Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
“เงินเฟ้อ” น่ากังวลแค่ไหน ?  ในมุมมองของแบงก์ชาติ
โดย : อมรินทร์ทีวีออนไลน์

“เงินเฟ้อ” น่ากังวลแค่ไหน ? ในมุมมองของแบงก์ชาติ

25 เม.ย. 65
14:42 น.
|
871
แชร์

100327

 

 

แบงก์ชาติ สรุปสถานการณ์ “เงินเฟ้อ” น่ากังวลแค่ไหน ?

 

จากราคาข้าวของสินค้าที่แพงขึ้นในปัจจุบันหรือในภาษาวิชาการเรียกว่า "เงินเฟ้อ" นั้น กำลังส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคนไทยอย่างหลีกหนีไม่ได้ โดยในเดือน มี.ค. 2565 เงินเฟ้อของไทยออกมาอยู่ที่ 5.73% ทำสถิติสูงสุดในรอบ 13 ปี เป็นผลกระทบจากกสงครามรัสเซียกับยูเครนทำให้ราคาน้ำมันกับข้าวของเครื่องใช้แพงขึ้นไปหมด ดังนั้นหมายความว่าแม้เราจะมีรายได้ที่เท่าเดิม แต่ในมุมกลับจากข้าวของที่ราคาแพงขึ้นจะทำให้เรามีเงินในกระเป๋าลดลง

ดังนั้นลองมาฟังมุมมองผู้คุมนโยบายการเงินอย่าง ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) สรุปสถานการณ์ “เงินเฟ้อ” น่ากังวลแค่ไหน?

 

"ดอกเบี้ย" แก้ปัญหาเงินเฟ้อจากคริปโทฯ ไม่ได้


น.ส. ชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบริหารการสื่อสารองค์กรธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวย้ำว่า ธปท. ไม่สนับสนุนให้นำคริปโทเคอเรนซี่ นำมาจับจ่ายใช้ซื้อสินค้าและบริการ ขณะที่การนำคริปโทเคอเรนซี่ นำมาใช้ซื้อสินค้านั้น จะมีผลกระทบต่อการดูแลเงินเฟ้อในระยะข้างหน้าด้วย หากคนหันมาใช้คริปโทฯ ซื้อสินค้าและบริการจำนวนมากๆ แล้วก็มีผลต่อเงินเฟ้อให้เร่งตัวสูงขึ้น แต่การนำเครื่องมือ "ดอกเบี้ย" มาแก้ปัญหาเงินเฟ้อจากกรณีนี้จะใช้แก้ปัญหาไม่ได้ผล เพราะดอกเบี้ยจะใช้ดูแลอัตราเงินเฟ้อได้ที่เป็นเงินบาทหรือเงินสกุลของประเทศนั้นๆ เนื่องจากคนที่ถือคริปโทฯ ไม่ได้มีผลกระทบจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยซึ่งไม่ได้มีผลต่อคริปโทฯ ที่ถืออยู่

 

btc

 

 

แบงก์ชาติกังวล "เงินเฟ้อ" กระทบคนมีรายได้น้อย


น.ส. ชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบริหารการสื่อสารองค์กร ธปท.กล่าวว่า สถานการณ์อัตราเงินเฟ้อของไทยที่ปรับตัวสูงขึ้นในขณะนี้มีความน่ากังวล เพราะมีผลกระทบให้ค่าครองชีพของประชาชนปรับเพิ่มสูงขึ้น ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันจะมีผลกระทบกับผู้ที่มีรายได้น้อยค่อนข้างมากกว่าคนกลุ่มอื่นๆ

 

