Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
แหล่งข่าวกระซิบ ทำเนียบขาวพิจารณา ทำเหมืองในทะเลลึก น่านน้ำสากล
โดย : กองบรรณาธิการ SPOTLIGHT

แหล่งข่าวกระซิบ ทำเนียบขาวพิจารณา ทำเหมืองในทะเลลึก น่านน้ำสากล

1 เม.ย. 68
15:17 น.
แชร์

สำนักข่าวต่างประทศ Reuters รายงานว่าแหล่งข่าวสองคนเปิดเผยข้อมูลการทำงานของทำเนียบขาว กล่าวว่า ทำเนียบขาวกำลังพิจารณาออกคำสั่งอนุญาตทำเหมืองในทะเลลึกในน่านน้ำสากลได้ และให้บริษัทเหมืองแร่ข้ามกระบวนการตรวจสอบของสหประชาชาติได้

หากคำสั่งนี้ได้รับการลงนาม นี่จะเป็นความพยายามครั้งล่าสุดของทรัมป์ในการเข้าถึงแหล่งแร่ธาตุระหว่างประเทศ อย่างนิกเกิลและทองแดง หลังความพยายามต่อเนื่องในช่วงระยะเวลาไม่กี่เดือนที่เขาเข้าดำรงตำแหน่ง


ทรัมป์กับเส้นทางแสวงหาแร่

ไม่นานมานี้ ทรัมป์เพิ่มพยายามเข้าถึงทรัพยากรแร่ในกรีนแลนด์และยูเครน เมื่อรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ เจดี แวนซ์เดินทางไปกรีนแลนด์เรียกร้องให้ประเทศต่างๆ สนใจแร่ธาตุในกรีนแลนด์มากขึ้น และเขากล่าวว่า ภูมิภาคนี้มีแร่ธาตุและน้ำมันสำรองที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์อยู่มาก

ยังมีข้อตกลงทรัพยากรธรรมชาติกับยูเครนที่ยังตกลงกันไม่สิ้นสุด ที่สหรัฐฯ จ่อเป็นผู้ซื้อทรัพยากรแร่ของยูเครนเป็นรายแรก เพื่อจ่ายความช่วยเหลือที่สหรัฐฯ สนับสนุนยูเครนในสงครามตลอดมา ก่อนจะให้ยูเครนเข้าถึงกำไรของกองทุนร่วม ข้อตกลงนี้ยังจะกระทบโอกาสในการเข้าร่วมสหภาพยุโรปของยูเครนอีกด้วย

ทรัมป์ไม่ใช่แค่แสวงหาทรัพยากรแร่จากต่างประเทศ แต่เมื่อวันที่ 18 มีนาคมที่ผ่านมาทรัมป์อาศัยอำนาจฉุกเฉินกระตุ้นการผลิตแร่ธาตุในประเทศ เพื่อลดการพึ่งพาจีนซึ่งเป็นผู้ผลิตที่แทบจะครองตลาดนี้


ทำเหมืองในทะเล ใครดูแล?

องค์การก้นทะเลระหว่างประเทศ (International Seabed Authority: ISA) ก่อตั้งขึ้นภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล (UNCLOS) มีมาตรฐานสำหรับการทำเหมืองในทะเลลึกในน่านน้ำสากลมาหลายปีแล้ว แต่กระบวนการยังไม่เสร็จสิ้น เนื่องจากมีข้อขัดแย้งเกี่ยวกับระดับฝุ่น เสียงรบกวน และปัจจัยอื่นๆ ที่ตกลงกันไม่ลงตัว

อย่างไรก็ตามสหรัฐฯ ยังไม่ได้ให้สัตยาบันต่อองค์การนี้

ประเทศสมาชิก ISA เพิงจัดการประชุมที่กรุงคิงส์ตัน ประเทศจาไมกาเมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เพื่อพิจารณาการแก้ไขข้อเสนอหลายร้อยรายการในร่างระเบียบการทำเหมืองในน่านน้ำสากลที่มีความยาว 256 หน้า แต่การประชุมจบลงโดยไม่มีข้อตกลงชัดเจน


