Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
การกำกับดูแลที่เข้มงวดขึ้น กำลังเป็นเทรนด์ในโลกคริปโทเคอร์เรนซี
โดย : ศุภกฤษฎ์ บุญสาตร์

การกำกับดูแลที่เข้มงวดขึ้น กำลังเป็นเทรนด์ในโลกคริปโทเคอร์เรนซี

25 ก.ย. 65
09:01 น.
|
611
แชร์

ตลาดหมี การสูญเสียเงินลงทุนจากแพลตฟอร์มรับฝาก scam การแฮค ทำให้ปี 2022 การกำกับดูแลนั้นเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ เช่นในไทย ที่กำลังมีแผนจะจำกัดเงินลงทุนคริปโทฯ ขั้นต่ำ 5,000 บาท

 

กระแสความนิยมซื้อขายแลกเปลี่ยน และใช้งานคริปโทเคอร์เรนซีนั้นเป็นเทรนด์ที่มาแรงอย่างมากในรอบปี 2021 ซึ่งมาพร้อมกับตลาดกระทิง ที่ทำให้ราคาของสินทรัพย์ดิจิตัล พากันพาเหรดขึ้นอย่างรุนแรง ในช่วงแรกผู้กำกับดูแลก็ดูเหมือนจะยังไม่เคลื่อนไหนอะไร รอดูท่าทีไปก่อน ซึ่งโลกการเงินไม่ว่าจะแบบเก่าและแบบใหม่ ต่างมี Scam หรือผู้คิดร้ายหวังจะรวยจากการหลอกดึงเงินออกจากกระเป๋านักลงทุนที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่เสมอ

การมาของตลาดหมีซึ่งเกิดจากราคาสินทรัพย์ดิจิตัล ตกต่ำลงหลายๆตัวตกลงไปกว่า 90% หรือ เกือบเป็นศูนย์ เช่นระบบของ LUNA และการสูญเสียเงินลงทุนจากแพลตฟอร์มรับฝากเงิน ซึ่งนำมาซึ่งความเสียหายต่อนักลงทุนหลายๆคน ยังไม่รวมการถูกโจมตีและแฮค ซึ่งเป็นเรื่องเชิงเทคนิคอลมากๆ ทำให้ในรอบปี 2022 การกำกับดูแลนั้นเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะจากฝั่งสหรัฐอเมริกา หรือในประเทศไทยก็ตาม โดยในปีที่ผ่านมามีการเรียกร้องให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานกำกับดูแลทั่วโลก ให้สร้างกฏที่เป็นมาตรฐาน เนื่องจากสินทรัพย์นี้ไม่สามารถบอกที่อยู่ได้ชัดเจนว่า จัดทำ จัดตั้งขึ้นจากที่ใด จนเหมือนกับว่าไม่มีพรมแดนกั้น

60c4c8aeb482f30c6d041f88_800x

ในประเทศไทยกฏเกณฑ์ล่าสุดที่ดูเหมือนจะสร้างคำถามขึ้นมาอย่างมากคือ "การจำกัดขั้นต่ำในการซื้อขาย" เนื่องจากหลักการว่า คริปโทเคอร์เรนซีในปัจจุบัน ยังมีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องแก่ผู้ซื้อขายน้อยกว่าผลิตภัณฑ์เสี่ยงสูงอื่น ๆ ในขณะที่การซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีทำได้โดยง่าย ทำให้มีผู้ซื้อขายรายใหม่เข้ามาซื้อขายเพื่อหวังเก็งกำไรเป็นจำนวนมาก โดยมีส่วนหนึ่งที่อาจไม่สามารถรับ ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาคริปโทเคอร์เรนซีได้ดังนั้น จึงเห็นควรมีการปรับปรุงการเปิดเผย ความเสี่ยงจากการซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีเพิ่มเติมเพื่อให้สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์ อันเป็นการเพิ่มความคุ้มครองของผู้ซื้อขาย

การกำกับดูแลครั้งนี้วัตถุประสงค์ที่ต้องการบรรลุคือ ต้องการให้มั่นใจว่าผู้ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลโดยเฉพาะคริปโทเคอร์เรนซี จะมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนและการบริหารความเสี่ยงจากการลงทุน และมีความสามารถ ในการรับความเสี่ยงในระดับที่เหมาะสม โดยใช้การตั้งเกณฑ์การซื้อขั้นต่ำให้กับผู้ซื้อรายย่อย ต่อ 1 ธุรกรรม อยู่ที่ 5,000 บาท ในการซื้อ (การขายสามารถทำได้ เช่นกรณี cut loss)

1613705207

แต่หากมาตั้งคำถามคือ หากต้องการให้มั่นใจว่าผู้ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล จะมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนและการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสมนั้น การตั้งเกณฑ์การซื้อขั้นต่ำนั้นจะทำช่วยบริหารความเสี่ยงหรือช่วยบ่งบอกความเสี่ยงที่รับได้อย่างไร หรือการกำหนดขั้นต่ำด้วยตัวเลข 5,000 บาทนั้น อ้างอิงตัวเลขอย่างไรให้เหมาะสม   

แม้จะเข้าใจเจตนาของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในการปกป้องนักลงทุน แต่หลักคิดข้อนี้ต้องระมัดระวังทั้งในฝั่งของผู้กำกับดูแลและในฝั่งของผู้บริโภค บนพื้นฐานว่าการกีดกันที่มากขึ้นจะสร้าง impact ต่อจุดประสงค์ที่ต้องการบรรลุมากน้อยแค่ไหน โดยในการ Hearing ครั้งนี้ ก็ได้มองเห็นผลกระทบแล้วว่า impact ต่อผู้ใช้งานในกฏครั้งนี้ ทำให้ผู้ซื้อสินทรัพย์ดิจัตัล หายไปกว่า 46% หากอ้างอิงจากตลาดปัจจุบัน 

โดยกฏเกณฑ์ใหม่นี้ยังอยู่ในช่วงของการทำ Public Hearing อยู่ ทุกท่านสามารถเข้าไปแสดงความเห็นได้ที่ https://www.sec.or.th/TH/Pages/PB_Detail.aspx?SECID=835

ในขณะเดียวกัน อีกฟากของโลกก็มีข่าวการกำกับดูแลที่มากขึ้นเรื่อย เช่นกรณีหลังจาก The Merge ของ Ethereum จะถูกมองเป็นหลักทรัพย์ โดย Gary Gensler ประธาน SEC สหรัฐ ก็ออกมาให้ความเห็นอย่างต่อเนื่องหลังจากการอัพเกรด The Merge ก็ต้องติดตามต่อไปว่า Ethereum จะเป็นรายต่อไปหรือไม่ที่ต้องถูกควบคุมกำกับ ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลต่อทีมที่ทำงานให้กับ Ethereum อย่างแน่นอน  

ศุภกฤษฎ์ บุญสาตร์

ศุภกฤษฎ์ บุญสาตร์

อดีตนายกสมาคมสินทรัพย์ดิจิทัลไทย และ CEO and Founder at Bitcast

แชร์
การกำกับดูแลที่เข้มงวดขึ้น กำลังเป็นเทรนด์ในโลกคริปโทเคอร์เรนซี