“กินอะไร กินอะไร กินอะไรไปกิน MK” หรือ “สุขอยู่ที่ใด MK สุกี้” เพลงโฆษณาติดหู ที่ใครได้ยินแล้วก็ต้องร้องตามสำหรับผู้บริโภคแล้ว เมื่อได้ยินเพลงนี้ก็คงทำเอาเราอยากไปกินสุกี้จิ้มกับน้ำจิ้มสูตรเด็ดที่ไม่เหมือนใคร หรือทำเอาอยากไปกินบะหมี่หยกเป็ดย่างหมูกรอบกันไปตามๆกัน แต่สำหรับนักการตลาดแล้วนี่คือการสร้างแบรนด์ให้น่าจดจำผ่านกลยุทธ์ Music Marketing
MK ธุรกิจร้านอาหารสุกี้หม้อไฟเพื่อสุขภาพ ภาพจำต้นตำรับสุกี้ของเมืองไทย ที่ครองบัลลังก์ผู้นำตลาดมานานกว่า 38 ปี แต่บัลลังก์ยืนหนึ่งของ MK ต้องพบเจอกับความท้าทายรอบด้าน ทั้งร้านสุกี้เจ้าใหญ่เจ้าเล็กที่เปิดตัวมากมาย อีกทั้งยังมีร้านสุกี้บุฟเฟ่ต์หน้าใหม่อย่างสุกี้ตี๋น้อย ที่สามารถตีตลาด กลายเป็นร้านสุกี้เจ้าตลาดรายใหม่อย่างน่าสนใจ
แม้ ร้านสุกี้ MK และ สุกี้ตี๋น้อย จะมีฐานลูกค้าคนละแบบ แต่ปฎิเสธไม่ได้เลยว่าการเข้ามาของผู้เล่นหน้าใหม่ที่อาจทำให้บัลลังก์ของ MK สั่นคลอน
บทความนี้ SPOTLIGHT ชวนทุกคนมาส่องอาณาจักรแสนล้านของ MK Group ร้านสุกี้เจ้าตำรับ มัดใจด้วยน้ำจิ้มสูตรเด็ด และเปิด 6 ไฮไลต์พอร์ตธุรกิจใหม่ที่พร้อมเจาะตลาดทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ
MK เริ่มต้นจากธุรกิจครอบครัว ที่เป็นร้านอาหารไทยเล็ก ๆ ในย่านสยามสแควร์ ดำเนินกิจการโดยคุณป้า ทองคำ เมฆโต ซื้อกิจการมาจากคุณมาคอง คิงยี (Makong King Yee) ชาวฮ่องกง
คุณป้าทองคำ ทำกิจการด้วยใจรักงานบริการ จนลูกค้าที่มาอุดหนุนติดใจ กลับมารับประทานอีก และกลายเป็นลูกค้าประจำในที่สุด โดยอาหารขึ้นชื่อในสมัยนั้นมีหลายอย่าง เช่น ข้าวมันไก่ เนื้อตุ๋น ผัดไทย ผัดขี้เมา เนื้อย่างเกาหลี (เตาถ่าน) ยำแซบๆ อีกทั้งมีเค้กแสนอร่อยขายตอนปีใหม่อีกด้วย
จนกระทั่งเมื่อปี 2527 คุณป้าได้รับการชักชวนให้ไปเปิดร้านในเซ็นทรัล ลาดพร้าว และใช้ชื่อร้านใหม่ว่าร้านกรีน เอ็มเค ซึ่งยังคงเป็นร้านอาหารไทยอยู่เช่นเดิม มีลูกค้ากลุ่มครอบครัว และออฟฟิศเข้ามาอุดหนุนกันอย่างคับคั่ง และได้เปลี่ยนจากร้านอาหารไทยเป็นร้านสุกี้ ในปี 2529 จนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ทำให้สามารถ ขยายธุรกิจออกไปสู่กลุ่มธุรกิจอาหารที่หลากหลายมากขึ้น ภายใต้บริษัท บริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ MK Group โดยแบ่งออกเป็น
นอกจากนี้ ยังมีร้านอาหารในต่างประเทศ ได้แก่
ปี 2561
รายได้รวม : 15,635,032,857 บาท
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ : 2,497,006,621 บาท
ปี 2562
รายได้รวม : 16,126,891,795บาท
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ : 2,565,599,701 บาท
ปี 2563
รายได้รวม : 11,584,626,463 บาท
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ : 908,762,316 บาท
ปี 2564
