10 อันดับแบงก์ไทย กำไรสูงสุด ดังนี้
1. เอสซีบี เอ็กซ์ กำไรสุทธิ 10,995 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.5%
2. กสิกรไทย กำไรสุทธิ 10,741 ล้านบาท ลดลง 4.19%
3. กรุงเทพ กำไรสุทธิ 10,129 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 42.3%
4. กรุงไทย กำไรสุทธิ 10,067 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.6%
5. กรุงศรี กำไรสุทธิ 8,676 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.0%
6. ทีทีบี กำไรสุทธิ 4,295 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 42.3%
7. เกียรตินาคินภัทร กำไรสุทธิ 2,085 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.4%
8. ทิสโก้ กำไรสุทธิ 1,792.58 ล้านบาท ลดลง 0.2%
9. ซีไอเอ็มบีไทย กำไรสุทธิ 890 ล้านบาท ลดลง 21.8%
10. แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป กำไรสุทธิ 669.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30.9%
อันดับ 1 SCBx
บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) กำไรสุทธิ จำนวน 10,995 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.5% มีรายได้ 40,900 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.5% ผลจากการขยายตัวที่แข็งแกร่งของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ เพิ่มขึ้น 17.0% จากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ในภาวะอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ในขณะที่สินเชื่อโดยรวมขยายตัว 3.1% จากการเติบโตสินเชื่ออย่างมีคุณภาพของธนาคารและการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในธุรกิจสินเชื่อจำนำทะเบียนรถและธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลบนแพลตฟอร์มดิจิทัล
บริษัทได้ตั้งเงินสำรองจำนวน 9,927 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.5% เพื่อเป็นสำรองส่วนเพิ่มสำหรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นของลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่รายหนึ่ง ในขณะที่อัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพอยู่ในระดับสูงที่ 163.8%
โดยอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2566 อยู่ที่ 3.32% ปรับตัวลดลงจาก 3.34% ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2565 และเงินกองทุนรวมตามกฎหมายของบริษัทยังคงอยู่ในระดับแข็งแกร่งที่ 18.6%
“ ผลการดำเนินงานของบริษัทในไตรมาสแรกสะท้อนถึงทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ชัดเจนขึ้น โดยธุรกิจธนาคารยังคงเดินหน้าตามแผนกลยุทธ์เพื่อเป็นธนาคารที่ดีขึ้นและสามารถขยายส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิได้อย่างต่อเนื่องพร้อมกับการบริหารคุณภาพของสินทรัพย์ที่มีประสิทธิภาพ
ธุรกิจใหม่สามารถขยายฐานลูกค้าเพื่อเติบโตพอร์ตสินเชื่อได้ตามแผน โดยยังอยู่ภายใต้การประเมินความเสี่ยงอย่างรัดกุม และบริษัทได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้นให้จ่ายเงินปันผลในอัตรา 60% ของกำไรสุทธิปี 2565 เพื่อปรับโครงสร้างเงินทุนของบริษัทให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นภายใต้โครงสร้างองค์กรใหม่ที่มี SCBX เป็นยานแม่ ซึ่งเป็นรูปแบบองค์กรที่มีความคล่องตัวในการบริหารงาน สนับสนุนการเติบโตของธุรกิจใหม่ และสร้างมูลค่าผู้ถือหุ้นได้อย่างยั่งยืน” นายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) กล่าว
อันดับ 2 KBANK
ไตรมาส 1/2566 มีกำไรสุทธิจำนวน 10,741 ล้านบาท ลดลง 4.19% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและภาษีเงินได้มีจำนวน 26,781 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.32% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
โดยธนาคารยังคงตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่า จะเกิดขึ้น (Expected credit loss : ECL) ตามหลักความระมัดระวัง แม้ว่าจะลดลงจากไตรมาส 4 ปี 2565 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมีจำนวนเพิ่มขึ้น เนื่องจากธนาคารมีการบริหารจัดการคุณภาพสินทรัพย์เชิงรุกที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจโลกและปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศที่อาจจะส่งผลต่อลูกค้าบางกลุ่มที่ยังมีความเปราะบาง
โดยไตรมาส 1 ปี 2566 ธนาคารพบว่ามีลูกค้ารายใหญ่รายหนึ่ง ที่คุณภาพหนี้มีสัญญาณความเสื่อมถอย โดยธนาคารได้มีสำรองสำหรับหนี้ส่วนนี้ไว้แล้ว อย่างไรก็ตาม ธนาคารอาจพิจารณาความเหมาะสมในการกันสำรองเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด
ขณะที่อัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (Net interest margin : NIM) อยู่ที่ระดับ 3.46% แม้ว่าจะมีต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้นจากอัตราเงินนำส่งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นอัตราปกติในอัตราร้อยละ 0.46 รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 32.00% หลัก ๆ จากมูลค่ายุติธรรมของเครื่องมือทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุนเพิ่มขึ้นตามภาวะตลาด
สำหรับเงินให้สินเชื่อใหม่ยังคงเติบโตในกลุ่มลูกค้าตามยุทธศาสตร์ของธนาคาร ทั้งนี้ เงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อ (%NPL gross) อยู่ที่ระดับ 3.04% และค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage ratio) อยู่ที่ระดับ 156.68% สูงขึ้นเมื่อเทียบกับสิ้นปีที่ระดับ 154.26%
ส่วนอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์เสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินธนาคารกสิกรไทยตามหลักเกณฑ์ Basel III ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566 ยังคงมีความแข็งแกร่งอยู่ที่ 18.90% โดยมีอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 อยู่ที่ 16.92%
อันดับ 3 BBL
ธนาคารกรุงเทพมีกำไรสุทธิสำหรับไตรมาส 1 ปี 2566 จำนวน 10,129 ล้านบาท โดยมีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิอยู่ในระดับเดียวกับไตรมาสก่อนจากรายได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นตามการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ย สุทธิกับค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิอยู่ที่ 2.84%
ธนาคารตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจำนวน 8,474 ล้านบาท โดยพิจารณาถึงความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า
สินเชื่อธนาคารจำนวน 2,640,090 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยที่ 1.6% จากสิ้นปี 2565 ส่วนใหญ่จากสินเชื่อลูกค้าธุรกิจและสินเชื่อลูกค้ากิจการต่างประเทศ สำหรับอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตต่อเงินให้สินเชื่อรวมยังคงอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ที่ 3.1%
ทั้งนี้ ธนาคารยึดหลักการตั้งสำรองด้วยความระมัดระวังและรอบคอบอย่างต่อเนื่อง ทำให้อัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตต่อเงินให้สินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตอยู่ในระดับแข็งแกร่งที่ 265.1% อัตราส่วนเงินกองทุน 19.2% สูงกว่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนด
อันดับ 4 Krungthai
กรุงไทยมีกำไรสุทธิ 10,067 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15% มาจากรายได้รวม ในจากการดำเนินงาน เพิ่มขึ้น 18.8% จากพอร์ตสินเชื่อ รวมถึงการขยายตัวของรายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิและรายได้จากการดำเนินงานอื่นๆ
โดยธนาคารตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น เพิ่มขึ้น 48.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งพิจารณาถึงการดำเนินธุรกิจด้วยความระมัดระวังภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่มีความไม่แน่นอน รวมทั้งเงินเฟ้อ และรักษา Coverage Ratio ในระดับสูงที่ 183.2% เทียบกับ 179.7% เมื่อสิ้นปี 2565 พร้อมทั้งบริหารจัดการคุณภาพสินทรัพย์อย่างระมัดระวัง โดยมีอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวม (NPLs Ratio-Gross) ที่ 3.22% ลดลงจากสิ้นปี 2565
ทั้งนี้ มีเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่ 16.55% ของสินทรัพย์ถ่วงน้ำหนักตามความเสี่ยง และมีเงินกองทุนทั้งสิ้น 19.75%
อันดับ 5 BAY
กรุงศรีมีกำไรสุทธิจำนวน 8,676 ล้านบาท เติบโต 17.0% จากไตรมาสแรกของปี 2565 โดยได้รับแรงสนับสนุนหลักจากการเพิ่มขึ้นของทั้งรายได้ดอกเบี้ยสุทธิและรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย ตลอดจนการลดลงของภาระตั้งสำรอง โดยกรุงศรีมุ่งมั่นเสริมสร้างความแข็งแกร่งเพื่อขับเคลื่อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและภาคธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
กรุงศรียังคงรักษาเสถียรภาพด้านการเงินที่แข็งแกร่ง พร้อมสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ โดยสินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) เติบโตอย่างครอบคลุมและทั่วถึงที่ 5.4% และเงินรับ
ฝากเพิ่มสูงขึ้นถึง 3.0% นอกจากนี้ อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL) ยังคงอยู่ในระดับต่ำเพียง 2.26% ณ สิ้นไตรมาสแรกของปี 2566 จากการดำเนินนโยบายการบริหารความเสี่ยงที่รอบคอบรัดกุม
สำหรับส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) อยู่ที่ 3.35% เทียบกับ 3.28% ในไตรมาสแรกของปี 2565 ขณะที่อัตราส่วนเงินสำรองต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ อยู่ในระดับแข็งแกร่งที่ 167.1% และอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (ของธนาคาร) อยู่ที่ 17.95% เทียบกับ 17.97% ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2565
นายเซอิจิโระ อาคิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกที่เพิ่มมากขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาวิกฤตสถาบันการเงินในประเทศกลุ่มเศรษฐกิจพัฒนาแล้ว เศรษฐกิจไทยยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องในไตรมาสแรกของปี 2566 โดยได้รับแรงสนับสนุนหลักจากการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชน โดยกรุงศรีคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตในระดับ 3.3% ในปี 2566
“กรุงศรียังคงรักษาเสถียรภาพด้านการเงินที่แข็งแกร่งมั่นคง ด้วยระดับเงินกองทุน ระดับการตั้งสำรอง และสภาพคล่องทางการเงินที่สูง และพร้อมเดินหน้าสนับสนุนแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจและภาคธุรกิจ ทั้งในกลุ่มลูกค้าธุรกิจและลูกค้ารายย่อย โดยธนาคารกำหนดเป้าหมายการเติบโตของเงินให้สินเชื่อในปี 2566 ไว้ที่ 3-5%” นายเซอิจิโระ อาคิตะ กล่าว
อันดับ 6 ttb
ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ ทีเอ็มบีธนชาต (ทีทีบี) ไตรมาส 1/2566 มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 4,295 ล้านบาท 34% จากไตรมาส 1/2565 ด้านอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพหรือหนี้เสียทรงตัวในระดับต่ำที่ 2.69% ขณะที่อัตราส่วนสำรองฯ ต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 140% สะท้อนให้เห็นถึงผลการดำเนินงานที่เป็นไปตามเป้าหมายในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการสร้างรายได้ การบริหารค่าใช้จ่าย และการดูแลคุณภาพสินทรัพย์ โดยไตรมาส 1/66 ค่าใช้จ่ายตั้งสำรองฯ อยู่ที่ 4,276 ล้านบาท ลดลง 11.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี กล่าวว่า ผลการดำเนินงานในไตรมาสแรกของปี 2566 ถือว่าเป็นไปตามเป้าหมาย และสะท้อนถึงผลลัพธ์จากแนวทางการดำเนินธุรกิจของทีเอ็มบีธนชาต ที่เน้นย้ำการเติบโตธุรกิจอย่างมีคุณภาพ ควบคู่ไปกับการนำเอาจุดแข็งจากการรวมกิจการมาเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและความสามารถในการสร้างกำไร ที่สำคัญอีกประการคือการดูแลสถานะทางการเงินให้มีความแข็งแกร่ง เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของธนาคารให้พร้อมรับมือกับทุกสภาพเศรษฐกิจ
