ภาพรวมการส่งออกของไทยเริ่มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ในเดือนพ.ย.66 มีมูลค่า 23,479.7 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 847,486 ล้านบาทเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อสูงเริ่มชะลอตัวลง และมีแนวโน้มกลับสู่ระดับเป้าหมายในปี 67
โดยหลายประเทศเริ่มส่งสัญญาณการจบวงรอบการขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้ว ส่งผลให้ความเชื่อมั่นในการบริโภคปรับตัวสูงขึ้น การส่งออกรายสินค้าในภาพรวมขยายตัวทุกหมวด โดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่ขยายตัวมากกว่าหมวดอื่น ๆ ขณะที่สินค้าอุตสาหกรรมเติบโตอย่างต่อเนื่องตามวัฏจักรการฟื้นตัวของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และมีปัจจัยบวกจากการจับจ่ายใช้สอยก่อนเข้าสู่เทศกาลสำคัญในช่วงท้ายปี
ส่งผลให้ผู้ประกอบการในหลายประเทศเร่งนำเข้าสินค้าให้เพียงพอกับความต้องการ ทั้งนี้ การส่งออกไทย 11 เดือนแรกของปี 66 หดตัว 1.5% และเมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัว 0.5%
แนวโน้มการส่งออกของไทยในปี 67
สำหรับการส่งออกปี 67 คาดว่า จะปรับตัวดีขึ้น ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก หลังจากที่เงินเฟ้อชะลอลงกลับสู่เป้าหมาย วัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มจะยุติลง กิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัว พร้อมกับความเชื่อมั่นในการบริโภคและการลงทุนที่กลับมา
กระทรวงพาณิชย์ตั้งเป้าหมายการทำงานเพื่อผลักดันการเติบโตของมูลค่าการส่งออกในปี 67 ไว้ที่ 1.99% หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 10 ล้านล้านบาท
กระทรวงพาณิชย์ ประเมินว่า มูลค่าการส่งออกทั้งปี 66 จะกลับมาอยู่ในระดับที่ดีกว่าช่วงภาวะปกติก่อนเกิดโควิด-19 ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวในปีนี้
มูลค่าการค้ารวมในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ
ภาพรวม 11 เดือนแรกของปี 66 : ดุลการค้า 11 เดือนแรกของปี 66 ขาดดุล 6,165.3 ล้านเหรียญสหรัฐ
-การส่งออก: มีมูลค่า 261,770.3 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว 1.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
-การนำเข้า: มีมูลค่า 267,935.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว 3.8%
มูลค่าการค้ารวมในรูปเงินบาท
ภาพรวม 11 เดือนแรกของปี 2566 : ดุลการค้า 11 เดือนแรกของปี 66 ขาดดุล 327,928 ล้านบาท
-การส่งออก: มีมูลค่า 9,013,184 ล้านบาท หดตัว 1.8 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
-การนำเข้า: มีมูลค่า 9,341,112 ล้านบาท หดตัว 4.3%
ตัวอย่างสินค้าอุตสาหกรรมที่ขยายตัวดี
1.เหล็ก เหล็กหล้า และผลิตภัณฑ์
ขยายตัว 3 เดือนต่อเนื่อง
เดือนพ.ย.66 มีการขยายตัว 42.2%
มีมูลค่า 736.9 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 26,566 ล้านบาท
ตลาด : สิงคโปร์ ญี่ปุ่น อินเดีย แคนาดา เมียนมา
2.อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด
ขยายตัว 17 เดือนต่อเนื่อง
เดือนพ.ย.66 มีการขยายตัว 40.5%
มีมูลค่า 490.7 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 17,712 ล้านบาท
ตลาด : สหรัฐ จีน เกาหลีใต้ อินโดนิเซีย มาเก๊า
3.หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ
ขยายตัว 25 เดือนต่อเนื่อง
เดือนพ.ย.66 มีการขยายตัว 24.8%
มีมูลค่า 374.7 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 13,526 ล้านบาท
ตลาด : สหรัฐ เนเธอร์แลนด์ มาเลเซีย ไต้หวัน ญี่ปุ่น
4.เครื่องโทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (+ 6 เดือนต่อเนื่อง)
5.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (+ 6 เดือนต่อเนื่อง)
6.เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ (ขยายตัวในรอบ 14 เดือน)
ตัวอย่างสินค้าอุตสาหกรรมดกษตรที่ขยายตัวดี
1.สิ่งปรุงรสอาหาร
ขยายตัว 5 เดือนต่อเนื่อง
