การได้ ไปทำงานในสิงคโปร์ เป็นอีกหนึ่งความฝันที่หลายคนอยากทำให้ได้สักครั้งในชีวิต เพราะนอกจากจะได้ยกระดับให้โปร์ไฟล์การทำงานของตัวเองแล้ว ยังเป็นการได้ไปสัมผัสในหนึ่งประเทศที่เป็นทั้งศูนย์กลางทางการค้า ศูนย์กลางทางการเงิน และศูนย์กลางทางเทคโนโลยีของโลกด้วย เป็น ‘ประเทศพัฒนาแล้ว’ ที่อยู่ใกล้บ้านเราที่สุด แถมหากคิดถึงบ้าน ก็สามารถนั่งเครื่องบินกลับมาไทย ภายในไม่ถึง 3 ชั่วโมงก็ถึงแล้ว
แม้สิงคโปร์จะมีค่าครองชีพสูงกว่าไทยถึง 110.72% (34,904.70 บาท/เดือน ที่สิงคโปร์ เทียบกับ 18,061.91 บาท/เดือน ที่ไทย) อ้างอิงจากข้อมูลของ NUMBEO แต่สวัสดิการขั้นพื้นฐาน รวมถึงสิทธิพลเมืองของสิงคโปร์ก็นับว่าแข็งแรงกว่าไทยมาก แต่สาเหตุที่ดึงดูดคนไทยให้ไปทำงานที่สิงคโปร์มากที่สุด เห็นจะเป็นเรื่อง ‘ค่าจ้าง’ ที่สูงที่สุดเป็นอันดับ 1 ในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยค่าแรงขั้นต่ำของลูกจ้างชาวสิงคโปร์ 1 วัน สูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำต่อวันของ ‘บรูไน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และไทย’ รวมกันเสียอีก จะช้าอยู่ไย ไปดูกันดีกว่าว่า หากอยากไปทำงานที่สิงคโปร์ ต้องรู้อะไรบ้าง
นอกจากการเข้าไปทำงานในสิงคโปร์ด้วยใบอนุญาตทำงานรูปแบบเดิมแล้ว สิงคโปร์ยังเปิดวีซ่าทำงานรูปแบบใหม่ หวังดึงดูดแรงงานระดับหัวกะทิจากทั้งสายเทคโนโลยี และสายอื่นๆ เข้ามาในประเทศ ได้แก่ OnePass และ Tech.Pass ซึ่งให้อิสระในการทำงานมากกว่า แถมพาครอบครัวมาอยู่ด้วยได้ แต่ต้องมีเงินเดือนในระดับ ‘หลายแสนบาท’ ต่อเดือนเลยทีเดียว
1.OnePass คือ วีซ่ารูปแบบใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นสดๆ ร้อนๆ เพื่อดึงดูดให้คนระดับหัวกะทิจากทั่วทุกมุมโลก โดยอนุญาตให้แรงงานต่างชาติที่มีศักยภาพสูง สามารถย้ายมาทำงานที่สิงคโปร์ได้เป็นระเยเวลา 5 ปี และต่ออายุได้เพิ่มคราวละ 5 ปี สิทธิพิเศษที่ผู้ถือ OnePass ได้รับ มีดังต่อไปนี้
โดย OnePass เปิดรับแบบไม่จำกัดจำนวน เพียงมีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
นอกจากนี้ ผู้ที่มีผลงานโดดเด่นทางด้านศิลปะวัฒนธรรม, กีฬา, วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, วิชาการและวิจัย ก็สามารถยื่นขอ OnePass ได้ แม้มีคุณสมบัติไม่ครบตามที่ระบุไว้ข้างต้น โดยเตรียมเริ่มใช้จริงตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ที่จะถึงนี้
2.Tech.Pass คือ วีซ่ารูปแบบใหม่ที่อนุญาตให้ผู้ประกอบการธุรกิจด้านเทคโนโลยี ผู้นำองค์กร หรือผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค (โดยเฉพาะสาย AI และการวิเคราะห์ข้อมูล) จากต่างประเทศ สามารถเข้ามาทำงานหรือประกอบกิจการในสิงคโปร์ได้อย่างอิสระ โดยให้สิทธิพิเศษในหลากหลายด้าน เช่น
แต่ผู้ที่จะได้รับ Tech.Pass จะมีเพียง 500 คน คัดเลือกจากผู้สมัครจากทั่วโลก แถมต้องผ่านเกณฑ์อย่างน้อย 2 ใน 3 ข้อต่อไปนี้ด้วย
โดย Tech.Pass ได้เปิดรับสมัครแล้วตั้งแต่ต้นปี 2564 ที่ผ่านมา
