ใกล้สิ้นปีแบบนี้ หลายคนคงเริ่มมองหาช่องทางลดหย่อนภาษี เพื่อให้เงินอยู่ในกระเป๋าเรามากขึ้น แต่รู้หรือไม่ว่า การลดหย่อนภาษี นอกจากจะช่วยให้เราจ่ายภาษีน้อยลงแล้ว ยังเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายทางการเงินได้อีกด้วย ดังนั้นในวันนี้เราขอนำเสนอข้อมูลอัพเดทล่าสุด เกี่ยวกับการลดหย่อนภาษีประจำปี 2567 ที่รวบรวมตัวเลขจากกรมสรรพากร มาให้ทุกท่านได้วางแผนภาษีอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการลดหย่อนแบบง่ายๆ เช่น ค่าใช้จ่ายส่วนตัว ค่าเลี้ยงดูบุตร หรือการลดหย่อนแบบลงทุน เช่น กองทุน RMF, SSF และประกันชีวิต เรามีข้อมูลครบถ้วน พร้อมตัวอย่าง เพื่อให้คุณเข้าใจง่าย นำไปใช้ได้จริง
ใกล้สิ้นปีแบบนี้ หลายคนคงเริ่มมองหาช่องทางลดหย่อนภาษี เพื่อให้เงินอยู่ในกระเป๋าเรามากขึ้น วันนี้เราขอนำเสนอข้อมูลอัพเดทล่าสุด เกี่ยวกับการลดหย่อนภาษีประจำปี 2567 ที่รวบรวมตัวเลขจากกรมสรรพากร มาให้ทุกท่านได้วางแผนภาษีอย่างมีประสิทธิภาพ
รายการลดหย่อน | รายละเอียด | จำนวนเงินสูงสุดที่ลดหย่อนได้ |
ตัวเอง |
| 60,000 บาท |
คู่สมรส (ไม่มีเงินได้) |
| 60,000 บาท |
ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร |
| ไม่เกิน 60,000 บาท |
บุตร | คนที่ 1 : 30,000 บาท คนที่ 2 เป็นต้นไป (เกิดตั้งแต่ปี 2561) : 60,000 บาท | 30,000 บาท |
ค่าเลี้ยงดูพ่อแม่ของตัวเอง หรือคู่สมรส |
| คนละ 30,000 บาท รวมไม่เกิน 120,000 บาท |
ค่าเลี้ยงดูผู้พิการ/ทุพพลภาพ |
| คนละ 60,000 บาท |
ตัวเอง: เริ่มต้นที่พื้นฐาน ลดหย่อนส่วนตัวได้ 60,000 บาท
คู่สมรส: สำหรับผู้มีคู่สมรสที่ไม่มีรายได้ สามารถลดหย่อนได้อีก 60,000 บาท
บุตร: ลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท แต่พิเศษสำหรับบุตรคนที่ 2 เป็นต้นไป ที่เกิดตั้งแต่ปี 2561 ลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท
ค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร: มีค่าใช้จ่ายส่วนนี้ อย่าลืมเก็บหลักฐานมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 60,000 บาท
พ่อแม่: ดูแลตัวเองแล้วยังดูแลพ่อแม่ได้อีก ลดหย่อนค่าเลี้ยงดูพ่อแม่ของตัวเองหรือคู่สมรสได้คนละ 30,000 บาท รวมแล้วไม่เกิน 120,000 บาท
ผู้พิการ/ทุพพลภาพ: หากมีบุคคลในบ้านเป็นผู้พิการหรือทุพพลภาพ สามารถลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท
ประเภท | รายละเอียด | จำนวนเงินสูงสุดที่ลดหย่อนได้ |
ประกัน |
|
|
ประกันสังคม |
| ไม่เกิน 9,000 บาท |
ประกันสุขภาพพ่อแม่ |
| ไม่เกิน 15,000 บาท |
ประกันชีวิต / ประกันสะสมทรัพย์ |
| ไม่เกิน 100,000 บาท |
ประกันสุขภาพตัวเอง |
| ไม่เกิน 25,000 บาท |
รวมประกัน |
| ไม่เกิน 100,000 บาท |
กองทุน / เงินออม |
|
|
ประกันชีวิตแบบบำนาญ | 15% ของเงินได้ | ไม่เกิน 200,000 บาท |
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) | 30% ของเงินได้ | ไม่เกิน 500,000 บาท |
กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) | 30% ของเงินได้ | ไม่เกิน 200,000 บาท |
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) | 15% ของค่าจ้าง | ไม่เกิน 500,000 บาท |
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน |
| ไม่เกิน 500,000 บาท |
กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) |
| ไม่เกิน 30,000 บาท |
รวมกองทุน / เงินออม |
| ไม่เกิน 500,000 บาท |
อื่นๆ |
|
|
เงินลงทุนธุรกิจ Social Enterprise |
| ไม่เกิน 100,000 บาท |
กองทุน ThaiESG ปี 67 - 69 | 30% ของเงินได้ | ไม่เกิน 300,000 บาท |
ประกันชีวิต/ประกันสะสมทรัพย์: วางแผนอนาคตพร้อมลดหย่อนภาษี เบี้ยประกันชีวิตแบบทั่วไป หรือแบบสะสมทรัพย์ ลดหย่อนได้สูงสุด 100,000 บาท
ประกันสุขภาพ: ดูแลสุขภาพตัวเองด้วย เบี้ยประกันสุขภาพลดหย่อนได้สูงสุด 25,000 บาท
ประกันสุขภาพพ่อแม่: ดูแลสุขภาพพ่อแม่ เบี้ยประกันสุขภาพลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
ประกันสังคม: มนุษย์เงินเดือนได้รับสิทธิ์นี้อยู่แล้ว ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 9,000 บาท
กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF): ลงทุนระยะยาวเพื่อวัยเกษียณ ลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
กองทุนเพื่อการออม (SSF): อีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการออมระยะยาว ลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD): สำหรับพนักงานบริษัทเอกชนที่สมัครเข้ากองทุน ลดหย่อนได้ 15% ของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)/กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน: ลดหย่อนได้ไม่เกิน 500,000 บาท
