Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
รู้จักรถไฟความเร็วสูงสายแรกของไทยเชื่อมไปจีนคาดเปิด ปี 74 ไม่นานเกินรอ
โดย : พลวัฒน์ รินทะมาตย์

รู้จักรถไฟความเร็วสูงสายแรกของไทยเชื่อมไปจีนคาดเปิด ปี 74 ไม่นานเกินรอ

17 ก.พ. 68
18:10 น.
|
1.4K
แชร์

ประเทศไทยกำลังก้าวสู่ยุคใหม่ของระบบคมนาคมด้วยโครงการรถไฟความเร็วสูงสายแรกของประเทศ ภายหลังการประชุม ครม. วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 มีมติอนุมัติโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง ระยะที่ 2 นครราชสีมา – หนองคาย ระยะทาง 356 กิโลเมตร มูลค่า 3.4 แสนล้านาท ซึ่งเป็นเส้นทางต่อจากระยะที่ 1 ระหว่างกรุงเทพฯ – นครราชสีมา โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและจีน เพื่อพัฒนาเครือข่ายรถไฟที่เชื่อมโยงไทยกับประเทศลาวและจีน โดยคาดว่าการเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปหนองคายจะลดลงเหลือเพียง 3 ชั่วโมง 30 นาที จากเดิมที่ใช้เวลาถึง 10-11 ชั่วโมง และคาดว่าจะเปิดใช้บริการได้ตลอดสายในปี 2574 หรืออีก 7 ปีข้างหน้า

SPOTLIGHT รวบรวมและสรุปรายละเอียดที่สำคัญของรถไฟความเร็วสูงสายแรกของไทยดังนี้ 

รายละเอียดโครงการ

1. ระยะที่ 1: กรุงเทพฯ – นครราชสีมา

  • ระยะทาง: 250.77 กิโลเมตร
  • จำนวนสถานี: 6 สถานี ได้แก่ สถานีกลางบางซื่อ, สถานีดอนเมือง, สถานีอยุธยา, สถานีสระบุรี, สถานีปากช่อง และสถานีนครราชสีมา
  • งบประมาณ: 179,412.21 ล้านบาท
  • การก่อสร้าง: แบ่งออกเป็น 14 สัญญา โดยมีบริษัทรับเหมาก่อสร้างหลายแห่ง ได้แก่บริษัท อิตาเลียนไทยดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)บริษัท ซีวิลเอ็นจีเนียริง จำกัดกิจการร่วมค้า ITD - CREC No.10บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน)บริษัท ไทยเอ็นยิเนียร์และอุตสาหกรรม จำกัดกิจการร่วมค้า SPTKบริษัท ยูนิคเอ็นจิเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)กิจการร่วมค้า CAN
  • สถานะโครงการ: เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ 21 ธันวาคม 2560 และคาดว่าเปิดให้บริการในปี 2570

2. ระยะที่ 2: นครราชสีมา – หนองคาย

  • ระยะทาง: 357.12 กิโลเมตร
  • จำนวนสถานี: 5 สถานี ได้แก่ สถานีนครราชสีมา, สถานีบัวใหญ่, สถานีบ้านไผ่, สถานีอุดรธานี และสถานีหนองคาย
  • งบประมาณ: ประมาณ 341,000 ล้านบาท
  • แผนการดำเนินการ: ครม. อนุมัติการดำเนินโครงการในเดือนมกราคม 2568 คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปลายปี 2568 และเปิดให้บริการปลายปี 2574

ประโยชน์ของโครงการ

  • ลดระยะเวลาการเดินทาง: จากกรุงเทพฯ ไปหนองคายเหลือเพียง 3 ชั่วโมง 30 นาที
  • เชื่อมโยงเศรษฐกิจไทย-ลาว-จีน: เป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟความเร็วสูงจีน-ลาว ที่สามารถเดินทางไปถึงนครคุนหมิง ประเทศจีน
  • กระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว: เพิ่มโอกาสการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยวในภาคอีสาน
  • ส่งเสริมระบบขนส่งมวลชนที่ทันสมัย: ลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงจากรถยนต์และเพิ่มทางเลือกในการเดินทางที่รวดเร็วและสะดวก

โครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ – หนองคาย ถือเป็นก้าวสำคัญของประเทศไทยในการพัฒนาระบบคมนาคมให้ทัดเทียมนานาชาติ ไม่เพียงแต่ช่วยลดเวลาการเดินทางและเพิ่มความสะดวกสบายให้กับประชาชน แต่ยังส่งเสริมเศรษฐกิจระดับภูมิภาค และเชื่อมโยงประเทศไทยเข้าสู่เครือข่ายโลจิสติกส์ระหว่างประเทศในอนาคต หากโครงการแล้วเสร็จตามแผน จะเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่ออนาคตของประเทศ

ที่มา : กรมขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม , การรถไฟแห่งประเทศไทย


แชร์
รู้จักรถไฟความเร็วสูงสายแรกของไทยเชื่อมไปจีนคาดเปิด ปี 74 ไม่นานเกินรอ