โดยหลักแล้ว ศาสตร์ทางด้านแผ่นดินไหว เรายังไม่สามารถทำนายหรือพยากรณ์ได้ว่าจะเกิดเมื่อไหร่ อย่างไร ตอนไหน แต่ถ้าเกิดแล้ว เราสามารถส่งข่าวเพื่อแจ้งเตือนสถานการณ์แผ่นดินไหวได้ นายวีระชาติ วิเวกวิน นักธรณีวิทยาชำนาญการพิเศษ กรมทรัพยากรธรณี ชี้แจงกับสื่อไทยเมื่อวาน หลังเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว ตอบคำถามสาธารณชนว่าเหตุใดไทยไม่มีระบบแจ้งเตือนแผ่นดินไหวล่วงหน้า
สำนักงานสำรวจธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Geological Survey: USGS) ให้คำตอบตรงกันว่า วิทยาศาสตร์ไม่สามารถทำนายการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ล่วงหน้าได้ ทำได้เพียงเตือนภัยให้เร็วที่สุด หรือคำนวณความน่าจะเป็นในพื้นที่ที่เฉพาะเจาะจง ในกรอบเวลาที่กำหนดเพื่อการเฝ้าระวัง
Earthquake Early Warning
การเตือนภัยแผ่นดินไหวจะเกิดขึ้นเมื่อเกิดแผ่นดินไหวแล้ว อย่างไรก็ตาม ระบบเตือนแผ่นดินไหวล่วงหน้าเป็นระบบที่ตรวจจับคลื่นสั่นสะเทือนเมื่อเกิดแผ่นดินไหวในพื้นที่ห่างไกลและส่งสัญญาณเตือนคนในอีกบริเวณหนึ่ง ซึ่งการเตือนภัยแบบนี้จะเตือนล่วงหน้าเพียงไม่กี่วินาที หรือหลักสิบวินาทีเท่านั้น การเตือนภัยลักษณะนี้จะเป็นประโยชน์เมื่อประชาชนรับรู้การเตือนภัยทันที และมีความรู้ในการปฏิบัติตัวขณะเกิดแผ่นดินไหวเพื่อให้สามารถปรับตัวได้ทัน
Earthquake Forecasts
คือการบอกแนวโน้มแผ่นดินไหวล่วงหน้าในระยะเวลาอันสั้น มักใช้กับอาฟเตอร์ช็อก (Aftershocks) หรือแผ่นดินไหวขนาดเล็กที่เกิดขึ้นหลังแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ โดยมักเกิดขึ้นในรูปแบบเดิมภายใน 2 ชั่วโมงหลังการเกิดแผ่นดินไหว
Earthquake Probabilities
คือการบอกความเป็นไปได้ของการเกิดแผ่นดินไหวในระยะยาว แต่ภายในกรอบเวลาที่ชัดเจน มักคำนวณจากความถี่ของแผ่นดินไหวในพื้นที่หนึ่งในอดีต โดยสมมติว่าอัตราการเกิดแผ่นดินไหวคงที่ ความเป็นไปได้อยู่ที่ 1 ใน 30 ถึง 1 ใน 300
USGS ชี้ว่า ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีระบบเตือนภัยล่วงหน้าดีที่สุดในโลก มีระบบการตรวจจับแผ่นดินไหวทั่วประเทศที่สามารถตรวจจับการสั่นสะเทือนได้อย่างรวดเร็ว โดยจัดการโดย Japan Meteorological Agency ซึ่งมีระบบเตือนภัย 2 ระบบ ได้แก่
ระบบการเตือนภัยถูกออกแบบมาเพื่อลดผลกระทบจากแผ่นดินไหวให้ได้มากที่สุด โดยพัฒนาเพื่อ หยุดรถไฟความเร็วสูงก่อนการสั่นสะเทือนรุนแรงจะเริ่มต้น นอกจากนี้ ระบบต่างๆ ในญี่ปุ่นจะหยุดทำงานอัตโนมัติเมื่อเกิดแผ่นดินไหว เช่น รถไฟ สายพานในโรงงาน