เดือนพ.ย.66 มีการขยายตัว 21.6 %
มีมูลค่า 89.9 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 3,243 ล้านบาท
ตลาด : สหรัฐ ออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี เมียนมา
2.ผักกระป๋องและผักแปรรูป
ขยายตัว 10 เดือนต่อเนื่อง
เดือนพ.ย.66 มีการขยายตัว 26.6 %
มีมูลค่า 44.8 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 1,617 ล้านบาท
ตลาด : ญี่ปุ่น สหรัฐ เกาหลีใต้ จีน ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์
3.ผลไม้กระป๋องและแปรรูป
ขยายตัว 2 เดือนต่อเนื่อง
เดือนพ.ย.66 มีการขยายตัว 5.1%
มีมูลค่า 155.4 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 5,609 ล้านบาท
ตลาด : สหรัฐ จีน ออสเตรเลีย แคนาดา กัมพูชา
4.อาหารสัตว์เลี้ยง
ขยายตัว 2 เดือนต่อเนื่อง
เดือนพ.ย.66 มีการขยายตัว 3.3%
มีมูลค่า 222.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 8,017 ล้านบาท
ตลาด : สหรัฐ ญี่ปุ่น อิตาลี ฟิลิปปินส์ เวียดนาม
5.อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป
ขยายตัวในรอบ 11 เดือน
เดือนพ.ย.66 มีการขยายตัว 2.5%
มีมูลค่า 326.6 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 11,787 ล้านบาท
ตลาด : ออสเตรเลีย ลิเบีย แคนาดา อิสราเอล อาร์เจนตินา
ปัจจัยสนับสนุนการส่งออกของไทย
-
การทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน
-
ปริมาณการส่งออกข้าวของไทยเติบโตสูง เนื่องจากประเทศคู่ค้าเร่งซื้อสะสมเข้าคลังสินค้าเพิ่ม เพื่อป้องกันการขาดแคลนอาหารในปีถัดไป
-
เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สำคัญในหลายประเทศมีแนวโน้มดีกว่าที่คาดการณ์
ปัจจัยกดดันการส่งออกของไทย
-
การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับสูงของธนาคารกลางต่างๆ อาจส่งผลให้การลงใหม่ยังคงชะลอตัว
-
สภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย อาจมีแนวโน้มส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตรบางราย
แนวทางส่งเสริมการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์
- In-coming Trade Mission จากบังกลาเทศ เดินทางเยือนไทย โดย สคต. ณ กรุงธากา ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงธากา และสภาธุรกิจและอุตสาหกรรมบังกลาเทศ-ไทย (BTCCI) นำคณะนักธุรกิจบังกลาเทศ จำนวน 34 ราย มาเจรจาธุรกิจ โดยมีผู้ส่งออกไทยเข้าร่วมเจรจา จำนวน 63 ราย มีจำนวนคู่เจรจาทั้งสิ้น 128 คู่ รวมมูลค่า 209.73 ล้านบาท
- สคต. โตเกียว นำคณะผู้ซื้อชาวญี่ปุ่น เดินทางเยือนไทย มาจัดทำ MOU สั่งซื้อกล้วยหอมไทย จากอำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 5,000 ตัน มูลค่ากว่า 100 ล้านบาท และนำคณะพบผู้ผลิตกล้วยหอมในจังหวัดเชียงใหม่และพัทลุง เพื่อหาแหล่งส่งออกกล้วยเพิ่มเติม
- ส่งเสริมการขยายตลาดแฟรนไชส์ร้านกาแฟไทยในญี่ปุ่น โดยการจัด OBM ให้บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด ได้เจรจาธุรกิจกับผู้ซื้อแฟรนไชส์ในญี่ปุ่น เกิดผลสำเร็จเปิดร้านคาเฟ่อเมซอนสาขาใหม่ ในจังหวัดชิบะ โดยเป็นสาขาแรกในญี่ปุ่นที่จำหน่ายอาหารไทย และจะมีการขยายสาขาใหม่ ๆ เพิ่มเติม ซึ่งจะเป็นช่องทางในการส่งเสริมสินค้าไทยจากชุมชน และสินค้าจากโครงการ Local BCG Plus ของกระทรวงพาณิชย์ ผ่านร้าน Café Amazon ทุกสาขาในตลาดญี่ปุ่น
- นำผู้ประกอบการไทยเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ ได้แก่ APPEX (ยานยนต์และชิ้นส่วน) ในสหรัฐฯ ผู้ประกอบการเข้าร่วม 15 ราย รวมมูลค่า 921.67 ล้านบาท MEDICA (สินค้าและบริการทางการแพทย์และสุขภาพ) ในเยอรมนี ผู้ประกอบการเข้าร่วม 10 ราย รวมมูลค่า 204.99 ล้านบาท China International Import Expo (CIIE) ครั้งที่ 6 ณ นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน และ งาน American Film Market ณ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐฯ เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย เป็นต้น