Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
แนะทางรอดสงครามการค้า ผู้ประกอบการไทยปรับตัวครั้งใหญ่ หาตลาดใหม่
โดย : กองบรรณาธิการ SPOTLIGHT

แนะทางรอดสงครามการค้า ผู้ประกอบการไทยปรับตัวครั้งใหญ่ หาตลาดใหม่

13 ก.พ. 68
19:17 น.
|
196
แชร์

หัวข้อทางเศรษฐกิจที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในช่วงเวลานี้คงหนีไม่พ้นประเด็น “สงครามการค้า”จากการกลับมาของประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์

คำถามสำหรับประเทศไทยคือเราจะอยู่รอดได้อย่างไรในยุคการค้า ปั่นป่วน และโลกถูกแบ่งเป็น 2 ขั้วคือขั้วจีนและขั้วอเมริกา ?

SPOTLIGHT  ได้คำตอบจาก ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยหรือ EXIM BANK ว่า สงครามการค้าในยุคทรัมป์ 2.0 ไม่ได้มีแต่ผลกระทบเชิงลบเท่านั้น เพราะอีกด้านยังมีโอกาสสำหรับธุรกิจไทย ส่วนในภาพใหญ่ประเทศไทยคงต้องดำเนินนโยบายรัฐศาสตร์การทูตไม่เลือกข้างจีนหรือสหรัฐอย่างชัดเจนเกินไป

‘ เราคาดว่าผลกระทบจากนโยบายทรัมป์  2.0 กับประเทศไทย จะเห็นชัดเจนในช่วงไตรมาสที่สองเป็นต้นไป แต่ในระยะแรกการส่งออกของไทยยังได้อานิสงส์จากการเร่งนำเข้าสินค้าของประเทศต่างๆทั่วโลกและเป็นโอกาสของสินค้าไทยที่จะทดแทนสินค้าจีน’ 

 ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยหรือ EXIM BANK

ผลของสงครามการค้าต่อไทย ทั้งด้านบวกและลบ

ผลกระทบด้านลบ

ดร.รักษ์  มองถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นผู้ประกอบการไทยจะต้องเจอความผันผวนของค่าเงินบาทในปีนี้ รวมถึงภาวะการค้าโลกที่อาจหดตัวลง มองว่าการส่งออกของไทยปี 2568 จะขยายตัวได้ประมาณ 3% ซึ่งน้อยกว่าในปี 2567 ที่ขยายตัว 5.7 ถึง 5.8%

นอกเหนือจากเงินบาทผันผวน และมูลค่าการค้าหดตัวลงแล้ว ปัจจัยเสี่ยงที่ผู้ประกอบการไทยจะต้องจับตา คือสินค้าไทยอาจโดนมาตรการจากสหรัฐโดยเฉพาะการถูกเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าที่เกินดุลกับสหรัฐฯสูง เช่น คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ โทรศัพท์ เครื่องจักร หรือไทยอาจถูกบังคับให้นำเข้าสินค้าจากสหรัฐเพิ่ม เช่น สินค้าเกษตร น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ 

นอกจากนี้สินค้าไทยที่อยู่ในซัพพลายเชนจีนจะได้รับผลกระทบ อาทิ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ เคมีภัณฑ์ ยางพารา และแน่นอนสิ่งที่ผู้ประกอบการไทยกลัวคือการแข่งขันกับสินค้าจีนที่ถูกกว่าและพร้อมจะไหลทะลักเข้าสู่ไทยและตลาดโลก ทั้งสินค้าอุปโภคบริโภคเครื่องใช้ไฟฟ้า เหล็ก อะลูมิเนียม เคมีภัณฑ์ รวมไปถึงผู้ประกอบการต้องเจอความผันผวนด้านต้นทุนจากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์อีกด้วย

