Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
5 ยักษ์ใหญ่ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย ที่ยืนหยัดเหนือกาลเวลา
โดย : อมรินทร์ทีวีออนไลน์

5 ยักษ์ใหญ่ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย ที่ยืนหยัดเหนือกาลเวลา

3 พ.ย. 66
08:00 น.
|
3.5K
แชร์

บ้าน ถือว่าเป็นปัจจัย 4 ที่สำคัญของมนุษย์ ทุกคนล้วนต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง แต่ด้วยราคาที่ดินที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้การซื้อบ้านเป็นเรื่องยากสำหรับคนทั่วไป แต่ในอดีต ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยเคยเป็นธุรกิจที่น่าสนใจ ด้วยภาวะ สร้างง่าย-ขายคล่อง ดึงดูดดีเวลลอปเปอร์หน้าใหม่ให้เข้ามาในวงการไม่ขาดสาย

แต่ในความเป็นจริงแล้ว ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เป็นธุรกิจที่ปราบเซียนอยู่ไม่น้อย เพราะหากมีแต่ทุน หรือ ที่ดิน แต่ไร้ “โนว์ฮาว” ก็พาให้ล้มเหลวกันมานักต่อนักแล้ว ยิ่งสถานการณ์ของตลาดอสังหาฯ ในปัจจุบัน ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ต่างๆ มากมาย ใครยังยืนอยู่ได้ ถือว่าแข็งแกร่งและเป็นตัวจริง ดังนั้นในวันนี้ Spotlight จะพาทุกท่านไปพบกับ  5 บริษัทอสังหาฯ ยักษ์ใหญ่ ของเมืองไทยในเวลานี้

 

5 ยักษ์ใหญ่ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย ที่ยืนหยัดเหนือกาลเวลา

5 ยักษ์ใหญ่ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย

สำหรับ 5 บริษัทอสังหาฯ ยักษ์ใหญ่ระดับตำนานของเมืองไทย ที่มีประวัติความเป็นมาไม่ธรรมดา และเคยผ่านร้อนผ่านหนาวมาตั้งแต่ยุคต้มยำกุ้ง ปี 2540 จนถึงสถานการณ์ COVID-19แต่ทั้ง 5บริษัทนี้ก็สามารถผ่านมาได้ และยังคงรักษาธุรกิจให้เติบโตได้จนถึงปัจจุบัน อีกทั้ง ได้บ่มเพาะอาณาจักรอสังหาฯ ของตัวเองด้วยพอร์ตหมื่นล้าน สร้างบริษัทในเครือมากมาย ขณะเดียวกันก็ส่งให้ CEO บางบริษัทติด Top มหาเศรษฐีอันดับต้นๆ ของประเทศไทย และในวันนี้ ทาง Spotlight จะพาท่านผู้อ่านไปรู้จักกับ 5 ยักษ์ใหญ่ ด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่สามารถทำกำไรได้เยอะที่สุดในช่วงเวลา  6 เดือนแรก ของปี 2566

 

อันดับ 1 แสนสิริ ผู้ที่ทำกำไรสูงสุดใน ตลาดอสังหาฯ ไทย

5 ยักษ์ใหญ่ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย

แสนสิริ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2527 อายุรวม 39 ปี โดย กลุ่มจูตระกูล ปัจจุบันมีแบรนด์โครงการบ้านและคอนโดมิเนียมที่เป็นที่รู้จักมากมาย เช่น  นาราสิริ,บูก้าน,เศรษฐสิริ,บุราสิริ,ฮาบิเทีย,สราญสิริ,คณาสิริ,KHUN,ชูช์,เวีย,เอ็กซ์ที,เอดจ์,เฮาส์,เดอะ ไลน์,เดอะ เบส,โฟล บายแสนสิริ

ผลการดำเนินงานในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 แสนสิริ  สามารถทำกำไรสุทธิได้ 3,202 ล้านบาท ทำให้อัตรากำไรสุทธิเพิ่มขึ้นมากกว่าปีก่อนถึง 17.80 % มี มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดอยู่ที่ 25,211 ล้านบาท และมี สินทรัพย์รวม 139,816 ล้านบาท


