Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
เปิด 4 ความร่วมมือเทคโนโลยีพาไทยก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำ
โดย : อมรินทร์ทีวีออนไลน์

เปิด 4 ความร่วมมือเทคโนโลยีพาไทยก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

6 ต.ค. 66
18:11 น.
|
540
แชร์

ในการสร้างความยั่งยืนและลดการปล่อยคาร์บอน สิ่งที่จำเป็นมากที่สุดอย่างหนึ่ง คือ การแลกเปลี่ยนเงินทุน ความรู้ และเทคโนโลยีด้านความยั่งยืนกันระหว่างประเทศ เพื่อให้การพัฒนาเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว เข้าถึง และเท่าเทียมกันในแต่ละพื้นที่ ซึ่งเป็นหลักหนึ่งในการพัฒนาแบบยั่งยืน แบบไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

ตลอดเวลาที่ผ่านมา ไทยเองก็เป็นหนึ่งในผู้ได้รับความช่วยเหลือเหล่านี้ จากประเทศต่างๆ ที่มีศักยภาพและเงินทุนมากกว่าในการพัฒนาและนำเทคโนโลยีสีเขียวไปใช้จริง ดังที่เห็นในการเสวนาหัวข้อ “Accelerating Change towards Inclusive Transition to Low-Carbon Society” ในงาน SCG Symposium 2023 ที่มีผู้เกี่ยวข้องและนำด้านเทคโนโลยีสีเขียวจากหลายประเทศเช่น สวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น สหรัฐฯ และบราซิล มาร่วมเสวนา และให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการต่างๆ เพื่อนำไทยเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างสมบูรณ์ 

ประเทศไทยและองค์กรและบริษัทต่างประเทศทำอะไรไปแล้ว และทำอะไรได้บ้างอีกในอนาคตเพื่อทำให้ไทยเป็นสังคมโลว์คาร์บอน ทีม SPOTLIGHT สรุปมาให้อ่านกัน

 

สวิส-ไทย จับมือให้บริการรถบัสไฟฟ้าทั่วกทม.

Pedro Zwahlen เอกอัครราชทูตสมาพันธรัฐสวิสประจำประเทศไทย เผยว่า ประเทศสวิตเซอร์แลนด์และไทยได้ริเริ่มความร่วมมือ เพื่อช่วยเปลี่ยนไทยให้สู่สังคมโลว์คาร์บอนแล้ว ด้วย “โครงการรถประจำทางไฟฟ้าในกรุงเทพมหานคร” ผ่านการสนับสนุนของ KliK Foundation หรือ Foundation for Climate Protection and Carbon Offset KliK มูลนิธิเพื่อการปกป้องสิ่งแวดล้อมของสวิตเซอร์แลนด์ที่ได้ให้เงินทุนแก่บริษัท Energy Absolute Public Company Limited เพื่อให้บริการรถบัสไฟฟ้า เพื่อลดมลภาวะในกรุงเทพ โดยได้มีลงนามในข้อตกลงกันในวันที่ 24 มิถุนายนปี 2022

คุณ Zwahlen กล่าวว่า โครงการนี้เป็นการดำเนินงานตามมาตราที่ 6 ของความตกลงปารีส หรือ Paris Agreement ระบุไว้ว่า ประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศพัฒนาแล้วอาจสร้างความร่วมมือกับประเทศกำลังพัฒนาเพื่อช่วยให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถบรรลุเป้าหมายของความตกลงคือความเป็นกลางทางคาร์บอนได้ ด้วยแนวทางความร่วมมือที่มีการใช้ผลการลดก๊าซเรือนกระจกที่ถ่ายโอนระหว่างประเทศ (Internationally Transferred Mitigation Outcomes: ITMOs) หรือ แนวทางที่ไม่ใช้ตลาด (Non-market approaches) เพื่อช่วยเหลือภาคีในการดำเนินงานตามที่ประเทศปลายทางต้องการ