มีการออกคำเตือนสาธารณะในเหตุการณ์แผ่นดินไหวตั้งแต่เดือนตุลาคม ปี 2007 อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากแผ่นดินไหวในระดับบุคคลหรือครัวเรือน ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับการรับมือของประชาชนเอง การอบรมการปฏิบัติตัวขณะเกิดภัยพิบัติ จึงเป็นสิ่งที่ญี่ปุ่นให้ความสำคัญมาก สถาบันและหน่วยงานต่างๆ มีการจัดฝึกสอน บรรจุอยู่ในระบบการศึกษา บางโรงเรียนในญี่ปุ่นมีการฝึกซ้อมรับมือแผ่นดินไหว บ่อยถึงเดือนละ 1 ครั้ง
สถานีโทรทัศน์และสื่อต่างๆ ในญี่ปุ่นจะปรับเปลี่ยนการถ่ายทอดรายการ เพื่อแจ้งเตือนภัยแผ่นดินไหวทันที พร้อมแจ้งแนวทางการปฏิบัติตนและความเสี่ยงของการเกิดสึนามิ โดยจะแสดงเครื่องหมายกากบาทสีแดงบนพื้นขาว ตามด้วยเสียงประกาศเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า
"นี่คือการเตือนภัยแผ่นดินไหวล่วงหน้า โปรดเตรียมรับมือกับแรงสั่นสะเทือนรุนแรง"
ในเดือนกรกฎาคม ปี 2024 จีนประกาศว่า ได้ติดตั้งระบบเตือนภัยแผ่นดินไหวล่วงหน้าที่ใหญ่ที่สุดในโลกสำเร็จ ระบบนี้รู้จักกันในชื่อ The National Earthquake Intensity Rapid Reporting and Early Warning Project โดยเริ่มใช้งานครั้งแรกในมณฑลยูนนาน เสฉวน และฝูเจี้ยน ตั้งแต่ปี 2018
กรมการแผ่นดินไหวแห่งประเทศจีน ระบุว่า ระบบดังกล่าวมีสถานีติดตามแผ่นดินไหว 15,899 แห่งทั่วประเทศ ระบบนี้สามารถแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าและรายงานสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว ใช้ประโยชน์จากสถานีตรวจวัดกว่า 15,000 แห่ง ในการส่งสัญญาณเตือน เนื่องจากคลื่นไหวสะเทือนเคลื่อนที่ช้ากว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ทางการจีนรับรองว่าสามารถส่งสัญญาณเตือนล่วงหน้าได้ เฉลี่ย 7 วินาทีก่อนแผ่นดินไหว
คำเตือนจะถูกส่งไปยังประชาชนผ่านโทรทัศน์ เครือข่ายโทรทัศน์ผ่านอินเทอร์เน็ต แอปพลิเคชัน เช่น WeChat และ Alipay รวมถึงศูนย์กระจายเสียงในชุมชน ในช่วงเวลาสั้นๆ ไม่กี่วินาที ประชาชนต้องดำเนินมาตรการฉุกเฉิน เช่น ชะลอหรือหยุดรถไฟความเร็วสูง ปิดระบบท่อก๊าซ หยุดการทำงานของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ หยุดลิฟต์ที่ชั้นใกล้ที่สุด
สื่อจีนรายงานว่า ระบบเตือนภัยนี้สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำในระหว่างเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่มณฑลเสฉวนในปี 2022 ขนาด 6.8 และที่มณฑลกานซูในปี 2023 ขนาด 6.2
เม็กซิโกมีระบบเตือนภัยแผ่นดินไหวที่เรีกยว่า SASMEX (The Seismic Early Warning System of Mexico) ซึ่งทำงานมาอย่างดีมาตั้งแต่ 1991 เป็นระบบการเตือนภัยสาธาณะแรกของโลกที่สงข้อความเตือนภัยผ่านวิทยุและโทรทัศน์ เริ่มต้นโดยองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ศูนย์เครื่องมือและบันทึกแผ่นดินไหว (Center for Instrumentation and Seismic Recording - CIRES) ได้รับการสนับสนุนและให้อำนาจจากรัฐบาล เพื่อพัฒนาระบบนี้ขึ้นหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวรุนแรงในเม็กซิโกปี 1985