เนื่องจากกลุ่มที่สินค้าหลักที่จำเป็นในชีวิตประจำวันทั้งหมวดอาหารกับการเดินทางต่างมีราคาที่เพิ่มสูงขึ้น แม้ว่าตัวเลขอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยไม่ได้ปรับขึ้นมาก แต่จะมีความรู้สึกในด้านผลกระทบมีความรู้สึกค่อนมากเพราะคนกลุ่มนี้มีค่าครองชีพในชีวติประจำวันที่สูงขึ้นจากราคาสินค้าและบริการที่จำเป็นปรับเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มผู้มีรายได้สูงหากในกรณีที่สินค้าแบรนด์เนมมีราคาปรับขึ้นมากจะไม่ได้มีความรู้สึกมากมากเพราะมีรายได้ที่สูง

 

ด้านผู้ประกอบการธุรกิจธุรกิจเองก็มีผลกระทบจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น โดยปกติบางส่วนจะต้องส่งผ่านไปยังผู้บริโภคโดยการปรับขึ้นราคาขาย แต่ในช่วงที่ผ่านเศรษฐกิจกำลังอยู่ในช่วงค่อยๆ ฟื้นตัวจะเห็นการอั้นของการปรับราคาสินค้าขึ้นหรือขึ้นราคาได้น้อยเพราะกังวลว่าจะมีผลกระทบต่อยอดขาย ดังนั้นจึงต้องจับตาว่าผลกระทบจากนี้ไปจะเป็นอย่างไร

 

436513

 

ประเด็นอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเดือน ก.พ. 2565 ออกมาอยู่ที่ 5.28% และล่าสุดในเดือนมี.ค. 2565 ที่สถานการณ์การสู้รบระหว่ายูเครนกับรัสเซียที่มีความเข้มข้นขึ้น ส่งผลอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยออกมาอยู่ที่ 5.73% โดยในช่วงที่ผ่านประเทศไทยประสบปัญหาในหลายเรื่องที่มีผลต่อเงินเฟ้อ โดยแบ่งได้เป็นจากผลกระทบจาก 2 เรื่องหลัก คือ ปัญหาสินค้าขาดแคลน หรือ Supply Shock

 

1. ปัญหาราคาอาหารสดที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างราคาเนื้อหมูตั้งแต่ช่วงปลายปี 2564 ที่ผ่านมาจนถึงต้นปีนี้ เนื่องจากปัญหาโรคระบาด ASF ในหมู ส่งผลให้มีปริมาณหมูออกสู่ตลาดมีจำนวนลดลง จนมีผลกระทบลามไปถึงราคาสินค้าอาหารปรุงสุกสำเร็จรูปที่จำหน่ายนอกบ้านให้มีราคาปรับสูงขึ้นตามไปด้วย

 

2. ปัญหาสถานการณ์การสู้รบระหว่างยูเครนกับรัสเซียที่ส่งผลกระทบต่อสินค้าและบริการที่ทั้ง 2 ประเทศนี้ผลิตและส่งออกรายใหญ่ให้มีราคาปรับตัวสูงขึ้นด้วย เช่น น้ำมัน, สารเคมีบางอย่าง , ข้าวสาลี ทำให้ราคาสินค้าที่เกี่ยวข้องในหมวดนี้มีราคาที่ปรับสูงขึ้น เนื่องจากมีอุปทานสินค้าที่มีปริมาณลดลงหรือหายไปจากตลาดโลก แต่ยังมีความต้องการใช้สินค้าอยู่เหมือนเดิม

 

 

เงินเฟ้อ ปี 2566 จะลงสู่กรอบเป้าหมาย

420747

 


อัตราเงินเฟ้อ คือ การวัดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการภาพรวมจำนวน 430 รายการของประเทศว่ามีเปลี่ยนแปลงๆ เท่าไหร่ที่อยู่ในตะกร้าที่เราซื้อจ่ายมากินใช้ในชีวิตประจำวันในทุกช่องทางการขายและทุกพื้นที่ทั่วประเทศ นำมาคำนวณหาราคาราคาเฉลี่ยว่ามีการเปลี่ยนแปลงเติบโตไปเท่าไหร่มานำมาเปรียบเทียบคำนวณการเปลี่ยนแปลงของราคากับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนก็จะได้เป็น "อัตราเงินเฟ้อ" โดยแต่สินค้าและบริการที่นำมาคำนวณแต่ละกลุ่มจะมีน้ำหนักที่นำมาใช้คำนวณไม่เท่ากันเพราะจะดูว่าประชนชนบริบริโภคสินค้าหรือบริการกลุ่มไหนเยอะก็จะถูกนามาใช้คำนวณให้น้ำหนักสัดส่วนที่เยอะ