ผลประกอบการย้อนหลังของ แสนสิริ  

  • ปี 2563 รายได้ 34,891 ล้านบาท กำไรสุทธิ  1,673 ล้านบาท
  • ปี 2564 รายได้ 29,747 ล้านบาท กำไรสุทธิ 2,017 ล้านบาท
  • ปี 2565 รายได้ 34,973 ล้านบาท กำไรสุทธิ 4,279 ล้านบาท
  • ปี 2566 รายได้ 17,477 ล้านบาท กำไรสุทธิ 3,202 ล้านบาท (งบ 6 เดือน2566)

ใครจะคิดว่าบริษัทอสังหาริมทรัพย์อันดับหนึ่งของไทยในปัจจุบันอย่าง แสนสิริ เริ่มต้นจากบริษัทเล็ก ๆ ชื่อแสนสำราญ จำกัด เมื่อปี 2531 กับโครงการบ้านไข่มุก คอนโดมิเนียมริมหาดระดับตำนานของหัวหิน ที่ราคาต่อยูนิตเพียง 7 ล้านบาทเท่านั้น แต่กลับเป็นที่ต้องการของเศรษฐีในยุคนั้น

5 ยักษ์ใหญ่ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย

จากโครงการบ้านไข่มุกคือโครงการแฟล็กชิพแห่งแรกของแสนสิริที่เปิดตัวในปี 2531 ปัจจุบันแสนสิริมีมูลค่าโครงการรวมเพิ่มขึ้นกว่า 1,000% โดยราคาขายต่อยูนิตพุ่งสูงขึ้นจาก 7 ล้านบาท เป็น 80 ล้านบาท สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จของแสนสิริที่ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำอสังหาริมทรัพย์ไทยได้ในเวลา 39 ปี 

 

อันดับ 2 เอพี ไทยแลนด์ ผู้นำตลาดอสังหาฯ สวนกระแส

 5 ยักษ์ใหญ่ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย

ผลการดำเนินงานในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 เอพี สามารถทำกำไรสุทธิได้ 3,022 ล้านบาท ทำให้อัตรากำไรสุทธิเพิ่มขึ้นมากกว่าปีก่อนถึง 16.05% มี มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดอยู่ที่ 33,975 ล้านบาท และมี สินทรัพย์รวม 79,176 ล้านบาท

ผลประกอบการของ เอพี ไทยแลนด์  

  • ปี 2563 รายได้ 29,958 ล้านบาท กำไรสุทธิ 4,226 ล้านบาท
  • ปี 2564 รายได้ 31,980 ล้านบาท กำไรสุทธิ 4,543 ล้านบาท
  • ปี 2565 รายได้ 38,702 ล้านบาท กำไรสุทธิ 5,877 ล้านบาท
  • ปี 2566 รายได้ 18,831 ล้านบาท กำไรสุทธิ 3,022 ล้านบาท (งบ 6 เดือน2566)

เอพี ไทยแลนด์ ผู้นำตลาดอสังหาริมทรัพย์อีกเจ้าในไทย เวลานี้สวนกระแสตลาดที่ชะลอตัวในปี 2566 ด้วยแผนธุรกิจที่ดุดัน เปิดตัวโครงการใหม่มากที่สุดในอุตสาหกรรม จำนวน 58 โครงการ มูลค่ารวม 77,000 ล้านบาท ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด

เอพี ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2534 อายุรวม 32 ปี โดย คุณ อนุพงษ์ อัศวโภคิน ปัจจุบันมีแบรนด์โครงการบ้านและคอนโดมิเนียมที่เป็นที่รู้จักมากมาย เช่น บ้านกลางเมือง, บ้านกลางกรุง, GRANDE PLENO, THE CITY, CENTRO, ASPIRE, HYTHM และ LIFE  ความสำเร็จของเอพี สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของผู้บริหารที่เชื่อมั่นในศักยภาพของธุรกิจและไม่ยอมแพ้ต่อความท้าทาย โดยนายอนุพงษ์ อัศวโภคิน เคยกล่าวไว้ว่า "ถ้าไม่แน่ ก็คงไม่กล้า"

5 ยักษ์ใหญ่ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย

สำหรับในครึ่งปีหลังบริษัทฯ เตรียมเปิดตัวอีก 40 โครงการใหม่ มูลค่ารวมประมาณ 55,940 ล้านบาท โดยเป็นทาวน์โฮม 19 โครงการ มูลค่า 19,550 ล้านบาท บ้านเดี่ยว 14 โครงการ มูลค่า 24,750 ล้านบาท และคอนโดมิเนียม 3 โครงการ มูลค่า 8,300 ล้านบาท และต่างจังหวัด 4 โครงการ มูลค่า 3,340 ล้านบาท