ประกันชีวิตแบบบำนาญ: วางแผนรับเงินบำนาญหลังเกษียณ ลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.): ส่งเสริมการออมเพื่อวัยเกษียณ ลดหย่อนได้ไม่เกิน 30,000 บาท
กองทุนรวม ThaiESG: ลงทุนในกองทุนรวมที่มุ่งเน้นการลงทุนอย่างยั่งยืน ท่านจะได้รับสิทธิลดหย่อนภาษี 30% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 300,000 บาท (ปี 2567-2569)
สนับสนุน Social Enterprise: ร่วมส่งเสริมธุรกิจเพื่อสังคม ด้วยการลดหย่อนภาษีสูงสุด 100,000 บาท
เงื่อนไขสำคัญ: การลงทุนใน RMF, SSF, PVD, กบข., ประกันชีวิตแบบบำนาญ และ กอช. เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในแต่ละปีภาษี
รายการบริจาค | รายละเอียด | จำนวนเงินสูงสุดที่ลดหย่อนได้ |
การศึกษา กีฬา (e-Donation) และ รพ. รัฐ | 2 เท่าของจำนวนเงินบริจาค | ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อนอื่นๆ |
ทั่วไป |
| ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อนอื่นๆ |
พรรคการเมือง |
| ไม่เกิน 10,000 บาท |
บริจาคทั่วไป: ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อนอื่นๆ
บริจาคเพื่อการศึกษา กีฬา โรงพยาบาลรัฐ (e-Donation) และองค์กรเพื่อการพัฒนาสังคม: ได้อานิสงส์ 2 เท่าของเงินบริจาค แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อนอื่นๆ
บริจาคพรรคการเมือง: ลดหย่อนได้ไม่เกิน 10,000 บาท
รายการกระตุ้นเศรษฐกิจ | รายละเอียด | จำนวนเงินสูงสุดที่ลดหย่อนได้ |
Easy e-Receipt | 1 ม.ค. - 15 ก.พ. 67 | ไม่เกิน 50,000 บาท |
ดอกเบี้ยบ้าน |
| ไม่เกิน 100,000 บาท |
เที่ยวเมืองรอง | พ.ค. - พ.ย. 67 หมายเหตุ: ยังเป็นมติ ค.ร.ม. ขอให้ติดตามกฎหมายต่อไปว่ามีข้อแก้ไขเพิ่มเติมหรือไม่ | ไม่เกิน 15,000 บาท |
ค่าสร้างบ้านใหม่ | 9 เม.ย. 67 – 31 ธ.ค. 68 | 10,000 บาท ต่อค่าก่อสร้าง 1 ล้านบาท รวมไม่เกิน 100,000 บาท |
Easy e-Receipt : ลดหย่อนภาษีได้อย่างสะดวกสบาย เพียงใช้จ่ายผ่าน e-Tax Invoice / e-Receipt โดยท่านสามารถลดหย่อนได้สูงสุด 50,000 บาท ระหว่าง 1 ม.ค - 15 ก.พ. 67
ส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง : สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการเดินทางท่องเที่ยว สามารถนำค่าใช้จ่ายจากการท่องเที่ยวเมืองรอง ระหว่างเดือนพฤษภาคม – พฤศจิกายน 2567 มาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15,000 บาท
ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย: ผู้มีภาระผ่อนบ้าน สามารถนำดอกเบี้ยมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท
ส่งเสริมการสร้างที่อยู่อาศัย: สำหรับผู้ที่มีแผนก่อสร้างบ้านใหม่ สามารถลดหย่อนภาษีได้ 10,000 บาท ต่อค่าก่อสร้าง 1 ล้านบาท โดยต้องเริ่มก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2567 - 31 ธันวาคม 2568 โดยยอดรวมไม่เกิน 100,000 บาท
ท่านได้ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการลดหย่อนภาษีประจำปี 2567 ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูลจากกรมสรรพากร เพื่อประกอบการวางแผนภาษีล่วงหน้า การลดหย่อนภาษีเป็นสิทธิประโยชน์ที่พึงได้รับตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ท่านควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมอย่างรอบด้าน ประกอบการพิจารณาวางแผนการเงินและการลงทุนให้สอดคล้องกับสถานะทางการเงินของท่าน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
เพื่อประสิทธิภาพในการลดหย่อนภาษี ขอแนะนำให้ท่านจัดเตรียมเอกสารประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีให้ครบถ้วน เช่น ใบเสร็จรับเงิน หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นต้น และควรศึกษาเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ของแต่ละรายการลดหย่อนภาษีให้ถี่ถ้วน เนื่องจากแต่ละรายการมีเงื่อนไขที่แตกต่างกัน การวางแผนการใช้จ่ายและการลงทุนล่วงหน้า จะช่วยให้ท่านเลือกรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมกับเป้าหมายทางการเงิน และช่วยในการลดหย่อนภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากมีข้อสงสัยหรือต้องการคำแนะนำเพิ่มเติม ท่านสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านภาษี เช่น นักวางแผนการเงิน หรือเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร
หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ข้อมูลที่นำเสนอจะเป็นประโยชน์ต่อท่านในการวางแผนภาษี เพื่อให้ท่านสามารถบริหารจัดการทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายทางการเงินของท่าน
ที่มา SCB Thailand