 

แล้วหากสินค้าและบริการกลุ่มนี้ราคาปรับขึ้นไปสูงก็จะมีผลทำให้เงินเฟ้อสูงด้วย เช่น คนกินกลุ่มอาหารเยอะแล้วราคาสินค้าอาหารขึ้นเยอะเงินก็จะขึ้นเยอะตาม แต่กลุ่มสินค้าหรือบริการ เช่น เดินทางหรือคนไปดูหนังคนใช้บริการน้อยเวลาราคากลุ่มนี้ขขึ้นก็จะมีผลต่อเงินเฟ้อน้อย


เงินเฟ้อไทยจะสูงไปอีกนานไหม? จะเพิ่มขึ้นอีกเยอะไหม?

น.ส. รุ่งพร เริงพิทยา ผู้อำนวยการ ฝ่ายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นของไทยที่กำลังเจอในขณะนี้มาจากกผลกระทบหลักจากปัจจัยต่าวประเทศที่มาจากผลกระทบสถานการณ์การสู้รบระหว่างยูเครนกับรัสเซียที่มีผลกระทบให้ราคาพลังงานปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เมื่อไปดูข้อมูลในเดือน มี.ค. 2565 จะเห็นว่าราคาสินค้าหลักที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจะอยู่ในหมวดพลังงานและอาหาร เช่น เนื้อหมูที่เจอปัญหาโรคระบาด

 

ดังนั้นสถานการณ์ปัญหาเงินเฟ้อของไทยที่กำลังเจอมีสาเหตุจากปริมาณสินค้าที่ลดลงหรือหายไปจากตลาดทั้งของน้ำมันที่รัสเซียถือเป็นผู้ส่งออกรายหลักของโลก แต่ถูกคว่าบาตรจากทั่วโลกทำให้ปริมาณน้ำมันในตลาดโลกมีจำนวนลดลง ไม่ได้มาจากความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้น

 

ขณะที่ต้องต้องยอมรับว่าในปี 2565 เราเจอปัญหาสินค้าขาดแคลน หรือ Supply Shock ที่เกิดขึ้นกับหลายสินค้า ดังนั้นคิดว่าเงินอัตราเงินเฟ้อของไทยในปี 2565 จะอยู่ระหว่าวช่วง 3-6% ออกมาสูงกว่า ปี 2564 และสูงกว่าปี 2566 ด้วยซึ่งในปี 2566 เงินเฟ้อของไทยน่าจะกลับสู่กรอบเป้าหมายได้ โดยตัวเลขเลขเงินเฟ้อของไทยปีนี้จะขึ้นไปสูงในช่วงเดือน เม.ย.- ก.ย. ปีนี้ หลังจากนั้นมีแนวโน้มมีแนวโน้มจะปรับลดลง

 

เนื่องจากเมื่อเปรียบเทียบอัตราเงินเฟ้อในช่วงของเดือน เม.ย.- ก.ย. 2564 เป็นช่วงที่รัฐบาลได้ออกมาตรการช่วยเหลือช่วยลดค่าครองชีพให้กับประชาชนทั้งการช่วยลดค่าน้ำประปากับค่าไฟฟ้าจึงทำให้อัตราเงินเฟ้อในช่วงดังกล่าวมีฐานที่ต่ำเมื่อเปียบเทียบกับข้อมูลกับในช่วงเดียวของปีนี้ที่ไม่มีมาตรการช่วยเหลือช่วยลดค่าครองชีพให้กับประชาชน

 

261520


ความเสี่ยงที่จะทำให้เงินเงินเฟ้อไม่ลดลงตามมุมมองของแบงก์ชาติ

 