รายได้รวม : 9,822,106,371บาท
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ : 280,569,588 บาท
ปี 2565
รายได้รวม : 13,559,269,448 บาท
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ : 1,321,023,849 บาท
ปฎิเสธไม่ได้เลยว่า น้ำจิ้มสุกี้ MK เป็นน้ำจิ้มที่สามารถมัดใจผู้บริโภคได้อยู่หมัด แม้ว่าร้านสุกี้เจ้าอื่นจะพยายามเลียนแบบ แต่ก็ไม่มีเจ้าไหนที่สามารถสร้างโค่นล้มได้
โดย คุณฤทธิ์ ธีระโกเมน ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร MK Group ได้เปิดเผยว่า ตนได้เห็นโอกาสช่องทางการเติบโตของซอสพริก เนื่องจากปัจจุบันซอสพริกมีมูลค่าตลาดทั่วโลกอยู่ที่ 100,000 ล้านบาท ถือว่าเป็นตลาดที่กำลังเติบโตได้ดี และผู้บริโภคก็ได้มีการเรียกร้องให้ MK ขายซอสสุกี้แบบขวดจึงได้เปิดตัวขายน้ำจิ้มสุกี้ MK แบบขวดที่ร้าน MK ทุกสาขาและร้านสะดวกซื้อทั่วประเทศไทย ซึ่งต่อเดือนสามารถขายได้ถึง 4-5 แสนขวด
แต่การเปิดตัวครั้งนี้ที่งาน Thaifex- Anuga Asia 2024 คือการประกาศความพร้อมส่งออกน้ำจิ้มสุกี้ MK แบบขวดไปยังต่างประเทศ โดนเจาะตลาดที่ประเทศเกาหลี, อังกฤษ, แคนาดา และสหรัฐอเมริกา ไปจนถึงภาคธุรกิจ HORECA (Hotel, Restaurant, Café-Catering)
: MK Group ได้การเปิดรับคู่ค้าขยายแฟรนไชส์แบรนด์ร้านอาหารไทยสู่ต่างประเทศ โดยเฉพาะแฟรนไชส์ “แหลมเจริญ ซีฟู้ดส์” กับเมนูอาหารซีฟู้ดส์สไตล์ไทย และ “MK Restaurants” แบรนด์สุกี้อันดับ 1 ของไทย
: MK Group ได้ผนึกกำลังกับ Senko Group Holding ผู้นำด้านโลจิสติกส์ในประเทศญี่ปุ่น อันมีจุดแข็งและองค์ความรู้เกี่ยวกับบริการโลจิสติกส์แบบห้องเย็นเพื่อส่งสินค้ามายาวนานกว่า 100 ปี สู่ M-Senko Logistics บริการด้านโลจิสติกส์แบบครบวงจรรองรับสินค้าทั้ง Food และ Non – Food พร้อมความเชี่ยวชาญในการขนส่งแบบ Cold - chain Logistics ได้ทั่วประเทศไทย
: แบรนด์ผลิตภัณฑ์ทางเลือกเพื่อสุขภาพ พร้อมทั้งสนับสนุนเกษตรกรไทย เพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคที่มองหาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่มีคุณภาพ
: ที่ชูจุดเด่นไม่ใส่ผงชูรส สี และสารกันเสีย สามารถเก็บได้นาน 1 ปีหากยังไม่เปิดขวด ปัจจุบันมีวางจำหน่ายทั้งหน้าร้าน MK, ซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านสะดวกซื้อ โดยมีแผนส่งออกไปสู่เกาหลีใต้ อังกฤษ แคนาดาและสหรัฐฯ
: บริการให้คำปรึกษาและบริการการผลิตอาหารครบวงจร ภายใต้บริษัท IFS ตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ การผลิต การวิเคราะห์ ทดสอบคุณภาพ และการจดแจ้งทะเบียนอาหาร
: สำหรับลูกค้าองค์กรที่มองหาบริการอาหารพร้อมทาน เหมาะสำหรับลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่อย่าง สายการบิน โรงพยาบาล โรงเรียน เป็นต้น