สำหรับการขอใบอนุญาตในการทำงานที่สิงคโปร์ ในรูปแบบทั่วไปนอกเหนือจาก 2 รูปแบบใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นมานั้น ข้อมูลจาก Thaibizsingapore.com เผยว่า แรงงานไทยในสิงคโปร์ส่วนใหญ่จะมีใบอนุญาต 1 ใน 4 รูปแบบนี้
ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการเตรียมตัวไปทำงานที่สิงคโปร์ได้ที่นี่
เมื่อครั้งนาย สุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและคณะ ได้เข้าเยี่ยมคารวะ Dr.Tan See Leng รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานของสิงคโปร์ นายสุชาติ ได้เปิดเผยข้อมูลจากฝั่งกระทรวงแรงงานของสิงคโปร์ว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีแรงงานไทยที่เข้ามาทำงานกว่า 10,000 คน ผ่านกรมการจัดหางานเป็นผู้จัดส่ง 1,827 คน
ในปี 2565 นายจ้าง และสถานประกอบการในประเทศสิงคโปร์มีความต้องการจ้างแรงงานไทยใน 3 สาขา ได้แก่
เนื่องจากแรงงานไทยได้รับการชื่นชมในเรื่องทักษะฝีมือการทำงานขั้นสูง ซึ่งเป็นที่ไว้วางใจ และพึงพอใจของนายจ้างสิงคโปร์ สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ที่มีเป้าหมายพัฒนาคนในทุกมิติ
นอกจากนี้ Hot Course Thailand ยังแนะนำสายงานที่ได้รับความนิยมอย่างมากในสิงคโปร์ ได้แก่
ตัวอย่างอาชีพ : Compliance Managers, Risk Management Managers, Information Technology Professionals, Investment Management Professionals
ตัวอย่างอาชีพ : Cyber Security Experts, Analyst Programmer, Software Engineer, 2D and 3D Artist, Animator, Game Producer
ตัวอย่างอาชีพ : Geotechnical Engineer, Design Engineer, Civil/ Structural/ Bridge Engineer
ตัวอย่างอาชีพ : Medical Diagnostic Radiographer, Medical/Laboratory, Technologist, Occupational Therapist
ข้อมูลจาก Asean Briefing เผยว่า ค่าแรงขั้นต่ำในสิงคโปร์ ปรับเพิ่มจาก 1,274 ดอลลาร์สิงคโปร์/เดือน เป็น 1,312 ดอลลาร์สิงคโปร์/เดือน เมื่อวันที่ 1 ก.ค. 65 กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) ได้รวบรวมอัตราค่าจ้างสำหรับอาชีพในกลุ่มอุตสาหกรรมท่องเที่ยว, วิศวกรการผลิต, วิศวกรไฟฟ้า, วิศวกรเคมี, วิทยาศาสตร์เคมี, เทคโนโลยีสารสนเทศ, การเงินและการธนาคาร (ระดับผู้บริหาร), การก่อสร้าง และเลขานุการไว้ ดังนี้
ผู้จัดการร้านค้า | 2,200 ขึ้นไป |
ผู้จัดการร้านค้าปลีก | 3,500 ขึ้นไป |
ผู้จัดการภัตตาคาร | 2,000 - 3,100 |
ผู้ช่วยฝ่ายขาย (ร้านค้าปลีก) | 900 - 1,300 |
ผู้ดูแลจัดการร้าน (Shop Supervisor) | 1,200 - 1,500 |
บริกรชายและหญิง | 800 - 1,500 |
หัวหน้าบริกร | 1,600 - 2,100 |
พ่อครัว | 1,300 - 2,100 |
ผู้ช่วยพ่อครัว | 800 - 1,300 |
พนักงานต้อนรับทั่วไป | 1,400 - 1,900 |
พนักงานต้อนรับโรงแรม | 1,700 - 2,200 |
ผู้จัดการด้านการตลาด/การขาย | 1,600 - 2,000 |
ผู้จัดงานนิทรรศการ | 2,000 - 3,000 |
ที่ปรึกษาทัวร์ | 1,500 - 2,300 |
วิศวกรการผลิต | 4,500 - 8,200 |
ผู้ช่วยวิศวกรการผลิต | 3,200 - 4,900 |
วิศวกรเครื่องกล | 3,200 - 4,900 |
ผู้ประสานงานการผลิต | 2,600 - 4,100 |
ช่างวิศวกรการผลิต | 2,100 - 3,600 |
ช่างวิศวกรฝ่ายเครื่องกล | 1,800 - 2,500 |
วิศวกรไฟฟ้า | 3,300 - 4,700 |
ผู้ช่วยวิศวกรไฟฟ้า | 2,300 - 3,300 |
วิศวกรเคมี | 2,900 - 5,200 |
วิศวกรเคมีการผลิต | 3,000 - 6,200 |
ผู้ควบคุมการผลิต | 2,900 - 5,200 |
วิศวกรการผลิต (การผลิตยา) | 3,000 - 5,000 |
นักจุลชีววิทยา (การผลิตยา) | 3,000 - 5,000 |
ผู้ชำนาญการด้านชีวภาพ (การผลิต) | 4,000 - 6,000 |
วิศวกรการผลิต | 5,000 - 8,000 |
ผู้ควบคุมการผลิต | 2,500 - 4,000 |
วิศวกรซอฟต์แวร์ | 3,500 - 5,000 |
สถาปนิกการจัดองค์กร | 8,000 - 14,000 |
ผู้จัดการโครงการ | 6,000 - 8,500 |
ผู้จัดการด้านการจัดจ้างด้านไอที (IT Outsourcing Manager) | 4,000 - 8,000 |
ผู้จัดการด้านการพัฒนาธุรกิจ | 4,000 - 6,500 |
นักบัญชี (ประสบการณ์ 3 - 5 ปี) | 60,000 - 75,000 |
ผู้จัดการพัฒนาธุรกิจ (Relationship Manager) - ธนาคารรายย่อย (Retail Banking) (ประสบการณ์ 0 - 4 ปี) | 90,000 - 165,000 |
ผู้จัดการพัฒนาธุรกิจ (Relationship Manager) - ธนาคารรายย่อย (Retail Banking) (ประสบการณ์ 4 - 8 ปี) | 90,000 - 165,000 |
ผู้จัดการพัฒนาธุรกิจ (Relationship Manager) - Priority Banking (ประสบการณ์ 0 - 4 ปี) | 45,000 - 65,000 |
ผู้จัดการพัฒนาธุรกิจ (Relationship Manager) - Priority Banking (ประสบการณ์ 4 - 8 ปี) | 60,000 - 120,000 |
เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ - ตลาดการเงิน (ประสบการณ์ 0 - 4 ปี) | 35,000 - 80,000 |
เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ - ตลาดการเงิน (ประสบการณ์ 4 - 8 ปี) | 70,000 - 135,000 |
ผู้จัดการประเมิณความเสี่ยง (Risk Manager)(ประสบการณ์ 0 - 4 ปี) | 40,000 - 90,000 |
Branch Operations Customer Servicing - Consumer Banking (ประสบการณ์ 0 - 4 ปี) | 40,000 - 60,000 |
Branch Operations Customer Servicing - Consumer Banking (ประสบการณ์ 4 - 8 ปี) | 70,000 - 100,000 |
วิศวกรโยธา | 3,200 - 5,000 |
เจ้าหน้าที่สำรวจปริมาณงาน (Quality Surveyor) | 2,900 - 4,300 |
ผู้จัดการโครงการ | 3,800 - 6,500 |
วิศวกรไฟฟ้า | 3,400 - 5,300 |
วิศวกรเครื่องกล | 3,200 - 4,900 |
ช่างไฟฟ้า | 1,600 - 2,400 |
หัวหน้าคนงาน (Foreman) | 2,000 - 3,300 |
เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย | 1,300 - 1,700 |
เลขานุการระดับสูง (Senior Executive) | 2,800 - 4,000 |
เลขานุการระดับกลาง (Junior Executive) | 2,000 - 3,000 |
เลขานุการระดับต้น (Fresh Entry) | 1,700 - 2,400 |
หมายเหตุ : ค่าแรงขั้นต่ำรายชั่วโมงของลูกจ้างสิงคโปร์อยู่ที่ราว 6 - 12 ดอลลาร์สิงคโปร์ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับประเภทของงานและบริษัท
.