อานิสงส์ด้านบวก

การส่งออกของไทยช่วงปลายปี 2567 มีการเร่งตัวขึ้น ส่วนหนึ่งได้ปัจจัยบวกจากเหตุการณ์สงครามการค้าเพราะทั่วโลกเร่งนำเข้าก่อนเจอภาษีสหรัฐฯ ตลาดส่งออกในเอเชียปรับตัวสูงขึ้น สินค้าไทยทดแทนสินค้าจีนในสหรัฐฯเช่น คอมพิวเตอร์  ชิ้นส่วนยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องปรับอากาศ เฟอร์นิเจอร์ แผงโซล่า  โดยสินค้าไทยที่ยังเป็นที่ต้องการของตลาด เช่น สินค้าเกษตรและอาหาร รวมไปถึงสินค้ากลุ่ม Lifestyle 

นอกจากนี้สงครามการค้ายังส่งผลให้เกิดการย้ายฐานการผลิตซึ่งประเทศไทยมีโอกาสที่จะดึงดูดการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ Digital เช่น ดาต้าเซ็นเตอร์ คลาวด์ อิเล็กทรอนิกส์ และ EV 

แนะทางรอดของผู้ประกอบการไทย ยุคทรัมป์ 2.0

สำหรับทางรอดของผู้ประกอบการไทย คือการมองหาตลาดที่ขยายตัวได้ดี ไม่ผูกติดกับจีนหรือสหรัฐฯมากเกินไป เช่นตลาดอินเดีย อาเซียน และตะวันออกกลาง โดยเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ยังขยายตัวได้ดี 

รวมไปถึงประเทศไทยจะได้รับอานิสงส์จากข้อตกลงการค้าเสรีเอฟต้า (EFTA) ที่จะมีผลบังคับใช้ระหว่างไทยกับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป เป็นข้อตกลงเอฟทีเอฉบับแรกระหว่างไทยกับประเทศในยุโรป (สวิตเซอร์แลนด์,นอร์เวย์,ไอซ์แลนด์, ลิกเเตนสไตล์ 

ดร.รักษ์ ยังย้ำว่า สถานการณ์นี้จึงมีทั้งความเสี่ยงผลกระทบแต่ก็มีโอกาสอยู่ในเวลาเดียวกัน หากจะสู้กับสินค้าจีนผู้ประกอบการไทยคงไม่สามารถสู้เรื่องราคาได้เพราะต้นทุนสินค้าจีนถูกกว่าไทยมาก ดังนั้นจึงมีข้อเสนอว่า ทำอย่างไรที่จะให้สินค้าไทยเข้าไปอยู่ในซัพพลายเชนของผู้ประกอบการจีนให้ได้   

 ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยหรือ EXIM BANK

EXIM BANK ตั้งเป้า Green Development Bank

นอกจากปัญหาความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยแล้วสถานการณ์เรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพพูมิอากาศทำให้การดำเนินธุรกิจในรูปแบบความยั่งยืนหรือ sustainability  เป็นสิ่งที่ EXIM BANK ให้ความสำคัญ โดยพบว่าโลกและไทยยังต้องการ Climate finance  อีกจำนวนมาก ในปี 2566 อยู่ที่ราว 1.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ยังต่ำกว่าความต้องการที่ประเมินว่าจะสูงถึงราว 7.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ในช่วงปี 2567 ถึง 2573 เท่ากับโลกมีความต้องการ climate finance เพิ่มขึ้นราว 5 เท่า

บทบาทของ EXIM BANK จึงให้การสนับสนุน climate finance ของไทยต่อยอดความเชี่ยวชาญใน Green Development Bank เพื่อเปลี่ยนผ่านธุรกิจของไทยไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำส่งผลให้ portfolio ที่สนับสนุนธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและการกำกับดูแลกิจการที่ดี  (ESG) เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจนแตะระดับ 40% ของ portfolio ทั้งหมดและมีเป้าหมายเพิ่มขึ้นเป็น 50% ภายในปี 2570 อีกด้วย

แชร์
แนะทางรอดสงครามการค้า ผู้ประกอบการไทยปรับตัวครั้งใหญ่ หาตลาดใหม่