สถานการณ์สงครามรัสเซียยูเครนทำให้วิกฤตขาดแคลนอาหารโลก เร่งตัวเร็วมากขึ้น จากก่อนหน้านี้ที่โลกเผชิญหน้ากับวิกฤตขาดแคลนอาหารอยู่แล้วเพราะจำนวนประชากรโลกที่คาดว่าภายในปี 2050 จะเพิ่มขึ้นเป็น 1หมื่นล้านคน ในขณะที่ทรัพยากรทางธรรมชาติ ลดน้อยลงไปเรื่อยๆ ความหลากหลายทางชีวภาพในรอบ 44ปี ที่ผ่านมาทำให้ที่อยู่ของสัตว์ลดลงถึง 22% พืชกว่า 1,000 ชนิดถูกคุกคาม สำหรับประเทศไทยเองพันธุ์พืชในไทยมีมากกว่า 15,000 ชนิด แต่ด้วยกิจกรรมจากฝีมือมนุษย์อาจทำให้พืชอย่างน้อย 60,000 ชนิดสูญพันธุ์ภายใน 50 ปีข้างหน้า
The Global Food Security Index (GFSI) หรือดัชนีความมั่นคงทางอาหารโลกปี 2022 พบว่า ฟินแลนด์ ไอร์แลนด์ นอร์เวย์ ฝรั่งเศส และ เนเธอร์แลนด์ เป็น 5 ประเทศแรกที่มีความมั่นคงทางอาหารสูงสุด จากทั้งหมด 113 ประเทศที่ทำการสำรวจ ขณะที่ 5 อันดับท้ายที่มีความมั่นคงทางอาหารต่ำสุดคือ ซีเรีย เฮติ เยเมน เซียร์ร่าลีโอน และ มาดากัสก้า
ดัชนีความมั่นคงด้านอาหารโลก จัดทำโดย Economist Impact ได้รับการสนับสนุนโดยนัก Corteva Agriscience มีการยึดหลักการประเมินจาก 4 ปัจจัยได้แก่
1.Food affordability ความสามารถในการซื้ออาหาร
2.Availability ความมีอยู่อย่างสมบูรณ์ของอาหาร
3.Quality and safety. คุณภาพและความปลอดภัย
4.sustainability and adaptation ความยั่งยืนและการปรับตัว
ด้านมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯอยู่ในอันดับที่ 13 จีนอันดับที่25 และรัสเซีย 43
ส่วนประเทศไทยอันดับความมั่นคงทางอาหารแย่ลงอยู่ในอันดับที่ 64 จากเดิมเมื่อปี 2021 อยู่ในอันดับที่ 51 โดยความสามารถในการซื้ออาหารได้คะแนนมากที่สุด 83.7 ส่วนด้านที่อ่อนแอที่สุดอยู่ใน ด้านคุณภาพและความปลอดภัย โดยได้คะแนน 45.3 เท่านั้น
ในรายงานในปี 202 ระบุว่า ประเทศไทยมีกลไกการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติที่เป็นที่ยอมรับและโครงสร้างพื้นฐานของฟาร์มที่ยิ่งใหญ่และควบคุมต้นทุนอาหารได้อย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ตามยังคงมีสิ่งที่ต้องปรับปรุง ประเทศไม่มีหน่วยงานความมั่นคงด้านอาหารหรือยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านอาหาร อีกทั้งต้องพัฒนาโภชนาการทั่วประเทศมาตรฐานและแนวทางการบริโภคอาหารเพื่อปรับปรุงคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร การจัดการกับความผันผวนของการผลิตทางการเกษตรเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมของความไม่มั่นคงของทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค ทำให้สภาพแวดล้อมด้านความมั่นคงด้านอาหารโดยรวมของไทยแย่ลง
สำหรับ GFSI ฉบับนี้มีตัวบ่งชี้ใหม่ 14 ตัวเพื่อสะท้อนธรรมชาติของโลกและความเชื่อมโยงของระบบอาหาร และเพื่อเน้นย้ำความสำคัญตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการและตัวชี้วัดระดับฟาร์มในกำหนดความมั่นคงทางอาหารของประชากร ปีนี้ทีม Economist Impact ได้ปรับ Availability หรือความมีอยู่อย่างสมบูรณ์ของอาหาร ที่ดูตั้งแต่ความพร้อมของเกษตรกร มาตรการการเข้าถึงปัจจัยการผลิตทางการเกษตร การเข้าถึงการเงิน ซึ่งมาตรการเหล่านี้เกี่ยวข้องกับเกษตรกร
สถานะความมั่นคงทางอาหารคงต้องมองให้ลึกในทุกมิติ ไม่ได้เพียงแค่ ปริมาณผลผลิต กับ ความต้องการเท่านั้น แต่ระบบการบริหารจัดการทั้งแต่ต้นทางไปจนถึงผู้บริโภค มีส่วนสำคัญอย่างมาก ที่จะสร้างความมั่นคงทางอาหารให้ยั่งยืน
ที่มา Economist Impact