ธุรกิจการตลาด

Xiao Hong Shu แพลตฟอร์มดันท่องเที่ยวอาเซียน รายได้เกือบ 34,000 ล้านบาท

16 ต.ค. 67
Xiao Hong Shu แพลตฟอร์มดันท่องเที่ยวอาเซียน รายได้เกือบ 34,000 ล้านบาท

ถึงแม้เศรษฐกิจที่ซบเซาของจีนอาจกระทบความต้องการท่องเที่ยวของประชาชน แต่ตัวเลขของนักท่องเที่ยวยังคงเพิ่มขึ้น ตามรายงานของสถานีโทรทัศน์ CCTV ที่เผยว่า นักท่องเที่ยวชาวจีนเดินทางเข้าและออกประเทศ 7.6 ล้านครั้งในช่วงวันหยุด เพิ่มขึ้น 33.2% จากช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา 

รู้จัก 'Xiao Hong Shu' แพลตฟอร์มดันท่องเที่ยวในอาเซียน รายได้เกือบ 34,000 ล้านบาท

ซึ่งมีแนวโน้มว่า หลายคนใช้แอปพลิเคชั่น ‘Xiao Hong Shu’ เพื่อวางแผนการเดินทาง ไปท่องเที่ยวตามจุด check-in ที่พลาดไม่ได้ เพราะทุกครั้งที่นักท่องเที่ยวจีนค้นพบสถานที่ใหม่ๆ ก็จะไม่พลาดที่จะโพสต์ลงแพลตฟอร์ม

ไม่เพียงเท่านี้ Xiao Hong Shu ยังสามารถโกยรายได้ในไตรมาสแรกของปี 2024 ไปมากถึง 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 33,270 ล้านบาท จากที่เคยต้องเกือบล้มละลาย ท่ามกลางสนามแข่งภาคเทคโนโลยีในจีน ที่ดุเดือดเป็นอย่างมาก

Xiaohongshu หรือ Instagram เวอร์ชั่นภาษาจีน

‘Xiao Hong Shu’ (เสี่ยวหงซู) หรือที่หลายคนเรียกว่า ‘Instagram เวอร์ชั่นภาษาจีน’ เป็นแพลตฟอร์มที่ผู้ใช้งานสามารถทั้งโพสต์รูป วิดีโอ และยังแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่เติบโตเร็วที่สุดของจีน ด้วยจำนวนผู้ใช้งานถึง 312 ล้านคนต่อเดือนในปี 2023 เพิ่มขึ้น 20% จากปีก่อนหน้า 

โดยรายได้ของ Xiao Hong Shu เพิ่มขึ้นเป็น 1 พันล้านดอลลาร์าสหรัฐฯ หรือราว 33,270 ล้านบาท ในไตรมาสแรกของปี 2024 ส่วนกำไรสุทธิอยู่ที่ 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 6,654 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 1,330.80 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

สิ่งที่ทำให้ Xiao Hong Shu ต่างจาก Instagram และแอปโซเชียลมีเดียอื่นๆ ก็คือ การเป็นแหล่งข้อมูลยอดนิยม และคู่มือการเดินทางในหมู่นักเดินทางชาวจีนรุ่นใหม่ เพราะผู้ใช้งานภายในแอป มักโพสต์คอนเทนต์ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว เช่น รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร เคล็ดลับการใช้ขนส่งสาธารณะ และรายชื่อร้านค้าและ สถานที่ท่องเที่ยว ทุกอย่างครบจบในที่เดียว

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า แอปนี้ได้ปฏิวัติวิธีที่ชาวจีนเดินทางไปต่างประเทศ โดยนำพวกเขาไปสู่จุดหมายปลายทางที่ไม่ค่อยมีใครรู้จัก เช่น พาชม ‘อาคารแฮร์รี่ พอตเตอร์’ ในซิดนีย์ ชวนชิมอาหารร้านเด็ดใน ‘เมืองดัสเซลคอร์ฟ’ ประเทศเยอรมนี และเปลี่ยนย่านอัญมณีที่ซ่อนอยู่ใน ‘ฮ่องกง’ ให้กลายเป็นจุดท่องเที่ยวยอดนิยม

ผลักดันท่องเที่ยวอาเซียน

ภูมิภาค ‘อาเซียน’ หนึ่งในจุดหมายปลายสำหรับนักท่องเที่ยวชาวจีนมายาวนาน ยังได้รับผลกระทบจากแอป Xiao Hong Shu เช่นกัน โดยในปี 2019 มีนักท่องเที่ยวชาวจีนมากกว่า 32 ล้านคนไปเยือนประเทศต่างๆ ในอาเซียน ส่งผลให้จีนเป็นแหล่งนักท่องเที่ยวต่างชาติรายใหญ่ที่สุดด้วย 

ส่วนหลังการระบาดของโควิด-19 ชาวจีนกลับมาท่องเที่ยวในอาเซียนอีกครั้ง โดยมี Xiao Hong Shu เป็นคัมภีร์การเดินทางของพวกเขา ตามที่ Gary Bowerman นักวิเคราะห์ด้านการท่องเที่ยวในเอเชีย กล่าวว่า “ผู้ใช้งานชาวจีนสามารถเรียนรู้สิ่งที่พวกเขาทำได้ โดยที่พวกเขาไม่เคยรู้มาก่อน ผ่านแอป Xiao Hong Shu”

