อินไซต์เศรษฐกิจ

ยุคของแพง "ใครกล้าขึ้นค่าแรงบ้าง"

1 พ.ค. 65
ยุคของแพง "ใครกล้าขึ้นค่าแรงบ้าง"

นอกจากวันนี้จะเป็น "วันแรงงานสากล" 1 พฤษภาคม แล้ว ก็ยังเป็นวันที่ลูกจ้างในหลายประเทศทั่วโลกได้รับการ "ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ" อีกด้วย

ที่จริงแล้ว ทั่วโลกมีการทยอยปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำกันมาตั้งแต่ต้นปี 2565 แล้ว เพราะค่าครองชีพและอัตราเงินเฟ้อทั่วโลกทยอยเพิ่มสูงขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง และปีนี้ยังเป็นปีที่สถานการณ์โควิด-19 เริ่มผ่อนคลายลง ทำให้การขึ้นค่าแรงที่เคยถูกอั้นไว้ในช่วง 2 ปีของโควิด มาเริ่มในปีนี้ ประจวบเหมาะกับที่โลกกำลังเจอปัญหาเงินเฟ้อพอดี


 

ยุคของแพง "ใครกล้าขึ้นค่าแรงบ้าง"

ที่จริงแล้ว ยุคของแพงต่างหากที่เป็นปัจจัยหนุนให้ต้องขึ้นค่าแรง เพื่อให้แรงงานสามารถต่อสู้กับเงินเฟ้อได้ ซึ่งเป็นเหตุผลหลักที่หลายประเทศปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในปีนี้

แต่ปัญหาคือ สถานการณ์ปัจจุบันไม่ใช่แค่เรื่องเงินเฟ้อเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีปัญหาพ่วงอย่าง "เศรษฐกิจชะลอตัวลง" และยังมีความเสี่ยงของ "เศรษฐกิจถดถอย" ด้วย เพราะราคาพลังงาน เงินเฟ้อ และโควิดรอบใหม่ในจีนที่ต้องล็อกดาวน์ กำลังเป็นตัวกดดันไม่ให้เศรษฐกิจโตเท่าที่ควร เช่น สหรัฐอเมริกา ที่เพิ่งรายงานตัวเลข GDP ไตรมาสแรก "ติดลบ" ไปหมาดๆ -0.4% การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำจึงกลายเป็นความเสี่ยงของภาคเอกชนและเศรษฐกิจประเทศไปด้วย


artboard1(13)

แล้วทำไมหลายประเทศถึงขึ้นค่าจ้างได้

คำตอบที่เข้าใจได้ง่ายที่สุดก็คือ ปัญหา "เงินเฟ้อ" น่ากลัวกว่าทุกอย่าง

เงินเฟ้อที่เรากำลังพูดถึงกันอยู่นี้ ไม่ใช่เงินเฟ้อของแพงขึ้นเล็กๆ น้อยๆ แต่เป็นเฟ้อในระดับสูงสุด 10 ปี 20 ปี 30 ปี 40 ปี หรือสูงสุดตลอดกาลทั่วโลก ซึ่งภาวะเงินเฟ้อของแพงเช่นนี้เป็นปัญหาคลาสสิกที่สุดที่สามารถ "จุดชนวนการเมือง-การประท้วง" ให้ติดไฟขึ้นมาได้ง่ายๆ

ประเทศ "กรีซ" เป็นตัวอย่างหนึ่งที่บ่งชี้ว่า ถึงเศรษฐกิจจะลุ่มๆ ดอนๆ ยังไง (เพิ่งเจอวิกฤตเศรษฐกิจมา 10 ปี + การท่องเที่ยวถูกกระทบหนัก) แต่รัฐบาลก็ไม่สามารถเมินเสียงของประชาชน ที่กำลังแสดงความไม่พอใจจากปัญหาเงินเฟ้อ-ของแพง ที่แรงที่สุดในรอบ 27 ปีได้ และเริ่มออกมาเดินขบวนประท้วงบนท้องถนนกันแล้วตั้งแต่ช่วงต้นเดือนนี้ เมื่อต้องเจอกับค่าแก๊สที่แพงขึ้น 68.3% และค่าไฟที่แพงขึ้น 79.3%

ก่อนหน้านี้ กรีซเพิ่งขึ้นค่าแรงขั้นต่ำไปเมื่อเดือน ม.ค. 2565 โดยขึ้นไป 2% อยู่ที่ 663 ยูโร แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อค่าครองชีพที่พุ่งขึ้นหนักกว่าเดิมมาก หลังจากเกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครน เมื่อปลายเดือน ก.พ. ซึ่งทำให้เงินเฟ้อล่าสุดของกรีซเดือน มี.ค. ดีดขึ้นไปแตะถึง 8.9% จึงต้องนำมาซึ่ง "การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำรอบ 2" ในวันที่ 1 พ.ค. นี้ โดยเพิ่มอีก 50 ยูโร เป็น 713 ยูโร/เดือน



ไม่ได้มีแค่ 7 ประเทศที่ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ

ตัวอย่าง 7 ประเทศในอินโฟกราฟิก เป็นเพียงกลุ่มตัวอย่างที่หยิบยกมาให้เห็นถึงการขึ้นค่าแรงในประเทศเพื่อนบ้านกับไทย หรือประเทศที่เพิ่งขึ้นค่าแรงเร็วๆ นี้ เพื่อรับมือกับเงินเฟ้อรุนแรง แต่จริงๆ แล้ว หลายประเทศทั่วโลกมีการทยอยปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำกันมาก่อนหน้านี้แล้ว

Rocket Media Lab รายงานเมื่อช่วงเดือน ก.พ. 2565 ว่า ตั้งแต่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลกหยุดชะงัก การชะงักของเศรษฐกิจถูกหยิบยกมาเป็นเหตุผลในการพิจารณาการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ทั้งการที่จะขึ้นหรือไม่ขึ้น หรือหากขึ้นจะส่งผลให้ค่าอาหาร วัตถุดิบ สูงขึ้นตามหรือไม่

รายงานพบว่า ประเทศ/ดินแดน ที่ประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในปี 2022 มีจำนวน 61 แห่ง จาก 199 แห่งที่สำรวจ แบ่งเป็นประเทศที่ประกาศขึ้นเฉพาะในปี 2022 จำนวน 16 แห่ง และประเทศที่มีการขึ้นค่าแรงทั้งในปี 2021 และในปี 2022 จำนวน 45 แห่ง

หากพิจารณาของประเทศที่ประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเฉพาะในปี 2022 จะพบว่ากระจายตัวกันไปในทุกทวีป และส่วนใหญ่เป็นประเทศในแถบยุโรป

wage1-1536x1020

ประเทศที่มีการประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในปี 2022 เช่น ฝรั่งเศส เยอรมนี โปรตุเกส สหราชอาณาจักร ฯลฯ อย่างในกรณีของเยอรมนี เรียกได้ว่าในปี 2022 นี้มีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำสองครั้ง โดยครั้งแรกมีผล 1 มกราคม ที่ผ่านมา ค่าแรงขั้นต่ำขึ้นเป็น 9.82 ยูโร หรือ 374.13 บาทต่อชั่วโมง จากเดิมคือ 9.60 ยูโรหรือ 358.36 บาทต่อชั่วโมงในปี 2021 (เพิ่มขึ้นมา 22 เซนต์) หรือ 3.64% นอกจากนี้รัฐบาลเยอรมันยังประกาศอีกว่า จะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอีกครั้งเป็น 10.45 ยูโรในวันที่ 1 กรกฎาคม 2022

ในส่วนของเอเชียก็มีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในปี 2022 เช่นเดียวกัน เช่น กัมพูชา จีน (บางมณฑล) อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ ฯลฯ อย่างในกรณีของประเทศจีนในปี 2022 มีสามมณฑลที่ประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ได้แก่ ฉงชิ่งและฝูเจี้ยน ขึ้นเป็น 21 หยวนต่อชั่วโมง และเหอหนาน ขึ้นเป็น 19.6 หยวน ต่อชั่วโมง

เมื่อพิจารณาประเทศที่ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั้งในปี 2022 และปี 2021 จะพบว่ามีมากถึง 45 แห่ง ด้วยกัน เช่น ตุรกี ไต้หวัน สเปน เกาหลีใต้ นิวซีแลนด์ เนเธอร์แลนด์ เม็กซิโก กานา อียิปต์ ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศในแถบยุโรป อย่างในกรณีของ โคลอมเบีย ประกาศขึ้นค่าแรงเป็น 1,000,000 เปโซโคลอมเบีย ต่อเดือน ซึ่งถือว่าขึ้นสูงสุดในรอบ 40 ปี โดยเพิ่มมา 11.18% อย่างไรก็ตาม เงินเดือนในโคลอมเบียก็ยังคงต่ำกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค เช่น อุรุกวัยซึ่งอยู่ที่ประมาณ 406 ดอลลาร์ (13,386.23 บาท) ปารากวัย 335 ดอลลาร์ (11,045.29 บาท) และโบลิเวีย 314 ดอลลาร์ (10,352.89 บาท)

advertisement

SPOTLIGHT