1. ความเสี่ยงสถานการณ์การสู้รบระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่ยืดเยื้อต่อไป

 

2. ผู้ประการธุรกิจที่ผลิตและขายสินค้าของไทยที่ผ่านมาประสบปัญหาต้นทุนปรับสูงขึ้นทั้งราคาปุ๋ย, ค่าขนส่งสินค้า แต่ช่วงที่ผ่านมาไม่กล้าปรับขึ้นราคาขายสินค้าหรือปรับขึ้นน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ดังนั้นเมื่อมีแนวโน้มเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น ผู้ประกอบการก็จะมีการปรับขึ้นราคาสินค้าให้มากขึ้น ส่งผลกระทบให้ราคาสินค้าสูงขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้


ปัจจุบันภาพรวมราคาสินค้าของไทยมีสัดส่วน 11% ของสินค้าทั้งหมดที่ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นผิดปกติ เปรียบกับสหรัฐที่มีสัดส่วน 50% ของสินค้าทั้งหมดที่ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นผิดปกติเพราะเศรษฐกิจจสหรัฐกำลังอยู่ในช่วงของการฟื้นตัวแบบร้อนแรง แต่ยังต้องติดตามว่าราคาสินค้าของไทยจะมีการปรับขึ้นต่อเนื่องแบบเป็นวงกว้างหรือปรับขึ้นต่อเนื่องอีกหรือไม่ โดยปัจจุบันราคาสินค้าที่ปรับเพิ่มขึ้นยังอยู่ในหมวดของอาหารและพลังงานยังไม่ขยายวงไปสู่สินค้ากลุ่มอื่นๆ

 

อีกปัจจัยสำคัญคือ มุมมองของประชาชนกับผู้ประกอบการต่อเงินเฟ้อในอนาคตซึ่งจะมีผลกระทบต่อพฤติกรรมการใช้ชีวิตวันนี้ เช่น หากประชาชนคาดการณ์ว่าในอนาคตราคาสินค้าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจึงมีการซื้อกกักตุนสินค้าไว้ก่อนที่ราคาจะขึ้น ในที่สุดก็จะนำไปสู่การปรับขึ้นของราคาสินค้าจริง รวมถึงกรณีที่ผู้ประกอบการซื้อกักตุนวัตถุดิบไว้ล่วงหน้าก็จะนำไปสู่ปัญหาเดียวกันได้ด้วยเช่นกัน โดยในช่วงที่ผ่านยังไม่เห็นเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นไปสูงกว่ากรอบเป้าหมายของ ธปท.

 

 

714080

 

บทบาทของแแบงก์ชาติในการดูแลเงินเฟ้อที่สูงขึ้น

น.ส. ชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธปท. อธิบาย ธปท. มีเครื่องมือนโยบายการเงินเดียวคือ "ดอกเบี้ย" ที่ใช้ดูแลเงินเฟ้อ ซึ่งต้องพิจาณาดูให้ดีว่าสามารถนำมาใช้แก้ปัญหาได้ตรงจุดหรือไม่ เพราะ "ดอกเบี้ย" หากปรับ "ขึ้นดอกเบี้ย" ในตอนนี้ในช่วงที่เศรษฐกิจค่อยๆฟื้นตัวจะเป็นการสสร้างภาระซ้ำเติมให้กับประชาชชนเพิ่มสูงด้วย

 

ดังนั้นการปรับ"ดอกเบี้ย" จะพิจารณาจากบริบทของเศรษฐกิจมาประกอบการตัดสินใจ เพราะการขึ้นดอกเบี้ยจะมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจ เพราะเครื่องดอกเบี้ยจะเป็นเครื่องมือที่มีผลต่อพฤติกรรมของคนทั้งในด้านการใช้จ่ายกับการลงทุน เนื่องจากหากขึ้นดอกเบี้ยคนก็จะกู้มาจับจ่ายใช้สอยลดลง

 

