Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
‘ดร.กอบศักดิ์’ มองภาพเศรษฐกิจไทยไม่น่ากังวลใจ จับตาสงครามและวิกฤตในจีน
โดย : อมรินทร์ทีวีออนไลน์

‘ดร.กอบศักดิ์’ มองภาพเศรษฐกิจไทยไม่น่ากังวลใจ จับตาสงครามและวิกฤตในจีน

3 พ.ย. 67
12:59 น.
|
560
แชร์

Highlight

ไฮไลต์

 

 

 

เศรษฐกิจไทยโดยรวมไม่กังวลใจ แม่จะมีปัญหาหนี้ครัวเรือน แต่โดยภาพรวมแล้วยังไปได้ เพราะเครื่องยนต์ต่างๆ กำลังทำงาน ทั้งการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชน การท่องเที่ยวกลับมาปีนี้น่าจะ 36 ล้านคน ส่งออกของไทยจะเริ่มดีขึ้นตามเศรษฐกิจโลกที่กำลังฟื้นตัว จากนโยบายดอกเบี้ยต่ำทั่วโลก มองเศรษฐกิจโลกต้องเผชิญกับ 4 ความท้าทาย ทั้งเรื่องฟองสบู่ราคาสินทรัพย์ สภาพคล่องทั่วโลกที่มีอยู่จำนวนมาก ความผันผวนของตลาดการเงินโลก ทั้งค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ค่าเงินเยน รวมถึง ค่าเงินบาทของไทย และวิกฤตอสังหาฯ ในจีนที่สะสมมากว่า 20 ปี 

จับตาการเปลี่ยนผ่านสำคัญของโลก ที่เรียกว่า The Great Disruption ส่งผลให้เกิด The Great Transition ได้แก่ Technology Disruption, Global Boiling, Asian Century และ Geopolitics แนะนักลงทุนยิ่งมีวิกฤตมาก ก็ยิ่งมีโอกาสมาก ทุกครั้งที่มีวิกฤต คือ โอกาสการลงทุน มองตลาดอินเดียเป็นตลาดที่น่าสนใจ

‘ดร.กอบศักดิ์’ มองภาพเศรษฐกิจไทยภาพรวมไม่น่ากังวลใจ จับตาสงคราม และวิกฤตในจีน

img_5971

“  ยิ่งมีวิกฤตมาก ยิ่งมีโอกาสมาก ความผันผวน คือ โอกาสที่ยิ่งใหญ่ของการลงทุน เศรษฐกิจไทยไม่น่ากังวล ทั้งภาคการผลิต ภาคอุตสาหกรรมพ้นจุดต่ำสุดแล้ว นำสู่การฟื้นตัว ส่งออกมีแนวโน้มดีขึ้น ได้รับผลดีจากดอกเบี้ยลด ภาคการท่องเที่ยวดี ทั้งปีคาดตัวเลขนักท่องเที่ยวที่ 36 ล้านคน ภาครัฐเข้ามากระตุ้น ดอกเบี้ยก็ลดลงมาแล้ว คาดปี 68 เศรษฐกิจโตได้ 3.0% บวก” ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวหัวข้อ “ท้าทายวิกฤต เผชิญโอกาส : มองเศรษฐกิจไทย-โลกปี 2025 ในงาน BetterTrade2024 “The Next Wealth Oppertunities” มองอนาคต จับโอกาส สร้างความมั่งคั่ง จัดโดยสำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย 

kobfb

[เศรษฐกิจไทยไม่น่ากังวลใจ]

สำหรับเศรษฐกิจไทย โดยรวมไม่กังวลใจ เพราะส่งออกดีขึ้น การลงทุนไปได้ดี การบริโภคทรง ๆ นักท่องเที่ยวกลับมา การผลิต PMI ลงมาบ้าง แต่โดยรวมดูแล้วน่าจะไปได้ โดยส่งออก เติบโตประมาณ 1% อาจจะมาช้าเพราะต้องรอโลกฟื้น 

การท่องเที่ยวไทยในปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ 36 ล้านคน ซึ่งตัวเลขนักท่องเที่ยวช่วงปลาย ต.ค.นี้ มีนักท่องเที่ยวเข้ามาแล้ว 29 ล้านคน หรือประมาณ 1 แสนคน/วัน และในเดือน พ.ย.ที่น่าจะเป็นไฮซีซัน คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวกว่า 3 ล้านคน และเดือน ธ.ค.กว่า 4 ล้านคน ลงทุนต่างประเทศก็ดีสุดในรอบ 10 ปี รวมถึง ภาครัฐกระตุ้นการบริโภค ผ่านโครงการแจกเงิน 10,000 บาท