ปี 2566 ทีทีบีตั้งเป้าที่จะเติบโตสินเชื่อรายย่อยมากขึ้น ด้วยการต่อยอดจากความเป็นผู้นำในตลาดสินเชื่อบ้านและสินเชื่อเช่าซื้อ ไปสู่การนำเสนอผลิตภัณฑ์สินเชื่อรถแลกเงิน (ttb cash your car) สินเชื่อบ้านแลกเงิน (ttb cash your home) สินเชื่อ ttb payday loan และกลุ่มผลิตภัณฑ์ประกันภัยรถ โดยจะเน้นฐานลูกค้าที่เพิ่มขึ้นจากการรวมกิจการเป็นหลัก นอกจากนั้นแล้วยังเตรียมนำเสนอโซลูชันทางการเงินสำหรับกลุ่มพนักงานเงินเดือน คนมีบ้าน คนมีรถ ด้วยแนวคิด Ecosystem Play ซึ่งจะทยอยเปิดตัวให้บริการในไตรมาสถัด ๆ ไป
อันดับ 7 KKP
ธนาคารเกียรตินาคินภัทร มีกำไรสุทธิในไตรมาส 1/2566 อยู่ที่ 2,085 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.4% เป็นกำไรจากธุรกิจตลาดทุน จำนวน 309 ล้านบาท กำไรสุทธิที่เพิ่มขึ้นมาจากรายได้ดอกเบี้ยเงินหลักที่ปรับเพิ่มขึ้น 21.4% ตามการขยายสินเชื่อ ที่เติบโต 2.7% หลักๆ มาจากสินเชื่อรายใหญ่ และรายย่อย และอัตราดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้น
โดยธนาคารมีผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในไตรมาส 1/2566 จำนวน 19,579 ล้านบาท ใกล้เคียงกับปีก่อน เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 2.9% เงินกองทุนระดับที่เพียงพอ สำหรับรองรับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ซึ่งธนาคารมีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) คำนวณตามเกณฑ์ Basel III อยู่ที่ 14.72% เงินกองทุนขั้นที่ 1 อยู่ที่ 11.40%
อันดับ 8 TISCO
กลุ่มทิสโก้ แจ้งผลประกอบการไตรมาสแรกปี 2566 มีกำไรสุทธิ 1,793 ล้านบาท โดยธุรกิจสินเชื่อยังขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่เงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงอยู่ในระดับแข็งแกร่ง 23.5% และเงินสำรองต่อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้สูงถึง 248% พร้อมยึดหลักบริหารความเสี่ยงที่รัดกุมและควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพภายใต้ภาวะต้นทุนทางการเงินที่ปรับตัวสูงขึ้น
โดยธุรกิจสินเชื่อยังคงเติบโตได้ต่อเนื่องที่ระดับ 0.5% จากการขยายสาขา “สมหวัง เงินสั่งได้” ที่กระจายโอกาสออกไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ สร้างการเติบโตให้แก่สินเชื่อจำนำทะเบียนแก่กลุ่มลูกค้าที่กว้างขึ้น รวมถึงสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ที่ยังคงเติบโตได้ดีตามภาคเศรษฐกิจที่กลับมาขยายตัว หนุนให้รายได้ดอกเบี้ยปรับตัวเพิ่มขึ้น รวมถึงรายได้ค่าธรรมเนียมจากธุรกิจนายหน้าประกันภัยเติบโตไปพร้อมกับการปล่อยสินเชื่อใหม่
ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected Credit Loss – ECL) อยู่ในระดับต่ำที่จำนวน 125 ล้านบาท หรือคิดเป็น 0.2% ของยอดสินเชื่อเฉลี่ย โดยบริษัทยังคงมีเงินสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตอยู่ในระดับสูง พร้อมรองรับต่อความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ด้วยอัตราส่วนเงินสำรองหนี้สูญต่อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Loan Loss Coverage Ratio) ที่สูงถึง 248.1% ทั้งนี้ บริษัทมีอัตราผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นเฉลี่ย (ROAE) สำหรับไตรมาส 1 ปี 2566 อยู่ที่ 16.4%
ส่วนของสินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิต (NPLs) อยู่ที่ 2.1% ของสินเชื่อรวม ใกล้เคียงกับสิ้นปีก่อนหน้า โดยบริษัทยังคงดำเนินนโยบายการควบคุมคุณภาพสินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพ และการบริหารความเสี่ยงอย่างรัดกุม