กรอบข้อตกลงนี้ได้เปิดโอกาสให้ประเทศต่างๆ สามารถโอนย้ายเงินทุนเพื่อช่วยเหลือประเทศที่ขาดเงินทุนในการดำเนินงาน รวมถึง ถ่ายเทเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญระหว่างกัน จะช่วยทำให้การพัฒนาอย่างยั่งยืนและการลดคาร์บอนเกิดขึ้นได้อย่างเท่าถึงและเท่าเทียมกันมากขึ้น

swiss

คุณ Zwahlen กล่าวว่า โครงการนี้ความเป็นความร่วมมือทวิภาคีเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมระหว่างสวิตเซอร์แลนด์และไทยโครงการแรก อย่างไรก็ตาม โครงการนี้จะไม่ใช่โครงการเดียวที่สวิตเซอร์แลนด์จะดำเนินการเพื่อช่วยไทยเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เพราะในอนาคตสวิตเซอร์แลนด์มีแผนจะส่งเสริมให้มีการนำเทคนิคการเกษตรและผลิตซีเมนต์แบบใหม่อีก 2 แบบมาใช้ในประเทศไทยเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนจากทั้งภาคส่วนการเกษตรและอุตสาหกรรม

โดยสำหรับการเกษตร สิ่งที่สวิตเซอร์แลนด์ตั้งใจให้มีการใช้อย่างแพร่หลายในไทย คือ เทคนิคในการจัดการน้ำเพื่อลดก๊าซมีเทนในการปลูกข้าวหรือ เทคนิคทำนาแบบเปียกสลับแห้งแกล้งข้าว (Alternate Wetting and Drying : AWD) จะช่วยลดปริมาณน้ำการใช้น้ำและปริมาณก๊าซมีเทน ซึ่งจะไม่กระทบต่อผลผลิตข้าวได้ โดย KliK Foundation อาจช่วยให้เงินทุนสนับสนุนเพื่อจูงใจให้เกษตรกรหันมาใช้วิธีจัดการน้ำแบบนี้ได้

ส่วนด้านการผลิตปูนซีเมนต์ เทคโนโลยีที่น่าสนใจ คือ การผลิต Limestone Calcined Clay Cement หรือ LC3 ซีเมนต์รูปแบบใหม่ซึ่งพัฒนาขึ้นมาโดยศูนย์วิจัยของสวิตเซอร์แลนด์ และสามารถลดปริมาณคาร์บอนได้ด้วยการผสม calcined clay เข้าไปแทนที่จะใช้ limestone เพียงอย่างเดียว ทำให้การผลิตซีเมนต์ผลิตคาร์บอนน้อยลงสูงสุดถึง 40% ซึ่งบริษัทผู้ผลิตปูนซีเมนต์รายใหญ่ของไทยอย่าง SCG ก็สามารถนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ในการผลิตซีเมนต์คาร์บอนต่ำในประเทศไทยได้

 

CJPT ร่วมมือไทย สร้างการขนส่งคาร์บอนต่ำ

สำหรับอีกประเทศเป็นพันธมิตรกับไทยมาอย่างยาวนานจากญี่ปุ่นได้มีความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตรถญี่ปุ่น และประเทศไทยในการขับเคลื่อนให้ไทยเปลี่ยนผ่านไปเป็นสังคมโลว์คาร์บอนผ่านการจัดตั้ง Commercial Japan Partnership Technologies (CJPT) - Asoa ในประเทศไทย เพื่อให้การสนับสนุนด้านเทคโนโลยีที่จะเน้นไปในการพัฒนา Green Logistics หรือการทำให้การขนส่งในประเทศไทยปล่อยคาร์บอนน้อยลงกว่าเดิม