“เครื่องยนต์ต่าง ๆ กำลังทำงาน เลยไม่กังวลใจ แม้จะมีปัญหาหนี้ครัวเรือน แค่ภาพรวมไปได้ ดูจากบริษัทใหญ่ ๆ ในไทย เติบโตราว 15% เมื่อแบงก์ไปได้ ธุรกิจไปได้ เศรษฐกิจก็ไปได้” ดร.กอบศักดิ์กล่าว

โดยนโยบายดอกเบี้ย แม้จะงัดข้อกันมานาน แต่วันนี้ลดลงมาแล้ว แต่แบงก์ชาติอยากลงไปอยู่ในระดับ Neutral Zone และถ้าจำเป็นก็ลดลงได้อีก ซึ่งเทรนด์การลดดอกเบี้ยโลก IMF คาดการณ์เฟดลดดอกเบี้ยทั่วโลก สหรัฐ ยุโรป ละตินอเมริกา และเอเซีย และคาดเฟดปรับลดดอกเบี้ยในเดือนพ.ย.นี้อีก 0.25% ประเทศไทยก็จะได้รับอานิสงค์จากการเปลี่ยนเแปลงนี้ และคาดการณ์ปีหน้าเศรษฐกิจปีหน้าได้กว่า 3% 

[จุดเริ่มต้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก]

เห็นได้จากแนวโน้มดอกเบี้ยที่ปรับลดลงพร้อมกันทั่วโลก ซึ่งเป็นผลมาจากการจ้างงานของสหรัฐออกมาโอเค เงินเฟ้อลดลง เกิดการลดดอกเบี้ยของหลายประเทศทั่วโลก เช่น ECB แคนาดา สหรัฐ สวิตเซอร์แลนด์ ฯลฯ กระบวนการลดดอกเบี้ยเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ชัดขึ้นเรื่อย ๆ ว่า หลังจากลด 0.5% ก็จะทยอยลดต่อตามข้อมูลเศรษฐกิจ

อัตราดอกเบี้ยโลกก็ยังอยู่ในระดับสูง เช่น สหรัฐ ครั้งนี้ตลาดก็คาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ(Fed) จะลดดอกเบี้ยวันที่ 7 พ.ย. 2567 อีก จากตัวเลข Nonfarm Payroll ของสหรัฐ ออกมาที่ 12,000 ราย

สำหรับเทรนด์การลดดอกเบี้ยโลกไม่ได้เกิดขึ้นที่ใดที่หนึ่ง แต่เกิดขึ้นทุกที่ เพราะฉะนั้นเวลาลดดอกเบี้ยจะส่งผลให้เศรษฐกิจฟื้นตัว เพราะมีไม่กี่ครั้งที่เศรษฐกิจจะฟื้นตัวพร้อมกัน เหยียบคันเร่งพร้อม ๆ กัน ประเทศไทยเล็ก ๆ ก็จะได้อานิสงส์จากการเปลี่ยนแปลงลักษณะนี้

เมื่อดูตัวเลข PMI ของสหรัฐ ตอนนี้พ้นจากจุดต่ำสุดหมดแล้ว และเมื่อลดดอกเบี้ย จะนำไปสู่การฟื้นตัวของธุรกิจอย่างแท้จริง ธุรกิจจะทยอยลงทุนตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เริ่มรีสต็อกสินค้าอีกครั้งหนึ่ง ส่งผลบวกต่อการส่งออก แต่ระหว่างนี้ แน่นอนว่าจะมีดีบ้างไม่ดีบ้าง 3 วันดี 4 วันไข้ แต่ในอีก 1-2 เดือนข้างหน้า สิ่งต่างๆ ก็จะคลี่คลายออกมา เมื่อการลดดอกเบี้ยเริ่มต้น จะส่งผลต่อการฟื้นตัวของภาคการส่งออกต่อไป

“ภาคการผลิต ภาคอุตสาหกรรม พ้นจุดต่ำสุดแล้ว นำไปสู่การฟื้นตัวอย่างแท้จริง มองไปข้างหน้าว่าจะฟื้นหรือไม่ฟื้น ทำไมเราเห็นหลายๆ แห่งเริ่มสต็อกสินค้าอีกครั้ง ช่วงนี้ 3 วันดี 4 วันไข้ จะมีดีบ้างไม่ดีบ้าง เทรนด์ลดดอกเบี้ยจะกระตุ้นทุกอย่าง ส่งออกดีและชะลอไปบ้าง นำนำไปสู่การฟื้นตัวของการส่งออก” ดร.กอบศักดิ์กล่าว

