ปัจจุบันรถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือ รถ EV กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในวงการยานยนต์บ้านเรา และกำลังได้รับกระแสความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากความประหยัด และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่างการลดฝุ่น pm2.5
ภาครัฐเองก็ได้มีการออกมาตรที่อุดหนุนการใช้ และการผลิตรถยต์ไฟฟ้าภายในประเทศ ทำให้มียอดจดทะเบียนสะสมรถยนต์EV ที่กรมการขนส่งทางบกมากถึง 382,738 คัน ในเดือนมี.ค.66
โดยนายจาตุรนต์ โกมลมิศร์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) รองประธานจัดงานมอเตอร์โชว์ 2023 กล่าวว่า
“ผู้บริโภคเริ่มมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้นกับเทคโนโลยีแห่งการขับเคลื่อนวิถีใหม่ที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการขับขี่และการเดินทาง ประกอบกับการสนับสนุนจากภาครัฐในหลายด้าน ทั้งการส่งเสริมมาตรการทางด้านภาษี ส่งผลให้มีราคาจำหน่ายที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ไปจนถึงการสนับสนุนในส่วนของการผลิตเพื่อใช้งานภายในประเทศ และการผลิตเพื่อส่งออกสู่ทั่วโลกในอนาคต ทำให้ตัวเลขยอดผู้ใช้รถ EV เพิ่มมากขึ้น”
แต่นอกจากการซื้อรถ ก็ยังมีปัจจัยอื่นที่คนใช้รถEV ต้องกังวลใจ นั้น ก็คือ ค่าใช้จ่ายแอบแฝง เช่น ราคาแบตเตอรี่ ราคาประกันภัย ภาษีประจำปี เเละสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า
SPOTLIGHT ได้รวบรวมรถไฟฟ้า 5 แบรนด์ ที่น่าสนใจ เพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช่สำหรับเรา (รวบรวม ณ วันที่ 7 มิ.ย.66)
1.Tesla Model 3 Rear-Wheel Drive
ราคารถ : 1,709,000 (ณ วันที่ 7 มิ.ย.66)
ประเภทแบตเตอรี่ : LFP 57.5 kWh
วิ่งได้ไกลสูงสุด : 491 km./ชาร์จ (WLTP)
ราคาแบตเตอรี่ : ยังไม่เปิดเผย
ราคาประกันภัยชั้น 1 : 54,000 – 100,000 บาท/ปี
ภาษีประจำปี :1,600 บาท/ ปี
ยอดขายในเดือนมี.ค.66 : 448 คัน
2.BYD ATTO 3 Standard Rage
ราคารถ : 1,099,900 บาท
ประเภทแบตเตอรี่ : BYD Blade 49.9 kWh
วิ่งได้ไกลสูงสุด : 410 km./ ชาร์จ (NEDC)
ราคาแบตเตอรี่ : 528,730 – 656,030 บาท
ราคาประกันภัยชั้น 1 : 27,000 – 37,000 บาท/ปี
ภาษีประจำปี :1,900 บาท/ ปี
ยอดขายในเดือนมี.ค.66 : 2,434 คัน
3.MG 4 Electric
ราคารถ : เริ่มต้น 869,000 บาท
ประเภทแบตเตอรี่ : RUBIK’s CUBE 51 kWh
วิ่งได้ไกลสูงสุด : 425 km./ชาร์จ (NEDC)
ราคาแบตเตอรี่ : 525,000 บาท
ราคาประกันภัยชั้น 1 : 21,000 – 32,000 บาท/ปี
ภาษีประจำปี :1,600 บาท/ ปี
ยอดขายในเดือนมี.ค.66 : 447 คัน
4.NETA V
ราคารถ : 549,000 บาท
ประเภทแบตเตอรี่ : Lithium-ion 38.5 kWh
วิ่งได้ไกลสูงสุด : 384 km./ชาร์จ (NEDC)
ราคาแบตเตอรี่ : ยังไม่เปิดเผย
ราคาประกันภัยชั้น 1 : 17,000 –25,000 บาท/ปี
ภาษีประจำปี : 800 บาท/ปี
ยอดขายในเดือนมี.ค.66 : 693 คัน
5.ORA Good Cat 400 Pro
ราคารถ : 828,500 บาท
ประเภทแบตเตอรี่ : LFP 47.79 kWh
วิ่งได้ไกลสูงสุด : 400 km./ชาร์จ (NEDC)
ราคาแบตเตอรี่ : 445,000 –580,000 บาท
ราคาประกันภัยชั้น 1 : 25,000 –32,000 บาท/ปี
ภาษีประจำปี : 1,600 บาท/ปี
ยอดขายในเดือนมี.ค.66 : 214 คัน
นอกจากนี้ สถานีชาร์จ นับว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจซื้อรถ EV ทำให้ปัจจุบันมีผู้เล่นทั้งภาครัฐและเอกชน กระโดดเข้ามาจับตลาดสถานีชาร์จ EV อาทิเช่น:
1.MEA EV ของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.)
จำนวนสถานี : 34 สถานี 138 หัวจ่าย และจะเพิ่มเป็น 500 หัวจ่าย ในปี 69
อัตราค่าบริการ : 7.5 บาทต่อหน่วย (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
2.EV Station PluZ ของบมจ.ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก (OR)
จำนวนสถานี : 800 สถานีในปี 66 และจะเพิ่มเป็น 7,000 ในปี 73
อัตราค่าบริการ : ค่าชาร์จ ช่วง Peak ราคา 7.5 บาทต่อหน่วย , ช่วง Off-Peak 4.5 บาทต่อหน่วย
(ค่าจองเวลาชาร์จล่วงหน้า 20 บาทต่อช่วงเวลา)
3.EleX by EGAT ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.)
จำนวนสถานี : 50 แห่ง
อัตราค่าบริการ : ในพื้นที่สถานีบริการน้ำมัน PT ตู้ชาร์จแบบ DC ขนาด 120 kW : 7.5 บาทต่อหน่วย, ตู้ชาร์จ AC ขนาด 22 kW : 7.5 บาทต่อหน่วย และในพื้นที่ กฟผ. ตู้ชาร์จ DC ขนาด 50 kW: 6.5 บาทต่อหน่วย, ตู้ชาร์จ AC ขนาด 22 kW: 5.5 บาทต่อหน่วย
4.GINKA Charge Point ของบมจ.ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส (FSMART)
จำนวนสถานี : 5,000 สถานี
อัตราค่าบริการ : 6.5 บาทต่อหน่วย
5.MG Super Charge ของบริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี จำกัด และบริษัท เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด
จำนวนสถานี : 129 สถานี
อัตราค่าบริการ : ชาร์จราคาเดียว 7.5 บาทต่อหน่วย
6.Supercharger ของ Tesla
จำนวนสถานี : 13 แห่งในปี 66
อัตราค่าบริการ : ฟรีเฉพาะรถ Tesla
ขณะที่สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ได้วางเป้าหมายไว้ว่า ภายในปี 2030 หรือ 8 ปีข้างหน้า จะต้องมีสถานีชาร์จสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า เพิ่มอีก 567 แห่ง จากเดิมที่มีอยู่แล้ว 827แห่ง เป็น 1,304 แห่ง ครอบคลุมทั่วประเทศ ซึ่งจะทำให้ประชาชนหันมาใช้รถ EV มากขึ้นอย่างแน่นอน
ที่มา :