ซึ่ง Bowerman กล่าวกับ Rest of World ว่า จากจำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีนมากกว่า 10 ล้านคนที่เดินทางมาเยือนภูมิภาคอาเซียนในปี 2023 ทำให้ตนคาดว่า ปีนี้จะได้เห็นการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวของจีนในภูมิภาคแข็งแกร่งขึ้น

ส่วนฝั่งของเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กในอาเซียน ก็เห็นถึงการใช้งานแอปนี้ที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากพวกเขาต้องการดึงดูดนักเดินทางชาวจีนรุ่นใหม่ที่มีความมุ่งมั่น และต้องการท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ หลังจากยุคของการแพร่ระบาดของโควิด-19

เช่น ประเทศ ‘ลาว’ หนึ่งในประเทศที่มีนักท่องเที่ยวจีนน้อยที่สุดในอาเซียน แต่เพราะอิทธิพลของแอป Xiao Hong Shu ทำให้การเดินทางไปลาวได้รับความนิยมในปีที่ผ่านมา รวมถึงแรงหนุนจากการเปิดตัว ‘รถไฟความเร็วสูง’ เส้นทางลาว-จีน ทำให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปลาวได้สะดวกขึ้น เห็นได้จากคอนเทนต์ท่องเที่ยวในลาวที่มีมากกว่า 71,000 โพสต์ในแอป 

ถึงแม้อาเซียนจะเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมสำหรับนักเดินทางชาวจีนสายประหยัด แต่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยของประเทศ อาจทำให้นักท่องเที่ยวจีนหลั่งไหลเข้ามาในภูมิภาคอาเซียนมากยิ่งขึ้น โดย Bowerman ชี้ว่า เพราะระยะทางที่ค่อนข้างใกล้กับจีน ราคาเที่ยวบินไม่สูงเกินไป และสามารถเดินทางได้โดยไม่ต้องขอวีซ่า

นอกจากนี้ แอป Xiao Hong Shu ยังสนับสนุนผู้ใช้งาน ผ่านการมอบ ‘คูปองการเข้าชม’ หรือ traffic coupons ที่ช่วยเพิ่มการมองเห็นของโพสต์นั้นๆ สำหรับคอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่มีการโพสต์รายสัปดาห์ ซึ่งคอนเทนต์ที่ได้รับการเพิ่มการมองเห็นมากที่สุดในปี 2023 ที่ผ่านมา คือ ‘อาหารและการกิน’ ตามมาด้วย ‘การท่องเที่ยว’

มากกว่าแพลตฟอร์มรีวิวท่องเที่ยว

Xiao Hong Shu ซึ่งแปลว่า ‘สมุดปกแดงเล่มเล็ก’ ไม่ได้เป็นเพียงแพลตฟอร์มที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเท่านั้น แต่ยังเป็นช่องทางที่สำคัญ สำหรับแบรนด์แฟชั่นและความงาม ในการเข้าถึงผู้บริโภคที่มีการใช้จ่ายสูงในเมืองต่างๆ ผ่านทางโพสต์โฆษณาหรือผู้มีอิทธิพลในการจ่ายเงิน

แพลตฟอร์มได้เปิดตัวฟังก์ชัน ‘อีคอมเมิร์ซ’ ในปี 2021 ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อดึงดูดรายได้จากธุรกรรมจากการโฆษณาแบรนด์บนแพลตฟอร์ม ซึ่งได้กลายเป็นแพลตฟอร์มสำหรับผู้หญิงยุคมิลเลนเนียลและ Gen Z ชาวจีนจำนวนมาก

ซึ่งในช่วงแรก Xiao Hong Shu มีองค์ประกอบอีคอมเมิร์ซที่แข็งแกร่ง โดยที่ผู้บริโภคชาวจีนสามารถหาซื้อสินค้าจากต่างประเทศที่เชื่อถือได้ และต่อมา จึงได้ค่อยๆ เปลี่ยนจุดโฟกัสมาในด้านเนื้อหาเกี่ยวกับไลฟ์สไตล์และการศึกษา

โดยในปีนี้ บริษัทได้เพิ่มโฆษณาจากผู้ค้าปลีกที่กำหนดเป้าหมายไปที่ผู้หญิง Gen Z หลังแพลตฟอร์มได้รับความนิยมในหมู่หญิงสาวจีนมากขึ้น ตามข้อมูลที่แพลตฟอร์มได้รายงานล่าสุด พบว่า ประมาณ 70% ของผู้ใช้งานทั้งหมดเป็นผู้หญิง แต่ฐานลูกค้าก็ยังเล็กเมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มเช่น Weibo, Douyin และ WeChat ที่มีผู้ใช้มากกว่า 600 ล้านถึง 1,200 ล้านคน

ทั้งนี้ Xiao Hong Shu ได้รับการสนับสนุนจากทั้ง Alibaba และ Tencent รวมถึงบริษัทร่วมลงทุน GSR Ventures, HongShan, กลุ่มหุ้นเอกชน Hillhouse และ Temasek ทำให้คาดว่า แพลตฟอร์มยังสามารถเติบโตได้อีกมาก และทำเป้าหมายต่อไปได้สำเร็จ นั่นก็คือ การขยายฐานผู้ใช้งาน ที่อาศัยอยู่นอกเมือง ‘เทียร์หนึ่ง’ และ ‘เทียร์สอง’ ของจีน

ที่มา Financial Times, CNN, Rest of World, Xiao Hong Shu

 

 

 

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT