ตามที่มีประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2565 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วก่อนหน้านี้ และจะเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2566
ผู้บริโภคอาจจะสับสนมาโดยตลอดว่า ตกลงตั้งแต่วันที่ 10 ม.ค.66 จะทำให้การผ่อนหรือการเช่าซื้อรถต่างจากเดิมหรือไม่โโยเฉพาะวิธี สมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย เคยอธิบายให้กับทีมงาน SPOTLIGHT ว่า ไม่มีผลแตกต่าง และผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องชะลอการตัดสินใจซื้อรถเพราะคิดว่าจะได้วิธีคิดดอกเบี้ยแบบใหม่ โดยเหตุผลคือ
1.หลักคิดอัตราดอกเบี้ยสำหรับธุรกิจเช่าซื้อ จะอ้างอิงกฎหมาย 2 ตัว คือ กฎหมายแพ่งพาณิชย์ โดยมีการกำหนดว่า การทำเช่าซื้อจะต้องทำสัญญารับผ่อนและกำหนดชำระเป็นงวดๆ และแต่ละงวดเท่ากัน ซึ่งเรียกว่า “ดอกเบี้ยคงที่” หรือ “Flat Rate”
2.แต่ในการบันทึกบัญชีของเช่าซื้อ จะต้องลงบัญชีเป็นอัตราดอกเบี้ย “ลดต้นลดดอก” ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายสากลทั่วโลกใช้ และมีสภาวิชาชีพบัญชีเป็นผู้กำกับและดูแล
ดังนั้นหากทำตามกฎหมาย 2 ฉบับ ธุรกิจเช่าซื้อจะต้องทำสัญญาภายใต้อัตราดอกเบี้ย “Flat Rate” และเมื่อนำไปบันทึกบัญชีเพื่อเสียภาษี จะต้องแปลงดอกเบี้ยจาก “Flat Rate” มาเป็น “Effective Rate” ทำให้ภาระการผ่อนและอัตราดอกเบี้ยเมื่อคำนวณมาแล้วจะเท่ากัน ไม่ได้แตกต่างกัน และก็เป็นไปตามประกาศใหม่อยู่แล้วนั่นเอง
ขณะที่สำนักนายกรัฐมนตรีได้ชี้แจงเพิ่มเติมสาระสำคัญของประกาศฯ ฉบับดังกล่าว เพื่อย้ำประชาชนถึงความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน โดยมีสาระสำคัญแบ่งออกเป็น 4 ประเด็นหลัก ดังนี้
ทั้งนี้ ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาเรื่องให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2565 จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 10 มกราคม 2566 ซึ่งจะบังคับใช้เฉพาะสัญญาเช่าซื้อที่ทำตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2566 เป็นต้นไป ส่วนสัญญาเช่าซื้อเดิมที่ทำก่อนวันที่ 10 มกราคม 2566 ยังคงมีผลบังคับใช้จนกว่าจะสิ้นสุดสัญญา
หากผู้บริโภคถูกละเมิดสิทธิจากผู้ประกอบธุรกิจ สามารถขอรับคำปรึกษาได้ที่สายด่วน 1166 หรือร้องทุกข์ผ่านแอปพลิเคชัน OCPB Connect หรือเว็บไซต์ ocpb.go.th ได้ตลอด 24 ชั่วโมง