คำสั่งทรัมป์ ไม่รอISA

กล่าวว่าเพราะความล่าช้าและการหาข้อสรุปไม่ได้ของ ISA บริษัท The Metals Co (TMC.O) บริษัทที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทเหมืองแร่ยักษ์ใหญ่ Glencore (GLEN.L) ยื่นคำร้องขอทำแร่ในทะเลลึกต่อรัฐบาลสหรัฐฯ เมื่อวันพฤหัสที่ 27 มีนาคมที่ผ่านมา ระบุว่า ISA ไม่ต้อนรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่เชิงพาณิชย์ และมองว่าสหรัฐฯ เป็น "หน่วยงานกำกับดูแลที่พร้อมพิจารณาคำขออย่างเป็นธรรม"

แหล่งข่าวชี้ว่า คำสั่งทำเหมืองล่าสุดของทรัมป์คล้ายๆ เป็นการใช้สิทธิสกัดแร่ธาตุจำกัดจากก้นมหาสมุทร และอนุญาตให้บริษัทเหมืองแร่ข้มกระบวนการของ ISA และขออนุญาตจากสำนักงานบริหารมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA) ภายใต้กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ แทน


คำถามจ่อสหรัฐฯ

การดำเนินการในครั้งนี้มีแนวโน้มจะสร้างความตึงเครียดระหว่างนานาประเทศที่ต่างอยากเข้าถึงทรัพยากรในน่านน้ำสากล และมองว่าการออกใบอนุญาตควรอยู่ภายใต้การกำกับดูแลขององค์กรระหว่างประเทศ ที่มีหน้าที่กำกับดูแลการเข้าถึงทรัพยากร ไม่ใช่รัฐบาลขอประเทศใดประเทศหนึ่ง

NOAA ยังต้องเผชิญกับคำถามที่ยังไม่แน่ชัดว่าจะดำเนินการอย่างไร อย่างเช่น NOAA จะใช้บุคลากรส่วนไหนมาพิจารณาการให้อนุญาตทำเหมืองใต้ทะเลลึก เมื่อการทำเหมืองในทะเลลึกมีความซับซ้อนกว่าการทำเหมืองบนบกเสียอีก เนื่องจากสถานที่ตั้งที่ห่างไกลและสภาพแวดล้อมท้าทาย และ NOAA เองก็เพิ่งเผชิญการปรับลดพนังงานเช่นเดียวกับหน่วยงานรัฐบาลกลางสหรัฐฯ อื่นๆ ภายใต้นโยบายเพิ่มประสิทธิภาพของทรัมป์และอีลอน มัสก์ 

อย่างไรก็ตาม แผนนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการพิจาณาและอาจมีรายละเอียดที่เปลี่ยนแปลงไปได้

บริษัทที่พุ่งเป้าทำเหมืองใต้ทะเลให้เหตุผลว่า การทำเหมืองใต้ทะเลสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า ด้านกลุ่มเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมกล่าวว่ากาทำเหมืองใต้ทะเลอาจส่งผลกระทบต่อสัตว์ทะเลได้ และไม่ควรได้รับอนุญาตให้ทำ

ความจริงแล้วการทำเหมืองที่พื้นมหาสมุทรนั้น ประเทศต่างๆ ทำได้ในน่านน้ำอธิปไตยของตน หรือพื้นที่นับจากชายฝั่งไปราว 200 ไมล์ทะเล หรือ 370.4 กิโลเมตร ประเทศที่ลงทุนในการทำเหมืองใต้ทะเลในน่านน้ำของตน เช่น หมู่เกาะคุก นอร์เวย์ และญี่ปุ่น


แชร์
แหล่งข่าวกระซิบ ทำเนียบขาวพิจารณา ทำเหมืองในทะเลลึก น่านน้ำสากล