การมาถึงของ Generative AI กระตุ้นให้ธุรกิจหาวิธีนำ GenAI นี้มาสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจ เพิ่มผลกำไร แต่ศักยภาพของปัญาประดิษฐ์รุ่นใหม่นี้ยังสามารถนำมาใช้ยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับ “ประชาชน” ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคนสำคัญของภาครัฐได้อีกด้วย ประเทศที่มี GDP ต่อหัวสูงที่สุดลำดับที่ 4 ของโลกอย่าง “สิงคโปร์” ได้เริ่ม GenAI และหลากหลายเทคโนโลยีแห่งอนาคตมาให้บริการประชาชนแล้ว โดยมีพันธมิตรคนสำคัญเป็นบริษัทเทคโนโลยียักษ์ “IBM” และองค์กรด้านเทคโนโลยีท้องถิ่น
องค์กรภาครัฐและภาคเอกชนของสิงคโปร์ ได้มาร่วมถ่ายทอดตัวอย่างการนำ AI ยกระดับการให้บริการประชาชนในด้านสาธารณสุข การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และการติดต่อกับหน่วยงานรัฐ ใน “Think Singapore 2023” งานประชุมเทคโนโลยีประจำปีของ IBM ที่จัดขึ้นตามเมืองสำคัญๆ ทั่วโลก โดยในนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วย AI ที่รัฐบาลสิงคโปร์นำมาจัดแสดงภายในงาน ได้แก่
แว่น AR สำหรับเจ้าหน้าที่ด่านหน้า ที่ใช้ AI เข้ามาช่วยในการตรวจความพร้อมของอุปกรณ์ก่อนออกปฏิบัติงานจริง และหากต้องมีการส่งซ่อม ก็สามารถทำได้ทันทีผ่านคำสั่งเสียง ช่วยเพิ่มความแม่นยำ ลดเวลาการทำงาน ให้เจ้าหน้าที่พร้อมออกปฏิบัติการได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
และยังมีระบบการสนับสนุนแบบเรียลไทม์ในแว่น AR ที่เจ้าหน่าที่ด่านหน้าสามารถสื่อสารกับผู้เชี่ยวชาญที่สถานี เพื่อรับคำแนะนำสำหรับการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความซับซ้อนได้อย่างทันท่วงที
โดยโครงการแว่น AR อัจฉริยะนี้เกิดจากความร่วมมือของกองกำลังป้องกันฝ่ายพลเรือนแห่งประเทศสิงคโปร์ (SCDF), สำนักสารสนเทศ การสื่อสาร และการพัฒนาสื่อ (IMDA), HTX หน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, Starhub ผู้ให้บริการโทรคมนาคมท้องถิ่นชื่อดัง และ IBM ที่ร่วมกันนำองค์ความรู้และเทคโนโลยี ได้แก่ อินเตอร์เน็ต 5G, ระบบ AI, เทคโนโลยี AR และแว่น AR อัจฉริยะมาทำให้เกิดโซลูชั่นที่มีศักยภาพในการใช้งานได้จริง
เบาหวานขึ้นตาเป็นภาวะแทรกซ้อนอันตรายอันดับ 1 สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยผู้ที่เป็นเบาหวานนานกว่า 10 ปี มีโอกาสเป็นเบาหวานขึ้นตาถึง 80% หากปล่อยไว้นาน อาจทำให้ตาบอดในที่สุด
Synapxe หน่วยงานด้าน Healthtech ระดับชาติของสิงคโปร์ภายใต้กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมมือกับ National University of Singapore (NUS) และ ศูนย์ดวงตาแห่งชาติสิงคโปร์ พัฒนาระบบตรวจจับอาการเบาหวานขึ้นตาด้วยภาพถ่าย ภายใต้ชื่อ “SELENA+” ซึ่งใช้ AI มาประมวลผลภาพถ่ายจอตา แทนการตรวจด้วยวิจารณญาณของแพทย์เพียงอย่างเดียวแบบเดิม ช่วยลดเวลาในการตรวจและเพิ่มความแม่นยำ ช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาได้ย่างทันท่วงที