SASMEX ส่งสัญญาณเตือนภัยได้สูงสุดถึง 60 วินาทีล่วงหน้าในกรุงเม็กซิโกซิตี้ และราว 30 วินาทีที่เมืองโออาซากา แต่ยิ่งแผ่นดินไหวเกิดขึ้นใกล้มากเท่าไหร่ ระยะเวลาการเตือนก็จะสั้นลงเทานั้น
SASMEX มีสถานีตรวจสอบ 97 สถานี โดยมากตั้งอยู่ชายฝั่ง ขณะนี้กำลังพัฒนาเพิ่มอีก 28 เซ็นเซอร์ ที่ผ่านมา SASMEX เตือนระบบจัดการเกิดแผ่นดินไหวได้มากกว่า 9,800 ครั้ง และส่งการเตือนภัย 111 ครั้ง (ข้อมูลปี 2022) มีการประมาณการว่า ที่ผ่านมาคนราว 25 ล้านคนได้รับการเตือนภัยแผ่นดินไหวล่วงหน้าจากระบบนี้
CIRES ทำการทดสอบระบบทุกสัปดาห์และทุกสามชั่วโมง เพื่อให้แน่ใจว่าเครือขายยังเชื่อมต่อได้ดี ระบบรถไฟของเม็กซิโกซิตี้จะได้รับการเตือนภัยพิเศษ เพื่อหยุดหรือชะลอรถไฟขณะเกิดภัยพิบัติ และส่งการเตือนให้สถานีโทรทัศน์ขนาดใหญ่ในหลายเมือง รวมทั้งผ่านเครือข่ายกระจายเสียงที่มีเครื่องกระจายเสียงมากกว่า 12,000 เครื่องติดตั้งในโรงเรียนและสถานที่สำคัญ โดยจะมีเสียงสัญญาณเฉพาะเพื่อเตือนแผ่นดินไหว
ตุรกีเป็นอีกประเทศที่เผชิญแผ่นดินไหวรุนแรงที่สร้างความสียหายมากมายมาหลายครั้ง หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวปี 1999 จึงมีการพัฒนาระบบ Istanbul Earthquake Rapid Response and Early Warning System (IRREWS) ได้รับการอกแบบและจัดการโดยมหาวิทยาลัย Boğaziçi Univesity ในกรุงอิสตันบูลและได้รับการสนับสนุนด้านโลจิสติกจากรัฐบาลอิสตันบูล
IRREWS เป็นระบบการเตือนภัยในเขตเมือง มีสถานีตรวจจับการเคลื่อนไหวของพื้นดินที่มีความแรงสูงในระบบเรียลไทม์จำนวน 10 สถานีตามชายฝั่ง สถานีเหล่านี้ตั้งอยู่ตามรอยเลื่อน North Anatolian Fault หากสถานีจับแรงสั่นสะเทือนได้ จะส่งสัญญาณไปที่สำนักงานกลางของหน่วยงานธรณีฟิสิกส์ตุรกีเพื่อตัดสินใจส่งสัญญาณเตือนภัยต่อไป
นอกจากนี้ยังมีอีก 100 สถานีตรวจจับการเคลื่อนไหวของพื้นดินภายในอาคาร สถานีเหล่านี้ส่วนใหญ่ถูกใช้เพื่อบันทึกการเคลื่อนไหวของพื้นดินที่มีความรุนแรงสูง เพื่อใช้ในการกำหนดความสัมพันธ์กับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับการก่อสร้าง
สำหรับประเทศไทย เราสามารถตรวจสอบการเกิดแผ่นดินในประเทศไทยและพื้นที่ใกล้เคียงไหวแบบเรียลไทม์หรือย้อนหลังได้บนเว็บไซต์ของกองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา และหังเหตุการรืแผ่นดินไหวเมื่อวันที 28 มีาคม 68 มี SMS แจ้งการปฏิบัติตัวเมื่อกิดอาฟเตอร์ช็อคจาก กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (DDPM) เพียงแต่ประชาชนได้รับข้อความที่ทยอยส่งมาในช่วงเวลาต่างกัน ตั้งแต่ไม่กี่ชั่วโมงหลังเกิดแผนดินไหวจนเกือบ 1 วันผ่านมา