกค้า และยกระดับมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับองค์กรด้วย โดยหลักสำคัญที่จะทำให้ Partnership API & Ecosystem Management นั้นประสบความสำเร็จ ต้องเริ่มตั้งแต่การวางแผนบริหารจัดการผลตอบแทนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) การเชื่อมต่อที่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน การเลือกใช้เทคโนโลยีและเครื่องมืออย่างเหมาะสม และการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์
Digital Workforce Management :การใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลให้องค์กรสามารถขับเคลื่อนและเติบโตได้อย่างมีเสถียรภาพ สอดรับกับการทำงานรูปแบบใหม่ เช่น Hybrid Working และ Remote Working รวมถึงรองรับการทำงานระหว่างทีมงานภายในและภายนอกองค์กร (Outsource)
Cybersecurity & Digital Trust : ระบบหรือซอฟต์แวร์ที่มีเสถียรภาพและมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจยุคดิจิทัล เพราะความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และเสถียรภาพของระบบหรือแอปพลิเคชันมีผลต่อความเชื่อมั่นของลูกค้าที่มีต่อองค์กรและแบรนด์สินค้า ดังนั้น Digital Trust จึงเป็นส่วนสำคัญของการปรับเปลี่ยนองค์กรเป็น Digital-Frist Company