 

อันดับ 3 แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ผู้ครองตลาด บ้านหรู ในไทย

5 ยักษ์ใหญ่ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย

ในวงการอสังหาริมทรัพย์ไทย ไม่มีใครไม่รู้จัก “แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์” ผู้นำตลาดบ้านหรูระดับบนมาอย่างยาวนานกว่า 50 ปี ด้วยภาพลักษณ์ที่โดดเด่นและความเชื่อมั่นในคุณภาพ แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จึงสามารถครองใจผู้บริโภคมาได้อย่างเหนียวแน่น แม้จะมีคู่แข่งหน้าใหม่เข้ามาท้าทายอยู่เสมอ

ผลการดำเนินงานในช่วงครึ่งแรกของปี 2566  แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ สามารถทำกำไรสุทธิได้ 2,803 ล้านบาท ทำให้อัตรากำไรสุทธิเพิ่มขึ้นมากกว่าปีก่อนถึง 7.95 % มี มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดอยู่ที่ 90,220 ล้านบาท  และมี สินทรัพย์รวม 128,422 ล้านบาท

ผลประกอบการของ ศุภาลัย เรียลเอสเตท

  • ปี 2563 รายได้ 30,965 ล้านบาท กำไรสุทธิ 7,144 ล้านบาท
  • ปี 2564 รายได้ 33,031 ล้านบาท กำไรสุทธิ 6,936 ล้านบาท
  • ปี 2565 รายได้ 36,482 ล้านบาท กำไรสุทธิ 8,312 ล้านบาท
  • ปี 2566 รายได้ 14,036 ล้านบาท กำไรสุทธิ 2,803 ล้านบาท (งบ 6 เดือน2566)

แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ก่อตั้งเมื่อ ปี 2516  อายุรวม 50 ปี โดย คุณ อนันต์ อัศวโภคิน เป็นที่รู้จักกันดีในนามของ “บ้านหรู สวยทุกหลัง ได้ของ เหมือนที่ตาเห็น” จากการนำเสนอโครงการบ้านหรูที่มีคุณภาพสูง ตั้งอยู่ในทำเลที่ดีที่สุด และตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของลูกค้าระดับบนอย่างแท้จริง 

5 ยักษ์ใหญ่ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย

สำหรับโครงการที่ประสบความสำเร็จของแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ได้แก่ โครงการบ้านนันทวัน โครงการบ้านมัณฑนา และโครงการบ้านลดาวัลย์ ความสำเร็จของ แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ สะท้อนให้เห็นถึงปัจจัยสำคัญหลายประการที่ทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประสบความสำเร็จ ได้แก่ คุณภาพของโครงการ ที่ตั้งโครงการ และภาพลักษณ์ของแบรนด์ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ให้ความสำคัญมาโดยตลอด

 

อันดับ 4 ศุภาลัย อสังหาฯที่สร้างด้วย ปรัชญา บ้านที่ดี  ตรงตามความต้องการของลูกค้า

5 ยักษ์ใหญ่ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย

ศุภาลัย หนึ่งในกลุ่มผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของไทยซึ่งก่อตั้งในปี 2532  อายุรวม 34 ปี โดย คุณ ประทีป ตั้งมติธรรม เริ่มประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในลักษณะเพื่อ เป็นที่อยู่อาศัยและเพื่อการพาณิชย์อย่างเป็นทางการโดยมีทุนจดทะเบียน 100,000,000 บาท

ผลการดำเนินงานในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 ศุภาลัย สามารถทำกำไรสุทธิได้ 2,781 ล้านบาท ทำให้อัตรากำไรสุทธิเพิ่มขึ้นมากกว่าปีก่อนถึง 19.69 % มี มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดอยู่ที่ 35,936 ล้านบาท  และมี สินทรัพย์รวม 84,683 ล้านบาท

ผลประกอบการของ ศุภาลัย เรียลเอสเตท

  • ปี 2563 รายได้ 20,969 ล้านบาท กำไรสุทธิ 4,251ล้านบาท
  • ปี 2564 รายได้ 29,647 ล้านบาท กำไรสุทธิ 7,070 ล้านบาท
  • ปี 2565 รายได้ 35,500 ล้านบาท กำไรสุทธิ 8,173 ล้านบาท
  • ปี 2566 รายได้ 14,345 ล้านบาท กำไรสุทธิ 2,781 ล้านบาท (งบ 6 เดือน2566)