ขณะเดียวกันผู้ประกอบการธุรกิจจะกู้มาลงทุนน้อยลงด้วยเพราะมีต้นทุนภาระดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น โดยหากขึ้นดอกเบี้ยในช่วงนี้อาจไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาหมูกับน้ำมันแพง ดังนั้น ธปท. จึงต้องเก็บเครื่องมือดอกเบี้ยเพื่อเตรียมไว้แก้ปัญหาให้ตรงจุด

ในอนาคตเมื่อเศรษฐกิจไทยทยอยฟื้นเต็มที่หลังเริ่มเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เศรษฐกิจไทยกลับมามีการเติบโตที่ร้อนแรงและมีประเด็นเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นขึ้น ธปท. ก็จะมีเครื่องมือ "ดอกเบี้ย" ที่เหมาะสมในการดูแลเงินเฟ้อในอนาคต

 

"ดอกเบี้ย" คือยารักษาโรคเงินเฟ้อ แต่ต้องใช้ให้ตรงจุด

สำหรับนโยบายการเงินหรือเครื่องมือ "ดอกเบี้ย" เปรียบเหมือน "ยา" รักษาโรคเงินเฟ้อซึ่ง ธปท. ต้องพิจารณาว่ากำลังเจอโรคแบบไหน โดยดอกเบี้ยจะเป็นยาที่ใช้ได้ผลดี สำหรับโรคเงินเฟ้อสูงที่มาจากความต้องการของสินค้าที่เพิ่มขึ้น มากกว่ากรณีที่ปริมาณสินค้าที่หายไปในตลาดซึ่งการเพิ่มขึ้นราคาสินค้าที่หายไปจากกรณีนี้ คาดว่าปัญหาน่าจะคลี่คลายลงได้ในช่วงปลายปีนี้โดยจะเริ่มเห็นแนวโน้มที่ลดลง ดังนั้นการใช้ "ดอกเบี้ย" เป็นยารักษาโรคควรใช้ให้ถูกโรค เพราะอาจจะมีผลข้างเคียง

 

สำหรับการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ครั้งล่าสุดสะท้อนว่า ปัจจุบัน ธปท. ยังให้น้ำหนักการฟื้นตัวของเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวเต็มที่ก่อนจึงต้องการให้นโยบายอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่ต่ำไม่เป็นอุปสรรคและสนับสนุนต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ส่วนในระยะถัดไปหากเศรษฐกิจฟื้นตัวดีกลับสู่ภาวะปกติในอนาคตจึงจะพิจารณาค่อยๆ ทยอยปรับดอกเบี้ยจากปัจจุบันที่อยู่ในระดับที่ต่ำ

 

เศรษฐกิจไทยเข้าข่าย Stagflation หรือยัง?

น.ส. ชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธปท. ชี้แจงว่า Stagflation จะเกิดขึ้นได้นั้นจะมาจาก 2 องค์ประกอบที่เกิดขึ้นพร้อมกัน คือ 1. ภาวะที่เศรษฐกิจซบเซา คือ เศรษฐกิจที่มีแนวโน้มทรงตัวหรือหดตัว 2. การที่ภาวะเงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ดังนั้นด้วยมุมมองว่าเศรษฐกิจของไทยกำลังอยู่ในช่วงการทยอยค่อยๆ ฟื้นตัวและแนวโน้มที่เงินเฟ้อมีโอกาสทยอยปรับลดลง ทำให้ประเทศไทยยังไม่ไดเข้าสู่ภาวะ "Stagflation" เพราะเป็นประเด็นที่เกิดขึ้นกับภาพรวมของประเทศ แต่ถามว่าประเด็นค่าครองชีพที่สูงขึ้นกระทบกับการใช้ชีวิตประชาชนจริง แต่ประเทศไทยยังไม่ได้เข้สู่ภาวะ "Stagflation"

 

st

แชร์
“เงินเฟ้อ” น่ากังวลแค่ไหน ?  ในมุมมองของแบงก์ชาติ