[ความท้าทายช่วงการฟื้นตัวของโลก]

  • Asset Price Inflation : ฟองสบู่ของราคาสินทรัพย์ - ทุกครั้งของการลดดอกเบี้ยจะมีการรีบาวน์ NVDIA Meta Google ตอนโควิดตกลง แต่ตอนนี้นิวไฮ ขณะที่ราคาทองคำ ปรับมาอยู่ที่ระดับ  2,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อออนซ์ ก็ดีใจแล้ว แต่ขณะนี้มองกันที่ 2,800 ขณะนี้ทองคำขึ้น เพราะมีสงคราม ถือเป็นความผันผวน และตรึงเครียด

นี่อยู่ช่วงสงครามอย่างแท้จริง มันมีสงครามรออยู่ข้างหน้ากังวลใจ นอกจากนี้ อยากให้จับตา ประเทศจีน เคยซื้อพันธบัตรสหรัฐฯ หายไปครึ่งหนึ่งไปซื้อทอง เอาสินทรัพย์ไปอยู่สินทรัพย์ที่ปลอดภัย รวมถึง สภาพคล่องที่ขับเคลื่อนทำให้มีเงินมาวิ่งไล่สินทรัพย์ต่างๆ รอดูต่อไป 

อย่างไรก็ตาม วันที่สำคัญ คือ 5 พ.ย.ที่เป็นวันเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ และอีกสินทรัพย์หนึ่งที่กลับมา คือ Bitcion วันนี้ก็กลับมา 7 หมื่นดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่ง ได้รับอานิสงส์จากสภาพคล่องเป็นสินทรัพย์ตัวใหม่ มีทั้งดีและไม่ดี ขณะนี้เหลือเพียงบิตคอยน์ ฮีทอเรียม กำลังสร้างฐานใหม่

  • Quantitative Tightening in US : ลดดอกเบี้ยแต่สภาพคล่องยังผันผวน นี่คือ สภาพคล่องที่สหรัฐฯ ปล่อย ตอนนี้ 7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ควรที่ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น มีสภาพคล่องเหลือเต็มไปหมด เกิดปัญหาเรื่องฟองสบู่ของสินทรัพย์
  • Global Volatilities.- USD Index - ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่า และปรับตัวแข็งไป 4% เงินเยน Nikkei มึใครบอกเรื่อง recession ไม่ต้องกลัว ลดดอกเบี้ยจะแก้ปัญหาได้ ความผันผวนของค่าเงินทุกสกุล รวมถึง ค่าเงินบาทไทย เคยไป 32 บาท ก็ปรับตัวอ่อนค่าลง 2 เดือนที่แล้วคนไม่แน่ใจเฟดจะตัดสินใจอย่างไร พอรู้แล้วว่าเฟดตัดสินใจ ผันผวนบวกลบเล็กน้อย
  • วิกฤตอสังหาฯ จีน : สะสมปัญหามา 20 ปี : ได้ดำเนินการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ Evergrande อันดับ 3 วันนี้อสังหาฯ จีน เกือบทุกบริษัทล้มหมดแล้ว Cuntrey Garden เบอร์ 1 หุ้น 17 เหลือ 0.4 หุ้นกู้ 103-107 มูลค่าซื้อขายเหลือที่ 7 ที่หุ้นกุ้ครบกำหนด 1 ปีให้หลัง ศก.จีน ขณะนี้โต 4.6% และจะลดลงเรื่อยๆ รัฐบาลจีนออกมาตรการกระตุ้นมาเรื่อยๆ ทุกครั้งที่มีวิกฤตต้องมี Tuning Point 

“ปัญหาของจีน หุ้นวิ่งขึ้นไปหลังมีมาตรการออกมา คนเป็นมะเร็งแต่ให้กินยากระตุ้นให้คึกคักไม่หาย นั่นหมายถึง ปัญหาจีนยังมีเอ็นพีแอลอยู่ ซึ่งยังไม่ยอมเอาเข้าระบบ เข้าคลัง และแบงก์ชาติ ถ้าเอาเข้าระบบแล้ว ต้องรอดูว่าเขาตัดสินใจจะรับเอ็นพีแอลเข้าระบบหรือไม่ ในความเป็นจริงรัฐบาลกลางจะรับปัญหาเข้ามาแก้หรือไม่”

