ธุรกิจการตลาด

รวมแนวคิดการบริหารสุดแหวกแนวของอีลอน มัสก์ และเหล่าผู้นำบิ๊กเทคทั่วโลก

16 ก.ค. 67
รวมแนวคิดการบริหารสุดแหวกแนวของอีลอน มัสก์ และเหล่าผู้นำบิ๊กเทคทั่วโลก

หากพูดถึงอุตสาหกรรมเทคโนโลยี กับ AI หลายคนคงรู้หมดแล้ว หรืออาจเริ่มรู้สึกเบื่อ เพราะมีการพูดถึงซ้ำๆ แล้ว

แต่หากพูดถึงเหล่าผู้บริหารบิ๊กเทคฯ เชื่อว่า คนจำนวนมากอาจสงสัยว่า พวกเขาเหล่านี้ มีแนวคิดในการบริหารบริษัทที่มีมูลค่าสูงติดอันดับโลกขนาดนี้ได้อย่างไร มีแนวคิดอะไรบ้างที่ทำให้พวกเขาประสบความสำเร็จได้ขนาดนี้

SPOTLIGHT ได้รวบรวมลักษณะเฉพาะด้านการจัดการที่โดดเด่นทของเหล่าซีอีโอ และอดีตซีอีโอบิ๊กเทคฯ ไว้ในบทความนี้

รวมแนวคิดการบริหารสุดแหวกแนวของอีลอน มัสก์ และเหล่าผู้นำบิ๊กเทคทั่วโลก

Elon Musk: เขาไม่ชอบการมอบหมายงาน และต้องการอนุมัติการจ้างงานใหม่ทั้งหมดเป็นการส่วนตัว และ มัสก์ยังสนับสนุนให้ผู้คนออกจากการประชุมแทนที่จะอยู่ต่อ หากไม่มีความเกี่ยวข้องหรือไม่เพิ่มมูลค่า ส่วนการสื่อสาร พนักงานทุกคนสามารถและควรส่งอีเมล หรือพูดคุยกับใครก็ตาม หากสิ่งที่พวกเขาคิดว่าเป็นวิธีที่การแก้ปัญหาเพื่อประโยชน์ของทั้งบริษัทได้เร็วที่สุด โดยไม่ต้องรอรับอนุญาตจากใครอื่น

Mark Zuckerberg: ผู้บริหารระดับสูงของ Meta ไม่ชอบมอบหมายงานเช่นกัน โดยเขากล่าวว่า ผู้นำควรตัดสินใจให้มากที่สุดและมีส่วนร่วมในหลายๆ อย่างเท่าที่จะทำได้ ซึ่งเขายังได้พยายามที่จะลดการขยายตัวและทำให้บริษัทยินยอมในช่วง ‘ปีแห่งประสิทธิภาพ’ อันโด่งดังของเขา เพราะเขาไม่ชอบโครงสร้างของที่มีลำดับชั้น นอกจากนี้ Zuckerberg ยังมีชื่อเสียงว่า ชอบสวมชุดเดิมๆ ทุกวัน เพื่อช่วยประหยัดสมองสำหรับการตัดสินใจที่สำคัญกว่า

Jensen Huang: ในฐานะผู้บริหารบริษัทเทคฯ ที่เติบโตเร็วที่สุดในช่วงนี้ เขาชอบบริหารจัดการคนจำนวนมากที่มีผู้ใต้บังคับบัญชาโดยตรงมากกว่า 50 คน เพื่อลดขั้นลำดับในองค์กร และทำให้ข้อมูลไหลลื่น เพราะทุกคนขับเคลื่อนด้วยข้อมูล นอกจากนี้ Huang ชอบส่งอีเมลสั้นๆ ให้พนักงานวันละหลายร้อยฉบับ เพื่อเข้าประเด็นหลักๆ แล้วถ้าใครต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ค่อยมาคุยกันอีกที

Tim Cook: วิธีการบริหารของคุก จะไม่ชอบการโวยวาย หรือตะคอก ด่ากราดใส่พนักงาน แต่เขาจะถามคำถาม 10 ข้อ เพื่อให้พนักงานเข้าใจและเรียนรู้เนื้องาน หากใครตอบผิดหนึ่งข้อ เขาจะถามเพิ่มอีก 20 ข้อ และ 30 ข้อ หากมีการตอบผิดอยู่

Jeff Bezos: ในสมัยที่ยังดำรงตำแหน่งซีอีโอ Amazon เขามี ‘กฎพิซซ่าสองถาด’ เพื่อจำกัดทีมให้มีจำนวนคนเข้าร่วมประชุมมากที่สุดเท่าที่จะเลี้ยงด้วยพิซซ่าสองถาดได้ หรือประมาณ 8-10 คน นอกจากนี้ เขายังเคยแบน PowerPoints โดยบอกให้พนักงานเขียนบันทึกการประชุมจำนวน 6 หน้า ซึ่งเริ่มต้นด้วยการที่ผู้เข้าร่วมประชุมอ่านเอกสารอย่างเงียบๆ

Larry Page และ Sergey Brin: ผู้ร่วมก่อตั้งของ Google ใช้นโยบาย ‘เวลา 20%’ เพื่อส่งเสริมให้พนักงานใช้เวลา 20% ดังกล่าว เพื่อสร้างสรรค์สิ่งเป็นประโยชน์ต่อบริษัทมากที่สุด

ที่มา Business Insider

advertisement

SPOTLIGHT