ศุภาลัย ในระยะแรกได้ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการสร้างบ้านเดี่ยว และทาวน์เฮ้าส์ ในลักษณะโครงการบ้านจัดสรร ต่อมาจึงขยายธุรกิจสู่โครงการอาคาร ชุด อาคารสำนักงาน และรีสอร์ทโรงแรม โดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจ ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของบริษัทฯ

5 ยักษ์ใหญ่ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย

ปัจจุบันมีแบรนด์ ศุภาลัย มีโครงการบ้านและคอนโดมิเนียมที่เป็นที่รู้จักมากมาย เช่น ศุภาลัย ปาล์มวิลล์, ศุภาลัย วิลล์, ศุภาลัย เอเลแกนซ์, ศุภาลัย ไพร์ด, ศุภาลัย พรีโม่, ศุภาลัย ลอฟท์, ศุภาลัย ซิตี้โฮม,ศุภาลัย โอเรียนทัล เป็นต้น

 

อันดับ 5 พฤกษา อสังหาฯ ราคาประหยัด เติมเต็มฝันคนไทยที่อยากมีบ้าน

 5 ยักษ์ใหญ่ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย

บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง (พฤกษา เรียลเอสเตท) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2531 อายุรวม 30 ปี ด้วยทุนจดทะเบียนเพียง 50 ล้านบาท ภายใต้การบริหารของ คุณ ทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ ผู้ได้รับการขนานนามว่าเป็น “เจ้าพ่ออสังหาฯ เศรษฐีหุ้น”

ผลการดำเนินงานในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 พฤกษา สามารถทำกำไรสุทธิได้ 1,690 ล้านบาท ทำให้อัตรากำไรสุทธิเพิ่มขึ้นมากกว่าปีก่อนถึง 0.77 % มี มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด อยู่ที่ 27,356 ล้านบาท และมี สินทรัพย์รวม 71,650 ล้านบาท

ผลประกอบการของ พฤกษา เรียลเอสเตท

  • ปี 2563 รายได้ 29,512 ล้านบาท กำไรสุทธิ 2,770 ล้านบาท
  • ปี 2564 รายได้ 28,430 ล้านบาท กำไรสุทธิ 2,352 ล้านบาท
  • ปี 2565 รายได้ 28,640 ล้านบาท กำไรสุทธิ 2,772 ล้านบาท
  • ปี 2566 รายได้ 13,665 ล้านบาท กำไรสุทธิ 1,690 ล้านบาท (งบ 6 เดือน2566)

พฤกษาเริ่มต้นจากการเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แนวราบราคาประหยัด มุ่งหวังช่วยให้คนไทยทุกคนมีบ้านเป็นของตนเอง โดยโครงการแรกอย่าง “บ้านพฤกษา 1” ย่านรังสิต คลอง 8 ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม ปิดการขายภายในระยะเวลาเพียง 1 เดือนเศษ ส่งผลให้พฤกษากลายเป็นหนึ่งในบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของประเทศไทย

5 ยักษ์ใหญ่ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย

ปัจจุบันมีแบรนด์ พฤกษา มีโครงการบ้านและคอนโดมิเนียมที่เป็นที่รู้จักมากมาย เช่น บ้านพฤกษา , the connect , Passorn , the reserve ,the palm นอกจากการดำเนินธุรกิจแล้ว พฤกษายังให้ความสำคัญกับการทำกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่อง ทั้งช่วยเหลือผู้ที่ขาดโอกาส รวมทั้งช่วย ปลูกป่าเพื่อสิ่งแวดล้อม พลิกฟื้นผืนป่า 1 แสนต้นในโครงการ “ร่วมปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศน์” สร้างสรรค์สังคม “อยู่ดี มีสุข” เป็นต้น

มูลค่าธุรกิจอสังหาฯคิดเป็น 10 % ของ GDP ประเทศไทย 

จาก ศูนย์วิจัยกรุงศรี ประเมินว่า ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดยหากรวมธุรกิจที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานแล้ว จะมีมูลค่าตลาดคิดเป็นสัดส่วนกว่า 10% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ปี 2565 สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลไกต่างๆ ดังนี้

  • สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ก่อให้เกิดการใช้จ่ายในหลายภาคส่วน ทั้งค่าที่ดิน ค่าก่อสร้าง ค่าวัสดุอุปกรณ์ ค่าเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ค่าจ้างแรงงาน เป็นต้น
  • สร้างงานและรายได้ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นภาคธุรกิจที่จ้างงานจำนวนมาก ทั้งในส่วนของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ผู้รับเหมาก่อสร้าง ช่างฝีมือ และพนักงานในภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
  • เชื่อมโยงกับภาคธุรกิจอื่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เชื่อมโยงกับภาคธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทาน เช่น ธุรกิจก่อสร้าง ธุรกิจวัสดุก่อสร้าง ธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้า ธุรกิจเฟอร์นิเจอร์และการตกแต่ง และธุรกิจสถาบันการเงิน

 

สถานการณ์ COVID-19 ทำให้เกิดวิกฤตอสังหาฯ ไทยซบเซา

istock-1487067623

จาก การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในปี 2563-2564 ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อตลาดที่อยู่อาศัยไทย โดยเฉพาะใน 6 จังหวัดหลัก ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ภูเก็ต ชลบุรี นครราชสีมา และขอนแก่น กิจกรรมทางเศรษฐกิจสะดุดลงโดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว ซึ่งส่งผลต่อรายได้และการจ้างงาน ทำให้ผู้ซื้อทั้งในและต่างประเทศชะลอการตัดสินใจซื้อ เลื่อน/ยกเลิกการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยจากความไม่มั่นใจสถานการณ์ในอนาคตและไม่สามารถเดินทางมาทำธุรกรรมได้ 

ผู้ประกอบการชะลอการเปิดโครงการใหม่และมีการปรับลดราคาบ้านเพื่อจูงใจผู้ซื้อ ส่งผลให้ตลาดบ้านแนวราบยังคงเติบโตได้ต่อเนื่องจากกลุ่มผู้ซื้อรายได้กลางบน-สูงซึ่งได้รับผลกระทบค่อนข้างน้อย

แต่ในปี 2565 ตลาดที่อยู่อาศัยกระเตื้องขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ได้แรงหนุนจากการฉีดวัคซีนครอบคลุมทั่วประเทศ ราคาสินค้าเกษตรที่ทรงตัวระดับสูงต่อเนื่อง ท่ามกลางเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป

อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลังๆ พฤกษาได้ปรับทิศทางการพัฒนาบ้านมาสู่ระดับกลางและระดับบนมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อมากขึ้น รวมถึงการขยายตลาดไปสู่กลุ่มคอนโดมิเนียมไฮเอนด์อย่าง เดอะ รีเซิร์ฟ

ตลาดที่อยู่อาศัยไทยเริ่มฟื้นตัว

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยหลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้กำลังซื้อในประเทศกระเตื้องขึ้น แต่ยังไม่เพียงพอที่จะกระตุ้นตลาดที่อยู่อาศัยให้เติบโตได้อย่างเต็มศักยภาพ อย่างไรก็ตาม การเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบช่วยดึงดูดกำลังซื้อจากชาวต่างชาติทั้งกลุ่มนักลงทุนและกลุ่มที่เข้ามาทำงานในไทย

การออกมาตรการกระตุ้นตลาดที่อยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องจากภาครัฐ เช่น การลดค่าจดทะเบียนโอนและจดจำนอง การเลื่อนใช้บัญชีราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน การคงอัตราการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และการผ่อนคลายมาตรการ LTV เป็นการชั่วคราว ปัจจัยเหล่านี้ช่วยกระตุ้นอุปสงค์ที่อยู่อาศัยทั้งจากกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยเองและผู้ซื้อเพื่อการลงทุน

ด้านผู้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวโดยเข้ามาพัฒนาโครงการในจังหวัดภูมิภาคมากขึ้น ในแหล่งงานสำคัญ เช่น พื้นที่ EEC เพื่อตอบรับกระแสการทำงานแบบ “Hybrid workplace” ที่มีแนวโน้มเป็นที่นิยมมากขึ้นในยุคหลัง COVID

ที่มา ศูนย์วิจัยกรุงศรี ,ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย,แสนสิริ ,เอพี ไทยแลนด์ ,แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ,พฤกษา ,ศุภาลัย

แชร์
5 ยักษ์ใหญ่ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย ที่ยืนหยัดเหนือกาลเวลา