ราคาบ้านอสังหาฯ ปรับลดลง เศรษฐกิจจีนไ รอดูภายใน 1 ปีข้างหน้าไปอย่างไร หากไม่รับเอ็นพีแอล จะส่งผลให้เศรษฐกิจโตต่อไปไม่ได้ เนื่องจากหนี้ในระบบ จีนถ้าดีทำไม นำเข้าโตแค่ 3% ประเทศไม่มีกำลังจะซื้อของเข้าประเทศ เมืองจีนยังต้องใช้เวลา ดอกเบี้ยจีนทำ ปล่อยค่าเงินหยวนอ่อน อัดฉีด ถ้าไม่เอาเอ็นพีแอลออกไป ก็อยากจะกลับมาขยายตัวได้อย่างปกติได้

อินเดีย อีกประเทศที่น่าสนใจ เป้าหมายถัดไป คือ อินเดีย 

[การเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญของโลก]

หากมองไปข้างหน้า เกิดการเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญที่เรียกว่า The Great Disruption ส่งผลให้เกิด The Great Transition ได้แก่

  1. Technology Disruption
  2. Global Boiling
  3. Asian Century
  4. Geopolitics  

[2 ความเสี่ยงที่ต้องจับตา]

  1. เทคโนโลยี
  • Technological Adoption ภายใน 2 ปี จีนจะสร้างหุ่นยนต์จำนวนมากออกมา ในอนาคต พนักงานต้อนรับของธนาคารอาจจะเป็นหุ่นยนต์ก็ได้ มั่นใจเลยว่า โรงแรม หรือสถานที่ต่าง ๆ จะเป็นในลักษณะนี้
  • AI แม้จะเพิ่งเกิดขึ้นมา 2-3 ปี เหมือนสมัยก่อนที่มีไฟฟ้า ใครเอาไฟฟ้ามาใช้ได้เป็นคนชนะ เช่นเดียวกับตอนนี้ ใครเอา AI มาใช้ได้จะเป็นผู้ชนะ ทุกวันนี้สามารถเขียน Prompt ให้ AI ทำวีดีโอออกมาได้ดี จากเดิมต้องใช้เงินเป็นแสน โลกของเมตาเวิร์ส โลกของการทำแอนิเมชันต่าง ๆ ต้นทุนจะถูกลง ดังนั้น บริษัทที่ไม่เคยพูดเรื่องดิจิทัลเลย และอาจให้ความสำคัญน้อยลง และให้ความสำคัญกับบริษัทที่พูดเรื่องดิจิทัลมากขึ้น
  • Green โดยกำลังพูดถึง Scope 1-2 และใน 2 ปีข้างหน้า จะแรงขึ้นเรื่อย ๆ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับเกี่ยวกับคาร์บอนเครดิต จะเต็มไปหมด บังคับประเทศพัฒนาให้มาลดคาร์บอนลงมาให้ได้ ถ้าบริษัทไหนไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ธุรกิจจะได้รับผลกระทบทันที
  1. สงคราม
  • สงครามการค้า ไม่ว่า “ทรัมป์” หรือ “แฮร์ริส” ฝ่ายไหนชนะเลือกตั้ง ก็ต้องเกิดสงครามการค้า (Trade War) ซึ่งจะกระทบกับการต่อสู้เรื่องเศรษฐกิจ Technology Distraction และการแบ่งโลกตะวันออกกับตะวันตก ถ้าถามว่าโลกจะหน้าตาเป็นอย่างไร ก็เหมือนกับการใช้แอนดรอยด์กับ iOS โลกก็จะเป็นแบบนี้ 2 ระบบ คุยกันลำบาก ธุรกิจก็ต้องเตรียมการ จะทำธุรกิจอย่างไรกับ 2 ฝั่งให้ได้
  • สงครามจริง ไม่เคยมีช่วงไหนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีความเสี่ยงขนาดนี้ ย้อนกลับในช่วงโควิด-19 โลกเงียบ ๆ นิ่ง ๆ แต่ตอนนี้สงครามเต็มไปหมด เช่น ประเทศในยุโรปกำลังเตรียมการเรื่องสงครามรัสเซีย-ยูเครน  เป็นไปได้อย่างไรที่รัสเซียจะต้องเอาทหารเกาหลีเหนือเข้ามาช่วยรบ ไม่ใช่สงครามของ 2 ประเทศอีกต่อไป เช่นเดียวกับ จีน-ไต้หวัน ที่ “สี จิ้นผิง” กล่าวว่า ‘We have to prepare for war’ เป็นสาเหตุว่า ทำไมทองคำถึงปรับตัวขึ้นดีขนาดนี้