โดยในแต่ละปี มีผู้เข้าร่วมโครงการดังกล่าวนี้กว่า 100,000 คน และทางหารสิงคโปร์มีแผนจะขยับตัวเลขดังกล่าวขึ้น 2 เท่า ภายในปี 2050 ซึ่งนอกจากจากช่วยพัมนาคุณภาพชีวิตให้ผู้ป่วยแล้ว ยังช่วยประหยัดค่ารักษาพยาบาลจากการเข้าถึงการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ อีกด้วย
ภายในงาน Think Singapore 2023 หนึ่งโซลูชั่นสำหรับภาครัฐที่ IBM ได้ยกมาแสดง คือ แชทบอทสำหรับภาครัฐแบบ GenAI ซึ่งไม่ใช่เพียงถาม-ตอบประชาชชนด้วยภาษาทั่วไปได้เท่านั้น แต่ยังสามารถช่วยในการกรอกฟอร์มเอกสารทางราชการสำคัญๆ ได้ในนี้ด้วย
IBM ยกตัวอย่างการใช้งานขึ้นมา 2 เคส นั่นคือ บริการการให้คำแนะนำการหาอสังหาริมทรัพย์มือ 2 (ซึ่งได้รับความนิยมในสิงคโปร์) ที่นอกจากจะสามารถให้คำแนะนำเรื่องการจัดหาสินเชื่อที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลแล้ว ยังสามารถสมัครขอรับสินเชื่อจากภาครัฐได้ทันทีจากเดิมที่ต้องไปรับบริการที่สถานที่ราชการ และบริการช่วยจัดหาทุนสำหรับ SME หรือ Startups ซึ่งก็สามารถขอคำแนะนำ และสมัครขอทุนได้จากการโต้ตอบกับแชทบอทได้เลย แม้ว่าปัจจุบันบริการนี้จะยังไม่ได้เปิดให้บริการแก่ประชาชน แต่ IBM คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการกับประชาชนได้ในอนาคตอันใกล้นี้
ในสุนทรพจน์ของ Josephine Teo รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสื่อสารและสารสนเทศ และรัฐมนตรีรักษาการหน่วยงานความมั่นคงทางไซเบอร์และสมาร์ตเนชั่นของประเทศสิงคโปร์ ในพิธีเปิดงาน Think Singapore 2023 นั้น เธอได้พูดถึงการนำ AI มาใช้ยกระดับบริการภาครัฐของสิงคโปร์ ว่า AI สามารถมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งในหลายภาคส่วน อาทิ โลจิสติกส์, การเงิน, สาธารณสุข หรือแม้แต่ตัวรัฐบาลเอง
ในปี 2022 ที่ผ่านมา มีหน่วยงานรัฐในสิงคโปร์ที่นำ AI มาใช้พัฒนาโครงการที่สร้างผลกระทบต่อสังคม คิดเป็น 85% หรือ 17 กระทรวงจากทั้งหมด 20 กระทรวง ตัวอย่างเช่น การพัฒนาระบบ One-stop portal สำหรับการเข้าถึงบริการจากภาครัฐที่สื่อสารกับประชาชนด้วยแชทบอทและจบในที่เดียว ตั้งแต่ขั้นการถามตอบไปจนถึงการช่วยกรอกแบบฟอร์มให้, การนำ AI มาช่วยในการวางผังเมือง โดยอิงจากข้อมูลและความต้องการของประชาชนในแต่ละพื้นที่ ฯลฯ
สำหรับรัฐบาลสิงคโปร์แล้วหลักคิดสำคัญของการพัฒนาและนำ AI มาใช้ก็คือ “ความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้งานทุกคน” ซึ่งพึงจะต้องปลอดภัยมาตั้งแต่ขั้นต้นของการออกแบบ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องไม่ปิดกั้นโอกาสในการพัฒนาและการนำเทคโนโลยีเหล่านั้นมาใช้งานด้วย จึงได้พัฒนาโมเดล “AI Governance Framwork” ขึ้นในปี 2019 เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาและใช้ AI อย่างมีธรรมาภิบาล อธิบายขั้นตอนการทำงานได้ โปร่งใส และยุติธรรม โดยมี 4 ปัจจัยหลักที่จะต้องพิจารณาคือ
นอกจากนี้สิงคโปร์ยังได้สร้าง ‘AI Verify’ อันเป็น Framework การทดสอบธรรมาภิบาลของ AI และซอฟต์แวร์ที่ใช้เป็นเครื่องมือตรวจสอบขึ้นเพื่อเปิดให้สาธารณชนได้ใช้ ซึ่งได้รับความสนใจจากองค์กรขนาดระดับโลกกว่า 50 องค์กรรวมถึง IBM และนำไปสู่การจัดตั้งมูลนิธิ AI Verify ที่มีสมาชิกเป็นองค์กรสำคัญๆ ซึ่งจะมาร่วมกันกำหนดกลยุทธ์และโร้ดแมปให้กับ AI Verify อีกด้วย