ธนาคารทิสโก้ยังคงรักษาระดับฐานะเงินกองทุนที่แข็งแกร่ง โดยมีประมาณการอัตราเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) อยู่ที่ 23.5% สูงกว่าอัตราเงินกองทุนขั้นต่ำ 11.0% ที่กำหนดโดยธนาคารแห่งประเทศไทย และมีอัตราเงินกองทุนชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 ต่อสินทรัพย์เสี่ยงอยู่ที่ 19.8% และ 3.8%
อันดับ 9 CIMBT
ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย มีกำไรสุทธิ 890 ล้านบาท ลดลง 21.8% โดยพอล วอง ชี คิน กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย กลาวว่า ธนาคารมีรายได้จากการดำเนินงานจำนวน 3,828.8 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 344.7 ล้านบาท หรือ 9.9% เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันปี 2565 สาเหตุหลักเกิดจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ 1.5% และรายได้อื่น 46.5%
สำหรัลเงินให้สินเชื่อของกลุ่มธนาคารอยู่ที่ 2,374,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.9% เมื่อเทียบกับเงินให้สินเชื่อสิ้นปี 2565
อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ ต่อเงินให้สินเชื่อทั้งสิ้นอยู่ที่ 3.1% เมื่อเทียบกับเงินให้สินเชื่อสิ้นปี 2565 อยู่ที่ 3.3% เป็นผลจากการปรับโครงสร้างพอร์ตสินทรัพย์ของธนาคารให้สอดคล้องกับการลดลงของสินเชื่อพาณิชย์ธนกิจ ธนาคารซีไอเอ็มบีไทยยังคงมาตรฐานการอนุมัติสินเชื่อ และนโยบายการบริหารความเสี่ยงที่รัดกุมขึ้น ตลอดจนได้มีแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการติดตามหนี้ การดำเนินการดูแลและการแก้ไขลูกหนี้ที่ถูกผลกระทบดังกล่าวอย่างใกล้ชิด
อัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566 อยู่ที่ 122.6% เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2565 ซึ่งอยู่ที่ 114.6% ค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นของกลุ่มธนาคารอยู่ที่จำนวน 8,600 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินสำรองส่วนเกินตามเกณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยจำนวน 1,500 ล้านบาท เงินกองทุนรวมของกลุ่มธนาคาร ณ สิ้นวันที่ 31 มีนาคม 2566 มีจำนวน 57,800 ล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนเงินกองทุนรวมต่อสินทรัพย์เสี่ยง 22.2% โดยเป็นอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 อยู่ที่ 16.5%
อันดับ 10 LHFG
ธนาคารแอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กำไรสุทธิ 669.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30.9% หลักๆ เป็ นผลจากการขยายตัว ของเงินให้สินเชื่อซึ่ งส่งผลให้รายได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น
ธนาคารยังคงตั้งสํารองค่าใช้จ่ายผลขาดทุน ด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตามหลักความระมัดระวังเพื่อรองรับการขยายตัวของสินเชื่อ และรองรับ ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการสิ้ นสุดมาตรการช่วยเหลือลูกค้า โดยอัตราส่วนสํารองต่อสินเชื่อที่มีการด้อยค่า ด้านเครดิต (Coverage Ratio) อยู่ที่ 228.22% และอัตราส่วนสินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตต่อสินเชื่อรวม (NPL Ratio) เพิ่มขึ้นจาก 2.09% ณ สิ้ นปี 2565 เป็น 2.37% ณ ไตรมาสที่ 1/2566
กลยุทธ์ของธนาคารปี 2566 มุ่งเติบโตในพอร์ตสินเชื่อที่สร้างผลตอบแทนที่ ดีหรื อ กลุ่ม Higher Yield ที่ มี การจัดการความเสี่ ยงที่ เหมาะส ม รวมถึงการ Cross Selling ผลิ ตภัณ ฑ์ ของ กลุ่มการเงินแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์และการเพิ่มรายได้ค่าธรรมเนียม รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพด้านดิจิทัล (Digital Transformation) ด้านการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) และการยกระดับ Digital Platform ให้ตอบโจทย์การทําธุรกรรมการเงินและการลงทุนที่ครบวงจร