อย่างไรก็ดี การมาทำงานที่สิงคโปร์ต้องทำตามข้อกำหนดและกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด สิงคโปร์เข้มงวดเรื่องการเข้าเมืองผิดกฎหมายหรือการอยู่ในสิงคโปร์เกินกำหนด หากถูกจับผู้กระทำผิดจะมีโทษปรับ จำคุก บางกรณีมีโทษเฆี่ยนด้วย ดังนั้น ผู้หางานควรตรวจสอบให้มั่นใจว่าได้รับใบอนุญาตทำงานจากกระทรวงแรงงานสิงคโปร์ก่อนเดินทางเข้าประเทศสิงคโปร์ หากแรงงานไทยที่สัญญาจ้างงานใกล้หมดอายุและไม่มั่นใจว่านายจ้างต่ออายุใบอนุญาตทำงานให้หรือไม่ก็ควรปรึกษาสำนักงานแรงงานในประเทศสิงคโปร์ก่อน
ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานสิงคโปร์จัดทำแอปพลิเคชัน SGWorkPass ให้แรงงานดาวน์โหลดเพื่อตรวจสอบรายละเอียดต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการทำงานรวมถึงกำหนดวันที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ต่อในประเทศสิงคโปร์อย่างถูกกฏหมาย
ผู้เข้ามาทำงานในสิงคโปร์และถือใบอนุญาตทำงานประเภท Work Permit (WP) ควรศึกษาข้อปฏิบัติที่สำคัญอื่นๆ ได้แก่ ห้ามทำงานกับนายจ้างอื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในใบอนุญาต ห้ามหารายได้พิเศษ ห้ามมีความสัมพันธ์ด้านชู้สาวหรือมีบุตรกับชาวสิงคโปร์หรือผู้ที่ได้รับอนุญาตให้อยู่สิงคโปร์แบบถาวร (Permanent Resident : PR) หากเป็นหญิงห้ามตั้งครรภ์หรือให้กำเนิดบุตรระหว่างถือใบอนุญาตทำงานต้องพกใบอนุญาตทำงานตัวจริงกับตัวเพื่อพร้อมให้ตรวจสอบ
สามารถศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในสิงคโปร์เพิ่มเติมได้ที่นี่
แม้จะเป็นประเทศที่มีขนาดเล็กกว่า ‘กรุงเทพมหานคร’ กว่าเท่าตัว แต่สิงคโปร์ เป็นประเทศที่มี รายได้เฉลี่ยต่อหัว (GDP per Capita) สูงเป็นอันดับที่ 10 ของโลก จากการจัดอันดับของ Worldometer โดยมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวอยู่ที่ 56,746 ดอลลาร์สหรัฐ/คน/ปี (2.06 ล้านบาท) ในขณะที่ตัวเลขของสหรัฐเป็น 59,939 ดอลลาร์สหรัฐ/คน/ปี (2.18 ล้านบาท) ส่วนของไทยอยู่ที่ 6,579 ดอลลาร์สหรัฐ/คน/ปี (2.39 แสนบาท) ซึ่งหมายความว่า รายได้เฉลี่ยของคนสิงคโปร์ มากกว่าของไทยเกือบ 10 เท่าเลยทีเดียว
นอกจากนี้ จากการจัดอันดับ Chandler Good Government Index ซึ่งประเมิณประสิทธิผลของรัฐบาลของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ประเมินความสามารถและผลลัพธ์ของรัฐบาลจาก 104 ประเทศ พบว่า ในปี 2565 นี้ รัฐบาลสิงคโปร์คว้าดับสามของโลก รองจากฟินแลนด์ และสวิตเซอร์แลนด์ นอกจากนี้ ยังคว้าอันดับที่ 1 เมื่อเทียบกับเฉพาะกลุ่มประเทศในเอเชีย ในขณะที่ไทยอยู่ในอันดับที่ 46
สิงคโปร์เคยเป็นประเทศที่ปลอดภัยที่สุดในโลก จากการจัดอันดับของ Gallup หลายปีติดต่อกัน แม้ในการจัดอันดับครั้งล่าสุดในช่วงโควิด-19 ทางผู้จัดจะกล่าวว่า ไม่สามารถรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นจากสิงคโปร์ที่เพียงพอต่อการจัดอันดับได้ แต่ก็คาดเดาไม่ยากว่า ด้วยกฎหมายอันเข้มงวด และประชาชนที่ขึ้นชื่อเรื่องระเบียบวินัย จะทำให้สิงคโปร์ยังคงความปลอดภัยเป็นอันดับต้นๆ ของโลกได้
ที่มา
Singapore Company Incorporation