ถามว่า ทำไมเกาหลีเหนือต้องถล่มถนนของตัวเอง (ถนนเกาหลีใต้ไปเกาหลีเหนือ) เพราะกังวลว่าอีกข้างหนึ่งจะเดินทางมา หรือมีคำว่า world war 3 (WWIIl) อยู่ในอินเตอร์เน็ตเต็มไปหมด

‘เวลาเบอร์ 1 สู้กับเบอร์ 2 เวลาเปลี่ยนมือ เบอร์ 1 ไม่เคยยอม ประมาณ 80% จบด้วยสงคราม อยากให้เตรียมใจไว้ใน 5 ปีข้างหน้า เรื่องนี้จะแรงขึ้นเรื่อยๆ’

img_5981

[ความท้าทายของการลงทุน]

ยิ่งมีวิกฤตมาก ก็ยิ่งมีโอกาสมาก ทุกครั้งที่มีวิกฤตคือโอกาสการลงทุน เช่นเดียวกับตอนเกิดโควิด-19 ตอนที่ SET Index ตกลงถึง 1,200 จุด วันนี้กลับมา 1,400 จุดกว่า ๆ เป็นโอกาสการลงทุนที่เราต้องมองให้ทะลุ ว่าอะไรเป็นสินทรัพย์ของเรา

การลงทุนที่ดี คือ การมองไปในอนาคต มองเห็นว่าอะไรเป็นเทรนด์ใหม่ ๆ โอกาสอยู่ตรงไหน ไม่ต้องเทรดมากนัก แต่ต้องหาให้เจอว่าคืออะไร แต่ก่อนจะลงทุนก็ต้องมองอนาคตให้ออกก่อน

สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอีก 5 ปีข้างหน้า คือ Global Recovery แต่ก็ยังมีความเสี่ยงจากตลาดอสังหาริมทรัพย์จีน ความตึงเครียดของภูมิรัฐศาสตร์ จากการเลือกตั้งสหรัฐที่จะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่วันข้างหน้า เรื่องของสงครามการค้า สงครามเทคโนโลยี รวมถึงเรื่องของ Asset Bubbles ฯลฯ

‘ถ้ามันนิ่งๆ โอกาสลงทุนก็จะนิ่งๆ ตามไป แต่ถ้าผันผวน มันเป็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่ของการลงทุน’

[คลื่นการลงทุนมุ่งสู่อาเซียน]

ท่ามกลางปัญหาทั้งหมด สิ่งที่ดีที่สุด คือ เอเชียจะกลายเป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่โดดเด่น จากการเชื่อมโยงครั้งยิ่งใหญ่ที่กำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งในอดีตคือ ถนน รถไฟ ในพื้นที่เรา (เอเชีย) ก็เช่นเดียวกัน เห็นตัวอย่างได้จากสหรัฐในปี 1850-1890 นี่คือธีมใหญ่ของการเปลี่ยนแปลง Physical Connectivity เมื่อมีการเชื่อมโยงตะวันตกกับตะวันออกร่วมกันแล้ว นำมาถึงเรื่อง Industrialization ของอเมริกา

สิ่งที่เกิดขึ้นในสหรัฐตอนนั้น กำลังเกิดขึ้นขณะนี้ และกำลังเอาพลังที่ซ่อนอยู่ในจุดต่างๆ ออกมารวมกันเป็นกระแสน้ำใหญ่ ทำให้เอเชียโดดเด่นขึ้นมา พื้นที่รอบเรา 2,000 ไมล์ กำลังจะเป็นครึ่งหนึ่งของโลก ที่เป็นแหล่งซื้อที่ดีที่สุด

อะไร คือ สาเหตุ? ทำไมเวลาถามนักลงทุน อยากเข้ามาลงทุนที่เอเชีย เพราะเอเชียจะโต กลายเป็นศูนย์กลางใหม่ เขาไปรัสเซียไม่ได้แล้ว  ไปจีนก็กังวลใจ มีแต่ออก ไม่เข้า ไปอินเดียก็กังวลใจ เพราะผู้นำมีอิสรภาพ ไม่ค่อยฟังใคร ชอบไปจับมือกับจีน-รัสเซีย แล้วต้องไปที่ไหน? คำตอบคือ อาเซียน นี่คือโอกาสของไทย นี่คือสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น

แชร์
‘ดร.กอบศักดิ์’ มองภาพเศรษฐกิจไทยไม่น่ากังวลใจ จับตาสงครามและวิกฤตในจีน