คุณ Hiroki Nakajima ประธานของ CJPT กล่าวว่า CJPT เป็นองค์กรที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของผู้ผลิตรถญี่ปุ่นสามราย คือ Toyota, Hino และ Suzuki เพื่อพัฒนาและแบ่งปันเทคโนโลยีที่ช่วยปกป้องสิ่งแวดล้อม โดยมีจุดประสงค์ 3 ประการ คือ 1. ช่วยสังคมเข้าสู่สังคมคาร์บอนเป็นศูนย์ 2. แก้ไขความยุ่งยากที่อุตสาหกรรมการขนส่งเผชิญอยู่ และ 3. เร่งดำเนินการด้านสังคมที่ทำให้มีการนำเทคโนโลยีพลังงานสะอาดไปใช้มากขึ้น 

japan

CJPT มองว่า แต่ละประเทศสามารถเปลี่ยนการขนส่งในประเทศให้มีการใช้คาร์บอนต่ำลงได้ในหลายทางด้วยกันตามศักยภาพด้านเศรษฐกิจและสังคม ไม่ว่าจะด้วยการใช้รถยนต์ไฟฟ้า 4 ประเภท คือ HEV, PHEV, BEV, FCEV รวมถึง การใช้พลังงานไฮโดรเจน H2 และเชื้อเพลิงอื่นๆ ที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ CN Fuel

ปัจจุบัน CJPT มีเป้าหมายสนับสนุนการขนส่งในแต่ละประเทศมีประสิทธิภาพและผลิตคาร์บอนต่ำลง ทั้งในญี่ปุ่นและไทย ด้วยการเพิ่ม loading efficiency ในรถบรรทุก การริเริ่มให้มีการใช้รถบรรทุกไฮโดรเจนในนากาชิม่าและเกียวโต มุ่งให้ทำให้มีการชาร์จให้น้อยลง 

ล่าสุด ได้ร่วมมือกับ SCG ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ด้วยการเข้ามาปรับให้การขนส่งทั้งสินค้าและคนประหยัดพลังงานมากขึ้น มีประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยการสนับสนุนรถประหยัดพลังงาน 80 คัน นอกจากนี้ ยังได้ร่วมมือกับบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ในการผลิตไฮโดรเจนจากขยะ และ biomass ต่างๆ

Rondo Energy ชูฮีตแบตเตอรี่ แหล่งพลังงานใหม่มูลค่าสูง

คุณ John O’ Donnell ผู้บริหารของ Rondo Energy กล่าวว่า ปัจจุบันนอกจากแบตเตอรี่ไฟฟ้าแล้ว ยังได้มีนวัตกรรมใหม่ คือ “แบตเตอรี่ความร้อน” หรือ Heat Batteries ที่สามารถสร้างความร้อนด้วยพลังงานสะอาด และช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศได้ เพราะในปัจจุบัน อุตสาหกรรมและธุรกิจส่วนมากสร้างความร้อนจากการใช้ถ่านหิน และเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึง 25% ของโลก

ข้อมูลจากเว็บไซต์ของ Rondo Energy แบตเตอรี่ความร้อน คือ แบตเตอรี่ที่ทำให้อุตสาหกรรมต่างๆ ผลิตความร้อนได้ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม ที่จะถ่ายเทความร้อนเข้ามาเก็บในก้อนอิฐทนไฟ (refractory brick) เพื่อเก็บความร้อนในแบตเตอรี่ และเมื่อต้องการใช้ความร้อน ระบบจะปล่อยลมเข้าไปกระทบกับอิฐเพื่อให้อิฐทนไฟนั้นปล่อยความร้อนออกมา โดยสามารถควบคุมระดับความร้อนได้ด้วย ด้วยการใช้ปัญญาประดิษฐ์ควบคุม

rondo

ดังนั้น สำหรับผู้ผลิตซีเมนต์รายใหญ่ของไทยอย่าง SCG เทคโนโลยีนี้จึงเป็นโอกาสสำคัญในการทำธุรกิจที่มีส่วนช่วยในการลดปริมาณคาร์บอนในชั้นบรรรยากาศ

โดยเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา Rondo Energy เพิ่งได้ประกาศความร่วมมือกับ SRIC ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ SCG เพื่อผลิตอิฐทนไฟป้อนโรงงานผลิต Heat Batteries ดังกล่าว เบื้องต้นจะสามารถผลิตได้ 2.4GWh ต่อปี และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 90 GWh ต่อปีในอนาคต ซึ่งถ้าหากทำสำเร็จ กำลังการผลิตนี้จะช่วยลดปริมาณคาร์บอนได้ถึง 12 ล้านตันต่อปี ซึ่งเท่ากับปริมาณคาร์บอนของรถถึง 4 ล้านคัน

ไบโอพลาสติก เทคโนโลยีสะอาดเพื่อชีวิตที่ยั่งยืน

คุณ Roger Marchioni ผู้อำนวยการด้าน Olefins และ Polyolefins ของ Braskem Asia บริษัทผลิต biopolymer หรือ พอลิเมอร์ชีวภาพ ที่ใหญ่ที่สุดของโลก กล่าวว่า พลาสติกที่ผลิตมาจากพอลิเมอร์ชีวภาพ ถือเป็นนวัตกรรมสำคัญที่จะสามารถให้ทุกคนสามารถใช้ชีวิตแบบโลว์คาร์บอนได้ เพราะนอกจากจะไม่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในการผลิตแล้ว ยังสามารถช่วยลดคาร์บอนในบรรยากาศได้จากการปลูกพืชเพื่อผลิตพลาสติก

โดยจากข้อมูลของ Braskem พลาสติกพอลิเมอร์ คือ พลาสติกที่ผลิตมาจากเม็ดพลาสติกที่ผลิตมาจากแหล่งวัตถุดิบชีวมวลหมุนเวียน เช่น แป้ง น้ำตาล ไขมันพืชและน้ำมัน ฟาง ชานอ้อย ซังข้าวโพด เศษไม้ ขี้เลื่อย เศษอาหาร ทำให้พลาสติกชนิดนี้ส่วนมากย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ

capture

ทั้งนี้ นอกจากจะสามารถย่อยสลายได้แล้ว การผลิตพลาสติกชนิดนี้ยังสามารถลดปริมาณคาร์บอนในชั้นบรรยากาศได้ เพราะขณะที่การผลิตพลาสติกทั่วไปจะสร้างคาร์บอนฟุตพริ้นท์ถึง 1.83 kg CO2eq การผลิตพลาสติกจากพอลิเมอร์ชีวภาพจะดูดซับคาร์บอนได้ถึง 3.09 kg CO2eq ทำให้การเปลี่ยนมาใช้พอลิเมอร์ชีวภาพในการผลิตพลาสติกจะช่วยสร้างส่วนต่างในการปล่อยคาร์บอนถึงเกือบ 5 kg CO2eq ซึ่งนี่ก็เป็นเพราะการผลิตพลาสติกพอลิเมอร์จะสนับสนุนให้มีการปลูกพืช ซึ่งจะช่วยดูดซับคาร์บอนจากชั้นบรรยากาศได้

ดังนั้น เพื่อเพิ่มความสามารถในการผลิตพอลิเมอร์ชีวภาพในไทย ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา Braskem จึงได้ประกาศความร่วมมือกับ SCGC หรือ SCG Chemical เพื่อสร้างโรงงานผลิตพอลิเมอร์ชีวภาพที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุต จังหวัดระยอง โดยโรงงานใหม่นี้จะช่วยเพิ่มกำลังการผลิต polythylene จากพอลิเมอร์ชีวภาพทั่วโลกเกือบสองเท่า เพื่อตอบสนองความต้องการใช้พลาสติกชีวภาพที่กำลังเพิ่มขึ้นทั่วโลก




 

แชร์
เปิด 4 ความร่วมมือเทคโนโลยีพาไทยก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำ